สำนักงาน ก.พ.ร. จัดประชุม เรื่อง แนวทางการดำเนินการ
ปรับปรุงบริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ
ในการประกอบธุรกิจตามมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมา สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดประชุมเรื่องแนวทางการดำเนินการปรับปรุงบริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2555 ณ
ห้องมิ่งเมือง ชั้น 4 โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์
โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 103 คน จาก 42 หน่วยงาน
ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ
ปรับปรุงบริการตามตัวชี้วัด 10 ด้าน ของรายงานผลการวิจัยเรื่อง Doing
Business อาทิ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงบประมาณกระทรวง ICT
กรมพัฒนาธุรกิจ กรมศุลกากร กรมบังคับคดี สภาวิศวกร สมาคมธนาคารไทย
สมาคมชิปปิ้งแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย สมาคมผู้นำเข้าและผู้ส่งออกระดับบัตรทอง
เป็นต้น
นางสุพรรณี ไพรัชเวทย์ รองเลขาธิการ ก.พ.ร. ประธานเปิดการประชุมได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ว่า
เพื่อเป็นการชี้แจงมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2555
และเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการปรับ
ปรุงบริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจ นับตั้งแต่ปี พ.ศ.
2546 เป็นต้นมา
รัฐบาลได้มีนโยบายให้หน่วยงานของรัฐปรับปรุงคุณภาพการให้บริการเพื่อให้
ประชาชนได้รับบริการที่สะดวก และรวดเร็วขึ้น
สำนักงาน ก.พ.ร.
ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจในการพัฒนาระบบราชการได้ดำเนินการตามนโยบายดัง
กล่าว
โดยการส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐปรับปรุงคุณภาพการให้บริการประชาชนโดยลด
ขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการลงร้อยละ 30 50 มาอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งกระบวนการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการดังกล่าวสอดคล้องกับแนวทางการวัดผล
เรื่อง Doing Business ของธนาคารโลกที่พิจารณาเกี่ยวกับขั้นตอน ระยะเวลา
ค่าใช้จ่ายในการให้บริการของรัฐที่มีผลต่อการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบ
การในการดำเนินธุรกิจ
Doing Business
มีความสำคัญต่อการตัดสินใจของนักลงทุนในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย
อีกทั้งแนวทางการวัดผลสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติเพื่อปรับปรุงบริการของภาค
รัฐ ดังนั้น สำนักงาน ก.พ.ร.
จึงได้นำรายงานการจัดอันดับดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
เพื่อทราบและพิจารณาอย่างต่อเนื่อง นางสุพรรณี ไพรัชเวทย์ กล่าว
ต่อจากนั้น เป็นการบรรยาย เรื่อง การปรับปรุงบริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจวิจัยเรื่อง Doing Business ของธนาคารโลก โดย ผชช.ชัยยุทธ กมลศิริสกุล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาระบบราชการ ได้
กล่าวถึงการดำเนินการปรับปรุงบริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบ
ธุรกิจประเทศไทย ว่า รายงานผลการวิจัยเรื่อง Doing Business
จัดทำขึ้นโดยธนาคารโลกเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547
ธนาคารโลกเข้ามาจัดอันดับประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005)
โดยมีการสำรวจเกี่ยวกับขั้นตอน ระยะเวลาการให้บริการ ค่าใช้จ่าย และกฎหมาย
กฎ ระเบียบต่างๆ
ของรัฐว่ามีส่วนสนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจหรือไม่ อย่างไร
ตัวชี้วัดในการสำรวจมี 10 ด้าน
ตามวงจรธุรกิจตั้งแต่การเริ่มต้นธุรกิจจนถึงการปิดกิจการ
ผลการจัดอันดับสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของหน่วยงานภาครัฐเทียบกับประเทศ
ต่างๆ ทั่วโลก ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ร.
ได้นำรายงานการจัดอันดับดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบและพิจารณา
อย่างต่อเนื่อง โดยมติคณะรัฐมนตรีที่ผ่านมาเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2555
มอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินการ ดังนี้
1. ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ดำเนินการปรับปรุงบริการให้เป็นผลสำเร็จ ดังนี้
● ด้านการจดทะเบียนทรัพย์สิน ให้
กรมที่ดิน และกรมสรรพากรเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก
ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมในการปรับลดอัตราภาษีหรือค่าธรรมเนียมในการจด
ทะเบียนทรัพย์สินเพื่อกำหนดเป็นมาตรการถาวร
หรือปรับแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
และควรเชื่อมโยงฐานข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากับกรมที่ดินให้สามารถตรวจ
สอบความเป็นนิติบุคคลของผู้จดทะเบียนได้แบบ real time
● ด้านการชำระภาษี ให้
กระทรวงการคลัง
และหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมให้รัฐเป็นหน่วยงาน
ที่รับผิดชอบหลัก
ดำเนินการศึกษารายละเอียดกระบวนการจัดเก็บภาษีของประเทศและปฏิรูประบบการจัด
เก็บภาษีใหม่ให้เกิดการบูรณาการ
และศึกษาแนวทางการมอบอำนาจให้หน่วยงานอื่นจัดเก็บภาษีแทนได้อย่างจริงจัง
เพื่อให้เกิดระบบการชำระภาษีเพียงจุดเดียว
● ด้านการปิดกิจการ ให้
กรมบังคับคดี
และศาลยุติธรรมเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักดำเนินการเร่งปรับปรุงกฎหมายที่
เกี่ยวข้อง และกำหนดมาตรการเพื่อลดระยะเวลาในกระบวนการปิดกิจการ
● ด้านการค้าระหว่างประเทศ ให้
กรมศุลกากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนำเข้า
ส่งออกสินค้าเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก
ดำเนินการผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำระบบ National Window
ไปใช้ในการนำเข้า ส่งออกอย่างเป็นรูปธรรม
และศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางในการลดค่าใช้จ่ายและลดจำนวนเอกสารในการนำเข้า
ส่งออกให้แก่ผู้ประกอบการ
● ด้านการเริ่มต้นธุรกิจ ให้
กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักดำเนินการพัฒนาระบบการให้
บริการจัดตั้งธุรกิจให้เป็นการให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
● ด้านการได้รับสินเชื่อ ให้
กระทรวงการคลัง และกรมบังคับคดีเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก
ดำเนินการเร่งรัดการประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ
ตลอดจนปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น
กฎหมายล้มละลายเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งในสิทธิทางกฎหมายของเจ้าหนี้และ
ลูกหนี้ในการขอสินเชื่อ
กฎหมายเกี่ยวกับข้อมูลเครดิตเพื่อขยายขอบเขตการจัดเก็บข้อมูลเครดิต เป็นต้น
2.
ให้สำนักงบประมาณ
พิจารณาสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานหรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับการปรับ
ปรุงบริการตามรายงานผลการวิจัยเรื่อง Doing Business
แก่หน่วยงานที่รับผิดชอบและสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการศึกษาวิจัยแนวทาง
การดำเนินงานของประเทศที่ได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับต้น ๆ (Benchmarking)
เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของไทย
3.
ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สนับสนุนและพัฒนาระบบการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แก่หน่วยงานต่าง ๆ
อย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้กระบวนการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐมีความสะดวกและรวดเร็ว
4. ให้สำนักงาน ก.พ.ร.
รายงานความก้าวหน้าในการดำเนินการของหน่วยงานต่าง ๆ
ที่รับผิดชอบในการปรับปรุงบริการให้คณะรัฐมนตรีทราบทุก 6 เดือน
และดำเนินการติดตามและประเมินผลการปรับปรุงบริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถใน
การประกอบธุรกิจของประเทศให้เป็นผลสำเร็จและอันดับของประเทศดีขึ้น
เพื่อให้ผลการดำเนินการเรื่องนี้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพด้วย
5.
ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาศึกษาและปรับปรุงกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการ
ดำเนินการปรับปรุงบริการของหน่วยงานต่าง ๆ ตามรายงานผลการวิจัยเรื่อง Doing
Business ของธนาคารโลก และเร่งรัดพิจารณาปรับปรุงกฎหมาย กฎ
และระเบียบเพื่อเป็นการลดขั้นตอนและลดการขออนุญาตที่ไม่จำเป็นเพื่อให้เหมาะ
สมกับภาคธุรกิจ โดยให้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
จากนั้น เป็นการบรรยาย เรื่อง ผลการดำเนินการปรับปรุงบริการภาครัฐในแต่ละด้านตามรายงานผลการวิจัยเรื่อง Doing Business 2012 โดย ดร.วิพุธ อ่องสกุล ที่ปรึกษาสำนักงาน ก.พ.ร. กล่าวถึง ผลการจัดอันดับ 10 ด้าน โดยเปรียบเทียบกับประเทศที่เป็น World Best และ Asean Best ดังนี้
ด้าน |
อันดับประเทศไทย ปี 2012 |
World Best เปรียบเทียบกับ Asean Best |
Worlds best |
Asean Best |
1. การเริ่มต้นธุรกิจ |
78 |
นิวซีแลนด์ |
สิงคโปร์ |
2. การขออนุญาตก่อสร้าง |
14 |
ฮ่องกง |
สิงคโปร์ |
3. การขอติดตั้งระบบไฟฟ้า |
9 |
ไอซ์แลนด์ |
สิงคโปร์ |
4. การจดทะเบียนทรัพย์สิน |
28 |
ซาอุดิอาระเบีย |
สิงคโปร์ |
5. การได้รับสินเชื่อ |
67 |
มาเลเซีย |
มาเลเซีย |
6. การคุ้มครองนักลงทุน |
13 |
นิวซีแลนด์ |
สิงคโปร์ |
7. การชำระภาษี |
100 |
มัลดีฟ |
สิงคโปร์ |
8. การค้าระหว่างประเทศ |
17 |
สิงคโปร์ |
สิงคโปร์ |
9. การบังคับให้เป็นไปตาม ข้อตกลง |
24 |
ลักเซมเบิร์ก |
ฮ่องกง |
10. การปิดกิจการ (การแก้ปัญหาการ ล้มละลาย) |
51 |
ญี่ปุ่น |
สิงคโปร์ |
หลังจากนั้นเป็นการ
รับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ
และแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการปรับปรุงบริการเพื่อเพิ่ม
ขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจ มีดังนี้
1. ด้านกฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
1)
ปัญหาความล่าช้าในการดำเนินการนอกเหนือจากกฎหมายแล้วยังเกิดจากกระบวนการ
บริหารภายในหน่วยงาน
ซึ่งในการปรับปรุงการบริการควรพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้นว่าเป็นปัญหาในเชิง
บริหาร หรือเชิงกฎหมาย ในส่วนการยกร่างกฎหมายของส่วนราชการ
ควรหาข้อยุติที่ชัดเจนระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน
และควรมีทัศนคติในการยอมลดอำนาจและบทบาทของหน่วยงานภาครัฐ
เพื่อให้สามารถดำเนินการปรับปรุงได้ถูกต้องและรวดเร็วขึ้น
(สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)
2)
ควรมีการกำหนดระยะเวลาในการทบทวนกฎหมาย กฎ
ระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทราบปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ
และให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น มาตรฐาน IEC
ซึ่งเป็นมาตรฐานในการออกแบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้กำหนดมาตรฐานให้มีการ
ทบทวนกฎหมายทุก 5 ปี (สภาวิศวกร)
3) ควรมีการปรับแก้ไขกฎหมายในหลาย ๆ ฉบับ เช่น
●
ด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง
กระทรวงยุติธรรมได้ออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. 2554 ซึ่งได้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12
กรกฎาคม 2554 ส่งผลให้การขายทอดตลาดของกรมบังคับคดีทำได้ยากขึ้น
เนื่องจากกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวกำหนดให้กรมบังคับคดีต้องระบุรายละเอียด
เกี่ยวกับทรัพย์สินที่จะนำออกประมูลในประกาศขายทอดตลาดเพิ่มเติมจากที่เคย
ยึดถือปฏิบัติเดิม ทำให้กรมฯ
ต้องแจ้งให้สถาบันการเงินเจ้าหนี้จัดส่งเอกสารหลายรายการให้เพิ่มเติม
ก่อนจะจัดประมูลขายทอดตลาดได้ตามปกติ
ทำให้สถาบันการเงินประสบปัญหาในการระบายทรัพย์ประเภทบ้าน ที่ดิน
ที่ฟ้องร้องบังคับคดีจากลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระหนี้ ดังนั้น
ควรยกเลิกกฎกระทรวงฉบับนี้และใช้หลักเกณฑ์เดิมจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบ
การ (สมาคมธนาคารไทย)
●
ด้านการค้าระหว่างประเทศ ควรปรับปรุงพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.
