สำนักงาน ก.พ.ร. เดินหน้าตรวจเยี่ยมกระบวนงานการให้
บริการของส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อรับรางวัลคุณภาพการให้
บริการประชาชน ณ กรมการค้าภายใน และกรมสรรพากร
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา อ.ก.พ.ร.
เฉพาะกิจเกี่ยวกับการยกระดับคุณภาพมาตรฐานและลดขั้นตอนระยะเวลาการปฏิบัติ
ราชการ เพื่ออำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน นำโดย นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ประธาน อ.ก.พ.ร.ฯ นางจินตนา ชัยยวรรณาการ อ.ก.พ.ร.ฯ นายยันยงค์ คำบรรลือ ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานตรวจประเมินรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน ประจำปี 2554 ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมการให้บริการประชาชนของกรมการค้าภายใน และกรมสรรพากร เพื่อรับรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน ประจำปี 2554
โดย
ในช่วงเช้า คณะ อ.ก.พ.ร.
ได้เดินทางไปเยี่ยมชมการปฏิบัติงานของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เสนอผลการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนในกระบวนงาน การอนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจชั่งตวงวัดเป็นผู้ตรวจสอบและให้คำรับรองเครื่องชั่งตวงวัดที่ตนเองผลิตหรือซ่อม โดยได้รับเกียรติจากนายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ รองอธิบดีกรมการค้าภายในเป็นผู้กล่าวต้อนรับ
กรมการค้าภายใน
ได้นำเสนอเกี่ยวกับสภาพทั่วไปของการกำกับดูแลงานชั่งตวงวัด ไว้ว่า
ก่อนการนำเครื่องชั่งตวงวัดไปใช้งานหรือจำหน่ายนั้น
ต้องมีการตรวจสอบให้คำรับรองจากสำนักชั่งตวงวัด
โดยเทียบกับแบบมาตราที่เป็นมาตรฐาน
สำหรับเครื่องชั่งตวงวัดที่ผ่านการตรวจสอบแล้วจะมีการประทับหรือแสดงเครื่อง
หมาย คำรับรองไว้เป็นรูปครุฑ
โดยการตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องชั่งตวงวัดจะเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่
ชั่งตวงวัด
และระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจสอบแตกต่างตามประเภทของเครื่องชั่งตวงวัด
แต่เมื่อปริมาณงานด้านชั่งตวงวัดมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกปี
โดยที่จำนวนเจ้าหน้ามีเท่าเดิม ทำให้ผู้รับบริการต้องเสียเวลารอคอยมากขึ้น
และส่งผลกระทบต่อโอกาสทางธุรกิจ
จากกระบวน
การตรวจสอบให้คำรับรองเครื่องชั่งตวงวัดโดยเจ้าหน้าที่นั้น
จากเดิมมีขั้นตอนการทำงานทั้งสิ้น 9 ขั้นตอน
ซึ่งทางกรมการค้าภายในได้ปรับกระบวนการดังกล่าว
ให้ดำเนินการตามนโยบายของกรมฯ ในการปรับปรุงคุณภาพบริการ
ด้วยการนำแนวคิดการสร้างนวัตกรรมการบริการไปปรับประยุกต์ใช้ ดังนี้
o การปรับบทบาทจากการควบคุมมาเป็นการกำกับดูแล
o ปรับบทบาทจากหน่วยงานรัฐ เป็น ผู้ดำเนินการเอง มาเป็นผู้รับบริการ ให้บริการตนเอง
o ผู้รับบริการสามารถกำหนดเวลาแล้วเสร็จได้ด้วยตนเอง
o
กำกับดูแลให้การทำงานของภาคเอกชนมีมาตรฐานเช่นเดียวกับภาครัฐ
โดยมีระบบการกำกับมาตรฐานที่ดี (Audit)
เพื่อเป็นหลักประกันว่ามาตรวัดที่ตรวจสอบและนำไปใช้มีความถูกต้อง เที่ยงตรง
ไม่ให้มีการเอารัดเอาเปรียบาทางการค้า
กรมการค้าภายใน
ได้ดำเนินการปรับปรุงคุณภาพบริการโดยให้ผู้ประกอบการธุรกิจเข้ามาร่วมรับผิด
ชอบเครื่องชั่งตวงวัดที่ตนผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานการกำกับดูแลของสำนักชั่ง
ตวงวัด สำหรับเครื่องชั่งตวงวัดประเภทแรก
ที่ทางกรมการค้าภายในได้พิจารณาให้ภาคเอกชนเป็นผู้ตรวจสอบให้คำรับรอง คือ
มาตรวัดปริมาณน้ำ
เนื่องจากเป็นมาตรวัดที่ผู้ประกอบธุรกิจมีความพร้อมทั้งบุคลากร
แบบมาตราเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ และสถานที่
นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาระบบการกำกับมาตรฐานและการขยายผลการให้ผู้ประกอบการ
ธุรกิจชั่งตวงวัดอื่น ๆ ที่มีความพร้อมให้เป็นผู้ตรวจสอบให้คำรับรองตนเอง
เพื่ออำนวยความสะดวกและความคล่องตัวแก่ผู้รับบริการต่อไป
การดำเนินการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ
โดยให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ตรวจสอบและให้คำรับรองเครื่องชั่งตวงวัดที่ตนเอง
ผลิตหรือซ่อมได้ สามารถลดขั้นตอนการปฏิบัติงานจาก 9 ขั้นตอน เหลือ 6
ขั้นตอน ดังนี้
1. ยื่นคำขอทำการตรวจสอบและให้คำรับรองต่อเจ้าหน้าที่
2. ชำระเงินค่าธรรมเนียม
3. รับคำขอและตรวจสอบ
4. ผู้รับใบอนุญาตฯ ต้องทำทะเบียนการใช้เครื่องหมายคำรับรองและหนังสือสำคัญในแต่ ละวัน
5. เมื่อตรวจสอบครบตามจำนวนแล้ว ให้รายงานตามระเบียบที่กำหนด
6. ส่งคืนต้นขั้วหนังสือสำคัญ
สำหรับประโยชน์ที่จะได้รับจากกประบกระบวนงาน คือ 1)
ประโยชน์ที่ผู้รับบริการและประชาชนจะได้รับ ได้แก่
ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและได้รับความสะดวก
นอกจากนี้ยังส่งผลให้การนำสินค้าออกสู่ตลาดมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น
และเป็นการเปิดให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานกับภาครัฐ 2)
ประโยชน์ที่กรมการค้าภายในจะได้รับประโยชน์ ได้แก่ การลดภาระและงบประมาณ
ส่งผลให้คุณภาพของการบริการดีขึ้นและได้รับการยอมรับ
รวมทั้งเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกรมฯสำหรับในช่วงบ่าย คณะ อ.ก.พ.ร.
