สำนักงาน ก.พ.ร. เปิดตัว
รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
สำนักงาน ก.พ.ร. โดยสำนักบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม ได้จัดสัมมนา เรื่อง รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ : ความท้าทายใหม่บนเส้นทางสู่ความเป็นเลิศ ณ ห้องแมจิก 3 ชั้น 2 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2555 ที่ผ่านมา
จาก
การที่สำนักงาน ก.พ.ร.
ได้ดำเนินการส่งเสริมให้ส่วนราชการยกระดับและพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาค
รัฐ ให้มีประสิทธิภาพได้มาตรฐานเทียบเท่าสากลมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี
2547 และในปี 2555 นี้ สำนักงาน ก.พ.ร.
จะดำเนินการส่งเสริมให้ส่วนราชการขอรับรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
ดังนั้น การสัมมนาในครั้งนี้ จึงดำเนินการเพื่อกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจ
ให้ส่วนราชการที่พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการ
ภาครัฐ สมัครขอรับ รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐรายหมวด และพัฒนาไปสู่ รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ต่อไป
ในช่วงแรกของการสัมมนาเป็นการบรรยาย เรื่อง รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ : ความท้าทายใหม่บนเส้นทางสู่ความเป็นเลิศ โดย รศ.รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม อนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
รศ.รัชต์วรรณได้
กล่าวว่า
ส่วนราชการที่ดำเนินการตามโครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ หรือ
PMQA ได้ครบถ้วนทั้ง 6 หมวด
และมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน
(Fundamental Level)
จะได้รับการรับรองการผ่านเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ระดับพื้นฐาน
(Certified Fundamental) ซึ่งหากส่วนราชการปรับปรุงองค์การอย่างต่อเนื่อง
จนมีความโดดเด่นในหมวดใดหมวดหนึ่ง จะสามารถขอรับ
รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐรายหมวด และพัฒนาไปสู่
รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ต่อไปได้
โดยผลการดำเนินงานของส่วนราชการต่าง ๆ
ที่ได้รับรางวัลจะมีการแบ่งปันวิธีการปฏิบัติหรือ Best Practice Sharing
เพื่อต่อยอดความรู้สู่ผู้ปฏิบัติงานคนอื่น ๆ หรือหน่วยงานอื่นต่อไป
โดยรางวัลรายหมวดมีทั้งหมด 6 หมวด ได้แก่
หมวด 1 รางวัลด้านการนำองค์การและความรับผิดชอบต่อสังคม
หมวด 2 รางวัลด้านการวางแผนยุทธศาสตร์และการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ
หมวด 3 รางวัลด้านการมุ่งเน้นผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
หมวด 4 รางวัลด้านการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและการจัดการความรู้
หมวด 5 รางวัลด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
หมวด 6 รางวัลด้านกระบวนการคุณภาพและนวัตกรรม
นอก
จากนี้ รศ.รัชต์วรรณยังได้กล่าวต่อไปว่า สำหรับเรื่องความท้าทายของ PMQA
บนเส้นทางสู่ความเป็นเลิศนั้น คือ การทำ PMQA
แล้วเกิดประโยชน์ต่อส่วนราชการ
กล่าวคือผู้บริหารของส่วนราชการสามารถรับทราบข้อบกพร่องขององค์กรในการ
ดำเนินการและส่งผลให้สามารถกำหนดวิธีการและเป้าหมายในการจัดทำแผนปฏิบัติการ
เพื่อปรับปรุงองค์กรให้สมบูรณ์มากขึ้น
และสามารถปรับปรุงการให้บริการแก่ผู้รับบริการหรือประชาชนได้
รวมทั้งส่วนราชการที่มีการบริหารจัดการที่เป็นเลิศจะมีภาพลักษณ์ที่ดี
และได้รับความนิยมชมชอบจากผู้รับบริการด้วย
สำหรับ
บทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ คือ 1)
มีความมุ่งมั่นต่อนโยบายการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ 2)
มีการรณรงค์ให้มีการสื่อสารวิสัยทัศน์ ค่านิยม
และสร้างวัฒนธรรมที่ดีในองค์กร 3)
เป็นต้นแบบในการนำอย่างมีจริยธรรมและการนำระบบธรรมาภิบาลมาใช้ 4)
การสื่อสารยุทธศาสตร์และติดตามแผนงานเพื่อให้บรรลุผลตามยุทธศาสตร์ 5)
การสร้างบรรยากาศการทำงานบนความไว้วางใจ ความมีประสิทธิภาพและคุณภาพ และ 6)
มีการติดตามผลการดำเนินการของโครงการฯ และตัวชี้วัด
จนนำไปสู่การจัดทำแผนพัฒนาองค์กรเพื่อปรับปรุงองค์กรตามเกณฑ์ PMQA ในที่สุด
รศ.รัชต์วรรณได้กล่าวทิ้งท้าย สำหรับปัจจัยแห่งความสำเร็จในการนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ ได้แก่
1. การจัดการกระบวนการและระบบงานที่มีประสิทธิภาพ
2. มีกลไกการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในทุกกระบวนงาน
3. วัฒนธรรมในการทำงานของคนในองค์กร
4. มีทรัพยากรอย่างพอเพียง
5. ทีมงานคณะผู้บริหารและความเพียรของผู้นำองค์กร
