Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2555 / เมษายน / การประชุมสัมมนา เวทีปัญญา สัมมนาวาที ครั้งที่ 18 เรื่อง การขับเคื่อนองค์กรด้วยนวัตกรรม :กรณีตัวอย่างเครือซีเมนต์ไย (Siam Cement Group SCG)

การประชุมสัมมนา เวทีปัญญา สัมมนาวาที ครั้งที่ 18 เรื่อง การขับเคื่อนองค์กรด้วยนวัตกรรม :กรณีตัวอย่างเครือซีเมนต์ไย (Siam Cement Group SCG)

การประชุมสัมมนา เวทีปัญญา สัมมนาวาที ครั้งที่ 18

เรื่อง การขับเคลื่อนองค์กรด้วยนวัตกรรม :

กรณีตัวอย่างเครือซีเมนต์ไทย (Siam Cement Group SCG)




          เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2555 ที่ผ่านมา สำนักงาน ก.พ.ร. โดยสำนักบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม ได้จัดการประชุมสัมมนา เวทีปัญญา สัมมนาวาที ครั้งที่ 18 ในหัวข้อเรื่อง การขับเคลื่อนองค์กรด้วยนวัตกรรม : กรณีตัวอย่างเครือซีเมนต์ไทย (Siam Cement Group SCG)  ณ ห้องจตุรทิศ ชั้น 3 โรงแรมโกลเด้นทิวลิป ซอฟเฟอริน กรุงเทพมหานคร โดยได้เชิญ ดร.วิไลพร เจตนจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานเทคโนโลยี จากบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) มานำเสนอแนวคิดและวิธีการในการบริหารจัดการบริษัทโดยการให้ความสำคัญกับนวัต กรรมที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จ โดยนำบทเรียนจากกลุ่มบริษัทในเครือซีเมนต์ไทยที่จะต้องทำการปรับองค์กรเพื่อ ให้อยู่รอดและเป็นผู้นำในการดำเนินธุรกิจ จนประสบความสำเร็จเป็นบริษัทชั้นนำของประเทศไทยและเป็นที่น่าเชื่อถือ มาถ่ายทอดให้กับบุคลากรในภาครัฐได้เรียนรู้และนำไปปรับใช้
alt 
          การประชุมสัมมนาในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นางสุพรรณี ไพรัชเวทย์ รองเลขาธิการ ก.พ.ร. กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุมสัมมนา โดยกล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการจัดประชุมสัมมนาในครั้งนี้เพื่อให้มีเวทีที่เจ้าหน้าที่ ของหน่วยงานภาครัฐสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ โดยได้เชิญหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนองค์กรด้วยนวัตกรรมมา ถ่ายทอดให้ฟัง ซึ่งการจัดประชุมสัมมนา เวทีปัญญา สัมมนาวาที 17 ครั้งที่ผ่านมา ล้วนเป็นเรื่องที่ส่งเสริม และผลักดันให้ส่วนราชการต่าง ๆ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคมีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี อาทิ เรื่องการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรมและค่านิยมในการทำงาน การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมสู่ความเป็นเลิศ การพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนในส่วนของการลดขั้นตอนและระยะเวลาการ ปฏิบัติราชการ ทำอย่างไรไปให้ถึงฝัน : รางวัล United Nations Public Service Awards และล่าสุดแนวทางการจัดทำโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและ กลุ่มจังหวัด

           การจัดประชุมสัมมนาครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 18 ในหัวข้อ การขับเคลื่อนองค์กรด้วยนวัตกรรม : กรณีตัวอย่างเครือซิเมนต์ไทย (Siam Cement Group: SCG) สำนักงาน ก.พ.ร. ได้เรียนเชิญผู้บริหารระดับสูงจากภาคเอกชน คือ บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่ง เป็นบริษัทชั้นนำที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการสร้างองค์กรด้วยนวัต กรรม (Innovative Organization) มาร่วมถ่ายทอดแนวคิดการสร้างองค์กรด้วยนวัตกรรมของเครือซิเมนต์ไทยซึ่งเป็น ยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการผลักดันธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนทั้งในด้านการ วิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างคุณค่าผลิตภัณฑ์และบริการ ด้านกระบวนการทำงาน และด้านการสร้างบุคลากรทุกระดับ ซึ่งจะทำให้ส่วนราชการสามารถนำความรู้ เทคนิค รูปแบบ และวิธีการซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดี ที่ได้รับจากการประชุมสัมมนาไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติ ราชการต่อไป
  alt
           หลังจากนั้น ดร.วิไลพร เจตนจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานเทคโนโลยี บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ได้เริ่มการบรรยายในเรื่อง การขับเคลื่อนองค์กรด้วยนวัตกรรม : กรณีตัวอย่างเครือซีเมนต์ไทย (Siam Cement Group SCG) ซึ่งประกอบด้วย 2 หัวข้อหลัก ได้แก่ ปัจจัยแวดล้อมที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์กร และการดำเนินการเปลี่ยนแปลงองค์กรด้วยนวัตกรรม พร้อมทั้งได้แลกเปลี่ยนความเห็นและตอบข้อซักถาม มีรายละเอียด ดังนี้

