Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2555 / ตุลาคม / สำนักงาน ก.พ.ร. จัดประชุมสัมมนาทางวิชาการประจำปี 2555 ื่อง ปรับระบบราชการไทย...เตรียมพร้อมสู่าเซียน 2015

สำนักงาน ก.พ.ร. จัดประชุมสัมมนาทางวิชาการประจำปี 2555 ื่อง ปรับระบบราชการไทย...เตรียมพร้อมสู่าเซียน 2015

สำนักงาน ก.พ.ร. จัดประชุมสัมมนาทางวิชาการประจำปี 2555 เรื่อง
ปรับระบบราชการไทย...เตรียมพร้อมสู่อาเซียน 2015



           สำนักงาน ก.พ.ร. จัดการประชุมสัมมนาทางวิชาการประจำปี 2555 เรื่อง ปรับระบบราชการไทย...เตรียมพร้อมสู่อาเซียน 2015 โดยได้รับเกียรติจาก นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมตรี เป็นประธานกล่าวเปิดงานและบรรยายพิเศษ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา ณ ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 2, 3 และ 4 ชั้น 4 ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2555 




 

           ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. ได้กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการจัดประชุมสัมมนาวิชาการในครั้งนี้ว่า การพัฒนาระบบราชการได้ดำเนินการอย่างจริงจังนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา ซึ่งในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมานั้น ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐได้ร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาการบริหารราชการ ภายใต้หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี จนเป็นที่ยอมรับของประชาชนและได้รับรางวัลในระดับนานาชาติทั้งในด้าน ประสิทธิภาพและประสิทธิผล การปรับปรุงคุณภาพการให้บริการประชาชน การปรับรูปแบบการทำงานเชิงบูรณาการ การบริหารงานแบบยึดพื้นที่ การถ่ายโอนภารกิจของภาครัฐไปยังภาคส่วนอื่น ๆ การพัฒนาระบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการ การทำให้ระบบราชการมีความเปิดเผยโปร่งใส ตลอดจนแสวงหาแนวทางในการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ ค่านิยม วัฒนธรรม รวมถึงการเสริมสร้างสมรรถนะและปรับปรุงขวัญกำลังใจของข้าราชการในการปฏิบัติ งาน

           เลขาธิการ ก.พ.ร. กล่าวต่อไปว่า ในการประชุมสัมมนาทางวิชาการประจำปี 2554 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มอบนโยบายในการพัฒนาระบบราชการไว้ว่า ข้าราชการต้องทำงานเชิงรุก และเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ดังนั้น สิ่งที่ถือเป็นความท้าทายของระบบราชการไทย คือ การปรับตัวเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในปี ค.ศ. 2015 ซึ่งจะต้องสร้างความร่วมมือในทุก ๆ ด้าน ให้เกิดการบูรณาการและขับเคลื่อนไปพร้อมกันทั้งระบบราชการ คู่ขนานไปกับบทบาทของภาครัฐในการสนับสนุนเครือข่ายต่าง ๆ ทั้งภาคประชาชน เอกชน และประชาสังคม ให้พัฒนาความสามารถทางการแข่งขันในตลาดการค้าเสรีได้อย่างมีศักยภาพ ดังนั้น เพื่อสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมให้แก่ภาครัฐในการเข้าสู่ประชาคมอา เซียน สำนักงาน ก.พ.ร. จึงได้ดำเนินโครงการ ขับเคลื่อนภาครัฐในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาภารกิจของส่วนราชการ และการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งประชาคมอาเซียน เพื่อนำมาวิเคราะห์และกำหนดกรอบแนวทางในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ของส่วนราชการต่อไป สำหรับการจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการเรื่อง เรื่อง ปรับระบบราชการไทย...เตรียมพร้อมสู่อาเซียน 2015 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนัก ตื่นตัว ให้แก่ภาคราชการในการปรับเปลี่ยนการทำงานให้สามารถขับเคลื่อนเข้าสู่ประชาคม อาเซียนในปี 2015 ได้อย่างมั่นคงและประสบความสำเร็จร่วมกัน




