Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2555 / สิงหาคม / สำนักงาน ก.พ.ร. จัดกิจกรรมสื่อสัญจร นำสื่อมวลชมเยี่ยมชมงานจังหวัด แพร่ - น่าน

สำนักงาน ก.พ.ร. จัดกิจกรรมสื่อสัญจร นำสื่อมวลชมเยี่ยมชมงานจังหวัด แพร่ - น่าน

สำนักงาน ก.พ.ร. จัดกิจกรรมสื่อสัญจร
นำสื่อมวลชมเยี่ยมชมงานจังหวัด แพร่ - น่าน



           เมื่อวันที่  3 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา สำนักงาน ก.พ.ร. โดยกลุ่มสื่อสารสร้างความเข้าใจในการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานเลขาธิการ ได้จัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร โดยนำสื่อมวลชนทั้ง หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ เข้าเยี่ยมชมศึกษาการทำงานของ  การป้องกันและบรรเทาภัยแล้วแบบบูรณาการ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยม จังหวัดแพร่ กรมชลประทาน ซึ่งได้รับ รางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน จากสำนักงาน ก.พ.ร. ในปี พ.ศ. 2554 และ รางวัล United Nation Public Service Awards 2012 ประเภทรางวัล การส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายผ่านกลไกด้านนวัต กรรม จาก องค์การสหประชาชาติ ซึ่งเป็นรางวัลแห่งความภาคภูมิใจของหน่วยงานราชการไทย ที่เป็นที่ยอมรับในระดับโลก จากนั้น  จึงนำคณะสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงานตามยุทธศาสตร์จังหวัดน่าน ณ สถานีพัฒนาการเกษตร ที่สูงตามพระราชดำริ ภูพยัคฆ์ และเส้นทางเศรษฐกิจการค้าชายแดนจากไทย สปป. ลาวจังหวัดน่าน


     โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยม




 


           นายมนัส โสกันธิกา  รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ให้ การต้อนรับคณะสื่อมวลชน และกล่าวถึงปัญหาลุ่มน้ำยมว่า เนื่องจากลุ่มน้ำยม เป็นลุ่มน้ำขนาดใหญ่มีพื้นที่ครอบคลุมถึง 10 จังหวัด คือ พะเยา น่าน แพร่ สุโขทัย ลำปาง ตาก พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร และนครสวรรค์  โดยมีแม่น้ำยมเป็นแม่น้ำสายหลัก มีต้นกำเนิดจากดอยขุนยวม อำเภอปง จังหวัดพะเยา ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำน่าน ที่อำเภอชุมแสงจังหวัดนครสวรรค์ รวมความยาวประมาณ 735 กม. โดยมีปัญหาหลักของลุ่มน้ำยม คือ เกิดปัญหาน้ำท่วมอย่างรุนแรงในฤดูฝนทุกปี เนื่องจากเป็นลุ่มน้ำที่มีฝนตกชุก มีปริมาณน้ำท่าในแต่ละปีเฉลี่ยมากกว่า 3,600 ล้านลบ.ม.ต่อปี หรือเท่ากับปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 4 เขื่อน พอถึงฤดูแล้งปัญหาขาดแคลนน้ำรุนแรงมาก ทั้งนี้เป็นเพราะยังไม่มีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่เกิดขึ้นเลย  จึงทำให้ไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำต้นทุน ปริมาณน้ำจำนวนมากในฤดูฝน ไหลทิ้งลงทะเลเกือบทั้งหมด

           นายสุรพล อจละนันท์  ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยม กล่าว ถึงความเป็นมาของโครงการฯ ว่า  โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยม เป็นโครงการประเภทเหมืองฝายกั้นน้ำสำหรับพื้นที่ที่ไม่มีแหล่งน้ำต้นทุน   มีพื้นที่ชลประทานที่อยู่ในความดูแล 224,000 ไร่ ครอบคลุม 5 อำเภอ ของจังหวัดแพร่ คือ อำเภอสอง อำเภอหนองม่วงไข่ อำเภอเมือง อำเภอสูงเม่น และอำเภอเด่นชัย  โดยมีพื้นที่ใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูกในเขตโครงการประมาณ 17,500 ไร่ ซึ่งในแต่ละปีจะมีน้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก และก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง และปัญหามวลชน  โดยเฉพาะระหว่างผู้ที่อยู่ต้นน้ำที่มักจะปิดกั้นคลองส่งน้ำและผู้ที่อยู่ ปลายน้ำที่มักจะได้รับน้ำไม่เพียงพอ  จึงนำมาซึ่งการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการน้ำให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ใช้ น้ำทุกกลุ่ม 