ฯ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมการปรับปรุงกระบวนการให้บริการของกรมสรรพากร
ในกระบวนงาน
การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการผู้ขอคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
กรม
สรรพากร
ได้นำเสนอข้อมูลผลการสำรวจเกี่ยวกับการยื่นชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
พบว่า ผู้ที่ยื่นชำระภาษีผ่านทางอินเทอร์เน็ตและยื่นผ่านทางกระดาษ
มีจำนวนประมาณ 9 ล้านฉบับ โดยยื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ตคิดเป็น ร้อยละ 70
และยื่นทางกระดาษร้อยละ 30
ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้ขอคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจำนวนประมาณ 2 ล้านฉบับ
โดยยื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ตร้อยละ 75 และยื่นทางกระดาษร้อยละ 25
จากการสำรวจนี้เห็นได้ว่ามีผู้ขอคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านทางอิน
เทอร์เน็ตจำนวนมาก
และมีเอกสารที่ต้องยื่นเพื่อประกอบการพิจารณาการขอคืนเงินจำนวนมาก
ส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ได้แก่
ผู้ขอคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ทราบว่าจะต้องนำส่งเอกสารประกอบการ
พิจารณาคืนเงินภาษี รวมทั้งไม่ทราบสถานะการนำส่งเอกสาร
และไม่ทราบความคืบหน้าของสถานะการพิจารณาคืนเงินภาษี
ในส่วนของกรมสรรพากรประสบปัญหาเรื่องการจัดการกับเอกสารจำนวนมาก
เจ้าหน้าที่ต้องรับโทรศัพท์เพื่อตอบปัญหาและได้รับหนังสือร้องเรียนจำนวนมาก
จากปัญหาดังกล่าว ทางกรมสรรพากรจึงได้ปรับปรุงกระบวนการให้บริการ
โดยการ 1) รวบรวมปัญาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น 2)
แจกแจงกระบวนการและระยะเวลาที่ใช้ในการทำงานในแต่ละขั้นตอน 3)
วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น 4)
พิจารณาแนวทางการแก้ปัญหาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5)
ร่วมประชุมเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบงาน 6)
สรุปแนวทางเพื่อนำเสนอผู้บริหารระดับสูง และ 7) พัฒนาและทดลองการใช้ระบบ
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนงานดังกล่าว พบว่า
o ด้านการรับทราบข่าวสาร : เพิ่มระบบแจ้งข้อมูลผ่านทาง SMS
สำหรับผู้เสียภาษียื่นแบบผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
และมีระบบตรวจสอบสถานะการขอคืนเงินฯ ด้วย
o ด้านการนำส่งเอกสาร : จัดทำระบบนำส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ หรือโทรสารอัตโนมัติ และระบบบันทึกรับเอกสาร
o ด้านการจัดการเอกสารอย่างมีประสิทธิภาพ : จัดทำระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และระบบสนับสนุนข้อมูล
สำหรับประโยชน์ที่จะได้รับจากการปรับกระบวนงาน คือ 1)
ก่อให้เกิดความสะดวกในการติดต่อและรับข้อมูลข่าวสาร 2)
ประหยัดระยะเวลาและค่าใช้จ่าย 3)
ลดภาระในการสอบถามติดตามสถานะการขอคืนเงินภาษี และ 4) ผู้ขอคืนเงินภาษีฯ
ได้รับการคืนเงินภาษีเร็วขึ้น
การตรวจผลการปรับปรุงการให้บริการประชาชนของหน่วยงานราชราชการต่าง ๆ
เพื่อรับรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน ประจำปี 2554 ในกระบวนงานอื่น ๆ
นั้น สำนักงาน ก.พ.ร. จะได้นำเสนอความคืบหน้าต่อไป
วสุนธรา & ภัทรพร (สลธ.) /รายงาน
กลุ่มสื่อสาร ฯ /จัดทำ
นนทญา (สลธ.) /ข้อมูล
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2554 11:56:56 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2554 12:05:12