Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2555 / มีนาคม / ก.พ.ร. จัดประชุมสัมมนาเครือข่ายการพัฒนาระบบราชการ เรื่อง การส่งเสริมและพัฒนาธรรมาภิบาลในภาคราชการ

ก.พ.ร. จัดประชุมสัมมนาเครือข่ายการพัฒนาระบบราชการ เรื่อง การส่งเสริมและพัฒนาธรรมาภิบาลในภาคราชการ

ก.พ.ร. จัดประชุมสัมมนาเครือข่ายการพัฒนาระบบราชการ
เรื่อง การส่งเสริมและพัฒนาธรรมาภิบาลในภาคราชการ



           
เมื่อ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ห้องกษัตริย์ศึก 1-3 โรงแรมเดอะ ทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพฯ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้จัดการประชุมสัมมนาโครงการเสริมสร้างและพัฒนาขีดสมรรถนะเครือข่ายการพัฒนาระบบราชการ เรื่อง การส่งเสริมและพัฒนาธรรมาภิบาลในภาคราชการ โดย เป็นการระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างกลุ่มพัฒนาระบบ บริหารระดับกระทรวง กรม และสำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งได้นำเรื่องการสำรวจการพัฒนาองค์การโดยระบบออนไลน์ และแนวคิดเทคนิคการพัฒนาองค์การในภาคราชการมาเป็นหัวข้อสำคัญในการแลก เปลี่ยนเรียนรู้ รวมถึงรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนากว่า 400 คน

           ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. กล่าวว่า ตัวชี้วัดด้านการพัฒนาองค์การ เป็นการปรับระบบการตรวจประเมินใหม่ให้ง่ายขึ้น โดยนำระบบการสำรวจออนไลน์เข้ามาใช้ เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาทุนองค์การที่สำคัญ 3 ทุน คือ ทุนมนุษย์ ทุนสารสนเทศ และทุนวัฒนธรรมองค์การ ซึ่งการพัฒนาองค์การครั้งนี้คือ การที่จะกลับมาดูความพร้อมของหน่วยงานว่าอยู่ในระดับใด ซึ่งถ้าคนพร้อม ระบบเทคโนโลยีเรื่องข้อมูลพร้อม เรื่องวัฒนธรรมองค์การพร้อม แน่นอน องค์การนั้นย่อมมีความพร้อมต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของหน่วยงานให้ก้าวไป สู่ความสำเร็จ แต่ถ้าไม่พร้อม เมื่อสำรวจผลแล้ว จำเป็นต้องพิจารณาว่าอะไรเป็นจุดอ่อนที่เป็นปัญหาต้องแก้ไขซึ่งจะทำให้เรา สามารถกำจัดจุดอ่อนนั้น โดยการวางแผนพัฒนาองค์การ ซึ่งการจัดทำการสำรวจการพัฒนาองค์การโดยระบบออนไลน์นี้จะช่วยทำให้ส่วน ราชการได้ทราบว่า ขณะนี้ทุนทั้ง 3 ด้านขององค์การอยู่ในระดับใด มีโอกาสในการปรับปรุงอย่างไรบ้าง เพื่อจะได้นำไปแก้ไขพัฒนาต่อไป


           ในการประชุมสัมมนาได้มีการนำเสนอภาพรวมผลการสำรวจการพัฒนาองค์การโดยระบบออนไลน์ โดย นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา สุทธปรีดา ผู้ อำนวยการสำนักบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งในการบรรยายช่วงหนึ่ง นางวรรณพรกล่าวว่า สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้ต้องนำ 3 ทุน อันได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนสารสนเทศ และทุนวัฒนธรรม มาใช้เป็นกรอบในการประเมินผลการพัฒนาองค์การครั้งนี้ เนื่องจากเห็นว่าการที่จะผลักดันให้การพัฒนาองค์การก้าวไปข้างหน้าได้ คน ถือเป็นบุคคลสำคัญที่สุดที่จะทำให้การพัฒนาองค์การขับเคลื่อนไปได้ อีกประเด็นหนึ่งคือเรื่องของ ระบบข้อมูล ที่มีส่วนช่วยในการตัดสินใจ และประเด็นสุดท้ายคือ สภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่มีผลต่อการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ดังนั้น จึงเป็นที่ประจักษ์ว่าต้องมี 3 เรื่องนี้เป็นตัวหลักสำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อใช้เป็นกรอบในการประเมินผล การพัฒนาองค์การของส่วนราชการ 

