Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2555 / พฤศจิกายน / ก.พ.ร. จัดประชุมเรื่อง การปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ของสวนราชการในประเด็น ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกัการส่งเสริมธรรมาภิบาล

ก.พ.ร. จัดประชุมเรื่อง การปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ของสวนราชการในประเด็น ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกัการส่งเสริมธรรมาภิบาล

ก.พ.ร. จัดประชุมเรื่อง
การปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ของส่วนราชการ
ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมธรรมาภิบาล


           เมื่อวันจันทร์ที่  5 พฤศจิกายน  2555 ที่ผ่านมา สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดประชุมเรื่อง  การปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการ  4 ปี ของส่วนราชการในประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมธรรมาภิบาล ซึ่งผู้แทนจากส่วนราชการต่างๆ เข้าร่วม โดยมี เลขาธิการ ก.พ.ร. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เป็น ประธานกล่าวเปิดประชุม พร้อมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชั่น (ศปท.) ณ โรงแรมโกลเด้นทิวลิป ซอฟเฟอริน กรุงเทพฯ  

           ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์  เลขาธิการ ก.พ.ร. ได้กล่าวถึงปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นว่า  ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาสำคัญและเป็นหน้าที่ภารกิจของทุกคนที่จะ ต้องทำให้เกิดความโปร่งใส  คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2555 เห็นชอบให้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการต่อต้าน การทุจริตคอร์รัปชั่น (ศปท.) ขึ้น โดยให้จัดตั้งในระดับกระทรวงและเชื่อมโยงการทำงานไปสู่ระดับกรม  ทั้งนี้ การมีศูนย์ปฏิบัติการดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าในหน่วยงานนั้นๆ จะมีการทุจริต แต่ถือเป็นการป้องกันและลดโอกาสที่จะเกิดขึ้น  โดยขณะนี้หลายส่วนราชการก็ได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว ภายใต้โครงการ 1 กรม 1 ป้องกันโกง  ซึ่งต้องอาศัยการวิเคราะห์โอกาสความเป็นไปได้ วิ เคราะห์ความเสี่ยง วิเคราะห์สิ่งที่สังคมสงสัย พร้อมทั้งหาวิธีในการป้องกัน โดย ศปท. จะต้องดูว่าแผนปฏิบัติราชการกระทรวง แผนปฏิบัติราชการกรมสะท้อนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตมากน้อยแค่ไหน  ต้องอาศัยพลังของหลายๆ ฝ่าย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งอยากให้เป็นการสะท้อนแผนปฏิบัติการของทั้งกระทรวง ไม่ใช่เฉพาะในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงเท่านั้น เลขาธิการ ก.พ.ร. กล่าว

           หลังจากนั้น จึงเป็นการชี้แจงแนวทางเพื่อรองรับการดำเนินงานของ  ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น (ศปท.) โดย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา ได้ อธิบายเหตุผลความจำเป็นที่ต้องจัดตั้ง  และกล่าวถึงอำนาจหน้าที่ของ ศปท. ซึ่งจะเป็นเหมือนที่ปรึกษาให้ข้อเสนอแนะแก่ส่วนราชการ  รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบของส่วน ราชการ  ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต  มาตรการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ  และนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง  ประสานงานเร่งรัด กำกับ ขับเคลื่อนให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนฯ  ประสาน เร่งรัดและติดตามการดำเนินงานเกี่ยวกับเรื่องข้อร้องเรียนต่าง ๆ   ติดตาม ประเมินผล  และจัดทำรายงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบ ของส่วนราชการและการคุ้มครองจริยธรรมเสนอหัวหน้าส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ

           ใน ส่วนของแนวทางที่จะจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปัณรส กล่าวว่า  ปกติแต่ละกระทรวงก็จะมีแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีอยู่แล้ว ซึ่งก็จะมีการวิเคราะห์ SWOT สำหรับแนวทางการดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น กระทรวงจะต้องปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ของกระทรวง โดยเพิ่มประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมธรรมาภิบาลฯ  กระทรวงต้องศึกษาวิเคราะห์ความท้าทายภายนอกและภายใน เกี่ยวกับประเด็นป้องกันและปราบปรามการทุจริตที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน ของกระทรวง ตามแนวทางการศึกษาวิเคราะห์ ดังนี้