           1.ปัจจัยแวดล้อมที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์กร 

             เนื่อง จากสภาวะแวดล้อมและรูปแบบความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป บริษัทจึงจำเป็นจะต้องทำการปรับองค์กร (SCG transformation) เพื่อเป็นการเปลี่ยนแปลงและขยายธุรกิจขององค์กรให้อยู่รอดในสถานการณ์แวด ล้อมที่มีผลกระทบต่อบริษัททั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามบริษัทได้มีการวางยุทธศาสตร์ในการขยายธุรกิจในประเทศภายใน ภูมิภาคอาเซียน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005           

 

alt             ดัง นั้น องค์กรจึงมีการวางแผนรองรับและมีโครงสร้างที่เหมาะสมกับการทำงานตามที่มุ่ง หวังได้ ซึ่งทำให้มีการปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่ โดยมีการปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ให้มุ่งเน้นโอกาสในการขยายธุรกิจไปในภูมิภาค อาเซียน ซึ่งทำให้บริษัทต้องมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านโครงสร้างและการบริหารเพื่อ ให้บริษัทสามารถแข่งขันในตลาดได้ โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับการคิดค้นนวัตกรรม และการพัฒนาเทคโนโลยีของบริษัท   
        
          นอก จากนี้ การปรับองค์กรโดยการให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมนั้น บริษัทได้ทำการแบ่งประเภทตลาดเพื่อกำหนดรูปแบบ และแนวทางการพัฒนาที่สามารถตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ที่วางไว้ได้ และการสรรหาตลาดใหม่เพื่อการทำธุรกิจของบริษัท โดยการนำแนวคิดในการสร้างมูลค่าเพิ่ม (High value added) ให้แก่ผลิตภัณฑ์ของบริษัท โดยเน้นการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา (R&D) และการสร้างนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Innovation) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนสินค้าให้เป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูงขึ้น รวมถึงการขยายการลงทุนของกลุ่มบริษัทฯ เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางธุรกิจ ทั้งนี้ การอยู่รอดในการแข่งขันทางธุรกิจนั้น บริษัทต้องให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี กระบวนการการผลิต และการตลาด เพื่อสร้างให้เกิดความยั่งยืนทางธุรกิจ มีการเปลี่ยนแปลงในด้านการสร้างนวัตกรรมอย่างยั่งยืน 


             
2.การดำเนินการเปลี่ยนแปลงองค์กรด้วยนวัตกรรม

               ในการดำเนินการเปลี่ยนแปลงองค์กรด้วยนวัตกรรมนั้น ควรเน้นให้มีการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ (High Value added platform) ซึ่งบริษัทได้มีการสร้างรูปแบบการทำงานที่เป็นเลิศขึ้น (Operation excellent) ดังนี้

                  1) การสร้างหน่วยงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และการบริหารเชิงยุทธศาสตร์

                  2) การกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

                  3) การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ให้เป็นองค์กรที่ตระหนักถึงความสำคัญของนวัตกรรม

              ทั้งนี้ เพื่อให้องค์กรมีเทคโนโลยีและทรัพย์สินทางปัญญาขององค์กรที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ
   

           alt        alt

              ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรม

                 1. มีบรรยากาศที่เหมาะสมในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ซึ่งเป็นบรรยากาศที่กระตุ้นและสนับสนุนผู้ปฏิบัติงาน โดยจะต้องมีการพัฒนาที่เป็นไปตามความต้องการขององค์กร และมีการสร้างวัฒนธรรมองค์กรเกี่ยวกับนวัตกรรม

                 2. มีเครื่องมือที่เหมาะสมในการสร้างสรรค์นวัตกรรม เช่น การจัดการองค์ความรู้ การให้ความสำคัญกับสิทธิบัตร การสนับสนุนเครื่องมือที่เหมาะสมในการจัดการนวัตกรรม โครงสร้างองค์กรที่เหมาะสม และการบริหารบุคลากรที่เหมาะสม    

                  
              alt             alt

             
 การเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรมในกรณีของบริษัท เครือซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

                    บริษัทเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 เพื่อจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการจัดการนวัตกรรมโดยตรง โดยใช้การสื่อสารองค์กรเพื่อให้พนักงานตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการสร้าง นวัตกรรมภายในองค์กร นอกจากนี้ยังมีการประเมินองค์กรของตนเองทั้งด้านดีและด้านเสีย เพื่อหาช่องว่างในการผลักดันยุทธศาสตร์ และมีการตั้งคณะกรรมการเกี่ยวกับนวัตกรรมโดยเฉพาะภายในหน่วยงาน นอกจากนี้ยังมีการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับนวัตกรรมให้เข้าใจไปในทิศทาง เดียวกันทั้องค์กร    

