รายงานผลการวิจัย Doing Business 2012
อันดับน่าลงทุนไทยขึ้นอันดับ 17
เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2554 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ร่วมกับธนาคารโลก จัดการ
ประชุมผ่านระบบวิดิโอคอนเฟอเรนซ์ จากกรุงวอชิงตันดีซี สหรัฐอเมริกา
มายังธนาคารโลกประจำประเทศไทย
เพื่อรับฟังการนำเสนอรายงานผลการวิจัยประเทศที่มีความสะดวกในการประกอบ
ธุรกิจ ประจำปี 2555 (Doing Business 2012) ซึ่งเป็นการรายงานล่วงหน้า 1 ปี (เป็นการเก็บ
ข้อมูลระหว่างเดือน มิถุนายน 2553 มิถุนายน 2554) โดยมีนายนีล
เคร็กกอรี่ หัวหน้าเจ้าหน้าที่กลยุทธ์กลุ่มตัวชี้วัดและวิเคราะห์โลก
แผนกการพัฒนาภาคการเงินและภาคเอกชน บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (IFC)
และนางมิกิโกะ โอลลิสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาภาคเอกชน โครงการ Doing
Business Project แผนกพัฒนาภาคการเงินและภาคเอกชน
บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (IFC) เป็นผู้รายงาน
พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมซักถามรายละเอียดและประเด็นข้อสงสัยต่าง
ๆ
ซึ่งผลการวิจัยประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความสะดวกใน
การเข้าไปประกอบธุรกิจ อันดับที่ 17 จาก 183 ประเทศทั่วโลก
ซึ่งขยับสูงขึ้นจากปี 2554 ที่อยู่ในอันดับ 19 จาก 183 ประเทศ
และยังคงรักษาในการเป็น 20 ลำดับแรกของประเทศที่น่าลงทุน
โดยประเทศสิงคโปร์ยังครองแชมป์อันดับที่ 1 เป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน
ฮ่องกงอยู่ในอันดับที่ 2 เช่นเดียวกับประเทศเกาหลีที่ขยับขึ้นจากอันดับที่
16 มาอยู่ที่อันดับที่ 8 และมาเลเซียก็ได้ขยับขึ้นจากอันดับที่ 21
มาอยู่อันดับที่ 18 ส่วนญี่ปุ่นอันดับลดลงจาก 18 มาอยู่ในอันดับที่ 20
และจีนหล่นไปอยู่ที่อันดับ 91 จาก 79
โดยตัวเลขดังกล่าวจะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีคู่แข่งเพิ่มสูงขึ้น
แต่ก็สามารถที่จะดำเนินการพัฒนาจนประสบความสำเร็จได้รับการจัดอันดับที่ดี
ขึ้นอย่างต่อเนี่อง
ดร. ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ
ก.พ.ร. กล่าวว่า อันดับของประเทศไทยที่เลื่อนขึ้นมา
เป็นผลที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาใน 3 ด้านได้แก่ ด้านการเริ่มต้นธุรกิจ
ที่มีอันดับดีขึ้นจากอันดับที่ 98 มาอยู่อันดับที่ 78
ด้านการได้รับสินเชื่อ จากอันดับที่ 72 มาอยู่อันดับที่ 67
และด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง จากอันดับที่ 25 มาอยู่อันดับที่ 24
ซึ่งผลการปรับปรุงสำคัญที่มีผลต่ออันดับ
ของประเทศไทย ส่วนหนึ่งมาจากความร่วมมือระหว่างกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
กรมสรรพากร และสำนักงานประกันสังคม
ที่ร่วมกันดำเนินโครงการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลการเริ่มต้นธุรกิจ
สู่หน่วยงานพันธมิตร (e-Starting Business)
โดยปรับปรุงขั้นตอนการจดทะเบียนนิติบุคคล การขอเลขประจำตัว ผู้เสียภาษีอากร
และเลขที่บัญชีนายจ้างให้สามารถดำเนินการได้ ณ จุดเดียว (Single Point) ณ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า พร้อมทั้งพัฒนาไปสู่การใช้แบบฟอร์มร่วมกัน (Single
Form) และการใช้เอกสารประกอบชุดเดียวกัน (Single Document)
ซึ่งมีผลให้การจดทะเบียนธุรกิจสะดวกขึ้นและรวดเร็วขึ้น
อีกส่วนหนึ่งมาจากกระทรวงการคลังได้มีการปรับปรุงกฎหมาย กฎ
ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการขอสินเชื่อเพื่อเพิ่มโอกาสในกู้ยืมให้กับผู้ขอ
สินเชื่อและเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้ให้สินเชื่อมากขึ้น
ซึ่งการปรับปรุงทั้ง 2 เรื่อง
มีผลทำให้อันดับในด้านการเริ่มต้นธุรกิจและด้านการได้รับสินเชื่อดีขึ้น
อย่างมาก
ธนาคารโลกได้รายงานว่า
ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับที่ดีขึ้น
เป็นผลมาจากหน่วยงานภาครัฐโดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านเริ่มต้น
ธุรกิจและด้านการได้รับการสินเชื่อ ที่ได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข กฎหมาย กฎ
ระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการ
ดำเนินการลดขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติงาน
เพื่ออำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน /
ผู้ประกอบการได้อย่างมีประสาพและรวดเร็วขึ้น เลขาธิการ ก.พ.ร. กล่าว
สำหรับ
รายงานการจัดอันดับความยากง่าย
หรือความสะดวกในการประกอบธุรกิจที่จัดทำขึ้นในปีที่ผ่านมา มีดัชนีชี้วัด 9
ด้าน ประกอบด้วย การเริ่มต้นธุรกิจ การขออนุญาตก่อสร้าง
การจดทะเบียนทรัพย์สิน การได้รับสินเชื่อ การคุ้มครองผู้ลงทุน
การชำระภาษี การค้าระหว่างประเทศ การบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง
และการปิดกิจการ แต่ในปีนี้ ธนาคารโลกได้เพิ่มตัวชี้วัด 1 ตัวชี้วัด
ได้แก่ ด้านการขอใช้ไฟฟ้า (Getting Electricity)
ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่แยกออกจากตัวชี้วัดด้านการขออนุญาตก่อสร้าง อีกทั้ง
ในด้านการปิดกิจการธนาคารโลกได้เปลี่ยนชื่อเป็นด้านการแก้ปัญหาการล้มละลาย
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าธนาคารโลกให้ความสำคัญกับประเด็นนี้มากขึ้น
ทำให้มีตัวชี้วัดในปี 2012 เป็น 10 ด้าน ธนาคาร
โลกได้รายงานว่าประเทศไทยได้รับการจัดอันดับที่ดีขึ้น
เป็นผลมาจากหน่วยงานภาครัฐโดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านเริ่มต้น
ธุรกิจและด้านการได้รับการสินเชื่อ ที่ได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข กฎหมาย กฎ
ระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการ
ดำเนินการลดขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติงาน
เพื่ออำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน /
ผู้ประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้น ดร.
