Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2555 / มีนาคม / รายการเดินหน้า...พัฒนาราชการไทย ตอนการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม

รายการเดินหน้า...พัฒนาราชการไทย ตอนการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม

รายการเดินหน้า...พัฒนาราชการไทย ตอน
การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม



           
รายการเดินหน้า...พัฒนาราชการไทย ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ที่ออกอากาศเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555 เสนอเรื่อง การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ได้รับเกียรติจาก นายทรงศักดิ์ วงศ์ภูมิวัฒน์ ประธานอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ (อ.ก.พ.ร.) เกี่ยวกับการพัฒนาและส่งเสริมการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม มาร่วมสนทนากับคุณศิริบูรณ์ ณัฐพันธ์ พิธีกรในรายการ

           การนำเสนอรายการฯ ในตอนนี้เริ่มจากการพูดคุยกับนายทรงศักดิ์ วงศ์ภูมิวัฒน์ ประธาน อ.ก.พ.ร.ฯ ซึ่งได้กล่าว ถึงความเป็นมาของ การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ไว้ว่าสืบเนื่องจากการปกครองในระบอบประชาธิปไตยให้มีการกำหนดนโยบายและ บริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยเริ่มต้นจากรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ที่ได้มุ่งให้มีการปรับโครงสร้างทางราชการต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น จนกระทั้งปี 2545 ได้ถือกำเนิดสำนักงาน ก.พ.ร. ขึ้น และมีการจัดตั้งอนุกรรมการชุดหนึ่งที่มีบทบาทในการส่งเสริมเรื่องการบริหาร ราชการแบบมีส่วนร่วม หลังจากนั้นในปี 2550 การดำเนินการเรื่องนี้ได้มีความชัดเจนมากขึ้น เพราะรัฐธรรมนูญ ปี 2550 นี้ ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์เรื่องการมีส่วนร่วมไว้ เช่น การให้ข้อมูลข่าวสาร การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เป็นต้น และได้มีการกำหนดนโยบายและการบริการสาธารณะที่มีความจำเป็นต่อประชาชน รวมทั้งมีการศึกษาเรื่องระดับชั้นของการมีส่วนร่วมด้วย จนกระทั่งในปี 2551 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า ดำเนินการให้ความรู้ ความเข้าใจในรูปแบบของการอบรม และร่วมจัดทำแผนให้แก่ประชาชนในชุมชนต่าง ๆ รวมทั้งให้งบประมาณสนับสนุนการดำเนินการเพื่อผลักดันให้ประชาชนเข้ามามีส่วน ร่วมกับภาครัฐมากขึ้น

           หลังจากนั้นเป็นสกู๊ปแสดงรายชื่อจังหวัดที่ได้รับรางวัลความเป็นเลิศด้านการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมในระดับจังหวัด ประจำปี 2553 ซึ่งมีจังหวัดได้รับรางวัลทั้งสิ้น 18 จังหวัด โดยแบ่งเป็นรางวัลระดับดีเยี่ยม 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอ่างทอง สมุทรสงคราม ตราด นครพนม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ พัทลุง ลำพูน ตาก ราชบุรี และเพชรบุรี ส่วนรางวัลระดับดี ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น จันทบุรีและหนองบัวลำภู และรางวัลระดับชมเชย ได้แก่ จังหวัดชุมพร ตรัง และอุดรธานี และได้นำเสนอเกี่ยวกับการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมของจังหวัดเพชรบุรี ที่ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการ ภายใต้การบริหารงานโครงการ แก้ไขปัญหาความยากจนระดับครัวเรือนจังหวัดเพชรบุรี ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่บังเกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม โดยใช้เวทีประชาคมหมู่บ้าน เป็นกลไกในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและเสนอ ความต้องการที่นำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาได้ตรงกับความต้องการของประชาชน อย่างแท้จริง

           โดยได้สัมภาษณ์ผู้แทนจากส่วนราชการและภาคประชาชนที่เข้ามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการนี้ เช่น พัฒนาการจังหวัดเพชรบุรี นายสมพร อรุณรัตน์ ซึ่งได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการนี้ว่า โครงการนี้ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2552 โดยได้เชิญผู้แทนส่วนราชการต่าง ๆ รวมทั้งส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชนที่ประสบปัญหาความยากจน มาปรึกษาหารือเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่จะมีการประกอบอาชีพต่าง ๆ เช่น อาชีพทางด้านปศุสัตว์ ด้านการประมง ด้านการค้าขาย ด้านช่างฝีมือ ด้านการเย็บเสื้อผ้าอุตสาหกรรมและด้านการบริการ เช่น การรับจ้าง

