Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
หนังสือเวียน / มติ คณะรัฐมนตรี / มติคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2555 / พฤศจิกายน / วันที่ 2 พฤศจิกายน 2555

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2555

สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 2 พฤศจิกายน 2555
เรื่อง การบูรณาการยุทธศาสตร์ประเทศ (Country Strategy)
เพื่อเป็นกรอบการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2557


           การประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่  2 พฤศจิกายน  2555 ซึ่งมี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมคณะรัฐมนตรี ชั้น 2 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล ได้พิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน ก.พ.ร. คือ การ บูรณาการยุทธศาสตร์ประเทศ (Country Strategy) เพื่อเป็นกรอบการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2557 และผลการประชุมเชิงปฏิบัติการการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558 ครั้งที่ 2

           ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี  (สลค.) ได้แจ้งมติคณะรัฐมนตรีเรื่องดังกล่าวให้สำนักงาน ก.พ.ร. ทราบแล้ว ตามหนังสือ สลค. ด่วนที่สุด ที่ นร 0506/ว 276 ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2555 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

           ด้วย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  (นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล) ได้เสนอเรื่องการบูรณาการยุทธศาสตร์ประเทศ (Country Strategy) เพื่อเป็นกรอบการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2557 และผลการประชุมเชิงปฏิบัติการการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558 ครั้งที่ 2 ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2555 ลงมติว่า

           1. รับ ทราบและมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการ และจัดส่งให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ภายในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2555 เพื่อบูรณาการและนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล) เสนอทั้ง 3 ข้อ ยกเว้นในข้อ 1.2.3 4) การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและการบริหารจัดการน้ำ  (หนังสือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ด่วนที่สุด ที่ นร 1104/038 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2555 หน้า 4) ให้แก้ไขหน่วยงานรับผิดชอบจากเดิมความว่า โดยให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับผิดชอบเรื่องการปลูกป่า  และให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรับผิดชอบเรื่องการลงทุนด้านการบริหาร จัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท เป็น โดยให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับผิดชอบเรื่องการปลูกป่า และให้ประธานกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยรับผิดชอบเรื่องการลงทุนด้าน การบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท

           2. ให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำข้อมูลของแผนปฏิบัติการ  (ตามข้อ  1) ให้มีรายละเอียดที่ครบถ้วน ชัดเจน แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนการดำเนินงาน (milestone) และผลของการดำเนินงาน (result-based) ด้วย และหากหน่วย งานใดมีแผนงาน/โครงการเชื่อมโยงกับเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน (ของกระทรวงคมนาคม) ให้จัดทำข้อมูลที่เกี่ยวข้องส่งไปยังสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวด้วย เพื่อจะได้บูรณาการในภาพรวมได้อย่างครบถ้วน


           สำหรับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน ก.พ.ร. นั้น จะเป็นเรื่องการบูรณาการยุทธศาสตร์ประเทศ  (Country Strategy) เพื่อเป็นกรอบการจัดสรรงบประมาณประจำปี  2557  ซึ่ง สำนักงาน ก.พ.ร. ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบ ดังนี้

           การลดความเหลื่อมล้ำ  (Inclusive Growth) ในประเด็นการต่อต้านการคอร์รัปชั่น สร้างธรรมภิบาลและความโปร่งใส โดยมีแนวทางดำเนินงาน คือ การลดคอร์รัปชั่นในภาครัฐและการรณรงค์และสร้างแนวร่วมในสังคม

           การบริหารราชการแผ่นดิน  (Internal Process) ในประเด็นการปรับโครงสร้างระบบราชการ โดยมีแนวทางดำเนินงาน คือ (1) การเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรภาครัฐและพัฒนารูปแบบการทำงานของภาครัฐด้วยการ สร้างความพร้อมในการบริหารการจัดการแบบบูรณาการโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (2) การป้องกันและปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่น และ (3) การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนด้วยระบบริหารด้วยอิเล็กทรอนิกส์


           สรุปสาระสำคัญของการบูรณาการยุทธศาสตร์ประเทศ  (Country Strategy) เพื่อเป็นกรอบการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2557



           
สำนัก งานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จัดทำยุทธศาสตร์ประเทศ  (Country Strategy) การบูรณาการเพื่อเป็นกรอบการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2557 โดยระบุแนวยุทธศาสตร์และนโยบายที่ต้องบูรณาการการทำงานระหว่างกระทรวงทั้ง สิ้น 28 ประเด็น เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

