คณะข้าราชการจากประเทศบังคลาเทศ
ศึกษาดูงานยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย
เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2554 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้รับเกียรติจาก คณะข้าราชการจากกระทรวงต่าง ๆ ของประเทศบังคลาเทศ ที่มาศึกษาดูงานยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย ณ ห้องประชุม ก.พ.ร. ชั้น 5 สำนักงาน ก.พ.ร. โดยมี นางกิตติยา คัมภีร์ ผู้อำนวยการสำนักเผยแพร่และสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบราชการ เป็นผู้บรรยาย
คณะศึกษาดูงานที่มาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการในครั้งนี้ เป็นข้าราชการจากกระทรวงต่าง ๆ
ของประเทศบังคลาเทศ ที่เข้ารับร่วมอบรมเรื่อง Preparing the Nest Generation Leaders for the Challenges of 21st Century Bangladesh (Batch II) ซึ่งจัดโดย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology
(AIT))
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในด้านการบริหารและการ
จัดการนโยบายสาธารณะ และเนื่องจาก AIT เล็งเห็นว่าสำนักงาน ก.พ.ร.
เป็นแบบอย่างที่ดีในการเรียนรู้ด้านยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบราชการ
รวมทั้งการจัดการความรู้กับการบริหารราชการแนวใหม่ AIT
จึงนำคณะผู้เข้าอบรมในหลักสูตรดังกล่าวมาศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนความรู้และ
ประสบการณ์เกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย
สำหรับผู้ที่มาต้อนรับและบรรยายให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคณะศึกษาดูงานในครั้งนี้ คือ นางกิตติยา คัมภีร์ ผู้อำนวยการสำนักเผยแพร่และสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบราชการ โดยได้บรรยายในหัวข้อ Public Sector Development Initiatives: Thailand
Experience โดยได้บรรยายถึงที่มาของการปฏิรูประบบราชการ
การดำเนินการพัฒนาระบบราชการไทยนับตั้งแต่การประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบ
บริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545
ซึ่งกำหนดกรอบแนวทางการบริหารราชการแผ่นดินที่เน้นหลักการบริหารกิจการบ้าน
เมืองที่ดี และการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่
เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
และยังได้บรรยายถึงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2551 พ.ศ.
2555)
ซึ่งเป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาระบบราชการไทยให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
นอก
จากนี้ ผอ.กิตติยายังได้แนะนำให้คณะศึกษาดูงานได้ทราบถึงบทบาทภารกิจ นโยบาย
และลักษณะการดำเนินงานของสำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งได้ดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ
เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการ อาทิ
การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย
การปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการ
การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการและการติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการ
การลดขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติราชการและพัฒนาคุณภาพการให้บริการ
ประชาชน การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์
วัฒนธรรมและค่านิยมของข้าราชการให้เอื้อต่อการพัฒนาระบบราชการ
การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)
การจัดทำโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning)
เป็นต้น ซึ่งการดำเนินการต่าง ๆ ดังกล่าว
ส่งผลให้การพัฒนาระบบราชการบังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
จนเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
ดังจะเห็นได้จากผลการจัดอันดับความยากง่ายในการเข้าไปประกอบธุรกิจของประเทศ
ต่าง ๆ ทั่วโลก (Doing Business) ที่จัดทำโดยธนาคารโลก (World Bank)
ซึ่งประเทศไทยได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับ Top 20 ทุกปี นับตั้งแต่ปี 2005
เป็นต้นมา
วสุนธรา (สลธ.) / รายงาน
กลุ่มสื่อสาร ฯ / จัดทำ
กลุ่มสื่อสารฯ (สลธ.) / ภาพ
ธนาพร (สลธ.) / ข้อมูล
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 4 ตุลาคม 2554 14:49:52 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 4 ตุลาคม 2554 14:49:52