           ความท้าทายภายนอก เช่น กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก นโยบายรัฐบาล แผนการบริหารราชการแผ่นดิน ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ

           ความท้าทายภายใน เช่น รายงานผลระบบการควบคุมภายใน รายงานของ คตป.รายงานของ ป.ป.ช. รายงานของ สตง. รายงานของ ป.ป.ท. รายงานจริยธรรมของ ก.พ. ข้อมูลตัวชี้วัดความโปร่งใสของกระทรวง ผลสำรวจเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่น/ภาพลักษณ์องค์การ ข้อร้องเรียนของประชาชน ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการทุจริตฯ ของกระทรวง

           โดยแนวทางการดำเนินงานของ ศปท. ประกอบไปด้วย 9 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

           1. ศปท. ปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการ  4 ปีของกระทรวง โดยเพิ่มประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมธรรมาภิบาลให้สมบูรณ์ โดยเฉพาะด้านการสร้างความโปร่งใส หรือการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ  และการส่งเสริมและคุ้มครองจริยธรรม

           2. ส่วนราชการในสังกัดปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการ  4 ปี ให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการ  4 ปีของกระทรวง โดยเพิ่มประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมธรรมาภิบาล  โดยเฉพาะด้านการสร้างความโปร่งใสหรือการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ และการส่งเสริมและคุ้มครองจริยธรรม (ตามขั้นตอนที่ 1)

           3. ศปท.และส่วนราชการในสังกัดร่วมกันปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการประจำปีของส่วน ราชการให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (ตามขั้นตอนที่ 2) และนำแผนปฏิบัติราชการประจำปีที่กำหนดไปสู่การปฏิบัติ

           4. การจัดการเรื่องร้องเรียน ให้ ศปท.จัดการเรื่องร้องเรียน โดยส่งเรื่องร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่ถูกร้องเรียนและติดตามผลอย่างต่อ เนื่องจนได้ข้อยุติ

           5. ศปท. ติดตามผลการดำเนินงานงส่วนราชการในสังกัด โดยให้ส่วนราชการในสังกัดรายงานผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี (เฉพาะประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ การส่งเสริมธรรมาภิบาล  โดยเฉพาะด้านการสร้างความโปร่งใสหรือการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ และการส่งเสริมและคุ้มครองจริยธรรม) ส่งมายัง ศปท. เพื่อการสรุปผล การดำเนินงานในภาพรวมของกระทรวงทุก 2 เดือน

           6. ศปท. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมของกระทรวงทุก  6 เดือน  (ตามขั้นตอนที่  5) สำเนาเสนอปลัดกระทรวง/รัฐมนตรี ส่งไปยังสำนักงาน ก.พ.ร.

           7. ศปท. นำผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีมาปรับปรุง  (Update) แผนปฏิบัติราชการฯ ของกระทรวง ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมธรรมาภิบาลฯ

           8. สำนักงาน ก.พ.ร.จัดประชุมสรุปผลการดำเนินงานของ ศปท. ในภาพรวมของทุกส่วนราชการทุก 6 เดือน

