Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2555 / เมษายน / รายการ เดินหน้า...พัฒนาราชการไทย ตอน การบริหารจัดการภาครัฐ : ความท้าทายใหม่บนเส้นทางสู่ความเป็นเลิศ

รายการ เดินหน้า...พัฒนาราชการไทย ตอน การบริหารจัดการภาครัฐ : ความท้าทายใหม่บนเส้นทางสู่ความเป็นเลิศ

รายการ เดินหน้า...พัฒนาราชการไทย ตอน
การบริหารจัดการภาครัฐ : ความท้าทายใหม่
บนเส้นทางสู่ความเป็นเลิศ
 




           รายการ เดินหน้า...พัฒนาราชการไทย ที่ออกอากาศเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2555 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย เสนอเรื่อง การบริหารจัดการภาครัฐ : ความท้าทายใหม่บนเส้นทางสู่ความเป็นเลิศ โดยได้รับเกียรติจาก นายชัยณรงค์ อินทรมีทรัพย์ ประธาน อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ มาร่วมสนทนากับคุณศิริบูรณ์ ณัฐพันธ์ พิธีกรในรายการ

           การนำเสนอรายการฯ ในตอนนี้เริ่มจากการพูดคุยกับนายชัยณรงค์ อินทรมีทรัพย์ ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า การบริหารจัดการภาครัฐ ได้ มีความพยายามเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ได้ โดยเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ให้ความสำคัญกับการทำ TQM (Total Quality Management) หรือการควบคุมคุณภาพในภาพรวม และในปี ค.ศ. 1987 ได้ริเริ่มสร้างเกณฑ์รางวัลแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี และเป็นแนวทางเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันขององค์กร โดยใช้ชื่อว่า MBNQA ซึ่ง MB ย่อมาจาก Malcolm Baldrige ซึ่งเป็นชื่อของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วน N ย่อมาจาก National และ QA ย่อมาจาก Quality Award เป็นรางวัลระดับชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการภาครัฐ โดยมีโครงสร้างของเกณฑ์ประกอบด้วย 7 หมวดเชื่อมกัน เปรียบเสมือนแฮมเบอร์เกอร์ จึงเรียกว่า แฮมเบอร์เกอร์โมเดล ซึ่งภาครัฐไทยได้นำมาปรับใช้และพัฒนาเป็น PMQA (Public Sector Management Quality Award : PMQA) หรือ เกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ

 
 



เกณฑ์ 7 หมวด ที่มีความเชื่อมโยงในเชิงระบบ

 

 


           นายชัยณรงค์ได้อธิบายต่อไปว่า แฮมเบอร์เกอร์โมเดลจะมีขนมปังอยู่ข้างบน และมีเนื้อ เนย ผักอยู่ตรงกลาง ซึ่งหมายถึงองค์กร ที่ต้องเริ่มจากการมีกฎหมายจัดตั้ง รวมทั้งมีบริบทและความจำเป็น และมีผู้นำในการบริหารองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ฉะนั้น 
หมวด 1 ใน PMQA จึงเป็นเรื่องของการนำองค์กร คือ บทบาทของผู้นำ ที่ต้องมีความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง และมีความสามารถในการกระตุ้นให้ผู้ร่วมงานในองค์กรทำงานไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งสร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน เพื่อพัฒนางานบริการขององค์กร

           สำหรับ หมวด 2 เป็นเรื่องของการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกและตอบสนองความต้องการของประชาชน เพราะฉะนั้นองค์กรต้องมีความสามารถในการกำหนด กลยุทธ์หรือที่เรียกว่ายุทธวิธีในการบริหารจัดการ ซึ่งการกำหนดกลยุทธ์นี้จะเป็นปัจจัยที่สำคัญในการทำงานของส่วนราชการเพื่อทำ หน้าที่หลักในการรับใช้ประชาชน ดังนั้น หมวด 3 จึงเป็นเรื่องต่อเนื่องจากหมวด 2 คือ การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