           และเนื่องจาก
จังหวัดแพร่เป็นจังหวัดที่พื้นที่ไม่มีแหล่งน้ำต้นทุน กล่าว คือ ไม่มีห้วย หนอง คลอง บึงในการกักเก็บน้ำ  ดังนั้น เมื่อถึงเวลาหน้าฝนน้ำจะท่วม และเมื่อถึงเวลาหน้าแล้งจะไม่มีน้ำ จึงเป็นจังหวัดที่ประสบภัยธรรมชาติ 2 ประการ คือ อุทกภัยและปัญหาภัยแล้ง ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน และทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยปริมาณน้ำจะวิกฤตในช่วงเดือนมกราคม เดือนมีนาคมของทุกปี เพราะไม่มีแหล่งน้ำต้นทุน  จึงต้องสร้างฝายทดน้ำทำหน้าที่ยกระดับน้ำแม่ยมเข้าสู่ระบบชลประทานเป็นหลัก ซึ่งเป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติส่งผลให้ปริมาณน้ำไม่แน่นอน  มีความแปรปรวนขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ปริมาณน้ำฝน ประกอบกับความคาดหวังของเกษตรกรกับการดำเนินงานของภาครัฐที่จะให้ความช่วย เหลือในการเพาะปลูกพืช  ทำให้แนวโน้มการขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำ และความเสียหายจากการเพาะปลูกสูงขึ้นตามไปด้วย  นอก จากนี้ ในการบริหารจัดการน้ำของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยมที่ผ่านมา  ขาดการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเกษตรกรกับโครงการฯ  ไม่มีกระบวนการบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสม  ไม่มีฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบันในการตัดสินใจเพื่อบริหารจัดการน้ำ ขาดการประชาสัมพันธ์และการให้ข้อมูลข่าวสารแก่เกษตรกร และไม่มีระบบสนับสนุนการวางแผนการเพาะปลูกและการส่งน้ำให้แก่เกษตรกรอย่างมี ประสิทธิภาพ  ความขัดแย้งทั้งของคนในชุมชน ชุมชนกับรัฐ จึงทำให้กรมชลประทาน โดยโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยม  ต้องปรับปรุงและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการน้ำให้แก่เกษตรกร  ซึ่งได้บูรณาการการทำงานโดยการ นำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (GIS) และระบบฐานข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยา อุทกวิทยา ข้อมูลการเพาะปลูก ข้อมูลการส่งน้ำ มาประยุกต์ใช้ ร่วมกับกระบวนการการมีส่วนร่วมของเกษตรกร ในรูปแบบการบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจึงเป็นที่มาของนวัตกรรม การป้องกันและบรรเทาภัยแล้งแบบบูรณาการ

           นายพฤทธิพงศ์ ทัศน์อัญชลีกุล (ตำแหน่งปัจจุบัน ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้) หัวหน้าคณะทำงานพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ เพื่อป้องกันและบรรเทาภัยแล้ง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยม กล่าว ว่า การบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วมโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิ สารสนเทศ และข้อมูลต่าง ๆ  ที่มีผลต่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งของเกษตรกร  ซึ่งเป็นรูปแบบการป้องกันและบรรเทาภัยแล้งแบบบูรณาการองค์ความรู้ร่วมกับการ ปฏิบัติงานจากภาคส่วนต่าง ๆ  รวมทั้งการนำผลการดำเนินการในอดีตและข้อผิดพลาด แนวทางการแก้ไขปัญหา  มาใช้ร่วมกับกระบวนการการมีส่วนร่วมของเกษตรกร  โดยการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จัดทำข้อตกลงในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ  ซึ่งก่อให้เกิดนวัตกรรมการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ การจ่ายน้ำมีความเป็นธรรม และเกษตรกรได้รับน้ำตามสถานการณ์ที่เหมาะสม 