           1. การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อหลุดพ้นจากประเทศรายได้ปานกลาง (Growth & Competitiveness) มี 8 ประเด็น ได้แก่

               1) ด้านเกษตร ให้สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบแผนการใช้ที่ดินเพื่อผลิตสินค้าเกษตร (Zoning) และกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นผู้รับผิดชอบการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารตั้งแต่ต้นน้ำ ถึงปลายน้ำ

               2) ภาคอุตสาหกรรม ให้กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นผู้รับผิดชอบ ใน 5 ประเด็น ดังนี้ (1) แผนการใช้ที่ดินเพื่ออุตสาหกรรม (2) กำหนดและส่งเสริมอุตสาหกรรมอนาคต (3) นโยบายการส่งเสริมการลงทุน (4) การเพิ่มขีดความสามารถวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่ง ผลิตภัณฑ์สู่สากล และ (5) การนำทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยมาเพิ่มมูลค่า

               3) การท่องเที่ยวและบริการ ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นผู้รับผิดชอบ แผนการจัดกลุ่มเมืองท่องเที่ยว การเพิ่มขีดความสามารถทางการท่องเที่ยวเข้าสู่รายได้ 2 ล้านล้านบาทต่อปี และไทยเป็นศูนย์กลางการบริการสุขภาพของภูมิภาค

               4) โครงสร้างพื้นฐาน ให้กระทรวงคมนาคมเป็นผู้รับผิดชอบการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม เชื่อมโยงในภูมิภาคอาเซียน และให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นผู้รับผิดชอบการลงทุนการ ให้บริการและใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศ

               5) พลังงาน ให้กระทรวงพลังงานเป็นผู้รับผิดชอบการปรับโครงสร้างการใช้และราคาพลังงานที่ เหมาะสม และการลงทุนเพื่อความมั่นคงของพลังงานและพลังงานทดแทน

               6) การเชื่อมโยงเศรษฐกิจในภูมิภาค ให้ สศช.รับผิดชอบการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ขับเคลื่อนการเชื่อมโยงนิคมอุตสาหกรรมทวายและการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งตะวัน ออก และให้ สศช. ร่วมกับสำนักงานกฤษฎีกา แก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ รองรับประชาคมอาเซียน สำหรับกระทรวงการต่างประเทศให้เป็นผู้รับผิดชอบการเสริมสร้างความสัมพันธ์ และความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน

               7) การปรับขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้ สศช. รับผิดชอบปรับปรุงขีดความสามารถในการแข่งขัน (100 ดัชนีชี้วัด) และให้สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนาการสร้างภาพลักษณ์ประเทศ ไทย ภายใต้แนวคิด Modern Thailand

               8) การวิจัยและพัฒนา ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นผู้รับผิดชอบใน 4 ประเด็น ดังนี้ (1) การขับเคลื่อนค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาเป็นร้อยละ 1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (2) การส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาครัฐไปปฏิบัติงานในภาค อุตสาหกรรม (3) การใช้ประโยชน์จากกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (4) การใช้ประโยชน์จากอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค

           2. การลดความเหลื่อมล้ำ (Inclusive Growth) มี 7 ประเด็น ได้แก่

               1) การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิรูปการศึกษา (ครู หลักสูตร เทคโนโลยี การดูแลเด็กก่อนวัยเรียน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในระบบการศึกษา เช่น แท็บเล็ต และอินเทอร์เน็ตไร้สาย เป็นต้น)

               2) การยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการบริการสาธารณสุข ให้กระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบเรื่องการจัดระบบบริการ กำลังพล และงบประมาณ

               3) การดูแลผู้สูงอายุ เด็ก สตรี และผู้ด้อยโอกาส ให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นผู้รับผิดชอบการเพิ่ม ศักยภาพและโอกาส ความเท่าเทียม คุณภาพชีวิต และให้สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบกองทุนสตรี

               4) การสร้างโอกาสและรายได้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและเศรษฐกิจชุมชน ให้สำนักนายกรัฐมนตรีเป้ฯผู้รับผิดชอบ กองทุนหมู่บ้านและโรงการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านและชุมชน และให้กระทรวงศึกษาธิการรับผิดชอบกองทุนตั้งตัวได้ ส่วนกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้รับผิดชอบโครงการรับจำนำสินค้าเกษตร

