แนวทางการจ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้างให้กับ
ผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่และลูกจ้างองค์การมหาชน
สำนักงาน ก.พ.ร. จัดทำ แนวทางการจ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้างให้กับผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่ และลูกจ้างองค์การมหาชน เพื่อให้องค์การมหาชนนำไปใช้จัดทำหรือปรับปรุงระเบียบหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
เนื่อง
จากองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542
แต่ละหน่วยงานได้กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้อำนวยการ
เจ้าหน้าที่และลูกจ้างขององค์การมหาชนในกรณีต่าง ๆ
ขึ้นบังคับใช้แตกต่างกัน
และอาจขัดหรือแย้งกับความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับ
การจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้อำนวยการขององค์การมหาชนไว้ สำนักงาน ก.พ.ร.
จึงจัดทำแนวทางการจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่
และลูกจ้างองค์การมหาชนขึ้น และนำเสนอที่ประชุม ก.พ.ร.
และคณะรัฐมนตรีตามลำดับ
เพื่อให้องค์การมหาชนทราบและถือเป็นแนวปฏิบัติต่อไป
ซึ่งคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2555
ได้มีมติเห็นชอบกับแนวทางการจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่
และลูกจ้างองค์การมหาชน ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร.
โดยดำเนินการตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และรับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการด้วย สำนักงาน
ก.พ.ร. จึงได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อ อ.ก.พ.ร.
เฉพาะกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาองค์การมหาชนและองค์กรรูปแบบอื่นใน
กำกับของราชการฝ่ายบริหารที่มิใช่ส่วนราชการพิจารณา
และได้ปรับปรุงแนวทางดังกล่าวตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว
รวมทั้งแจ้งเวียนให้องค์การมหาชนทั้ง 37
แห่งทราบเพื่อนำไปจัดทำหรือปรับปรุงระเบียบหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
ให้เป็นไปตามแนวทางการจ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้างให้กับผู้อำนวยการ
เจ้าหน้าที่ และลูกจ้างองค์การมหาชน ที่จัดทำขึ้น
สำหรับรายละเอียดของ แนวทางการจ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้างให้กับผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่ และลูกจ้างองค์การมหาชน มีดังนี้
1.
องค์การมหาชนเป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาที่ออกตาม
ความในพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 ซึ่งมาตรา 5
กำหนดว่าเป็นหน่วยงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไรเป็นหลัก
2.
ข้อ (3) กฎกระทรวงแรงงาน พ.ศ. 2541
ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดมิให้ใช้ข้อบังคับ
หมวด 11 ค่าชดเชย ตั้งแต่มาตรา 118 ถึงมาตรา 122
บังคับแก่นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงาน ที่มิได้แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจ
ดังนั้น ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
องค์การมหาชนซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
เป็นหลัก ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118 ให้กับผู้อำนวยการ
เจ้าหน้าที่ และลูกจ้างขององค์การมหาชน
3.
มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542
บัญญัติให้กิจการขององค์การมหาชนไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการ
คุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม
และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน ทั้งนี้ ผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่
และลูกจ้างขององค์การมหาชน
ต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง
แรงงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
4.
เพื่อให้ผู้อำนวยการ
เจ้าหน้าที่และลูกจ้างขององค์การมหาชนได้รับสิทธิประโยชน์ไม่น้อยกว่า
ลูกจ้างทั่วไปตามกฎหมายว่าด้วยคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดมาตรฐาน
ขั้นต่ำในการจ้างงาน
คณะกรรมการองค์การมหาชนสามารถใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน
ในการกำหนดค่าตอบแทนการเลิกจ้างได้ตามกรณี
สำนัก
งาน ก.พ.ร. จึงจัดทำแนวทางการจ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้างให้กับผู้อำนวยการ
เจ้าหน้าที่ และลูกจ้าง
เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติสำหรับองค์การมหาชน
เพื่อให้เป็นไปตามหลักการขององค์การมหาชน และสอดคล้องกับข้อกฎหมาย
หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ผู้อำนวยการ หมายความว่า ผู้อำนวยการ หรือผู้บริหารสูงสุดซึ่งเรียกชื่ออย่างอื่นขององค์การมหาชน
เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้าง หมายความว่า
