คณะเจ้าหน้าที่จากประเทศลาวศึกษาดูงาน
การจัดการภาครัฐแนวใหม่
เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2554 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้รับเกียรติจาก คณะเจ้าหน้าที่ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่มาศึกษาดูงานการจัดการภาครัฐแนวใหม่ ณ ห้องประชุมฝ่ายบริหาร ชั้น 5 สำนักงาน ก.พ.ร. โดยมี นายนครเขตต์ สุทธปรีดา ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการ รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการ เป็นผู้บรรยาย
คณะ
ศึกษาดูงานที่มาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนา
ระบบราชการในครั้งนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ที่เข้าร่วมการฝึกอบรมหลักสูตร Effective Management Skill ภาย
ใต้โครงการความร่วมมือทางวิชาการไทย-ลาว
ซึ่งจัดโดยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด หลักการ
กระบวนการ และเทคนิคการบริหารจัดการงานอย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนางาน พัฒนาบุคลากร
และพัฒนาองค์กรต่อไป ซึ่งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ได้เล็งเห็นว่า
สำนักงาน ก.พ.ร.
เป็นหน่วยงานที่มีความรู้ความสามารถและเป็นแบบอย่างที่ดีในการนำการบริหาร
งานภาครัฐแนวใหม่มาใช้
จึงได้นำคณะผู้เข้าอบรมในหลักสูตรดังกล่าวมาศึกษาดูงาน
และแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับผู้บริหารของสำนักงาน ก.พ.ร.
สำหรับผู้ที่มาต้อนรับและบรรยายให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคณะศึกษาดูงานในครั้งนี้ คือ นายนครเขตต์ สุทธปรีดา ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการ โดยได้บรรยายในหัวข้อ การจัดการภาครัฐแนวใหม่
โดยได้บรรยายถึงทิศทางการพัฒนาระบบราชการตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมือง
ที่ดี ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
โดยมีการนำการจัดการภาครัฐแนวใหม่มาใช้เพื่อปรับปรุงระบบราชการตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งประกอบด้วย 10 หลัก ได้แก่
1. ประสิทธิภาพ / ความคุ้มค่า (Efficiency / Value for money)
2. ประสิทธิผล (Effective)
3. การตอบสนอง (Responsive)
4. ความเสมอภาค (Equity)
5. การมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented)
6. นิติธรรม (Rule of Law)
7. เปิดเผย/โปร่งใส (Transparency)
8. การมีส่วนร่วม (Participation)
9. การกระจายอำนาจ (Decentralization)
10. การตรวจสอบได้ / มีภาระรับผิดชอบ (Accountability)
นอกจากนี้ ยังได้แนะนำถึงบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และสำนักงาน ก.พ.ร. ที่
ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5)
พ.ศ. 2545
โดยมีหน้าที่หลักในการขับเคลื่อนธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่
ดีให้เกิดขึ้นในหน่วยงานของรัฐ
เพื่อให้เป็นไปตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.
2550 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545
ที่เน้นให้การปฏิบัติราชการต้องเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการ
บ้านเมืองที่ดี และเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ทั้งนี้
โดยมีพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
พ.ศ. 2546 และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย
เป็นกลไกในการขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าว
จากนั้น ผอ.นครเขตต์ได้สรุปผลการพัฒนาระบบราชการไทยที่สำคัญให้คณะศึกษาดูงานได้รับทราบ โดยมีผลการพัฒนาระบบราชการไทยที่สำคัญ ดังนี้
1. ด้านยกระดับการให้บริการประชาชน อาทิ
1.1 จัดตั้งศูนย์บริการร่วมและเคาน์เตอร์บริการประชาชน
1.2 การยกระดับการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ
1.2.1 ระดับประเทศ มีการมอบรางวัลคุณภาพที่หน่วยงานลดระยะเวลา สะดวก รวดเร็ว
1.2.2 ระดับนานาชาติ
- สนับสนุนหน่วยงานต่อยอดขอรับรางวัล United Nations Awards
- เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (จัดอันดับ Doing Business)
2. ปรับรูปแบบการทำงานเน้นบูรณาการสร้างเครือข่าย และการมีส่วนร่วม อาทิ
2.1 การบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
2.2 การสร้างเครือข่ายการพัฒนาระบบราชการ
2.2.1 ความร่วมมือองค์กรระหว่างประเทศ
2.2.2 ผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง (CCO) และกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
2.2.3 การมีส่วนร่วมของประชาชน
3. มุ่งเป็นองค์การที่/บุคลากรมีขีดสมรรถนะสูง อาทิ
3.1 ทบทวนภารกิจของส่วนราชการตามมาตรา 33
แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
พ.ศ. 2546
3.2 การจัดทำคำรับรองและประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ จังหวัด สถาบันอุดมศึกษา และองค์การมหาชน
3.3 การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)
3.4 พัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ (นปร.)
4. สร้างระบบการกำกับดูแลตนเองที่ดี โปร่งใส ตรวจสอบได้ ทำงานอย่างมีจิตสำนึกรับผิดชอบ อาทิ
4.1 จัดทำนโยบายกำกับดูแลองค์การที่ดี (Organizational Governance : OG)
4.2
จัดทำเกณฑ์การจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการ
บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance Rating : GG Rating)
4.3 จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (ค.ต.ป.)
วสุนธรา & ภัทรพร (สลธ.) / รายงาน
กลุ่มสื่อสาร ฯ / จัดทำ
กลุ่มวิเทศสัมพันธ์ สลธ. / ข้อมูล
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2554 10:07:47 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2554 10:07:47