สำนักงาน ก.พ.ร. จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง
แนวทางการดำเนินการขยายผล
เพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการประชาชน
เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2555 สำนักงาน ก.พ.ร. โดยสำนักบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม ได้จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง แนวทางการดำเนินการขยายผลเพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการประชาชน โดยมี นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข ผู้แทนสำนักงาน ก.พ.ร. กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ นายชัยรัตน์ พรสวัสดิ์ หัวหน้างานรถยนต์นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง กรมการขนส่งทางบก
ได้เล่าถึงประสบการณ์การดำเนินการขยายผลเพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการ
ประชาชนของกรมการขนส่งทางบก และมีผู้แทนจาก 19 ส่วนราชการ
เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในครั้งนี้
นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข ได้กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ว่า
เป็นผลสืบเนื่องจากการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2554
ได้มีมติเห็นชอบให้ส่วนราชการดำเนินการขยายผลการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ
ประชาชน ดังนี้
กรณีหน่วยงานที่ไม่เคยเสนอผลงาน ให้เสนอ 1 งานบริการ (เป็นอย่างน้อย) ในแต่ละปีอย่างต่อเนื่อง
กรณีหน่วยงานที่เคยได้รับรางวัลแล้ว
ให้ขยายผลงานบริการที่ได้รับรางวัลไปในทุกหน่วยที่มีการให้บริการนั้น ๆ
(โดยให้ส่วนราชการเสนอแผนดำเนินงาน แบ่งเป็นระยะ ๆ
ให้ครอบคลุมทุกหน่วยบริการ ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558)
ดัง
นั้นเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว สำนักงาน ก.พ.ร.
จึงจัดการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง
แนวทางการดำเนินการขยายผลเพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการประชาชน
ระหว่างส่วนราชการที่เคยได้รับรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชนขึ้น
เพื่อนำแนวทางที่ได้จากการประชุมไปใช้ในการส่งเสริมส่วนราชการในการขยายผล
การพัฒนาคุณภาพการให้บริการของส่วนราชการต่าง ๆ ต่อไป
จากนั้น นายชัยรัตน์ พรสวัสดิ์ หัวหน้างานรถยนต์นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง กรมการขนส่งทางบก ได้เล่าประสบการณ์การดำเนินการขยายผลเพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการประชาชนของกรมการขนส่งทางบก ดังนี้
กรมการ
ขนส่งทางบกได้พัฒนาคุณภาพการให้บริการอย่างต่อเนื่องและส่งผลงานเข้าประกวด
รางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชนเป็นเวลา 9 ปี ติดต่อกัน
รวมรางวัลที่ได้รับ จำนวน 35 รางวัล
นายชัยรัตน์ กล่าวว่า ตามแนวทางการขยายผลคุณภาพการให้บริการประชาชนของกรมการขนส่งทางบก ประกอบด้วย
1.
การให้ความสำคัญกับการเลือกกระบวนงานในการพัฒนา
โดยจะมุ่งเน้นกระบวนการที่มีความพร้อมต่าง ๆ ประกอบด้วย
ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน ความพร้อมของบุคลากรและผู้นำ ความสำคัญของงาน
ปริมาณงาน รวมทั้งการพิจารณาเกี่ยวกับโอกาสความสำเร็จและความเสี่ยง
2.
การให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน
โดยได้จัดทำโครงการพัฒนายกระดับสำนักงานขนส่งจังหวัด
เพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์กรสมัยใหม่อย่างไม่หยุดนิ่ง
และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการพัฒนาจะมี 2 ระดับคือ
การสร้างสำนักงานขนส่งจังหวัดมาตรฐาน
และการสร้างสำนักงานขนส่งจังหวัดต้นแบบ
3.
การกำหนดการประเมินผลที่ชัดเจน โดยมีตัวชี้วัดใน 4 มิติ คือ มิติที่ 1
ด้านประสิทธิผล มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการ มิติที่ 3
ด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และ มิติที่ 4 ด้านการพัฒนาองค์กร
4.
การจัดโครงสร้างงาน
เพื่อรับผิดชอบการขยายผลคุณภาพการให้บริการประชาชนอย่างชัดเจน
ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหาร หน่วยบริหารโครงการ หน่วยปฏิบัติการ
หน่วยติดตามประเมินผล
โดยมีหน่วยสนับสนุนเป็นทีมกลางในการทำหน้าที่ประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง
ๆ
5.
การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้มีคู่มือวิธีปฏิบัติงาน
มีการประชาสัมพันธ์ / การสื่อสารทั่วทั้งองค์กร ทำการสำรวจความพึงพอใจ
และเรื่องร้องเรียนเพื่อนำไปปรับปรุงการบริการ มีการตรวจติดตามภายใน
รวมทั้งจัดทำรายงานและประเมินผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
โดยมีปัจจัยแห่งความสำเร็จ ได้แก่ 1) การทำความเข้าใจภารกิจ /
การสื่อสารภายในองค์กร 2) การสนับสนุนของผู้บริหาร 3) การวิเคราะห์ลูกค้า
4) การจัดโครงสร้างงาน 5) การวางระบบควบคุม และ 6)
การติดตามประเมินผลและขจัดความเสี่ยง
หลังจากนั้น เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้แทนจาก 19 ส่วนราชการ ร่วมแลกเปลี่ยนความข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการขยายผลเพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการประชาชน สรุปประเด็นที่น่าสนใจได้ ดังนี้
กลไกการดำเนินการขยายผลคุณภาพการให้บริการของส่วนราชการ
1.
การสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมในการพัฒนาการให้บริการให้เกิดขึ้นในองค์การจาก
กรณีของกรมการขนส่งทางบก มีการปรับปรุงคุณภาพการบริการอย่างต่อเนื่อง
และได้รับรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน 9 ปีติดต่อกัน (ตั้งแต่ปี พ.ศ.
2547) รวม 35 รางวัล
ทำให้เกิดแรงกระตุ้นในการปรับปรุงคุณภาพของหน่วยงานย่อยของทุกหน่วยงานเพื่อ
ส่งกระบวนงานเข้าประกวดรับรางวัลจนกลายเป็นค่านิยมองค์การ
2.
การให้ความสำคัญของผู้บริหารในการผลักดันคุณภาพการให้บริการ
เป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นแรงขับเคลื่อนการดำเนินการขยายผลคุณภาพการให้บริการ
ประชาชน ทั้งนี้ หากส่วนราชการที่ผู้บริหารเข้ามามีส่วนร่วม
และให้ทิศทางการดำเนินการอย่างชัดเจน จะทำให้การดำเนินการประสบความสำเร็จ
อาทิ
กรมการขนส่งทางบกผู้บริหารจะประกาศเจตนารมณ์ที่ชัดเจนว่าต้องมีการพัฒนา
คุณภาพการให้บริการประชาชนอย่างต่อเนื่อง
และต้องได้รับรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชนของสำนักงาน ก.พ.ร. ทุกปี
จึงเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนในกรมการขน
ส่งทางบก
3.
การพัฒนาระบบเทคโนโลยีนับเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การพัฒนาคุณภาพการให้
บริการมีความสะดวก และรวดเร็วขึ้น
อย่างไรก็ตามควรพัฒนาบุคคลควบคู่กันเพื่อที่จะสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลง
ของเทคโนโลยีได้
4.
ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะและสมรรถนะสูง
มีความรู้และความเชียวชาญที่หลากหลาย รวมทั้งสามารถทำงานแทนกันได้
เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
5.
การเลือกหน่วยงานนำร่องในการขยายผลคุณภาพการให้บริการควรเป็นหน่วยงานที่มี
ความพร้อมในด้านต่าง ๆ
และเป็นหน่วยงานที่สามารถกำกับและติดตามประเมินผลได้อย่างใกล้ชิด
รวมทั้งควรเลือกหน่วยงานที่มีความหลากหลายจะทำให้ได้ข้อมูลที่จะนำไปสู่การ
ขยายผลได้อย่างมีคุณภาพ
สำหรับช่วงสุดท้ายของการประชุมในครั้งนี้ เป็นการเสนอแนะแนวทางในการดำเนินการต่อไป ได้แก่
1.
ควรสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐมีการแลกเปลี่ยนและใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน
ซึ่งจะทำให้สามารถพัฒนาการบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และมีความคุ้มค่ายิ่งขึ้น
2. ควรได้รับการสนับสนุนงบผระมาณในการดำเนินการขยายผลคุณภาพการให้บริการ
3. ควรส่งเสริมให้ผู้บริหารและบุคลากรให้ความสำคัญและมีแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชน
ซึ่ง
แนวทางการดำเนินงานหรือข้อเสนอแนะต่าง ๆ ทางสำนักงาน ก.พ.ร.
จะได้รวบรวมและนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อยอดเพื่อบรรลุสู่เป้าหมาย ต่อไป
กลุ่มสื่อสารฯ สลธ. / ข่าว & ภาพ
วสุนธรา (สลธ.) / รายงาน
กลุ่มสื่อสารฯ / จัดทำ
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 16 มีนาคม 2555 10:25:38 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 16 มีนาคม 2555 10:25:38