           จากนั้น นางอารีพันธ์ เจริญสุข รักษาการ ในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญกลุ่มบริหารการเปลี่ยนแปลง 1 สำนักบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม ได้กล่าวสรุปผลการสำรวจองค์การในแต่ละด้านถึงระดับความเห็น ระดับความสำคัญ และสิ่งที่ส่วนราชการต้องมุ่งพัฒนาเพื่อลดค่าเฉลี่ยของส่วนต่าง (Gap) ระหว่างความเห็นและความสำคัญของความพึงพอใจในแต่ละด้าน

           ทั้ง นี้ ในการสัมมนาดังกล่าว ยังให้ความสำคัญต่อการรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานต่อการดำเนินงานในเรื่อง นี้ จึงได้มีการจัดเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ แทนหน่วยงานตัวอย่างที่มีผลการสำรวจการพัฒนาองค์การโดยระบบออนไลน์อยู่ใน เกณฑ์ดี โดยแบ่งการเสวนาออกเป็นสองห้อง ประกอบด้วย 

           ห้องที่ 1 เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรื่อง แนวคิดและเทคนิคการพัฒนาองค์การในภาคราชการ ด้านการพัฒนาปรับปรุงวัฒนธรรมองค์การ โดย นายจักรี สุจริตธรรม อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ และ นายนิพิฐ อริยวงศ์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ กรมธนารักษ์ ดำเนินรายการโดย นายอนุชิต ฮุนสวัสดิกุล


           ห้องที่ 2 เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรื่อง แนวคิดและเทคนิคการพัฒนาองค์การในภาคราชการ ด้านการพัฒนาปรับปรุงสารสนเทศ โดย นายวินัย มะยมทอง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และ นายประดิษฐ์ กังสนารักษ์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ กรมประชาสัมพันธ์ ดำเนินรายการโดย นายสุมิทธิ์ เกศวพิทักษ์


           สำหรับการเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในครั้งนี้ มีประเด็นแนวคิดเทคนิคการพัฒนาองค์การในภาคราชการที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาเป็นอย่างมาก ดังการบรรยายช่วงหนึ่งของ ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ซึ่งได้จุดประกายแนวคิดการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) ของโลก โดยได้ยกตัวอย่างประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) เช่น

           ● ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้พัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) มาใช้ในหน่วยงานภาครัฐเพื่อลดความซ้ำซ้อนด้านข้อมูล โดยบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐเข้าด้วยกัน รวมถึงการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนานโยบายต่าง ๆ ผ่านระบบ ICT ซึ่งขณะนี้ ประธานาธิบดีโอบามาประกาศผลักดันโครงการสำคัญเพื่อการพัฒนาและลดการลงทุนที่ ซ้ำซ้อน ด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ โครงการ Cloud Services สำหรับระบบงานของรัฐบาลกลาง และการนำระบบ Cloud Service สำหรับระบบงานของรัฐบาลมาใช้ เป็นต้น

           ● ประเทศเกาหลี ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 1 ของโลกด้าน ICT จากการจัดอันดับของe-Government โดย United Nation ปี 2010 โดยเริ่มจากการมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน และเริ่มการพัฒนา การปฏิรูประบบราชการผ่านเว็บไซต์ และการปฏิรูปวิธีการทำงานจากเอกสารที่เป็นกระดาษเปลี่ยนเข้าสู่เอกสารแบบ อิเล็กทรอนิกส์ โดยวัดความสำเร็จจากตัวเลขของจำนวนประชาชนที่เดินทางไปเข้าใช้บริการของภาค รัฐจากสำนักงานโดยตรง ลดลง ขณะเดียวกัน Korea Communications Commission เตรียมผลักดันโครงการสำคัญได้แก่ โครงการ Could Computing facilities เช่นเดียวกัน

