Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2555 / พฤศจิกายน / สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับ ธนาคารโลก แถลงข่าวผลการจัดอันดับความยาก-ง่าย ในการประกอบธุรกิจของธนาคารโลก (Doing Business 2013)

สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับ ธนาคารโลก แถลงข่าวผลการจัดอันดับความยาก-ง่าย ในการประกอบธุรกิจของธนาคารโลก (Doing Business 2013)

สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับ ธนาคารโลก
แถลงข่าวผลการจัดอันดับความยาก-ง่าย
ในการประกอบธุรกิจของธนาคารโลก (Doing Business 2013)





           สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับ ธนาคารโลก จัดงานแถลงข่าวผลการจัดอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจของธนาคารโลก (Doing Business 2013) ซึ่งประเทศไทยยังคงรักษาอันดับ 20 อันดับแรกของประเทศที่น่าลงทุนไว้ได้อย่างต่อเนื่อง โดยในปี ค.ศ. 2013 ประเทศไทยได้อันดับที่ 18 จาก 185 ประเทศทั่วโลก ซึ่งงานนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2555  ณ ห้องประชุมไชยโย ธนาคารโลกประจำประเทศไทย อาคาร Siam Tower  โดยมี  นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา สุทธปรีดา ที่ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการ สำนักงาน ก.พ.ร. และ ดร. กิริฎา เภาพิจิตร เศรษฐกรอาวุโส ธนาคารโลก เป็นผู้ร่วมแถลงข่าว

           ดร. กิริฎา เภาพิจิตร พิจิตร เศรษฐกรอาวุโส ธนาคารโลก เปิดเผยว่า  ธนาคารโลกได้จัดทำรายงานผลการวิจัยเรื่อง Doing Business ซึ่งเป็นการวิจัยแบบสำรวจความคิดเห็นของบริษัทที่ทำงานเกี่ยวกับด้านบัญชี  และด้านกฎหมาย เกี่ยวกับขั้นตอนระยะเวลาการให้บริการ  การอำนวยความสะดวก ต้นทุนค่าใช้จ่าย และกฎระเบียบต่างๆ  ของรัฐว่ามีส่วนสนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจอย่างไร โดยมีตัวชี้วัดในการสำรวจ 10 ด้าน ตามวงจรธุรกิจตั้งแต่การเริ่มต้นธุรกิจจนถึงการปิดกิจการ  ซึ่งในปีนี้ ประเทศไทยได้อันดับที่ 18 จาก 185 ประเทศทั่วโลก เป็นอันดับที่ 3 ในอาเซียน และ อันดับที่ 6 ในเอเชีย  ซึ่งอยู่ในอันดับที่ดีและอันดับไม่ได้ต่างจากปีที่แล้วมาก โดยด้านที่ประเทศไทยได้ปฏิรูปการบริการ มี  2 ด้าน คือ การเริ่มต้นธุรกิจ ที่มีการลดขั้นตอนในการจัดตั้งธุรกิจ  และด้านการจ่ายภาษี ที่ปีนี้ไทยมีการลดอัตราภาษีภาคธุรกิจ  ส่วนด้านที่ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับที่ดีขึ้น  ได้แก่  ด้านการจดทะเบียนทรัพย์สิน  ด้านการชำระภาษี  และ ด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง


           ต่อจากนั้น
นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา สุทธปรีดา ที่ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการ 
สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ กล่าวว่าการจัดอันดับความยาก - ง่ายในการประกอบธุรกิจของธนาคารโลกมีตัวชี้วัดทั้งหมด 10 ตัวชี้วัด ซึ่งเป็นกระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ  และปลายน้ำ ในกระบวนการต้นน้ำ  คือ เริ่มตั้งแต่การเริ่มต้นธุรกิจ การขออนุญาตก่อสร้าง การขอใช้ไฟฟ้า  การจดทะเบียนทรัพย์สิน การได้รับสินเชื่อ การคุ้มครองผู้ลงทุน นำไปสู่กระบวนการกลางน้ำ  คือ การชำระภาษี การค้าระหว่างประเทศ  การบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง  และสุดท้ายกระบวนการปลายน้ำ  คือ การปิดกิจการ ซึ่งในปีนี้ประเทศไทยได้อันดับที่ 18 จาก 185 ประเทศ แม้ว่าระบบราชการจะทำงานได้ไม่ถึง 9 เดือน เนื่องจากประสบกับภาวะวิกฤตในเรื่องของอุทกภัยก็ตาม  แต่เราก็ยังคงรักษาอันดับให้อยู่ใน 20 อันดับแรกได้ และยังได้ชี้แจงถึงการปรับปรุงในด้านที่ประเทศไทยมีอันดับดีขึ้น  3  ด้าน คือ ด้านการเริ่มต้นธุรกิจ ที่ ได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน  ได้แก่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงานประกันสังคม กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และกรมสรรพากร โดยได้พัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยใช้เลขประจำ ตัวผู้เสียภาษี (Single Number) เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการ มีการให้บริการ ณ จุดเดียวกัน (Single Point) ใช้แบบฟอร์มร่วมกัน (Single Form) และใช้เอกสารประกอบชุดเดียวกัน  (Single Document)   ในอีกด้านที่ได้มีการปรับปรุงคือ ด้านการชำระภาษี ที่ มีการลดรายการประเภทของการเสียภาษี  อีกทั้งนโยบายรัฐบาลที่ประกาศลดภาษีนิติบุคคล  จึงคาดว่าในปีหน้าเรื่องของอันดับเกี่ยวกับภาษีน่าจะดีขึ้น และด้านสุดท้าย  คือ  ด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง  ที่ ได้ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการลดลง ทั้งนี้ ผลของความสำเร็จทั้งหมด สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นเพียงหน่วยในการบูรณาการให้หน่วยงานภาคราชการ ภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันทำงาน  เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ประชาชน  และยังคงมุ่งมั่นดำเนินการเพื่อปรับปรุงบริการต่อไป  เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าลงทุนยิ่ง ๆ ขึ้นไป


           อีกทั้ง สำนักงาน ก.พ.ร. มีแนวทางในการดำเนินการเพื่อปรับปรุงบริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจในอนาคต ได้แก่

           1. วิเคราะห์เพื่อวางแผนการปรับปรุงบริการแบบบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งจะส่งผลต่ออันดับของประเทศไทยให้ดีขึ้น โดยเลือกประเด็นที่มีโอกาสพัฒนาสูงมาดำเนินการ  เช่น ด้านการชำระภาษีที่ประเทศไทยมีจำนวนและเวลาในการชำระภาษีมาก จึงอาจสนับสนุนให้มีระบบรวมศูนย์ให้ผู้ประกอบการสามารถชำระภาษีได้เพียง ครั้งเดียว

           2. นำผลการศึกษาแนวทางการปรับปรุงการบริการจากคณะผู้เชี่ยวชาญของประเทศ  Champion Economy มาดำเนินการให้บรรลุผล  เช่น ศึกษาการดำเนินการจากประเทศสิงคโปร์ที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเชื่อม โยงข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตก่อสร้างมาอยู่ในฐานข้อมูล เดียวกัน  และให้ผู้ประกอบการยื่นคำร้องผ่านอิเล็กทรอนิกส์  เพื่อความรวดเร็วในการพิจารณา

           3. เร่งรัดและปรับปรุงกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการปรับปรุงการให้บริการ เช่น ปรับปรุงพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 เพื่อใช้รองรับการยื่นเอกสารหลักฐานทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้






 วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ
สุปรียา (สลธ.) / ข่าว & ภาพ

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2555 11:20:10 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2555 13:46:36
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th