2482 ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการสำแดงถิ่นกำเนิดของสินค้า
เนื่องจากปัจจุบันส่วนประกอบของสินค้าชนิดหนึ่งจะมีกระบวนการผลิตสินค้ามา
จากหลายประเทศ
ซึ่งกฎหมายฉบับนี้จะนำมาใช้ในการจับกุมประเทศผู้ให้กำเนิดสินค้านำเข้าเป็น
เท็จ โดยมีโทษค่อนข้างร้ายแรง (สมาคมชิปปิ้งแห่งประเทศไทย)
● ด้านขออนุญาตก่อสร้าง ควรแก้ไขพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 ที่มีผลให้ขั้นตอนการก่อสร้างยุ่งยาก (สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย)
●
ด้านการได้รับสินเชื่อ
ควรเร่งรัดให้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักประกันธุรกิจ
ซึ่งจะเป็นกฎหมายที่ช่วยให้การขอสินเชื่อทำได้ง่ายขึ้น
เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้สามารถนำทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมาใช้เป็น
หลักประกันในการขอสินเชื่อได้
4)
การปรับปรุงบริการโดยใช้รูปแบบการให้บริการ ณ จุดเดียว (Single Point)
ดำเนินการปรับปรุงโดยการมอบอำนาจให้หน่วยงานอื่นทำงานแทน
ซึ่งไม่ต้องแก้ไขกฎหมาย (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า)
5) ในการยกร่างกฎหมาย ควรให้ผู้ใช้กฎหมายมีส่วนร่วมในการยกร่างด้วย เพื่อให้มีกฎหมายที่ตอบสนองความต้องการของทุกฝ่าย
ทั้งนี้
ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นว่า
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาอยู่ระหว่างการดำเนินการยกเลิกและปรับปรุงกฎหมาย
ต่าง ๆ อาทิ กฎหมายที่กระทบสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ
กฎหมายที่สร้างภาระเกินความจำเป็นต่อประชาชน กฎหมายที่ไม่มีสภาพบังคับ เช่น
ห้ามขายอาหารหลังเที่ยงคืน อย่างไรก็ตาม
แม้จะได้มีความพยายามในการดำเนินการเรื่องดังกล่าวแต่ส่วนราชการยังคงเสนอ
กฎหมายใหม่ออกมาอย่างต่อเนื่องและเป็นกฎหมายที่มีลักษณะจำกัดสิทธิของ
ประชาชน และสร้างขั้นตอนให้ยุ่งยากมากขึ้น
2. ด้านกระบวนการให้บริการ
1)
ปัจจัยสำคัญในการปรับปรุงการให้บริการให้สำเร็จเกิดจากการดำเนินการใน 4
องค์ประกอบ คือ 1) กระบวนการ 2) กฎหมาย กฎระเบียบ 3) เทคโนโลยี และ 4)
งบประมาณ ดังนั้น หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบต่าง ๆ ได้แก่
หน่วยงานเจ้าของเรื่อง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
และสำนักงบประมาณร่วมกันดำเนินการจะทำให้การปรับปรุงบริการเกิดความสำเร็จ
(กรมพัฒนาธุรกิจการค้า)
2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงบริการในแต่ละด้าน
●
ด้านการค้าระหว่างประเทศ การเปลี่ยนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีจาก 10 หลักเป็น
13 หลักของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากร มีกระทบกับระบบ e-Custom
ซึ่งยังคงใช้เลข 10 หลัก ทำให้สืบค้นข้อมูลของผู้ประกอบการยุ่งยากขึ้น
นอกจากนี้
กรมการค้าต่างประเทศและกรมศุลกากรควรแลกเปลี่ยนฐานข้อมูลให้เป็นฐานข้อมูล
เดียวกัน เพื่อลดภาระในการส่งเอกสาร ลดการใช้พลังงานให้แก่ผู้ประกอบการ
(สมาคมชิปปิ้งแห่งประเทศไทย)
●
ด้านการขออนุญาตก่อสร้าง ควรเพิ่มคณะทำงานอีก 3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมเจ้าท่า
เพื่อให้ครอบคลุมการปรับปรุงบริการด้านนี้ (สภาวิศวกร
และสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย)
ทั้งนี้ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ ทางสำนักงาน ก.พ.ร. จะได้รวบรวมและนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อยอดเพื่อบรรลุสู่เป้าหมาย ต่อไป
กลุ่มสื่อสารฯ สลธ. / ข่าว & ภาพ
วสุนธรา (สลธ.) / รายงาน
กลุ่มสื่อสารฯ / จัดทำ
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 26 มีนาคม 2555 11:43:36 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 26 มีนาคม 2555 11:52:42