สำนักงาน ก.พ.ร. ตรวจเยี่ยมกระบวนการให้บริการของคณะ
แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และกรม
สรรพสามิต ที่ส่งผลงานเพื่อขอรับรางวัลคุณภาพการให้บริการ
ประชาชน ประจำปี พ.ศ. 2554
เมื่อ
วันที่ 8 ตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ (อ.ก.พ.ร.)
เฉพาะกิจเกี่ยวกับการยกระดับคุณภาพมาตรฐานและลดขั้นตอนระยะเวลาการปฏิบัติ
ราชการ เพื่ออำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน นำโดย นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ และ นายสุรพล แสวงศักดิ์ อ.ก.พ.ร.ฯ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากสำนักงาน ก.พ.ร. เดินทางไปตรวจ
เยี่ยมกระบวนการให้บริการประชาชนของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิดล และกรมสรรพสามิต เพื่อรับรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน
ประจำปี 2554
โดย
ในช่วงเช้า คณะ อ.ก.พ.ร. ฯ
ได้เดินทางไปเยี่ยมชมการพัฒนากระบวนงานของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เสนอผลการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชน
เพื่อขอรับรางวัล ใน 2กระบวนงาน ได้แก่ กระบวนงาน องค์กรศิริราชฉลาดคิด และกระบวนงาน การป้องกัน ดูแล แก้ไขปัญหาเด็กติดเกมส์แบบครบวงจร ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้นำเสนอเกี่ยวกับการพัฒนาไปสู่ องค์กรศิริราชฉลาดคิด โดย
การสรรค์สร้างนวัตกรรมจากงานประจำ ไว้ว่า คณะแพทยศาสตร์ฯ ได้ดำเนินงาน
โดยมุ่งผลิตผลงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพมาอย่างต่อ
เนื่องและยาวนาน
แต่การผลิตผลงานยังขาดการกระตุ้นให้เกิดการสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ จากงานประจำ
ดังนั้น ทางคณะแพทยศาสตร์ฯ จึงได้จัดทำโครงการติดดาวขึ้น
เพื่อยกย่องและสร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติ งานทุกระดับ
รวมทั้งสร้างบรรยากาศในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์และเรียนรู้ร่วมกัน
ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการสร้างแรงบันดาลใจ
โครงการติดดาว เป็นโครงการที่ทางคณะแพทยศาสตร์ฯ จัดทำขึ้นเพื่อ
ต้องการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจ ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ในโรงพยาบาลศิริราช
โดยการคัดเลือกหน่วยงาน/โครงการที่มีการสร้างนวัตกรรมในงานประจำเพื่อรับ
รางวัล โดย
o กำหนดให้โครงการติดดาวเป็นเวทีของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านคุณค่าของการพัฒนาคุณภาพของคณะแพทยศาสตร์ฯ
o ส่งเสริมการบริหารทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เหมาะสม และเป็นรูปธรรม
o พัฒนาระบบเครือข่ายสารสนเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการปฏิบัติงานประจำของโรงพยาบาลศิริราช
ตัวอย่างผลงานการสรรค์สร้างนวัตกรรมจากงานประจำของคณะฯ ที่ได้รับรางวัลจากโครงการติดดาว ได้แก่
1) แผ่นรองเฝือก เป็นอุปกรณ์รองตัวเฝือกและป้องกันใบเลื่อยบาดผู้ป่วยในขณะตัดเฝือก
2) Eye Irrigating System Strapper เป็นอุปกรณ์ในการยึดตรึงสายน้ำเกลือ และป้องกันการหลุดเลื่อนในขณะล้างตา
3) ภาชนะบรรจุหลอดทดสอบการแข็งตัวของเลือด
เป็นอุปกรณ์ใส่หลอดเลือดที่มีนาฬิกาจับเวลา สำหรับผู้ป่วยที่ถูกงูกัด
โดยแพทย์ต้องทดสอบการแข็งตัวของเลือดเป็นเวลา 20 นาที
ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวช่วยให้แพทย์จับเวลาการแข็งตัวของเลือดได้โดยไม่คลาด
เคลื่อน
นอกจากนี้ แผนการพัฒนางานให้บริการยังได้จัดทำคณะแพทยศาสตร์ฯ
โดยการสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ จากงานประจำ ได้แก่ 1)
การพัฒนาเกณฑ์การพิจารณาเพื่อมอบรางวัล 2) การสื่อสารให้ความรู้
ความเข้าใจเพื่อสร้างคุณค่า 3) การพัฒนาระบบ IT เพื่อการใช้งาน และ 4)
ขยายผลในการนำไปใช้เชิงนโยบายด้วย
หลังจากนั้นเป็นการนำเสนอกระบวนงาน การป้องกันดูแลแก้ปัญหาเด็กติดเกมส์ส์แบบครบวงจร ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดย
ทางคณะแพทยศาสตร์ฯ ได้นำเสนอว่า
ปัจจุบันมีเด็กจำนวนมากที่มีปัญหาทางพฤติกรรม และ เด็กติดเกมส์
ถูกจัดเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญต่อพฤติกรรมเด็กที่ยังไม่ได้รับการพิจารณาว่า
เป็นปัญหาเร่งด่วน เพราะฉะนั้นการรักษาจะส่งเข้าระบบบัตรคิว
เพื่อรับการตรวจ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลารอพบแพทย์นาน 3-6 เดือน
ดังนั้นคณะแพทยศาสตร์ฯ จึงได้แก้ปัญหานี้ โดยพัฒนากระบวนการ
การแก้ไขปัญหาเด็กติดเกมส์แบบครบวงจรผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
โดยการจัดทำเว็บไซต์ ชื่อ www.HealthyGamer.net ขึ้น ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
o เป็นช่องทางสำหรับการเผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ เช่น แนวทางการแก้ไขปัญหาเด็กติดเกมส์ หรือวิธีการรักษาฯ เป็นต้น
o คัดกรองภาวะการติดเกมส์ของเด็ก โดยการทำแบบทดสอบ
o ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาเด็กติดเกมส์แก่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู-อาจารย์และผู้สนใจ
o สร้างเกิดความตระหนักและรู้เท่าทันต่อปัญหาเด็กติดเกมส์ในสังคมไทย
สำหรับในช่วงบ่าย คณะ อ.ก.พ.ร.ฯ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมการพัฒนางานของกรมสรรพสามิต ในกระบวนงาน บริการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านอินเทอร์เน็ต (e-Excise) โดยบริการยื่นแบบ และชำระภาษีผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และกระบวนงan style="color: rgb(128, 0, 128);">ระบบมาตรวัดและคอมพิวเตอร์สื่อสารทางไกลเพื่อควบคุมการผลิตและเสียภาษีเครื่องดื่ม (Beverage Tax Meter Online)
กรมสรรพาสามิต ได้นำเสนอว่ากระบวนงาน บริการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านอินเทอร์เน็ต (e-Excise) โดยบริการยื่นแบบ และชำระภาษีผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เป็นการเปลี่ยนแปลงกระบวนการชำระภาษีที่ดำเนินการผ่านอินเทอร์เน็ตได้ใน
สินค้าบางประเภท
ซึ่งเดิมเป็นกระบวนการให้บริการที่ผู้ประกอบการจะต้องกรอกข้อมูลจำนวนมาก
และต้องเดินทางมาส่งที่สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่
จึงทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ทางด้านกรมสรรพสามิต
ต้องนำข้อมูลมาตรวจสอบ
และนำข้อมูลเข้าระบบคอมพิวเตอร์หลักทำให้เสียเวลาในการตรวจสอบและนำข้อมูล
เข้าระบบ ซึ่งในบางครั้งอาจเกิดความผิดพลาดและก่อให้เกิดความเสียหายได้
ด้วยเหตุดังกล่าว
กรมสรรพสามิตจึงได้พัฒนานวัตกรรมระบบการให้บริการธุรกรรมแบบอิเล็กทรอนิกส์
ผ่านอินเทอร์เน็ตขึ้น โดยมีแนวทางในการพัฒนา ดังนี้ 1)
เน้นการให้บริการที่สะดวกและรวดเร็ว 2) ประหยัดค่าใช้จ่ายภายใต้แนวคิด 4 ท
คือ ที่เดียว ทันใด ทั่วไทย ทุกเวลา 3) สร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการ
และ 4) พัฒนาและปรับปรุงการให้บริการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้ครบวงจร
ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้ผู้ประกอบการสามารถยื่นชำระภาษีได้ถึงเวลา 22.00 น.