           ● ประเทศสิงคโปร์ เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยให้ประชาชนเป็นผู้กำหนดความต้องการจากการบริการของ e-Service ของหน่วยงานภาครัฐ 


           สถานภาพของประเทศไทยด้าน ICT ในเวทีโลก




           ผลการจัดอันดับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ โดย United Nation e-Government 2010 จากภาพ ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 4 ในกลุ่มประเทศ ASEAN  (โดยตกจากอันดับ 3 เป็นอันดับที่ 4 เมื่อปี 2008) โดยพบว่า โครงสร้างพื้นฐาน ICT (Infrastructure Index) ประเทศไทย อยู่ในอันดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก 



           นโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย

           ปัจจุบัน ประเทศไทยมีกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ระยะ พ.ศ. 2554 - 2563 ของประเทศไทย (IT 2020)

มีการกำหนดวิสัยทัศน์คือ ประเทศไทยเป็นสังคมอุดมปัญญา (SMART Thailand) ด้วย ICT ซึ่งการพัฒนากำลังคน ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการบริการจัดการ ICT ประเทศอย่างมีธรรมาภิบาล  ในส่วนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการสร้างธรรมาภิบาลใน การบริหารและการบริการของภาครัฐ

           ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด  มีความเห็นว่า แม้ปัจจุบันทุกหน่วยงานภาครัฐต้องมีการจัดทำแผนแม่บท ICT ของแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ระยะ พ.ศ.2554 - 2563 ของประเทศไทย (IT 2020) และแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ประเทศไทย (พ.ศ. 2552 - 2556) แล้ว สิ่งที่เป็นภารกิจสำคัญที่สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (สรอ.) ในฐานะของหน่วยงานของรัฐที่สนับสนุนทางด้านการสร้างระบบรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ และเป็นหน่วยงานกลางของประเทศในการผลักดันและขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ให้มีความสมบูรณ์และมั่นคงปลอดภัย (Enabling Complete & Secure e-Government) สิ่งที่จะต้องผลักดันในการพัฒนา ICT ต่อไปคือ การจัดทำสถาปัตยกรรมการจัดการองค์กร ซึ่ง เป็นการบูรณาการ (Align) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและด้านธุรกิจหรือภารกิจเข้าด้วยกัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกำหนดทิศทาง (Vision) นโยบาย (Policy) รูปแบบธุรกิจ (Business Model) ตลอดจนวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) ต่างๆ ในการบริหารและดำเนินการขององค์กร (e-Government) ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ความเชื่อมโยง ระหว่างการนำ IT มารองรับการดำเนินงานขององค์การต่าง ๆ ในภาครัฐ 


    ถือเป็นภารกิจที่สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (สรอ.) จะต้องเดินหน้าสร้างความรู้ความเข้าใจ และผลักดัน Enterprise Architecture (EA) หรือสถาปัตยกรรมการจัดการองค์กร ให้ทุกหน่วยงานภาครัฐ พัฒนาไปในทิศทางและเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้เกิดการบูรณาการและการบริหารจัดการแบบธรรมาภิบาลในภาพรวม

           ก่อนจบการเสวนา ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ได้กล่าวถึง แนวโน้มเทคโนโลยีของโลก ปี 2010 โดย ได้กล่าวถึง Cloud computing ซึ่งถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ ที่จะปรับเปลี่ยนการทำงานภาครัฐ ลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน และลดปัญหาในการของบประมาณ ด้าน ICT รวมทั้งสนองตอบความต้องการของภาครัฐให้ใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการพัฒนา ICT ในลักษณะ Store App

           ขณะนี้ได้ สรอ. ได้เปิดโครงการนำร่องบริการระบบคลาวด์ภาครัฐ หรือ Government Cloud Service ไปแล้วเมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่ง สรอ. ผลักดันให้เกิด Government Cloud Service ขึ้นในประเทศไทย ในปี 2555 นี้ 