ทศพร กล่าวว่า
มีหลายตัวชี้วัดที่ประเทศไทยทำได้ดีโดยเฉพาะด้านการเริ่มต้นธุรกิจ
(Starting a Business) ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ดีขึ้น
เนื่องจากการลดขั้นตอนจาก 7 ขั้นตอน เหลือ 5 ขั้นตอน
แต่ยังมีตัวชี้วัดหลายตัว เช่น ด้านการจดทะเบียนทรัพย์สิน (Registering
Property) และด้านการชำระภาษี (Paying Taxes) ที่ต้องมีการปรับปรุง
ส่วนตัวชี้วัดใหม่ที่ทางธนาคารโลกได้นำมาเป็นตัวชี้วัดใหม่ได้แก่
การขอใช้ไฟฟ้า (Getting electricity) ของประเทศไทยอยู่ในอันดับ 9
ซึ่งถือว่าอยู่ในอันดับที่ดี
และเป้าหมายในอนาคตนั้นต้องอาศัยข้อมูลของธนาคารโลกที่จะทำให้เห็นได้ว่า
ประเทศใดเป็นประเทศที่ดีที่สุดในแต่ละด้าน เช่น
ในด้านการเริ่มต้นธุรกิจนั้น ประเทศนิวชีแลนด์เป็นประเทศที่ดีที่สุดในโลก
ดังนั้นจึงต้องไปศึกษาดูว่าระบบของประเทศนิวซีแลนด์นั้นทำอย่างไร
เพื่อจะได้นำมาปรับปรุงกระบวนการที่เรียกว่า Benchmarking
และการก้าวต่อไปนั้น ประเทศไทยเราต้องดำเนินการอย่างไร
เพื่อให้เป็นการง่ายต่อการประกอบธุรกิจ ด้านนางแอนเน็ต ดิกสัน ผู้
อำนวยการธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า
ผลการวิจัยประเทศที่มีความสะดวกในการประกอบธุรกิจ (Doing Business)
เราดูเรื่องบรรยากาศการลงทุน
เรื่องของน้ำท่วมไม่ได้เปลี่ยนจุดยืนต่อกฎระเบียบต่าง ๆ
แม้อุทกภัยมีผลต่อเศรษฐกิจจริงอยู่
แต่ว่าจะไม่สะท้อนเข้ามาในการจัดอันดับแต่อย่างใด
ดร.กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลกประจำประเทศไทย
ได้ชี้แจงว่า หลังจากนี้ธนาคารโลกแห่งประเทศไทย
จะได้จัดประชุมร่วมกับส่วนราชการ
เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องของตัวชี้วัดให้มากขึ้น
เพื่อประโยชน์ต่อการจัดอันดับต่อไป
ทั้งนี้รายงานการวัดผลเรื่องความยาก-ง่ายหรือความสะดวกในการประกอบธุรกิจ
ธนาคารโลกได้มีการตีพิมพ์และเผยแพร่ไปทั่วโลก
โดยมีผู้ประกอบการธุรกิจเป็นจำนวนมากที่นำรายงานดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในการ
ตัดสินใจเพื่อเข้าไปประกอบธุรกิจในประเทศต่าง ๆ
และผลของการมีอันดับที่ดีนอกจากจะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการให้บริการ
ของหน่วยงานภาครัฐที่พยายามปรับปรุงบริการให้สะดวกขึ้น รวดเร็วยิ่งขึ้น
เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนแล้ว
ยังมีผลต่อการดึงดูดให้นักลงทุนสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น
ทำให้มีการจ้างงานมากขึ้น ประชาชนมีรายได้
และส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทย ดีขึ้น
หากท่านใดต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงาน Doing Business สามารถอ่านได้ที่ www.doingbusiness.org
วสุนธรา & ภัทรพร (สลธ.)/รายงาน
กลุ่มสื่อสาร ฯ /จัดทำ
นวลจันทร์ (สลธ.)/ข้อมูล
นนทญา (สลธ)/ภาพ
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2554 10:37:32 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2554 10:44:13