           จากนั้น นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมตรี ได้เป็นประธานกล่าวเปิดงานและบรรยายพิเศษเรื่อง ปรับระบบราชการไทย...เตรียมพร้อมสู่อาเซียน 2015 โดยกล่าว แสดงความยินดีในโอกาสที่สำนักงาน ก.พ.ร. มีอายุครบ 10 ปี ซึ่งถือเป็นทศวรรษของการพัฒนาปรับปรุงการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการของ ประเทศไทย ที่ต้องยกประโยชน์ให้ทั้งส่วนราชการและสำนักงาน ก.พ.ร. ที่ได้ร่วมกันพัฒนาอย่างต่อเนื่องนับเป็นเวลา 10 ปี ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย ซึ่งเป็นผลมาจากบริบทการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่ทำให้โลกแคบลง ภาครัฐและภาคเอกชนจึงต้องปรับตัวให้ทันกับการแข่งขัน และจากนี้ไปอีก 3 ปีข้างหน้า ถือเป็นความท้าทายของประเทศไทยที่จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี ค.ศ. 2015 หรือ พ.ศ. 2558 ระบบราชการและภาคเอกชนต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิด ประโยชน์ต่อประชาชนให้มากที่สุด

           เป็น ที่ทราบกันดีว่าประเทศในกลุ่มอาเซียนมี 10 ประเทศ โดยเมื่อเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2510 มีสมาชิกทั้งหมด 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาได้มีสมาชิกเพิ่มเติมตั้งแต่ พ.ศ. 2527 คือ บรูไนดารุสซาลาม พ.ศ. 2538 คือ เวียดนาม พ.ศ. 2540 คือ ลาว และ พม่า พ.ศ. 2542 คือ กัมพูชา จากสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2510 จนถึงการที่จะรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งมีวิวัฒนาการเรื่อยมา กล่าวคือ

           
● ปี 2546 ผู้นำอาเซียนในการประชุมสุดยอดที่บาหลี ได้ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ฉบับที่ 2 (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) เพื่อประกาศจัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี 2563

           ● ปี 2550 ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 12 ที่เซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ได้ตกลงให้การจัดตั้งประชาคมอาเซียนเกิดเร็วขึ้น คือภายในปี พ.ศ. 2558 หรือ ค.ศ. 2015 รวมทั้งได้มีการวางกรอบการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม โดยการร่าง กฎบัตรอาเซียน หรือ ASEAN Charter ขึ้น

           ● นำไปสู่การจัดทำ Roadmap for ASEAN Community 2015 ซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลักที่จะสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งให้เกิดกับประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ เสาหลักเศรษฐกิจ (ASEAN Economic Community : AEC) เสาหลักประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC) และ เสาหลักประชาคมการเมืองและความมั่นคง (ASEAN Political Security Community : APSC) โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้




           เป้าหมายและพันธกรณีด้านเศรษฐกิจ (AEC Blueprint)

           1. การเป็นตลาดและฐานการผลิดเดียว หมาย ถึง การเคลื่อนย้ายที่เสรีของสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน แรงงานมีฝีมือ รวมทั้งการรวมกลุ่มใน 12 สาขาสำคัญ ความร่วมมือด้านอาหาร เกษตร และป่าไม้ โดยมีการเปิดเสรีการค้า การยกเลิกภาษี การรวมกลุ่มทางศุลกากร การเปิดเสรีค้าบริการ โดยลดข้อจำกัดการค้าบริการ บริการด้านการเงิน การเปิดเสรีด้านการลงทุนโดยความตกลงเขตการลงทุนอาเซียนเต็มรูปแบบ การขยายการเปิดเสรีตลาดทุน การเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือโดยการอำนวยความสะดวกและความร่วมมือในการ พัฒนา/ยกระดับฝีมือแรงงาน