           นอกจากนี้
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยม ยัง ได้นำแนวทางการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในรูปแบบ 3 ประสาน ซึ่งได้กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนให้หน่วยงานระดับจังหวัดนำไป ประยุกต์ใช้ทั่วกัน ได้แก่ การสนับสนุนด้านน้ำเพื่อการเพาะปลูก  เป็นความรับผิดชอบของหน่วยงานในสังกัดกรมชลประทาน การบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วม โดยความร่วมมือของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองและท้องถิ่น และการควบคุม ดูแล และการปฏิบัติตามข้อตกลง  เป็นหน้าที่ของหน่วยงานรัฐในพื้นที่และเกษตรกร  อีกทั้งยังมีการจัดการความรู้ จัดทำฐานข้อมูลและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทัน สมัย โดยการศึกษาข้อมูลสถิติปริมาณน้ำต่าง ๆ  ทั้งน้ำฝน น้ำท่า เพื่อคาดการณ์ปริมาณน้ำที่สามารถส่งให้เกษตรกรได้ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเพาะปลูกพืชหลัก 4 ชนิด ได้แก่ ข้าว ถั่วเหลือง ข้าวโพด ยาสูบ และคาดการณ์แนวโน้มการเพาะปลูก เพื่อให้ความรู้แก่เกษตรกรในการเพาะปลูกที่เหมาะสมในฤดูแล้ง  รวมทั้งเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือการเพาะปลูกตามมาตรการต่าง ๆ เช่น การจัดหาแหล่งน้ำ การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ  การใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก เป็นต้น และที่สำคัญได้จัดทำฐานข้อมูลเชิงพื้นที่โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ประกอบ ด้วย ข้อมูลระยะไกล  (แผนที่ของกรมแผนที่ทหาร ภาพถ่ายออโธสีเชิงเลข ภาพถ่ายดาวเทียม THEOS, LANDSAT และดาวเทียมอเนกประสงค์ SMMS) เครื่องพิกัดตำแหน่งด้วยดาวเทียม (GPS) แผนที่พื้นที่เพาะปลูกในเขตโครงการฯ ซึ่งฐานข้อมูลดังกล่าวช่วยให้สามารถบริหารจัดการการเพาะปลูกและการใช้น้ำของ เกษตรกรได้อย่างเหมาะสม



 


           จาก ความร่วมมือของส่วนราชการทุกภาคส่วน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เกษตรกรผู้ใช้น้ำ และภาคประชาชน นำมาซึ่งความสำเร็จของการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการเพื่อป้องกันและบรรเทา ภัยแล้ง  โดย ในส่วนของหน่วยงานภาครัฐ มีการพัฒนาฐานข้อมูลของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยม  ทำให้มีข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำในการบริหารจัดการน้ำ และการกำหนดพื้นที่เพาะปลูกที่มีความเสี่ยงภัยแล้ง  ส่งผลให้เกิดความเชื่อถือและได้รับการยอมรับจากเกษตรกรในการบริหารจัดการน้ำ สามารถจัดระเบียบการใช้น้ำ  สร้างการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน ทำให้การบริหารจัดการน้ำมีประสิทธิภาพ และเหมาะสม เกษตรกรผู้ใช้น้ำมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา  และการบริหารจัดการน้ำ มีการแบ่งปันน้ำ การจัดทำข้อตกลงร่วมกันในการใช้น้ำ ส่งผลให้สามารถลดปัญหาความขัดแย้งเรื่องน้ำ  และสามารถใช้น้ำได้อย่างประหยัด เกษตรกรสามารถเพาะปลูกได้มากขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการร่วมกันบริหารจัดการน้ำให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  และสามารถลดความเสียหายของพืชผลจากภัยแล้งได้ ประมาณ 55,200 ไร่ คิดเป็น 59.98% ของพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี พ.ศ. 2553/54 ซึ่งผลของการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการทำให้พื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้งได้ รับน้ำอย่างทั่วถึง



 


           นอกจากนี้ ยังมี
การจัดตั้งคณะกรรมการจัดการชลประทาน เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นมากขึ้น เพื่อให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำ  นับเป็นนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและประชาชนอย่างมั่น คงและยังยืนต่อไป


     สถานีพัฒนาเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ ภูพยัคฆ์



 


           จากนั้นจึงเดินทางมุ่งหน้าสู่
สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ ภูพยัคฆ์ จังหวัดน่าน ซึ่งมีที่มาเนื่องจาก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จ พระราชดำเนินไปทอดพระเนตรพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมบริเวณภูพยัคฆ์ บ้านน้ำรี พัฒนา  ตำบลขุนน่าน  อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน ป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยภูคาและป่าผาแดง เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2546 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ  ภูพยัคฆ์ มีพื้นที่โดยรวมกว่า 10,000 ไร่ มุ่งเน้นให้ราษฎรทำการเกษตรแผนใหม่ ลดการใช้สารเคมี สารพิษ ใช้พื้นที่ทำการเกษตรให้น้อยลงแต่ให้ได้ผลผลิตสูง และมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูง  เน้นให้ราษฎรปลูกข้าวไว้เพื่อการบริโภคอย่างเพียงพอตลอดปีทุกครัวเรือน  ตั้งเป้าหมายให้ราษฎรหนึ่งคนต้องทำนาดำหนึ่งไร่ และให้ได้ผลผลิตข้าวอย่างน้อย 50 ถังต่อไร่ ตามโครงการ "หนึ่งคน หนึ่งไร่ ทำนาขั้นบันได ลดการใช้พื้นที่  พร้อม ทั้งส่งเสริมให้ราษฎรปลูกพืชผักหลังการเก็บเกี่ยวข้าว เพื่อบริโภคในครัวเรือนและเป็นแหล่งรายได้เสริมควบคู่ไปกับการปลูกกาแฟ และหม่อนผลสด   ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่สามารถสร้างรายได้ให้กับราษฎรอีกทางหนึ่ง  สำหรับผลผลิตของราษฎรนั้น สถานีฯ  ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการแปรรูปเพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ราษฎร เข้ามาเรียนรู้ด้านการแปรรูป  โดยหลังการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวกาแฟ กลุ่มวิสาหกิจกาแฟภูพยัคฆ์  รับซื้อผลผลิตของราษฎรในกลุ่มมาดำเนินการแปรรูปแล้วขายเป็นกาแฟกะลาให้โรง คั่วกาแฟภูพยัคฆ์  ซึ่งได้รับกาสนับสนุนเครื่องคั่วกาแฟจากจังหวัดน่าน  โดยสำนักงานเกษตร จังหวัดน่าน กาแฟที่คั่วเสร็จแล้วจึงดำเนินการจัดส่งไปจำหน่าย ณ ร้านกาแฟสดภูพยัคฆ์  นอกจากนี้ สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ ภูพยัคฆ์ยังรับซื้อหม่อนผลสดของราษฎรแล้วแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ใน 3 รูปแบบ คือ น้ำหม่อนพร้อมดื่ม น้ำหม่อนเข้มข้น,และน้ำหม่อนสกัด  ผลิตภัณฑ์ 3 ชนิด เพื่อจำหน่ายต่อไป จากการดำเนินการทั้งหมดเหล่านี้  ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ดีขึ้น จากเดิมเป็นชาวเขา ปลูกข้าวโพด ทำไร่เลื่อนลอย  เมื่อเปลี่ยนมาปลูกพืชเศรษฐกิจ และมีแหล่งรับซื้อมีการแปรรูป  ชาวบ้านมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดี ลดปัญหาด้านต่าง ๆ เช่น ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าต้นน้ำ ปัญหายาเสพติด และชนกลุ่มน้อย