               5) แรงงาน ให้กระทรวงแรงงานเป็นผู้รับผิดชอบการจัดการแรงงานต่างด้าวและการฝึกอบรมและเพิ่มคุณภาพแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการ

               6) ระบบยุติธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ให้กระทรวงยุติธรรมรับผิดชอบเรื่องการเข้าถึงระบบยุติธรรมของประชาชน

               7) การต่อต้านการคอร์รัปชั่น สร้างธรรมภิบาลและความโปร่งใส ให้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ รับผิดชอบการลดคอร์รัปชั่นในภาครัฐและการรณรงค์และสร้างแนวร่วมในสังคม

           3. การเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Growth) มี 5 ประเด็น ประกอบด้วย

               1) การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับผิดชอบการพัฒนาตัวอย่างเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 10 แห่ง

               2) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กระทรวงพลังงานรับผิดชอบเรื่องนโยบายราคา พลังงานและประหยัดพลังงาน รวมทั้งการปรับกฎระเบียบ (เช่น มาตรฐานอาคารเขียว เป็นต้น)

               3) นโยบายการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม ให้กระทรวงการคลังรับผิดชอบ เรื่องรับภาษีสิ่งแวดล้อมและการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวในภาครัฐ

               4) การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและการบริหารจัดการน้ำ โดยให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับผิดชอบเรื่องการปลูกป่า และให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรับผิดชอบเรื่องการลงทุนด้านการบริหาร จัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท

               5) การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับผิดชอบเรื่องการป้องกันผลกระทบและการปรับตัว

           4. การบริหารราชการแผ่นดิน (Internal Process) มี 8 ประเด็น ประกอบด้วย

               1) กรอบแนวทางและปฏิรูปกฎหมาย ให้กระทรวงยุติธรรมเป็นผู้รับผิดชอบ 3 ประเด็น ดังนี้ (1) การปรับกรอบแนวทางระบบกฎหมายของประเทศ (2) การเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากรและองค์กรด้านยุติธรรม และ (3) การปรับปรุงระเบียบข้อกฎหมายที่เป็นข้อจำกัดต่อการพัฒนาประเทศ

               2) การปรับโครงสร้างระบบราชการ โดยให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเป็นผู้รับผิดชอบ 2 ประเด็น ดังนี้ (1) การเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรภาครัฐและพัฒนารูปแบบการทำงานของภาครัฐด้วยการ สร้างความพร้อมในการบริหารการจัดการแบบบูรณาการโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (2) การป้องกันและปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่น และ (3) การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนด้วยระบบริหารด้วยอิเล็กทรอนิกส์

               3) การพัฒนากำลังคนภาครัฐ ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน รับผิดชอบ ด้านการบริหารกำลังคนให้สอดคล้องกับบทบาทภารกิจที่มีในปัจจุบันและเตรียม ความพร้อมสำหรับอนาคต และการพัฒนาทักษะและศักยภาพของกำลังคนภาครัฐ

               4) การปรับโครงสร้างภาษี โดยให้กระทรวงการคลังรับผิดชอบการปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบให้สนับสนุนการ กระจายรายได้และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

               5) การจัดสรรงบประมาณ ให้สำนักงบประมาณรับผิดชอบการพัฒนากระบวนการจัดสรรงบประมาณให้สามารถสนับสนุนการปฏิบัติงานตามนโยบายรัฐบาล

               6) การพัฒนาสินทรัพย์ราชการที่ไม่ได้ใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดให้กระทรวงการ คลังรับผิดชอบในการสำรวจสินทรัพย์ราชการที่ไม่ได้ใช้งาน และบริหารจัดการสินทรัพย์ราชการที่ไม่ได้ใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด

               7) การแก้ไขปัญหาความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติประสานและบูรณาการงานรักษาความสงบและการ ส่งเสริมการพัฒนาในพื้นที่  3  จังหวัดชายแดนภาคใต้  ภายใต้กรอบนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559

               8) การปฏิรูปการเมือง ให้กระทรวงมหาดไทยส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

วสุนธรา (สลธ.) / รายงาน
ข้อมูลจากหนังสือ สลค. และหนังสือ สศช.

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2555 10:45:31 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2555 11:56:15
หนังสือเวียน
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th