           2. การไปสู่ภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันในด้านต่าง ๆ ได้แก่ นโยบายการแข่งจัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ภาษีอากร ในกรณีภาษีซ้อน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

           3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียม ในด้านการพัฒนา SMEs และ Initiative for ASEAN Integration (IAI) การลดช่องว่างทางการพัฒนาระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน

           4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก ในการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกับเศรษฐกิจภายนอก และการมีส่วนร่วมในเครือข่ายอุปทานโลก

           เป้าหมายและพันธกรณีด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASCC Blueprint) 

           1. การพัฒนามนุษย์ โดยการ ให้ความสำคัญกับการศึกษา การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ การส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม ส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศ เพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงประยุกต์ และเสริมสร้างทักษะในการประกอบการ สำหรับสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ

           2. การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม โดย ขจัดความยากจน สร้างเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคม/ความคุ้มกันจากผลกระทบด้านลบจากการรวม ตัวอาเซียนและกระแสโลกาภิวัตน์ การส่งเสริมความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหาร พร้อมเข้าถึงการดูแลสุขภาพ/ส่งเสริมการดำรงชีวิตที่มีสุขภาพ เพิ่มศักยภาพในการควบคุมโรคติดต่อ ให้ความรับประกันอาเซียนที่ปลอดยาเสพติด และสร้างรัฐที่พร้อมรับกับภัยพิบัติและประชาคมที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น

           3. ความยุติธรรมและสิทธิอย่างเท่าเทียม โดย คุ้มครองสิทธิและสวัสดิการสำหรับกลุ่มด้อยโอกาสและกลุ่มที่อ่อนแอ แรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและองค์กรธุรกิจ

           4. การส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดย จัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม มลพิษสิ่งแวดล้อมข้ามแดน เสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยศึกษาสิ่งแวดล้อม เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (EST) คุณภาพการดำรงชีวิตในเมือง ทรัพยากรชายฝั่งและทะเลอย่างยั่งยืน อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ทรัพยากรน้ำจืดอย่างยั่งยืน ตอบสนองต่อ Climate Change และส่งเสริมการบริหารจัดการป่าไม้

           5. การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน โดย ส่งเสริมและตระหนักถึงการเป็นประชาคมอาเซียน สร้างการอนุรักษ์มรดกวัฒธรรมอาเซียน ส่งเสริมการสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรมและอุตสาหกรรม และคำนึงถึงผลกระทบที่มีส่วนเก่ยวข้องกับชุมชน

           6. การลดช่องว่างการพัฒนา โดยเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่า 6 ประเทศกับประเทศสมาชิกใหม่


 

           เป้าหมายและพันธกรณีด้านประชาคมการเมืองและความมั่นคง (APSC Blueprint)

           1. ประชาคมที่มีกฎเกณฑ์ บรรทัดฐาน และค่านิยมร่วมกัน : ความร่วมมือด้านการพัฒนาทางการเมือง การสร้างและแบ่งปัน กฎเกณฑ์ร่วม สร้างความแข็งแกร่งแก่ประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และนิติธรรม ส่งเสริมความเท่าเทียมด้านสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน

           2. ภูมิภาคมีความเป็นเอกภาพ สงบสุข และมีความแข็งแกร่ง : พร้อม ทั้งมีความรับผิดชอบร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาความมั่นคงที่ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งในด้านสร้างและแบ่งปันกฎเกณฑ์ร่วมให้มีแนวปฏิบัติที่ดี ป้องกันความขัดแย้งและมาตรการการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ แก้ไขความขัดแย้งและระงับข้อพิพาท สร้างสันติภาพหลังความขัดแย้ง สร้างความร่วมมือของอาเซียนในการรับมือปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่ และการจัดการภัยพิบัติ พร้อมตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพและทันกาลต่อประเด็นเร่งด่วนป้องกันความขัด แย้ง สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ การทูตเ้องกัน