หลังจากนั้น เป็นการเสวนาเรื่อง การเตรียมความพร้อมสู่เส้นทางคุณภาพ โดยได้รับเกียรติจากผู้แทนของส่วนราชการที่มีมุ่งมั่นพัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรคุณภาพ 3 หน่วยงาน ได้แก่ 1) นางวารุณี เตยต่อวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กระทรวงพลังงาน 2) นายอัตถพงษ์ ฉันทานุมัติ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมชลประทาน และ 3) นางอัญชลี อินทรีย์ยงค์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ กรมสุขภาพจิต
โดย นางวารุณี เตยต่อวงศ์ ผู้
อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กระทรวงพลังงาน ได้กล่าวว่า
กระทรวงพลังงานเป็นกระทรวงใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นหลังการปฏิรูประบบราชการ
มีความแตกต่างด้านวัฒนธรรมองค์กร
มีบริษัทและรัฐวิสาหกิจชั้นนำภายใต้กำกับดูแลจำนวนมาก
และเป็นกระทรวงที่มีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงและการเติบโตทางสังคมและ
เศรษฐกิจของประเทศ
จึงส่งผลให้กระทรวงพลังงานประกาศนโยบายเป็นกระทรวงสมรรถนะสูง (High
Performance Organization : HPO) โดยในปี 2555-2556
กระทรวงจะมีการพัฒนาขีดสมรรถนะการบริหารจัดการด้านบุคลากร
การปรับปรุงสารสนเทศ การปรับปรุงวัฒนธรรมองค์กร
ติดตามผลการรักษาระบบคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐานและเตรียมความ
พร้อมรับการตรวจรับรองเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน
เพื่อสมัครเข้ารับรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐต่อไป
สำหรับ
ปัจจัยแห่งความสำเร็จหรือบทเรียนในการพัฒนาองค์กรของกระทรวงพลังงาน ได้แก่
ผู้นำองค์กรหรือผู้บริหารที่มีนโยบายชัดเจน
มีความมุ่งมั่นตั้งใจและถ่ายทอดแนวคิดลงไปสู่ระดับปฏิบัติการอย่างทั่วถึง
รวมทั้งมีการสร้างความเข้าใจให้บุคลากรถึงความสำคัญของการพัฒนาองค์กรไปสู่
ความเป็นเลิศ โดยการจัดทำ Road map หรือ Milestone เป้าหมาย
และตัวชี้วัดความสำเร็จในแต่ละช่วงให้ชัดเจน
และมีการเชื่อมโยงระบบประเมินผล
ทางด้านนายอัตถพงษ์ ฉันทานุมัติ ผู้
อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมชลประทาน ได้กล่าวว่า
การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของกรมชลประทาน
ได้นำเทคนิคและวิธีการดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนตามพระราชกฤษฎีกาการบริหาร
กิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24
มกราคม 2554 ที่เห็นชอบให้นำระบบการประเมินผลภาคราชการแบบบูรณาการ
(Government Evaluation System : GES)
มาใช้ในการติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการ
ซึ่งที่ผ่านมากรมชลประทานได้นำวิธีการจัดการความรู้หรือ KM
มาใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้บริหารและข้าราชการ
เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการจัดระบบและเชื่อมโยงการทำงาน
จนกระทั่งสามารถสรุปหากระบวนการการทำงานที่ดีและรวดเร็วได้
สำหรับกรมสุขภาพจิต นางอัญชลี อินทรีย์ยงค์ นัก
วิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ ได้กล่าวว่า
กรมสุขภาพจิตมีการเตรียมความพร้อมโดยการนำระบบคุณภาพการบริหารจัดการบรรจุใน
แผนที่ยุทธศาสตร์ทั้งในระดับกรมและระดับหน่วยงาน
ซึ่งผู้บริหารระดับสูงได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ รวมทั้งยังมีหน่วยงาน
ระบบงบประมาณ กระบวนการติดตาม การทบทวน
และวางแผนปรับปรุงในการขับเคลื่อนสู่เส้นทางคุณภาพ
ทาง
ด้านปัจจัยที่นำมาสู่ความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ คือ
การมีวัฒนธรรมคุณภาพ คือ วัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้
รวมทั้งผู้บริหารที่เปิดโอกาสในการเรียนรู้ให้แก่ข้าราชการภายในกรมฯ
และมีการสรรหาทีมคุณภาพที่เข้าใจแนวคิด มีจิตใจมุ่งมั่น
ยอมรับการเปลี่ยนแปลง
นอกจากนี้ยังมีการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายด้วยกระบวนการแลก
เปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างความน่าเชื่อถือ การยอมรับ
และการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการ
เพื่อนำไปสู่การเชื่อมแนวคิดสานต่อการพัฒนาระบบต่อไป
สำหรับ
ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการตรวจรับรองเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้น
ฐาน (Certified FL) เพื่อให้ส่วนราชการเสนอขอรับรางวัลฯ ในช่วงเดือนพฤษภาคม
- มิถุนายน โดยสำนักงาน ก.พ.ร. จะรายงานความคืบหน้าต่อไป
นนทญา (สลธ.) / ข่าว & ภาพ
วสุนธรา (สลธ.) / รายงาน
กลุ่มสื่อสารฯ / จัดทำ
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2555 10:20:37 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2555 10:20:37