           ทั้งหมดนี้คือ ภาพรวมของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) ทั้งหมดและภารกิจที่สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (สรอ.) จะพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) ของประเทศไทยต่อไป 


           ด้าน ศาสตราจารย์ ดร.ปรัชญา เวสารัชช์ อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ กล่าวถึง การพัฒนาปรับปรุงวัฒนธรรมองค์การ ว่า บรรยากาศองค์การถือเป็นคำเชิงวิชาการใหม่ที่เริ่มมีคนสนใจมากขึ้น แต่มีคำที่ใช้คล้ายๆกันอยู่ 2 3 คำ คำหนึ่งไม่ได้พูดในบริบท บริบทองค์การที่พูดถึงจะเป็นเรื่อง กฎระเบียบ การบังคับบัญชา การลงเวลา การทำงาน การแต่งตัว นี้เป็นเรื่องของบริบทองค์การ สภาพแวดล้อมองค์การ ก็ถือเป็นประเด็นเดียวกับวัฒนธรรมองค์การ ซึ่ง ก.พ.ร. เลือกเป็นคำที่ใช้สำหรับเป็นตัวชี้วัดในปี 2555 นี้ และในวงวิชาการที่นิยมใช้ก็คือ บรรยากาศองค์การ (Organization climate) หรือถ้าเป็นเอกชนจะเรียกว่า Corporate climate 

           สำหรับ เรื่องวัฒนธรรมองค์การ นับเป็นเรื่องที่มองไม่เห็น เป็นเรื่องค่านิยมความเชื่อ หรือธรรมเนียมปฏิบัติ ซึ่งบรรยากาศองค์การนับว่ามีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมการทำงานในองค์การ เพราะฉะนั้นต้องเลือกเอาคุณลักษณะบางอย่างที่สำคัญของสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งพนักงานรับรู้ทั้งทางตรงและทางอ้อม บรรยากาศขององค์การถือเป็นพลังซึ่งมีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อพฤติกรรมของคนใน องค์การ ต้องวัดบรรยากาศองค์การให้เป็นรูปธรรมจนสามารถประเมินเชิงปริมาณได้ และต้องเข้าใจตรงกันอย่างเป็นรูปธรรม

           ศาสตราจารย์ ดร.ปรัชญา กล่าวต่อว่า ปัจจัยที่จะทำให้คนในองค์การมีความมุ่งมั่นทำงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด กับองค์การตามเป้าหมายวัตถุประสงค์ คือ

           1. ภาวะผู้นำ ส่งเสริม สนับสนุนให้กำลังใจ และเป็นที่พึ่งในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา
           2. วัฒนธรรม ให้ความเป็นธรรม ให้โอกาส ให้คำปรึกษาแนะนำ และรับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา
           3. การทำงานเป็นทีม มอบหมายงานโดยกำหนดเป้าหมาย / กรอบการทำงานอย่างชัดเจน และมอบความรับผิดชอบผลสัมฤทธิ์ของงานแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
           4. การจัดการความรู้ ติดตามผลงานและพฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิดและแจ้งผลดังกล่าวเพื่อการปรับปรุงการทำงาน
           และ 5. การอุทิศตนให้งาน เชื่อมโยงผลงานและพฤติกรรมการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชากับผลตอบแทน 

           เหล่านี้คือ มุม มองและแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาองค์การในภาคราชการ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องมีการพัฒนาองค์การให้เกิดขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยเอกซเรย์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาองค์การอย่างยั่งยืนเท่านั้น การสำรวจการพัฒนาองค์การยังมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างและพัฒนาขีดสมรรถนะใน การปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่การส่งมอบการบริการที่มีคุณค่าต่อประชาชนผู้รับบริการอีกด้วย




กลุ่มสื่อสารฯ & ภัทรพร (สลธ.) / ข่าว & ภาพ
วสุนธรา (สลธ.) / รายงาน
กลุ่มสื่อสารฯ / จ้ดทำ

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 6 มีนาคม 2555 09:32:24 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 8 มีนาคม 2555 12:26:10
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th