           3. ภูมิภาคที่มีพลวัตรและมองยังโลกภายนอก : ส่งเสริมความเป็นศูนย์กลางอาเซียนในความร่วมือระดับภูมิภาคและการสร้ง ประชาคมส่งเสริมความสัมพันธ์ที่เพิ่มพูนกับประเทศภายนอก เสริมสร้างการปรึกษาหารือและความร่วมมือในประเด็นพหุภาคีที่เป็นความกังวล ร่วมกัน


 

           นอกจากนี้ ยังมีการรวมกลุ่มย่อยที่เกี่ยวข้องผูกพัน ประกอบด้วย 3 อนุภูมิภาค ที่สำคัญ ได้แก่ 

           1. อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) เริ่ม ในปี 2535 มีประเทศสมาชิค 6 ประเทศ (5 ประเทศ + 1) ได้แก่ กัมพูชา จีน ลาว เมียนมาร์ ไทย และเวียดนาม มุ่งเน้นการพัฒนาในเรื่อง ถนน รถไฟ การค้าชายแดน การอำนวยความสะดวก เรื่องก้าวหน้ามากที่สุด คือ การค้าชายแดนและโครงสร้างพื้นฐาน โดยจะมีการประชุมปีละ 1-2 ครั่ง ต่อปี

           2. กรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง ญี่ปุ่นด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม (Mekong Japan Economic and Industrial Cooperation: MJ-CI) เป็น กรอบความร่วมมือย่อยภายใต้ความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขงกับญี่ปุ่น (Mekong Japan Cooperation) มีประเทศสมาชิก 6 ประเทศ (กัมพูชา ลาว ไทย เวียดนามและญี่ปุ่น) เริ่มต้นโดยรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมบทบาทของตนให้ชัดเจนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เป็นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม


           3. ภารกิจการขับเคลื่อนแผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย (IMT - GT) ก่อ ตั้งขึ้นในปี 2536 จากความเห็นชอบร่วมกันของผู้นำทั้ง 3 ประเทศ โดยมอบหมายให้ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) เป็นผู้สนับสนุนทางวิชาการ ปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่ 14 จังหวัดภายใต้ของไทย 8 รัฐตอนเหนือและตะวันตกของมาเลเซีย และ 10 จังหวัดบนเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย

           การ รวมตัวของประเทศในกลุ่มอาเซียนเป็นการรวมตัวกันเพื่อสร้างศูนย์รวมทาง เศรษฐกิจและการค้าในแห่งเดียวกัน สำหรับประเทศไทยหมายถึงการขยายตลาด โดยจะเห็นว่าความสำคัญของอาเซียนต่อโลก คือ มีประชากร 600 กว่าล้านคน ขนาดของเศรษฐกิจ 1.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ การลงทุน 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และจำนวนนักท่องเที่ยว 65 ล้านคนต่อปี

           นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลพื้นฐานระหว่างประเทศไทยกับประเทศในกลุ่มอาเซียน พบว่า

           ● ด้านพื้นที่ ประเทศไทยมีพื้นที่มากเป็นอันดับ 3 รองจาก อินโดนีเซีย (1) และพม่า (2)
           ● ด้านประชากรประเทศไทยมีประชากรมากเป็นอันดับ 3 รองจาก คือ อินโดนีเซีย (1) และ ฟิลิปปินส์ (2) 
           ● ค่า GDP ประเทสไทยอยู่ในอันดับ 2 รองจาก อินโดนีเซีย
           ● ค่า GDP ต่อหัว ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 3 รองจาก สิงคโปร์ (1) และบรูไน (2)

           ความสำคัญของอาเซียนมีผลต่อประเทศไทยมาก ในปี 2535 ประเทศไทยมีตัวเลขการส่งออกรวม 113,562 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13.8 ของกลุ่มประเทศในอาเซียน และในปี 2554 ตัวเลขส่งออกรวม 1,682,803 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 23.7 ของกลุ่มประเทศในอาเซียน ซึ่งจะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีอัตราการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและ การคาดการณ์ว่าจะสูงขึ้นอีก เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2015