และยื่นแบบต่าง ๆ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
การ
พัฒนากระบวนการบริการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจรของกรมสรรพสามิตนี้
จะให้ผู้ประกอบการที่มีความจำเป็นต้องทำธุรกรรมกับกรมสรรพาสามิตหลายครั้ง
สามารถยื่นแบบและชำระภาษีผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
นอกจากนี้กรมสรรพสามิตได้กำหนดแนวทางการดำเนินการพัฒนาธุรกรรมฯ
เพิ่มเติมด้วย เช่น การยื่นขอคืนภาษี หรือการลดหย่อนภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต
เป็นต้น
หลังจากนั้นเป็นการนำเสนอผลการปรับปรุงบริการกระบวนงาน ระบบมาตรวัดและคอมพิวเตอร์สื่อสารทางไกลเพื่อควบคุมการผลิตและเสียภาษีเครื่องดื่ม (Beverage Tax Meter Online) โดยกรมสรรพสามิตได้นำเสนอว่า
เดิม
การจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มของกรมสรรพสามิต มีกระบวนการที่ซับซ้อน
และไม่เป็นธรรม
เนื่องจากการเก็บภาษีจะใช้ฝาจุกจีบจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี
โดยผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องดื่มต้องใช้ฝาจุกจีบจดทะเบียนไปปิดผนึก
สินค้าในโรงงานอุตตสาหกรรมก่อนนำออกจำหน่าย
และด้วยกระบวนการดังกล่าวทำให้พบว่า
การบริหารจัดการด้านภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มมีปัญหาและอุปสรรคค่อนข้างมาก
เช่น การปฏิบัติงานที่หลากหลายขั้นตอน ยุ่งยากซับซ้อน
ต้นทุนค่าใช้จ่ายการบริหารจัดเก็บภาษีสูง และต้องใช้เอกสารหลักฐานจำนวนมาก
เป็นต้น
จาก
ปัญหาดังกล่าว
กรมสรรพาสามิตจึงเกิดแนวคิดในการปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารจัดเก็บภาษี
เครื่องดื่ม
โดยการนำระบบมาตรวัดและคอมพิวเตอร์สื่อสารทางไกลควบคุมการผลิตและเสียภาษี
เครื่องดื่ม (Beverage Tax Meter Online) มาใช้ในการแก้ปัญหา
กระบวนงานระบบมาตรวัดฯ นี้ เป็นการนำระบบ Vision Sensor และ
Image Processing
มาประยุกต์ใช้และนำมาติดตั้งที่สายการผลิตเครื่องดื่มในโรงอุตสาหกรรม
เครื่องดื่ม เพื่อควบคุมการผลิต
โดยการตรวจนับจำนวนผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่ผลิตและสามารถยืนยันจำนวน
ผลิตภัณฑ์ได้ถูกต้อง แทนการสต็อกฝาจุกจีบที่ใช้แสดงการเสียภาษี
โดยติดตั้งบนสายการผลิต 2 จุด คือ 1) จุดตรวจนับหลังบรรจุและผนึกฝาแล้ว และ
2) จุดตรวจนับหลังจากบรรจุ ลงลัง/กล่อง
ซึ่งข้อมูลที่ได้จากระบบจะถูกรวบรวม ประมวลผล
และสรุปเป็นข้อมูลการผลิตเครื่องดื่มที่ครบวงจร
ทั้ง
นี้ ในการนำระบบมาตรวัดและคอมพิวเตอร์สื่อสารทางไกล
เพื่อควบคุมการผลิตเครื่องดื่มมาใช้ได้ส่งผลให้เกิดประโยชน์ในหลายประการ
อาทิเช่น 1)
สามารถยกเลิกกระบวนงานการจดทะเบียนเครื่องหมายและควบคุมโรงงานผลิตเครื่อง
หมายได้ 2)
ช่วยลดอัตรากำลังของเจ้าหน้าที่ในการเฝ้าดูที่โรงงานผลิตเครื่องหมาย 3)
ลดขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และ 4)
ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนที่เกิดขึ้นจากกระบวนงานต่าง ๆ
โดยผลงานการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนดังที่กล่าวมานั้น
เป็นเพียงบางส่วนของการปรับปรุงการปฏิบัติงาน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
ซึ่งผลการปรับปรุงการให้บริการประชาชนของหน่วยงานราชการในกระบวนงานอื่น ๆ
เพื่อขอรับรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน ประจำปี 2554 นั้น สำนักงาน
ก.พ.ร. จะได้นำเสนอความคืบหน้าต่อไป
นนทญา (สลธ.)/ข่าว&ภาพ
กลุ่มสื่อสาร ฯ /จัดทำ
วสุนธรา & ภัทรพร (สลธ.)/รายงาน
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2554 09:33:58 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2554 09:46:08