บุคคลที่ปฏิบัติงานขององค์การมหาชนซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างจากงบ
ประมาณขององค์การมหาชนจากหมวดค่าใช้จ่ายบุคลากร
และมีลักษณะการจ้างตามที่กำหนดไว้ในคำสั่งจ้าง สัญญาจ้าง
หรือข้อตกลงการจ้าง
ทั้ง
นี้
จะไม่นับรวมถึงลูกจ้างโครงการที่ปฏิบัติงานให้องค์การมหาชนเป็นการชั่วคราว
และปฏิบัติงานที่มีกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดที่แน่นอน
หรืองานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน
หรือในลักษณะการจ้างงานในโครงการเฉพาะ
โดยองค์การมหาชนและลูกจ้างโครงการได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อ
เริ่มจ้าง ซึ่งโดยปกติทั่วไปงานจะสิ้นสุดภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี
โดยเป็นการจ้างจากงบประมาณหมวดอื่นซึ่งมิใช่หมวดค่าใช้จ่ายบุคลากร
1. การจ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้างกรณีเลิกจ้างผู้อำนวยการ
องค์การมหาชนพึงจ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้างกรณีเลิกจ้างก่อนครบอายุสัญญาจ้างให้แก่ผู้อำนวยการตามที่ระบุในสัญญาจ้าง
การ
เลิกจ้างผู้อำนวยการ หมายความว่า
การกระทำใดที่องค์การมหาชนไม่ให้ผู้อำนวยการทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้
ด้วยเหตุที่องค์การมหาชนถูกยุบเลิกหรือไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้
หรือโดยเหตุอื่นที่กำหนดไว้ในข้อบังคับขององค์การมหาชนนั้น ๆ
ซึ่งองค์การมหาชนจ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้างกรณีเลิกจ้างก่อนครบอายุสัญญาจ้าง
ให้แก่ผู้อำนวยการตามที่ระบุในสัญญา
โดย
คณะกรรมการองค์การมหาชนควรดำเนินการเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้าง
กรณีเลิกจ้างก่อนครบอายุสัญญาจ้างให้กับผู้อำนวยการ ดังนี้
1)
ระบุเรื่องค่าตอบแทนการเลิกจ้างกรณีเลิกจ้างก่อนครบอายุสัญญาจ้างผู้อำนวย
การในสัญญาจ้างให้ชัดเจนเมื่อเริ่มจ้าง
ซึ่งผู้อำนวยการและองค์การมหาชนรับทราบข้อกำหนดหรือเงื่อนไขการจ้างร่วมกัน
โดยสัญญาจ้างอย่างน้อยควรระบุเงื่อนไขการพ้นจากตำแหน่ง
เงื่อนไขการเลิกสัญญาจ้าง การประเมินผลการทำงาน
การจ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้างกรณีเลิกจ้างก่อนครบอายุสัญญาจ้าง
อัตราเงินเดือน และประโยชน์ตอบแทนอื่น
2)
สำหรับอัตราการจ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้างกรณีเลิกจ้างก่อนครบอายุสัญญาจ้าง
นั้น ควรเทียบเคียงกับอัตราตามที่กำหนดในกฎหมายแรงงาน
ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจ้างงาน
โดยไม่ต้องนำไปพิจารณารวมกับกรอบค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรขององค์การมหาชนซึ่ง
กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินอุดหนุนประจำปี
กรณีเลิกจ้างผู้อำนวยการที่ไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้างกรณีเลิกจ้างก่อนครบอายุสัญญาจ้าง
องค์การ
มหาชนไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้างกรณีเลิกจ้างก่อนครบอายุสัญญาจ้างให้
ผู้อำนวยการเนื่องจากไม่ผ่านการประเมินผลการทำงาน หรือบกพร่องต่อหน้าที่
หรือมีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ
หรือขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับการเป็นผู้อำนวยการตามพระราช
บัญญัติองค์การมหาชนหรือกฎหมายจัดตั้งองค์การมหาชน
หรือการเลิกจ้างตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง
หรือกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่องค์การมหาชน
(2) จงใจทำให้องค์การมหาชนได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้องค์การมหาชนได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
(4)
ฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
หรือคำสั่งของคณะกรรมการหรือองค์การมหาชนอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม
และคณะกรรมการหรือองค์การมหาชนได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว
เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง คณะกรรมการหรือองค์การมหาชนไม่จำเป็นต้องตักเตือน
หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้อำนวยการได้กระทำผิด
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
ในกรณี (6) ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้องค์การมหาชนได้รับความเสียหาย
2. การจ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้างกรณีสิ้นสุดสัญญาจ้างของผู้อำนวยการ
องค์การมหาชนไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้างกรณีสิ้นสุดสัญญาจ้างให้ผู้อำนวยการ
โดยคณะกรรมการองค์การมหาชนควรดำเนินการเกี่ยวกับค่าตอบแทนการเลิกจ้างกรณีสิ้นสุดสัญญาจ้าง ดังนี้
1)
ระบุเรื่องการไม่จ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้างกรณีสิ้นสุดสัญญาจ้างให้ชัดเจนไว้
ในสัญญาจ้าง
ซึ่งผู้อำนวยการและองค์การมหาชนรับทราบข้อกำหนดหรือเงื่อนไขการจ้างร่วมกัน
2)
การจ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้างกรณีสิ้นสุดสัญญาจ้างให้กับผู้อำนวยการโดยอาศัย
อำนาจตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 กระทำมิได้
เนื่องจากคณะรัฐมนตรียังไม่ได้ให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนการ
เลิกจ้างตามเงื่อนไขของมาตราดังกล่าว
ใน
กรณีที่องค์การมหาชนใดมีข้อบังคับหรือกำหนดระเบียบไว้แตกต่างไปจากหลักเกณฑ์
นี้ ให้ดำเนินการแก้ไข เปลี่ยนแปลงให้เนไปตามหลักเกณฑ์นี้โดยเร็ว
3. การจ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้างกรณีเลิกจ้างเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้าง
องค์การ
มหาชนพึงจ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้างก่อนครบกำหนดอายุสัญญาจ้างให้แก่เจ้า
หน้าที่หรือลูกจ้างตามที่ระบุในสัญญาจ้าง
หรือระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้างกรณีเลิกจ้าง
ก่อนครบอายุสัญญาจ้าง โดยไม่มีความผิด
การ
เลิกจ้างเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้าง หมายความว่า
การกระทำใดที่องค์การมหาชนไม่ให้เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่
จ่ายค่าจ้างให้
ด้วยเหตุที่องค์การมหาชนถูกยุบเลิกและไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้
การยุบเลิกตำแหน่ง
หรือโดยเหตุอื่นที่กำหนดไว้ในข้อบังคับขององค์การมหาชนนั้น ๆ
โดยคณะกรรมการองค์การมหาชนควรดำเนินการเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้างกรณีเลิกจ้างก่อนครบอายุสัญญาจ้าง ดังนี้
1) กำหนดเรื่องค่าตอบแทนการเลิกจ้างกรณีเลิกจ้างก่อนครบอายุสัญญาจ้าง
ให้
ระบุเรื่องค่าตอบแทนการเลิกจ้างกรณีเลิกจ้างก่อนครบอายุสัญญาจ้างในสัญญา
จ้างเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างให้ชัดเจนเมื่อเริ่มจ้าง
โดยเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างและองค์การมหาชนรับทราบข้อกำหนด
หรือเงื่อนไขการจ้างร่วมกันถึงเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้าง อนึ่ง
สัญญาจ้างอย่างน้อยควรระบุเงื่อนไขการพ้นจากตำแหน่ง
เงื่อนไขการเลิกสัญญาจ้าง การประเมินผลการทำงาน
และการจ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้างกรณีเลิกจ้างก่อนครบอายุสัญญาจ้าง
2)
คณะกรรมการองค์การมหาชนกำหนดระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทน
การเลิกจ้างกรณีเลิกจ้างก่อนครบอายุสัญญาจ้าง โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 24
แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2552
เพื่อรับรองการจ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้างกรณีเลิกจ้างก่อนครบอายุสัญญาจ้าง
ตามสัญญาจ้างข้างต้น
3)
สำหรับอัตราการจ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้างก่อนครบอายุสัญญาจ้างนั้น
องค์การมหาชนควรเทียบเคียงกับอัตราตามที่กำหนด ในกฎหมายแรงงาน
ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจ้างงาน
โดยไม่ต้องนำไปพิจารณารวมกับกรอบค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรขององค์การมหาชนซึ่ง
กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินอุดหนุนประจำปี
กรณีเลิกจ้างเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างที่ไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้างกรณีเลิกจ้างก่อนครบอายุสัญญาจ้าง
องค์การ
มหาชนไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนการเลิกจ้างกรณีเลิกจ้างก่อนครบอายุสัญญาจ้าง
ให้แก่เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างเนื่องจากไม่ผ่านการประเมินผลการทำงาน
หรือบกพร่องต่อหน้าที่ หรือมีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ
หรือขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับการเป็นเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้าง
ตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน หรือกฎหมายจัดตั้งองค์การมหาชน
หรือการเลิกจ้างตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง
หรือกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่องค์การมหาชน
(2) จงใจทำให้องค์การมหาชนได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้องค์การมหาชนได้รับความเสียหายร้ายแรง
(4)
ฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
หรือคำสั่งของคณะกรรมการหรือองค์การมหาชนอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม
และคณะกรรมการหรือองค์การมหาชนได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว
เว้นแต่กรณีร้ายแรง คณะกรรมการหรือองค์การมหาชนไม่จำเป็นต้องตักเตือน
หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างได้กระทำผิด
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
ในกรณี (6) ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้องค์การมหาชนได้รับความเสียหาย
วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ
อโนมา (กลุ่มพัฒนาองค์การมหาชนฯ) / ข้อมูล
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2555 10:44:42 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2555 10:44:42