           ทางด้าน นายสุธี ไวปัญญา หัว หน้ากลุ่มสารสนเทศการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดเพชรบุรี ได้กล่าวว่า โครงการนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากจังหวัดและเริ่มดำเนินการโครงการด้วย การทำ MOU ร่วมกัน ระหว่างส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชน เพื่อเป็นข้อตกลงว่าจะร่วมกันแก้ไขปัญหาความยากากนั้น นายวิโมกษ์ พรหมทอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี ได้กล่าวว่า สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี ได้มีส่วนร่วมในการประสานงาน การแนะนำอาชีพให้แก่ครัวเรือนและเข้าไปสนับสนุนเรื่องการประกอบอาชีพเพื่อ แก้ปัญหาความยากจนของประชาชน

           สำหรับ บทบาทของส่วนราชการในพื้นที่อำเภอต่าง ๆ ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการนี้ เช่น สำนักงานปศุสัตว์อำเภอหนองหญ้าปล้อง โดย นายทีปกร บัวชู เจ้า พนักงานสัตวบาล ได้กล่าวว่า สำนักงานปศุสัตว์ได้ให้การสนับสนุนโดยการจัดอบรมวิธีการเลี้ยงสัตว์ประเภท ต่าง ๆ และลงพื้นที่สนับสนุนดูแลเรื่องสุขภาพ เช่น การฉีดวัคซีน ฯลฯ และ นายชัยยศ สงวนทรัพย์ นายก เทศมนตรีเทศบาลตำบลบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม ได้กล่าวว่า ทางเทศบาลได้ลงพื้นที่สำรวจครัวเรือนที่ยากจนและขาดแคลนอุปกรณ์ในการประกอบ อาชีพ เพื่อให้การสนับสนุนอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เรือ อวน เครื่อง ฯลฯ จนกระทั้งครัวเรือนสามารถประกอบอาชีพเองได้ หลังจากนั้นทางครัวเรือนได้เก็บบันทึกรายได้ด้วยการทำบญชี แล้วพบว่าครอบครัวมีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น

           สุด ท้ายเป็นการสัมภาษณ์ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งได้ให้ข้อมูลว่า หลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้แล้ว ได้ทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น

           ในช่วงที่ 2 ของรายการได้กลับมาพุดคุยกับ นายทรงศักดิ์ วงศ์ภูมิวัฒน์ กัน ต่อ ซึ่งท่านได้กล่าวว่า สำหรับแนวทางการดำเนินการเรื่องการมีส่วนร่วม คือ ต้องมีการผลักดันให้เกิดขึ้นและดำเนินการไปอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2554 จะเริ่มดำเนินการขับเคลื่อนทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น เพราะเรื่องการมีส่วนร่วมจะเป็นสิ่งที่เชื่อมประสาน ทั้งส่วนราชการในการจัดทำนโยบายต่าง ๆ ซึ่งเปรียบเสมือนเหรียญด้านที่ 1 มาเชื่อมประสานกับภาคประชาชนที่มีความต้องการที่หลากหลาย เปรียบเสมือนเหรียญด้านที่ 2 และ การมีส่วนร่วม จะสร้างเหรียญด้านที่ 3 ให้เกิดขึ้น กล่าวคือ จะเกิดทางสายกลางในการพัฒนานโยบายและบริการสาธารณะเพื่อประชาชนในระบอบการ ปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง 

           สำหรับในช่วงสุดท้ายของรายการเป็นการนำเสนอบทสัมภาษณ์ของ ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า

           โดย ดร.ถวิลวดี ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับ การมีส่วนร่วม ไว้ว่า การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมนั้น เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ค้นหาสิ่งดี ๆ ในชุมชน หรือที่เรียกว่าค้นหาทุนทางสังคม หลังจากนั้นจะได้ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชน อันจะนำไปสู่การคิดโครงการต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชน สำหรับบทบาทของส่วนราชการ จะเป็นเปิดโลกทัศน์ของส่วนราชการ ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นจะมีบทบาทในการสนับสนุน ช่วยเหลือในการดำเนินการและได้เรียนรู้ปัญหาต่าง ๆ ร่วมกัน

           ดร.ถวิล วดีได้กล่าวย้ำว่า การดำเนินการเรื่องการมีส่วนร่วมที่เกิดจากความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น นั้น ควรมีการรวบรวมฐานข้อมูล ถอดบทเรียน และอาจเชื่อมโยงสู่การพัฒนาเป็นหลักสูตรในชุมชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

           ท่านผู้ชมสามารถติดตามความเคลื่อนไหวและความก้าวหน้าของการพัฒนาระบบราชการไทย ได้ใน รายการ เดินหน้า...พัฒนาราชการไทย ซึ่งออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ทุกวันจันทร์สัปดาห์ที่ 1 ของเดือน เวลา 15.30 น. 15.55 น.


นนทญา (สลธ.) / ข่าว & ภาพ
วสุนธรา (สลธ.) / รายงาน

กลุ่มสื่อสารฯ / จัดทำ

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 12 มีนาคม 2555 10:44:35 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 12 มีนาคม 2555 10:44:35
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th