           และนอกจากโครงการพระราชดำริแล้ว ภูพยัคฆ์ ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอื่น ๆ  เนื่องจากเคยเป็น
พื้นที่สีแดงใน อดีต เมื่อประมาณปี 2516 ถึง 2519 บนยอดภูพยัคฆ์เป็นที่ตั้งสำนัก 708 ซึ่งเป็นที่ทำการศูนย์กลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท) มี สมาชิกกรมการเมืองของพคท. อาศัยอยู่ที่นี่หลายคน  นับตั้งแต่ลุงชัด (มิตร สมานันท์)เลขาธิการพรรคสมัยนั้น ลุงคำตัน (พ.ท. พโ ยม จุลานนท์)เสนาธิการกองทัพปลดแอกประชาชนไทย  ลุงไฟ (อัสนี พลจันทร์) กวีคนสำคัญผู้แต่งเพลงเดือนเพ็ญ ลุงธาร(วิรัช อังคถาวร) นักทฤษฎีของพรรค ลุงจำรัส (เปลื้อง วรรณศรี) อดีตผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์  และกรรมการพรรคอีกหลายท่านล้วนพำนักอยูที่นี่ ปัจจุบันมีการบูรณะฟื้นฟูสำนัก708 ขึ้นมาใหม่ เพื่อเป็นการเก็บรักษาร่องรอยประวัติศาสตร์เอาไว้ให้ประชาชนได้เข้าเยี่ยมชม   ซึ่งสื่อมวลชนบางส่วนของคณะก็ไม่พลาดที่จะเดินทางขึ้นไปเก็บภาพ เหล่านั้นมาเช่นกัน



 



     จุดผ่านแดนถาวรห้วยโก๋น เส้นทางเศรษฐกิจ ไทย ลาว



           คณะสื่อมวลชนสัญจรของสำนักงาน ก.พ.ร. ได้มีโอกาสเดินทางผ่านจุดผ่านแดนถาวรห้วยโก๋น  อำเภอเฉลิมพระเกียรติ  เพื่อเข้าไปยังเมืองเงิน แขวงไชยบุรี  ได้ เห็นเส้นทางลาดยางอย่างดีรองรับการขยายตัวของการลงทุนขนาดใหญ่ของไทยใน  สปป.ลาว  นั่นคือ บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด  ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างลาวและไทย  มีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 129,500 ล้านบาทไทย ได้รับการอนุมัติสัมปทานจากรัฐบาลแห่ง สปป.ลาว  ให้เป็นผู้พัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากถ่านหิน  โดยมีเงื่อนไขชัดเจนว่า จะต้องเป็นโรงไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งโรงไฟฟ้าหงสานี้เอง จะเป็นพื้นฐานในการขับเคลื่อนวงกลมเศรษฐกิจ น่าน - ไชยบุรี - หลวงพระบาง - เดียนเบียนฟู เพระจากจุดผ่านแดนถาวรห้วยโก๋น  สามารถ เดินทางไปได้ถึงแขวงอุดมไชย ซึ่งแยกไปยังด่านบ่อเต็น สิบสองปันนา  สาธารณรัฐประชาชนจีน หรือไปยังเมืองเดียนเบียนฟู เวียดนามได้ ในด้านการท่องเที่ยว  เส้นทางจากจุดผ่านแดนฯ เข้าไปใน สปป.ลาว ผ่านเมืองหงสา  สู่เมืองมรดกโลกหลวงพระบาง ด้วยระยะทางเพียง 137 กิโลเมตร ซึ่งนับว่าเป็นจุดที่ใกล้ที่สุดและใช้เวลาน้อยที่สุดอีกด้วย

           การ พัฒนาจังหวัดตามแผนยุทธศาสตร์จังหวัดน่าน ทั้งด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ ด้วยเส้นทางวงกลมเศรษฐกิจ ล้านช้าง - น่าน - ล้านนาตะวันออก ทำ ให้จังหวัดน่านจำเป็นต้องเพิ่มศักยภาพของจังหวัด เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ โดยภาครัฐ อันได้แก่จังหวัด  จะต้องพัฒนาระบบราชการเพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการประชาชน ร่วมด้วยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน เพื่อให้เกิดการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมต่อไป




 


           นับว่าเป็นโอกาสอันดี ที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้มีโอกาสจัดกิจกรรม สื่อสัญจร
นำ สื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมงานทั้งสองจังหวัด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาระบบราชการไทย  ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการได้พยายามส่งเสริม ผลักดันมาตลอด 1 ทศวรรษ จนเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ และส่งผลให้ประชาชนเกิดความไว้วางใจและเชื่อมั่นในการทำงานของราชการ ก่อให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน






 


กลุ่มสื่อสารฯ สลธ. / ข่าว
วสุนธรา (สลธ.) / รายงาน
กลุ่มสื่อสารฯ / จัดทำ

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 15 สิงหาคม 2555 09:48:24 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 15 สิงหาคม 2555 09:48:24
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th