สำนักงาน ก.พ.ร. จัดการประชุมการเตรียมความพร้อม
ในการสมัครขอรับรางวัล
United Nations Public Service Awards 2013
สำนักงาน ก.พ.ร. โดยสำนักบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม ได้จัดการประชุมเตรียมความพร้อมให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ในการสมัครขอรับรางวัล United Nations Public Service Awards ประจำปี 2013 ขึ้น เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา ณ ห้องมิ่งเมือง โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์ โดยได้รับเกียรติจาก นายพงษ์อาจ ตรีกิจวัฒนากุล รองเลขาธิการ ก.พ.ร. เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ทั้งนี้
ภายในงานมีการเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์พร้อมทั้งให้คำแนะนำเรื่องการเตรียม
ความพร้อมในการสมัครขอรับรางวัล ประจำปี 2013 จากวิทยากรผู้มีประสบการณ์
ได้แก่ นายอัตถพงษ์ ฉันทานุมัติ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมชลประทาน ดร.วชิราภรณ์ กำเนิดเพ็ชร สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กรมชลประทาน นายแพทย์ไพศาล ร่วมพิบูลย์สุข ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านศูนย์ความเป็นเลิศโรงพยาบาลราชวิถี และ ผศ.ดร.วิพุธ อ่องสกุล อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์
นายพงษ์อาจ ตรีกิจวัฒนากุล รองเลขาธิการ ก.พ.ร. ได้กล่าวว่า รางวัล United Nations Public Service Awards เป็น
รางวัลนานาชาติที่ทรงคุณค่า
ที่องค์การสหประชาชาติมอบให้แก่หน่วยงานภาครัฐที่มีการคิดค้นนวัตกรรมสร้าง
กระบวนการในการบริหารและการบริการในภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แล้วสามารถสนองตอบต่อความต้องการของประชาชนได้ ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร.
ได้ส่งเสริมและสนับสนุนส่วนราชการที่ได้รับรางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ
ให้เสนอผลงานการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนเข้ารับรางวัล United
Nations Public Service Awards
เพื่อให้ผลงานของหน่วยงานภาครัฐไทยที่ได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ
ประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง ได้รับการเผยแพร่และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
ในส่วนของการเสวนา นายแพทย์ไพศาล ร่วมพิบูลย์สุข ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านศูนย์ความเป็นเลิศโรงพยาบาลราชวิถี ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ถึง โครงการป้องกันตาบอดจากโรคเบาหวาน
ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศคุณภาพการให้บริการดีเด่นสาขาการเสริมสร้างการ
จัดการความรู้ในภาครัฐ ประจำปี ค.ศ. 2012
ว่าเป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีเป็นจำนวนมาก
ซึ่งจำเป็นต้องตรวจตาปีละครั้ง
โดยจำนวนจักษุแพทย์มีไม่เพียงพอต่อความต้องการ
จึงได้นำเทคโนโลยีกล้องถ่ายภาพจอตาระบบดิจิตอลมาใช้คัดกรองผู้ป่วยที่มีความ
เสี่ยงต่อตาบอดจากเบาหวาน
และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นแหล่งรวบรวมและถ่ายทอดความรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่
ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจจาก UN
เนื่องจากเป็นการเพิ่มการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยในเขตพื้นที่ห่างไกลและก่อ
ให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม
อีกทั้งยังได้เล่าประสบการณ์เกี่ยวกับเทคนิคในการเขียนรายงานอีกด้วย
นายอัตถพงษ์ ฉันทานุมัติ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมชลประทาน ได้
กล่าวถึงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยมที่ได้รับรางวัลการส่งเสริมการสนับ
สนุนการมีส่วนร่วม
ในกระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายผ่านกลไกด้านนวัตกรรมจากการป้องกันและ
บรรเทาภัยแล้วแบบบูรณาการ ประจำปีค.ศ. 2012 ว่าเกิดจากกระบวนการ 3 ประสาน
โดยภาครัฐสนับสนุนด้านงบประมาณบูรณาการหน่วยงานราชการในการจัดสรรน้ำ
และการให้เกษตรกรเป็นเข้ามาตรวจสอบ กำกับดูแลการทำงานของภาครัฐ
ซึ่งในส่วนนี้ได้รับความสนใจจาก UN ในด้านความโปร่งใสในการทำงาน นอกจากนี้
ยังให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนำเสนอรายงานในเรื่องการตอบคำถามและข้อมูลสนับ
สนุนต่าง ๆ รวมถึงเทคนิคการใช้วีดีทัศน์ในการสรุปกระบวนการทำงาน
ต่อจากนั้น ผศ.ดร.วิพุธ อ่องสกุล อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ ได้
ชี้แจงถึงการเตรียมความพร้อมในการสมัครขอรับรางวัล ประจำปี ค.ศ. 2013
เกี่ยวกับประเภทสาขารางวัล
โดยสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐไทยส่งสมัครขอรับรางวัล
ในสาขาป้องกันและปราบปรามการประพฤติมิชอบในงานบริการสาธารณะ
และสาขาการเสริมสร้างความเท่าเทียมทางเพศในงานบริการสาธารณะ
เนื่องจากไม่เคยมีหน่วยงานใดส่งสาขานี้มาก่อน
อีกทั้งกระบวนงานของไทยก็มีการปรับปรุงพัฒนาก้าวหน้าในด้านนี้
นอกจากนั้นได้อธิบายถึงแนวทางในการสมัครขอรับรางวัล
รายละเอียดและขั้นตอนในการประเมินของคณะกรรมการ
และการเตรียมความพร้อมในการสมัครขอรับรางวัล ในแต่ละประเภทสาขารางวัล
ส่วนช่วงบ่าย มีการบรรยายเทคนิคการเขียนใบสมัครและตอบคำถาม โดยมี นายอัตถพงษ์ ฉันทานุมัติ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมชลประทาน และ ดร.วชิราภรณ์ กำเนิดเพ็ชร สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กรมชลประทาน ร่วมเป็นวิทยากรในการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ โดยกล่าวถึง เทคนิคการเขียนใบสมัครขอรับรางวัล UN ซึ่งต้องศึกษารายละเอียดข้อคำถามทั้ง 10 ข้อ ให้ละเอียด
และจับประเด็นข้อคำถาม จากนั้นจึงเขียนคำตอบ
ในส่วนข้อมูลของผลงานที่จะนำเสนอขอรับรางวัลสรุปแต่ละหัวข้อเป็นภาษาไทย
เนื้อหาภาษาไทยต้องกระชับ และสามารถมองเห็นกระบวนการทำงานตามข้อคำถาม
และเนื้อหาต้องมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกัน
การเขียนคำตอบเป็นภาษาไทยต้องทำให้นิ่งตกผลึกความคิดก่อนให้เรียบร้อย
และอย่าใช้คำศัพท์ที่ซ้ำกันมากเกินไป
ต้องระวังในเรื่องข้อจำกัดในการตอบคำถามต้องไม่เกิน 500 คำ ต่อ 1 คำถาม
นอกจากนี้ยังกล่าวถึงเทคนิคการเขียนใบสมัครเป็นภาษาอังกฤษ โดย
เน้นในเรื่องของความตั้งใจและเอาใจใส่ในงาน
รวมถึงทำตามความเข้าใจกับเนื้องานที่ทำและอ่านข้อความทั้งหมดก่อนค่อยนำมา
แปล
เนื้อหาแต่ละย่อหน้าควรเชื่อมโยงสอดคล้องกันโดยอธิบายจากภาพใหญ่แล้วค่อย ๆ
ลงสู่รายละเอียด และยังได้กล่าวถึงแนวทางการตอบคำถามและเทคนิคในการส่งเอกสารประกอบ ด้วย
หลังจากนั้น มีการจัดกลุ่มคลินิกให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ส่วนราชการในภูมิภาค โดย
ทีมที่ปรึกษาจากสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ ทั้งนี้
เพื่อเปิดโอกาสให้แก่ตัวแทนในส่วนจังหวัดต่าง ๆ
ได้สอบถามข้อสงสัยและร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
และทำความเข้าใจในเรื่องการเตรียมความพร้อมในการสมัครขอรับรางวัล United
Nations Public Service Awards ในปี ค.ศ. 2013 ต่อไป
สำหรับส่วนราชการในส่วนกลางนั้น จะมีการจัดคลินิกให้คำปรึกษาฯ
ในระหว่างวันที่ 5 - 9 พฤศจิกายน 2555 ณ ห้องประชุม 501 502 ชั้น 5
อาคารสำนักงาน ก.พ.ร.
วีดิทัศน์การเตรียมความพร้อมในการสมัครขอรับรางวัล United Nations Public Service Awards ประจำปี ค.ศ. 2013
กลุ่มสื่อสารฯ สลธ. / ข่าว & ภาพ
วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 26 ตุลาคม 2555 09:08:31 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 26 ตุลาคม 2555 12:22:02