           ในภาพรวมการค้าระหว่างประเทศ พบว่า ประเทศไทยได้เปรียบทางการค้าในอาเซียนมาโดยตลอด ซึ่งมีการส่งออกสูงกว่าการนำเข้า มียอดส่งออกสูงกว่าการนำเข้าประมาณ 4-5 แสนล้านบาทต่อปี และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียนพบว่าเหนือกว่าทุกประเทศยก เว้นบรูไนกับพม่า เนื่องจากเรื่องพลังงานและน้ำมัน ดังนั้นนับได้ว่าเรื่องการค้าระหว่างประเทศถือเป็นจุดแข็งของประเทศไทย

           สำหรับเรื่องการท่องเที่ยว พบว่า นักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศไทยสูงและมีความได้เปรียบในธุรกิจด้านโรงแรม และโรงพยาบาล แต่จะเสียเปรียบอยู่ 2 ประเทศ คือ ประเทศบรูไน กับประเทศลาวา ดังนั้นเราต้องรักษาเรื่องการท่องเที่ยวไว้ ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติมต่อไปเรื่อยๆ เพราเป็นรายได้ที่สร้างง่ายที่สุด

           ความ ได้เปรียบอีกประการหนึ่ง คือ ลักษณะภูมิประเทศจะเห็นได้ว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคม ซึ่งมีแผนจะสร้างรถไฟความเร็วสูงไปยังประเทศต่าง สำหรับทางรถยนต์จะมีการเชื่อมโยงเครือข่ายไปประเทศต่างๆ ใน 3 แนว ได้แก่ (1) แนวตะวันออก ตะวันตก เชื่อมโยงพม่า ไทย ลาว เวียดนาม (2) แนวเหนือใต้มี 2 เส้นทางหลัก เชื่อมโยงจีน พม่า / ลาว ไทย จีน เวียดนาม และ (3) แนวตอนใต้ เชื่อมโยงไทย กัมพูชา เวียดนาม


           สำหรับดัชนีความสามารถด้านโลจิสติกส์ของประเทศในภูมิภาคเอเชียปี 2012 ไทยอยู่ในอันดับ 3 ในกลุ่มประเทศอาเซียน และอยู่อันดับ 5 ในกลุ่มประเทศเอเชีย ประเทศที่ดีกว่าในอาเซียน ได้แก่ สิงคโปร์และมาเลเซีย

           รัฐบาลได้ให้ความสำคัญและพยายามวางแผนก้าวสู่ประชาคมอาเซียน อย่างจริงจัง โดยนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลข้อง 1.6 เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน เพื่อทำให้การค้าการลงทุนทำได้ง่าย และมีนโยบายอีกหลายข้อในข้อง 7.1 7.2 และ 7.8 มีการตั้งคณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติ ตาม 3 เสาหลักและมีคณะอนุกรรมการเรื่อง Connectivity ของโครงสร้างพื้นฐาน และคณะอนุกรรมการด้านการประชาสัมพันธ์

           สำหรับการพัฒนาองค์การเพื่อการขับเคลื่อนสู่ประชาคมอาเซียน มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ทำแผนเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มีการประชุมเชิงปฏิบัติการในการรวมแผนตาม 3 เสาหลัก ให้ไปจัดทำแผนปฏิบัติการ เรื่อง การจัดการองคาพยพที่จะทำให้ราชการเอื้ออำนวยให้ประชาชน เอกชน สามารถเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและได้ประโยชน์สูงสุด ดังนี้

