สำนักงาน ก.พ.ร. เร่งเครื่อง...หาแนวทางการปรับปรุงบริการ
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจ
หลัง
จากที่ธนาคารโลกได้ประกาศผลการจัดอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจ
ตามรายงาน Doing Business 2012 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา
โดยในปีนี้ ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 17
ซึ่งเป็นอันดับที่ดีกว่าปีที่แล้วซึ่งอยู่ในอันดับที่ 19
เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐไทยพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการอย่างต่อเนื่อง
สำนักงาน ก.พ.ร.
จึงเร่งเครื่องผลักดันให้การดำเนินการในเรื่องนี้เกิดผลสำเร็จ
โดยเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2554 ที่ผ่านมา ได้จัดประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อ
พิจารณาแนวทางการปรับปรุงบริการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจ
ตามรายงานผลการวิจัย เรื่อง Doing Business ของธนาคารโลก ณ ห้องประชุมฝ่ายบริหาร ชั้น 5 สำนักงาน ก.พ.ร. โดยมี นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา สุทธปรีดา ผู้
อำนวยการสำนักบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม เป็นประธานในการประชุมฯ
ซึ่งมีหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพหลักในการปรับปรุงบริการฯ
ตามตัวชี้วัดแต่ละด้านเข้าร่วมประชุมและแสดงความเห็นกว่า 10 หน่วยงาน
การ
ประชุมในครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงบริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถใน
การประกอบธุรกิจของประเทศไทยตามรายงานผลการวิจัย เรื่อง Doing Business
ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา
และเพื่อให้หน่วยงานหลักที่จะต้องรับผิดชอบนำข้อเสนอแนวทางการปรับ
ปรุงบริการฯ ไปดำเนินการ ร่วมพิจารณาให้ความเห็นกับแนวทางดังกล่าว
ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
โดย
นางวรรณพร ได้กล่าวว่า รายงานผลการวิจัยเรื่อง Doing Business
เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นโดยธนาคารโลกเป็นประจำทุกปี
และได้เข้ามาจัดอันดับประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา
ซึ่งเป็นการสำรวจเกี่ยวกับขั้นตอน ระยะเวลาการให้บริการ ค่าใช้จ่าย
และกฎหมาย กฎ ระเบียบต่าง ๆ ของรัฐ
ว่ามีส่วนสนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจอย่างไร
โดยมีตัวชี้วัดในการสำรวจ 10 ด้าน
ตามวงจรธุรกิจตั้งแต่การเริ่มต้นธุรกิจจนถึงการปิดกิจการ ซึ่งสำนักงาน
ก.พ.ร. ได้รายงานผลการจัดอันดับต่อคณะรัฐมนตรีมาอย่างต่อเนื่อง
โดยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร.
เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง และสภาพัฒน์ฯ
ประสานการดำเนินการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงบริการฯ
ให้เป็นผลสำเร็จต่อเนื่องต่อไป
นางวรรณพร ยังได้กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้การดำเนินการปรับปรุงบริการฯ
จะสำเร็จได้ต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1)
สำนักงบประมาณ สนับสนุนในเรื่องงบประมาณให้กับหน่วยงานต่าง ๆ 2)
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สนับสนุนในเรื่องการปรับปรุงกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการปรับ
ปรุงบริการ และ 3) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สนับสนุนในเรื่องการพัฒนาระบบการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อให้กระบวนการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐมีความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
หลังจากนั้นเป็นการแสดงความคิดเห็นจากหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการนำข้อ
เสนอแนวทางการปรับปรุงการให้บริการตามตัวชี้วัดต่าง ๆ ไปดำเนินการ
ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับข้อเสนอแนวทางการปรับปรุงบริการเพื่อเพิ่มขีด
ความสามารถในการประกอบธุรกิจ และมีความเห็นเพิ่มเติมใน 3 ประเด็นที่สำคัญ
คือ ควรสร้างความเข้าใจแก่ผู้ตอบแบบสอบถามให้กับธนาคารโลก
ควรเร่งรัดการประกาศใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
และควรส่งเสริมให้มีการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการให้บริการอย่างจริง
จัง
จากการประชุมเพื่อร่วมพิจารณาแนวทางฯ ในครั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ร.
ได้รวบรวมข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงบริการฯ
และเสนอเป็นวาระเข้าประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เมื่อวันที่ 21
พฤศจิกายน 2554
เพื่อเตรียมเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
ภัทรอาภา (สำนักนวัตกรรมฯ)/ข้อมูล
นนทญา (สลธ.)/ภาพ
วสุนธรา & ภัทรพร (สลธ.)/รายงาน
กลุ่มสื่อสาร ฯ/จัดทำ
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2554 11:04:00 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2554 11:04:00