                     ใน ปี ค.ศ. 2005 มีการสร้างวัฒนธรรมองค์กรในเรื่องการสร้างนวัตกรรม โดยการสร้างให้พนักงานและผู้บริหารทุกระดับให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรรม โดยสร้างให้ทุกคนมีความคิดที่เปิดกว้าง คิดนอกกรอบ กระตือรือร้นในการเรียนรู้ และยอมรับความเสี่ยง ในขณะที่ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้ที่สามารถบริหารการเปลี่ยนแปลงในองค์กรและ ให้ความสำคัญและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในองค์กร ที่จะต้องปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา มีการวัดผลการดำเนินงาน และมีการใช้การสื่อสารภายในองค์กรเพื่อให้พนักงานทุกระดับสามารถเข้าถึงข่าว สารขององค์กร และการสร้างกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรม เช่น การจัดให้มีการประกวดรางวัลนวัตกรรมภายในองค์กรโดยมีการให้รางวัลที่ดึงดูด และการสนับสนุนให้พนักงานใฝ่รู้

         alt           alt

 

                      ใน ปี ค.ศ. 2005 - 2007 Building Blocks มีการสร้างรูปแบบการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางด้านโครงสร้างที่อำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาเทคโนโลยี ดังนี้ 
 
                             1) การวางแผนองค์กรใหม่ที่ให้แต่ละธุรกิจมีหน่วยงานสำหรับสร้างนวัตกรรมของตน เอง การวางแผนบุคลากรภายในองค์กร การชี้ให้เห็นความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญาโดยการให้ความรู้ในด้าน ทรัพย์สินทางปัญญา การสร้างแผนงานเทคโนโลยีของแต่ละหน่วยงานเพื่อเป็นการวางแผนการพัฒนา เทคโนโลยีในระยะยาว 5 ปี ให้องค์กรทราบถึงแนวทางการพัฒนาและเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ และที่สำคัญคือการให้ความสำคัญกับหน่วยงานภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญด้านอื่น ๆ อีกด้วย 
 
                            2) การวางแผนทางด้าน Human resource management โดยเฉพาะการคัดเลือกบุคลากรเข้าร่วมกับองค์กร การพัฒนาบุคลากรภายในองค์กรและการวางแผนการเติบโตภายในองค์กร ซึ่งเปิดโอกาสให้พนักงานทุกคนสามารถวางแผนการเติบโตควบคู่ไปกับการเรียนรู้ ที่เหมาะสม

                            3) การสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า เป็นการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในองค์กร เนื่องจากการสร้างนวัตกรรมย่อมต้องใช้องค์ความรู้ต่าง ๆ มาประกอบกันเพื่อให้สามารถบริหารจัดการโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับนวัตกรรมนี้จะต้องมีในระดับผู้บริหารด้วย เพื่อเป็นการสนับสนุนการเรียนรู้ของพนักงานทุกคน

                            4) การสร้างองค์กรทางนวัตกรรมในทุกหน่วยงาน เป็นการสร้างโครงสร้างที่เหมาะสมกับการสนับสนุนการสร้างนวัตกรรม คือจัดให้มีคณะกรรมการในการสร้างนวัตกรรม และการให้แต่ละหน่วยงานในองค์กรมีหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องการสร้างนวัต กรรมโดยเฉพาะ ซึ่งจะต้องมีวิสัยทัศน์ในการนำองค์กรที่ชัดเจนเกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรมภาย ในองค์กร และการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างนวัตกรรมให้ควบคู่ไปกับการวาง แผนการดำเนินธุรกิจ

                   alt             alt

                    ใน ปี ค.ศ. 2008 - ปัจจุบัน เป็นช่วงของการนำแผนการดำเนินงานมาปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ โดยเริ่มจากการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีวิสัยทัศน์ร่วมกันคือการสร้างนวัต กรรมสำหรับธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยมีการส นับสนุนโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ชุมชนนักปฏิบัติ การจัดงานสนับสนุนการสร้างนวัตกรรม โดยการจัดเวลาในการแลกเปลี่ยนระหว่างกันไม่จำกัดระดับ โดยเฉพาะผู้นำองค์กรที่จะต้องสนับสนุนการทำงานและเปิดโอกาสให้แก่บุคลากรทุก คน เป็นต้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบผลิตภัณฑ์และการบริการจากผลิตภัณฑ์ทั่วไปเป็น ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มจากนวัตกรรมที่คิดค้นภายในองค์กร และการให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม   


 

กาญจนา (สำนักนวัตกรรมฯ)/ข้อมูล
วสุนธรา & ภัทรพร (สลธ.)/รายงาน
กลุ่มสื่อสารฯ/จัดทำ

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 19 เมษายน 2555 14:37:20 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 19 เมษายน 2555 14:37:20
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th