สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับสาธารณรัฐเกาหลี เร่งขับเคลื่อน
การเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจของประเทศไทย
ด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง
เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2555 สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับกรมบังคับคดี จัดการ
ประชุม
เรื่องการปรับปรุงบริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจของประเทศ
ไทยด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง (Enforcing Contracts) ณ โรงแรมแกรนด์ มิลเลนเนียม โดยคณะผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสาธารณรัฐเกาหลีเป็นผู้ให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์
โดยการประชุมในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นางสุพรรณี ไพรัชเวทย์ รองเลขาธิการ ก.พ.ร.
เป็นผู้กล่าวต้อนรับและชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดประชุม
โดยนางสุพรรณีได้กล่าวว่า
จากการประชุมผู้นำกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค)
เมื่อเดือนกรกฎาคม 2552 ณ ประเทศสิงคโปร์ ได้มีการประกาศแผนปฏิบัติการ Ease of Doing Business (EoDB) ให้เขตเศรษฐกิจเอเปคมีบรรยากาศการลงทุนดีขึ้น โดยกำหนดเป้าหมายการปรับปรุงบริการใน 5 ด้าน ตามรายงานผลการวิจัยเรื่อง Doing Business ของธนาคารโลก ได้แก่ ด้านการเริ่มต้นธุรกิจ (Starting a Business)
ด้านการขออนุญาตก่อสร้าง (Dealing with Construction Permits)
ด้านการค้าระหว่างประเทศ (Trading Across Borders) ด้านการได้รับสินเชื่อ
(Getting Credit) และด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง (Enforcing
Contracts) เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้เร็วขึ้น สะดวกขึ้น
และค่าใช้จ่ายถูกลง ร้อยละ 5 ในปี ค.ศ. 2011 และร้อยละ 25 ในปี ค.ศ. 2015
ซึ่งในแผนปฏิบัติการ EoDB
จึงได้กำหนดให้ประเทศที่มีผลการดำเนินการอยู่ในอันดับต้น ๆ (Champion
Economy) ตามรายงานผลการวิจัยเรื่อง Doing Business
ในแต่ละด้านดำเนินกิจกรรมในการช่วยเหลือประเทศสมาชิก ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระยะ
กล่าวคือ ระยะที่ 1
จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความตระหนักถึงการปรับปรุงบริการให้บรรลุ
เป้าหมายตามกรอบของเอเปค ระยะที่ 2
ศึกษาวิเคราะห์แนวทางการปรับปรุงบริการรายประเทศ และระยะที่ 3
ติดตามผลการดำเนินการ
โดยที่ประเทศไทยได้ตอบ
รับการเข้าร่วมกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการ EoDB ระยะที่ 2
กับประเทศเกาหลีใต้ซึ่งเป็น Champion Economy
ด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง (Enforcing Contracts)
โดยประเทศเกาหลีใต้จะ
ส่งคณะผู้เชี่ยวชาญมาทำการศึกษาวิเคราะห์และให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับปัญหา
ข้อจำกัดภายในประเทศ โอกาส และแนวทางการแก้ไขปัญหา
ตลอดจนแนวทางการปฏิรูปกฎหมาย กฎ
ระเบียบที่เกี่ยวข้องด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง
รองเลขาธิการ ก.พ.ร.
ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
เป็นประเทศที่มีการพัฒนาการให้บริการในด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง
อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการนำระบบการฟ้องคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing)
มาใช้
ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีของประเทศไทยที่ดีที่จะได้เรียนรู้วิธีการดำเนินงานเพื่อ
เป็นแนวทางในการปรับปรุงเรื่องดังกล่าวต่อไปในอนาคต
หลังจากนั้น Mr. Won-sub PARK, Minister, Korean Embassy ได้กล่าวต้อนรับผู้มาร่วมประชุม โดยมี Mr. Sangkil PARK, Attorney, Kim & Chang law firm และ Mr. Yungjin Park,
Prosecutor, Commercial Legal Affairs Division, Ministry of Justice
กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุมฯ และความเป็นมาของการดำเนินการไว้ว่า
การเข้ามาสนับสนุนประเทศไทยในการพัฒนากระบวนการให้บริการด้านการบังคับให้
เป็นไปตามข้อตกลง ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้แผนปฏิบัติการ EoDB
ของประเทศในกลุ่มเอเปค เพื่อส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกได้พัฒนาการให้บริการ
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและบรรลุตามเป้าหมายของเอเปค
จากนั้นเป็นการบรรยายเรื่องการ
เปรียบเทียบกระบวนการ Enforcing Contracts
ของประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ตามรายงานผลการวิจัยเรื่อง Doing
Business ของธนาคารโลก โดย Mr. Sae-Uk KIM,
Attorney, Kim&Chang law firm โดยกล่าวว่า ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
ได้รับการจัดอันดับในรายงานผลการวิจัยเรื่อง Doing Business
ด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลงในปี ค.ศ. 2012 ในอันดับที่ 2 จาก 183
ประเทศทั่วโลก ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการทั้งสิ้น 33 ขั้นตอน
ใช้ระยะเวลาเฉลี่ย 230 วัน และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเฉลี่ยร้อยละ 10.3
ของมูลค่าหนี้ สำหรับประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 24
มีขั้นตอนการดำเนินการ 35 ขั้นตอน ใช้ระยะเวลาเฉลี่ย 479 วัน
และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเฉลี่ยร้อยละ 12.3 ของมูลค่าหนี้
ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสาธารณรัฐเกาหลีแล้วจะเห็นว่าประเทศไทยมีระยะ
เวลาในการดำเนินการค่อนข้างมาก
ในช่วงสุดท้ายของการประชุมเป็นเวทีเสวนาเกี่ยวกับกระบวน
การบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง ในเรื่องกระบวนการระงับข้อพิพาททางแพ่ง
(Arbitration) และการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง (Enforcing Contracts) และเรื่องการปฏิรูประบบการพิจารณาคดีของประเทศสาธารณรัฐเกาหลีโดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเรื่องการปฏิรูปกระบวนการ Enforcing Contracts ของประเทศไทย โดย
มีผู้ร่วมเสวนา จำนวน 5 ท่าน จาก 4 หน่วยงาน ทั้งหน่วยงานของไทย ได้แก่
กรมบังคับคดี และศาลแพ่ง และสาธารณรัฐเกาหลี ได้แก่ UNCITRAL และ Korean
Supreme Court IT Center โดยมี ดร. กิริฎา เภาพิจิตร เป็นผู้ดำเนินการเสวนา
ซึ่งประเด็นในการเสวนาได้กล่าวถึง
จุดเด่นของการให้บริการในด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง
โดยสรุปว่าจุดเด่นของการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการในด้านการบังคับให้
เป็นไปตามข้อตกลงของประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
ที่ได้นำระบบการฟ้องคดีทางอิเล็คทรอนิกส์ (E-filing) มาใช้
ซึ่งระบบดังกล่าวจะช่วยลดระยะเวลาในการดำเนินการเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้
กระดาษหรือเอกสารลงถึง 8 วัน รวมทั้งอำนวยความสะดวกให้แก่คู่ความและศาล
ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นลงได้ นอกจากนี้การมีคำสั่งของศาลจะเป็นคำสั่งที่เป็น
E-filing ทั้งหมด ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดเวลา และลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
เนื่องจากทุกกระบวนการจะมีการจัดการโดยระบบอิเล็คทรอนิกส์
สำหรับ
การดำเนินการต่อไป
ทางผู้เชี่ยวชาญจากสาธารณรัฐเกาหลีจะได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลกระบวนการ
บังคับให้เป็นไปตามข้อตกลงของประเทศไทย ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ
และนำไปวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางในการพัฒนากระบวนการด้านการบังคับให้เป็นไป
ตามข้อตกลงของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพ และจะได้จัดทำรายงานผลการศึกษา
ซึ่งจะแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2555
และนำไปเผยแพร่ในการประชุมผู้นำกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเซีย-แปซิฟิก
(เอเปค) ต่อไป
ภัทรอาภา (สำนักนวัตกรรมฯ) & นนทญา (สลธ.) / ข่าว & ภาพ
วสุนธรา (สลธ.) / รายงาน
กลุ่มสื่อสารฯ / จัดทำ
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 26 มีนาคม 2555 12:14:05 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 26 มีนาคม 2555 12:14:05