2 ส่วนราชการไทยคว้ารางวัลระดับโลก UN Awards 2012
องค์การสหประชาชาติได้ประกาศผลรางวัล United Nations Public Service Awards 2012 โดยในปีนี้ มีส่วนราชการไทยได้รับรางวัล 2 หน่วยงาน ได้แก่ กรมชลประทาน ได้รับรางวัลชนะเลิศ (1st Place Winner) สาขารางวัลการส่งเสริม
สนับสนุนการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายผ่านกลไกด้านนวัต
กรรม (Fostering participation in policy-making decisions through
innovative mechanisms) จากผลงานการป้องกันและบรรเทาภัยแล้งแบบบูรณาการ
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยม จังหวัดแพร่ และ โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ (2nd Place Winner) สาขารางวัลประเภทการเสริมสร้างการจัดการความรู้ในภาครัฐ (Advancing
knowledge management in government)
จากผลงานการป้องกันตาบอดในผู้ป่วยเบาหวาน
โดยที่ผ่านมา สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ส่วนราชการที่ได้รับรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชนและ
รางวัลมาตรฐานศูนย์บริการร่วม/เคาน์เตอร์บริการประชาชน
ส่งเสนอผลงานการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชน
เพื่อขอรับการประเมินและคัดเลือกเพื่อรับรางวัล United Nation Public Service Awards (UN Awards) ขององค์การสหประชาชาติ
ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้แก่หน่วยงานที่ดำเนินการด้านพัฒนาการให้บริการ
สาธารณะได้อย่างยอดเยี่ยมมาตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน
ที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐของไทยคว้ารางวัลระดับโลกแล้วมาหลายรายการ โดยในปี
2551 โรงพยาบาลยโสธร ได้รับรางวัลชมเชย ในสาขาการปรับปรุงการให้บริการ
(Improving the delivery of public services) ในปี 2552
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ได้รับรางวัลชนะเลิศ สาขา การปรับปรุงการให้บริการเช่นเดียวกัน และในปี
2554 กรมสรรพากร โดยสำนักงานสรรพากร ภาค7 ได้รับรางวัลชนะเลิศ
ในสาขารางวัลการเสริมสร้างการบริหารจัดการองค์ความรู้ภาครัฐ (Advancing
knowledge management in government) และ กรมชลประทาน
โดยโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี
ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ สาขาการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ
โดยการใช้กลไกใหม่ (Fostering participation in policy-management in
policy-making decisions through innovative mechanisms)
สำหรับในปีนี้ได้มีส่วนราชการไทยที่ได้รับรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน
ของสำนักงาน ก.พ.ร. ยื่นสมัครทั้งหมด 19 หน่วยงาน
โดยมีส่วนราชการที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรกทั้ง 10 หน่วยงาน ได้แก่ 1)
กรมปศุสัตว์ 2) กรมสรรพากร 3) โรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์
กรมสุขภาพจิต 4) กรมโรงงานอุตสาหกรรม 5) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ 6)
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยม จังหวัดแพร่ กรมชลประทาน 7)
สำนักงานสาธารณะสุข จังหวัดสระแก้ว 8)
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดกาฬสินธุ์ 9) โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์
และ 10) กรมการปกครอง และส่วนราชการที่ผ่านรอบสองจำนวน 3 หน่วยงาน ได้แก่
1) โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยม จังหวัดแพร่ กรมชลประทาน 2)
โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ และ 3)
โรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์กรมสุขภาพจิต
โดยผลรางวัล ประเทศไทยได้รับ 2 รางวัล ได้แก่ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยม จังหวัดแพร่ กรมชลประทาน ได้รับรางวัลชนะเลิศ (1st Place Winner) สาขารางวัลการส่งเสริม
สนับสนุนการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายผ่านกลไกด้านนวัต
กรรม (Fostering participation in policy-making decisions through
innovative mechanisms) จากผลงานการป้องกันและบรรเทาภัยแล้งแบบบูรณาการ และโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ (2nd Place Winner) สาขารางวัลประเภทการเสริมสร้างการจัดการความรู้ในภาครัฐ (Advancing knowledge management in government) จากผลงานการป้องกันตาบอดในผู้ป่วยเบาหวาน
โดยการป้องกันและบรรเทาภัยแล้งแบบบูรณาการ ของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยม จังหวัดแพร่ เป็น
การบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่ แบบมีส่วนร่วม ครอบคลุม 5 อำเภอ
ของจังหวัดแพร่ ได้แก่ อำเภอสอง อำเภอหนองม่วงไข่ อำเภอเมือง อำเภอสูงเม่น
และอำเภอเด่นชัย ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
และข้อมูลต่างๆ ที่มีผลต่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งของเกษตรกร
ซึ่งเป็นรูปแบบการป้องกันและบรรเทาภัยแล้งแบบบูรณาการ
เป็นการดำเนินการโดยการบูรณการองค์ความรู้ร่วมกับการปฏิบัติงานจากภาคส่วน
ต่างๆ รวมทั้งการนำผลการดำเนินการในอดีตและข้อผิดพลาด แนวทางการแก้ไขปัญหา
มาใช้ร่วมกับกระบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกร
โดยการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
และการบูรณาการการทำงานในพื้นที่ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
พร้อมจัดทำข้อตกลงในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ
ซึ่งก่อให้เกิดนวัตกรรมการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ
สำหรับผลงานการป้องกันตาบอดในผู้ป่วยเบาหวาน ของโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ เป็น
โครงการตรวจคัดกรองเบาหวานโดยใช้ภาพถ่ายดิจิตอลของจอประสาทตา
ผ่านเว็บไซต์บนระบบอินเทอร์เน็ต
รวมถึงส่งข้อมูลและภาพจอประสาทตามาให้จักษุแพทย์ได้ก่อนผู้ป่วยมาจริงผ่าน
ระบบเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้น
และหลังถ่ายภาพคัดกรองเสร็จในแต่ละวันผู้ให้บริการในชุมชนจะส่งภาพและข้อมูล
ของผู้ป่วยทั้งหมดเข้ามาในระบบฐานข้อมูลที่ได้รับการพัฒนาบนอินเทอร์เน็ต
ภาพถ่ายจอประสาทตาของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้จากการคัดกรอง
ตลอดจนข้อมูลของภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาจะถูกส่งต่อมาเก็บในฐานข้อมูลส่วน
กลาง
เพื่อใช้ในการวางแผนบริหารจัดการการคัดกรองเบาหวานเข้าจอประสาทตาในระดับ
ประเทศต่อไป
ทั้งนี้จะทำให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถเข้าถึงบริการได้โดยไม่จำเป็นต้องเดิน
ทางไกลมาพบจักษุแพทย์
ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. ขอแสดงความยินดีกับทั้ง 2 หน่วยงาน ซึ่งได้เข้าพิธีรับรางวัล United Nations Public Service Awards 2012 จากองค์การสหประชาชาติ ไปเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2555 ณ องค์การสหประชาชาติ นครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา
วสุนธรา (สลธ.) / รายงาน
กลุ่มสื่อสารฯ / จัดทำ
นนทญา (สลธ.) & ภัทรอาภา (สำนักนวัตกรรมฯ) / ข่าว
อโนมา (กลุ่มพัฒนาองค์การมหาชนฯ) & มนวดี (กลุ่มวิชาการ) / ภาพ
และภาพบางส่วนจาก http://www.unpan.org
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 2 กรกฎาคม 2555 11:10:15 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 2 กรกฎาคม 2555 11:10:15