           หมวดถัดไป คือ หมวด 4 เป็นเรื่องของข้อมูล ที่ต้องมีการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ซึ่ง เปรียบได้กับขนมปังที่อยู่ด้านล่างของแฮมเบอร์เกอร์ นั่นคือ การจัดการความรู้ต่าง ๆ หรือที่เรียกว่า KM (Knowledge Management) ซึ่งสัมพันธ์กับหมวด 5 คือ การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล และ หมวด 6 คือ การจัดการกระบวนการ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ซึ่งการจัดการกระบวนการจะเป็นการเชื่อมโยงทุกหมวด และหมวดสุดท้าย คือ หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

           โดยเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548 ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ให้นำการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐมาใช้เป็นเครื่องมือในการผลักดันให้มีการพัฒนาระบบราชการให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป ซึ่งส่วนราชการได้ยึดถือมติคณะรัฐมนตรีนี้เป็นข้อตกลงและเงื่อนไขในการทำงาน

           สำหรับสำนักงาน ก.พ.ร. ได้มีบทบาทในการให้คำปรึกษาแก่ส่วนราชการ โดยระยะหลังได้มีการพัฒนารูปแบบการให้คำปรึกษาที่นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย คือ การทำ Chat Online บนหน้าเว็บไซต์ เพื่อตอบข้อซักถามหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

           จากนั้นในช่วงที่ 2 ของรายการเป็นสกู๊ปนำเสนอตัวอย่าง
ส่วนราชการที่มีการขับเคลื่อนในเรื่องการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐอย่างต่อเนื่อง นั่นคือ กรมสุขภาพจิต

           โดยเป็นบทสัมภาษณ์ นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ อธิบดี กรมสุขภาพจิต ได้กล่าวว่า กรมสุขภาพจิตมีกระบวนการพัฒนาการบริหารจัดการภาครัฐมาอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ สำหรับการดำเนินงานเพื่อให้การพัฒนามีความต่อเนื่อง ในปีนี้จึงได้มีการทบทวนเป้าหมาย โดยผู้บริหารทุกระดับจะร่วมกันทบทวนพันธกิจ และกำหนดเป้าหมายในการทำงาน เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งต้องมองปัญหาของประชาชนเป็นหลัก โดยเฉพาะเรื่องระบบบริหารที่ใช้การพัฒนาตามแนว PMQA ตั้งแต่การนำองค์การ การทำแผนยุทธศาสตร์ รวมทั้งการคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และที่สำคัญ คือ เรื่องการบริหารที่ต้องใช้องค์ความรู้ และใช้ข้อมูลเป็นฐานในการกำหนดทิศทางในการดำเนินงานต่อไป



           หลังจากนั้น เป็นบทสัมภาษณ์ของ 
นางสาวอลิสา อุดมวีรเกษม คณะทำงาน PMQA กรมสุขภาพจิต

           โดย นางสาวอลิสาได้กล่าวถึงประโยชน์ที่ได้จากการทำ PMQA คือ การพัฒนกระบวนการทำงานมีความชัดเจนเป็นรูปธรรม กล่าวคือ กระบวนการที่ปรากฏอยู่ใน PMQA นั้น จะช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมและส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงาน ประสิทธิผลของงาน รวมทั้งส่งเสริมเรื่องความโปร่งใสในการตรวจสอบทั้งหมดนี้จะเป็นหลักประกัน อันหนึ่งว่าประชาชนที่รับบริการจากกรมสุขภาพจิตจะได้รับบริการที่ดี และผลจากการบริการนี้จะส่งต่อยังครอบครัวชุมชน และสังคมที่กรมสุขภาพจิตต้องดูแลต่อไป

           สำหรับในช่วงสุดท้ายของรายการ นายชัยณรงค์ได้กล่าวว่า เมื่อเดือนมกราคม 2555 ที่ผ่านมา ได้มีการชี้แจงเกี่ยวกับการตรวจรับรองเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ระดับพื้นฐาน (Certified FL) เพื่อให้ส่วนราชการเสนอขอรับรางวัลฯ ในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2555 นี้ ซึ่งจะเป็นการมอบรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐรายหมวด และจะพัฒนาไปสู่รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐต่อไป


นนทญา (สลธ.) / ข่าว & ภาพ
 วสุนธรา (สลธ.) / รายงาน
กลุ่มสื่อสารฯ / จัดทำ

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 12 เมษายน 2555 09:27:59 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 12 เมษายน 2555 09:27:59
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th