           ● เรื่องการเชื่อมโยงในภูมิภาค มอบหมายกระทรวงคมนาคมรับผิดชอบ
           ● การขับเคลื่อนจังหวัดกลุ่มจังหวัดในการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบ
           ● เรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มอบหมายกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงาน ก.พ.ร. รับผิดชอบ
           ● ภาคเอกชน ต้องเป็ฯผู้นำในด้านเศรษฐกิจ ซึ่งภาคเอกชนมีความตื่นตัวและแข็งขันกันมาก
           ● การสนับสนุนการขับเคลื่อนของ 3 เสาหลัก ให้มีการบูรณาการร่วมกัน




           ทั้งนี้ การประชุมในวันที่ 24 ตุลาคม 2555 จะเป็นการรวมแผนในด้านต่างๆ เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนในการพัฒนาทั้งในเรื่องของโครงสร้าง กระบวนงาน คน และเทคโนโลยี โดยมีเป้าหมายในการดำเนินการเพื่อให้ส่วนราชการมีขีดสมรรถนะสูงมีความพร้อม ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รวมทั้งส่งเสริมให้ภาคประชาชน ภาคเอกชนได้รับประโยชน์สูงสุดในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
สำหรับแนวทางการเตรียมความพร้อมที่จำเป็นจะครอบคลุมในด้าน (1) การสร้างความรู้ ความเข้าใจความตระหนักรู้ (2) การพัฒนาแรงงานทรัพยากรมนุษย์ (3) การพัฒนาคุณภาพการให้บริการ (4) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ (5) การปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ (6) การบริหารทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และ (7) การดำเนินงานด้านการเมืองและความมั่นคง

           สรุปได้ว่า ในการขับเคลื่อนเพื่อนำพาประชาชนเข้าสู่ประชาคมอาเซียนนับเป็นโอกาสของ ประเทศทั้งด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การบริการ ซึ่งต้องมีการผนึกกำลังในประชาคมอาเซียนให้สามารถแข่งขันในประชาคมโลกในทุก มิติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการเป็นศูนย์กลางของครัวโลก ซึ่งการดำเนินการจะสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนในสังคม ที่จะทำให้การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศ ชาติ




 

           หลังจากการบรรยายพิเศษของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มีการเสวนาเรื่อง ระบบราชการไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน  โดยมีผู้เสวนา ประกอบด้วย
           1. นายนพพร อัจฉริยวณิช รองอธิบดีกรมอาเซียน 
           2. นายสมยศ ตั้งมีลาภ รองประธานสายงานองค์กรระหว่างประเทศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไท
           3. ศ.ดร.ไชยวัฒน์ ค้าชู อาจารย์ประจาคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานกรรมการบริหารหลักสูตรไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สถาบันพระปกเกล้า
           4. ผศ.ดร.การดี เลียวไพโรจน์ อาจารย์ประจาคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
           5. ดร.กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลกประจำประเทศไทย 
           ผศ.ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา อาจารย์ประจาคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ดาเนินรายการ





           สำหรับในช่วงบ่ายเป็นการเสวนา เรื่อง การพัฒนาองค์การเพื่อรองรับอาเซียน โดยมีผู้เสวนา ประกอบด้วย
           1. นายปกรณ์ นิลประพันธ์ กรรมการร่างกฎหมายประจา สานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
           2. ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อานวยการสานักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์) 
           3. ดร.นิธินาถ สินธุเดชะ กรรมการผู้จัดการบริษัทเอ็นเอเบิล พลัส จากัด
           ผศ.ดร.วิพุธ อ่องสกุล อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ผู้ดาเนินรายการ 




           นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการของหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ กรมอาเซียน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รวมทั้งนิทรรศการประชาสัมพันธ์โครงการของสำนักงาน ก.พ.ร. ได้แก่ โครงการนักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ (นปร.) และโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning)





 

           สำหรับสรุปสาระสำคัญของการเสวนาในแต่ละหัวข้อนั้น สามารถติดตามอ่านได้ทางเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.พ.ร. ที่ www.opdc.go.th
 
  








 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 10 ตุลาคม 2555 11:56:17 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 10 ตุลาคม 2555 11:56:17
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th