           9. สำนักงาน ก.พ.ร. จัดทำรายงานประจำปีของ ศปท. เสนอคณะรัฐมนตรี

           หลัง จากที่ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบแนวทางการปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีของกระทรวงเพื่อรองรับการดำเนินงานของ ศปท. แล้ว เพื่อให้มองเห็นภาพการดำเนินงานชัดเจนขึ้น  จึงได้เชิญผู้แทนจากกระทรวงพลังงาน  นางวารุณี เตยต่อวงศ์  ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร  และ นายพีรพงษ์ สุทธสิทธิ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน  นำเสนอการปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีและตัวอย่างการดำเนินงานในส่วนของกระทรวงพลังงาน โดย ได้กล่าวถึงความเป็นมาของกระทรวงพลังงาน การพัฒนายุทธศาสตร์ของกระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2555 - 2559 โดยพิจารณาจากโครงสร้างนโยบายรัฐบาลและส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงพลังงาน  เพื่อนำมากำหนดกรอบแนวคิด เส้นทางสู่แผนยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงาน ในระยะ 5 ปี (พ.ศ.2555 - 2559) ซึ่งจะมีการวิเคราะห์โดยใช้ปัจจัยภายใน ภายนอก มาทำเป็น TOWS matrix คือวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม เพื่อกำหนดเป็นทางเลือกกลยุทธ์หลักในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ที่เชื่อมโยงกัน ระหว่างนโยบายรัฐบาลกับยุทธศาสตร์พลังงาน ปีงบประมาณ 2556 และปัจจุบันมีการนำประเด็นท้าทายมาวิเคราะห์เพิ่มเติม และกำหนดเป็นยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงาน ซึ่งมีทั้งหมด 6 ยุทธศาสตร์ โดยประเด็นของ ศปท. จะอยู่ในยุทธศาสตร์ที่ 6 ซึ่งเดิมเป็นชื่อ ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การและเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการส่งเสริมธรรมาภิบาล จึงได้เสนอผู้บริหารเพื่อพิจารณาปรับชื่อเป็น การเป็นองค์กรสมรรถนะสูงที่ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล และได้มีการปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีของกระทรวงพลังงาน เพื่อรองรับการดำเนินงานของ ศปท.

           โดย แผนปฏิบัติราชการ  4 ปี กระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2555-2558 ได้นำประเด็นท้าทายต่อการบรรลุเป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ที่ 6 มาวิเคราะห์ เพื่อจัดอันดับประเด็นที่ท้าทาย ซึ่งจากรายงานของ ค.ต.ป. ปปช. และสตง. ไม่พบประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่น  แต่เพื่อลดความเสี่ยงต่อปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น  จึงได้กำหนดประเด็นท้าทายและมาตรการในการป้องกันและลดโอกาสที่จะเกิดขึ้น ดังนี้ 1) กระบวนการอนุมัติ อนุญาตและตรวจสอบต่างๆ โดยมีการทบทวนปรับปรุงกระบวนงานและจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน  2) ความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่  โดยเฉพาะเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยจะพัฒนาบุคลากรเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริต  และ 3) การตรวจสอบและวิเคราะห์เรื่องร้องเรียนต่างๆ  โดยการพัฒนาระบบติดตามประเมินผล ข้อร้องเรียนและการแก้ไข  ซึ่งกระทรวงพลังงานมีการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลอย่างมีส่วนร่วมกับ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์พัฒนาระบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริต คอร์รัปชั่น (ศปท.) และแผนงาน/โครงการ คือ แผนงานพัฒนาระบบเพื่อสร้างความโปร่งใสในการดำเนินการ แผนงานพัฒนาบุคลากรในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และแผนงานพัฒนาระบบติดตามประเมินผลข้อร้องเรียนและการแก้ไข  ซึ่งในแต่ละแผนงาน/โครงการจะมีกิจกรรมที่ส่งเสริมธรรมาภิบาล เช่น การเสริมสร้างความโปร่งใสในกระบวนงานออกใบอนุญาตประกอบกิจการบรรจุก๊าซ LPG การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ของรัฐในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต  การส่งเสริมความเข้มแข็งในการปราบปรามและป้องกันการทุจริต และการสำรวจความคิดเห็นของข้าราชการ  ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของ ราชการ 



           ภาย หลังจากการบรรยายก็มีการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้แสดงความความคิด เห็นรวมถึงซักถามในประเด็นข้อสงสัย  ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของความเข้าใจในการจัดตั้ง ศปท. อัตรากำลังคน อำนาจหน้าที่ของ ศปท. โดยมี นางกิตติยา คัมภีร์ ผู้อำนวยการสำนักเผยแพร่และสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบราชการ  สำนักงาน ก.พ.ร.   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา และ นางวารุณี เตยต่อวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหารกระทรวงพลังงาน ร่วมตอบข้อซักถาม













อัจฉราพร (สำนักเผยแพร่ฯ), อักสรณ์ (สลธ.) /ข่าว
สุปรียา (สลธ.) / ภาพ
ผอ.กิตติยา (ผอ.สำนักเผยแพร่ฯ) /ตรวจ

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2555 16:00:18 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2555 16:00:18
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th