Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2554 / สิงหาคม / สำนักงาน ก.พ.ร. นำกลุ่มพัฒนาระบบบริหารของกระทรวงและกรม ศึกษาดูน การพัฒนาระบบช่วยเหลือเด็กและเยาวชนก้าวพลาดไม่หวกระทำซ้ำ กรณีบ้านกาญจนาภิเษก

สำนักงาน ก.พ.ร. นำกลุ่มพัฒนาระบบบริหารของกระทรวงและกรม ศึกษาดูน การพัฒนาระบบช่วยเหลือเด็กและเยาวชนก้าวพลาดไม่หวกระทำซ้ำ กรณีบ้านกาญจนาภิเษก

สำนักงาน ก.พ.ร. นำกลุ่มพัฒนาระบบบริหารของกระทรวงและกรม

ศึกษาดูงาน การพัฒนาระบบช่วยเหลือเด็กและเยาวชนก้าวพลาด

ไม่หวนกระทำซ้ำ กรณีบ้านกาญจนาภิเษก

 

          เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2554 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดการประชุมสัมมนาเสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายการพัฒนาระบบราชการ เรื่อง การยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการภาครัฐ โดย นำหัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบบริหารระดับกระทรวงและกรม ไปศึกษาดูงานหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่มีการบริหารจัดการที่ดี โดยแบ่งคณะศึกษาดูงานเป็น 6 กลุ่ม เพื่อศึกษาดูงานการบริหารจัดการที่ดีใน 6 งาน

          หนึ่งในหน่วยงานที่มีการบริหารจัดการที่ดี ที่กลุ่มพัฒนาระบบบริหารระดับกระทรวงและกรมได้ไปศึกษาดูงานในครั้งนี้ คือ การศึกษาดูงาน การพัฒนาระบบช่วยเด็กและเยาวชนก้าวพลาดไม่หวนกระทำซ้ำ กรณีบ้านกาญจนาภิเษก ของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม ณ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา โดยคณะศึกษาดูงานได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ของเยาวชนฯ ที่ได้รับการฝึกและอบรมที่บ้านกาญจนาภิเษกจนกระทั่งสามารถปรับเปลี่ยน พฤติกรรมได้ รวมทั้งการเป็นสถานพินิจฯ ต้นแบบที่สามารถบำบัดฟื้นฟูเยาวชนฯ ได้อย่างมีคุณภาพ เพื่อเป้าหมายในการคืนเยาวชนฯ ที่ดีกลับสู่ครอบครัวและสังคม 


          การศึกษาดูงานในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายธวัชชัย ไทยเขียว อธิบดีกรมพินิจฯ เป็น ผู้เล่าและแลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยได้กล่าวว่าการยกระดับมาตรฐานการบริหาร จัดการภาครัฐนั้น ส่วนราชการสามารถทำได้โดยการปรับลดขั้นตอนการให้บริการประชาชนให้รวดเร็ว ขึ้น สำหรับกรมพินิจฯ ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการภาครัฐและเห็น ว่าปัจจัยหลักของการบริหารจัดการ คือ ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ต้องมีตัวชี้วัด กำกับผลการปฏิบัติงาน 
 
          การ ดำเนินการของกรมพินิจฯ ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนอาศัยแนวคิดเกี่ยวกับจิตวิทยาพัฒนาการเด็กมาใช้ใน การสร้างแบบสอบถามสำหรับเด็กและเยาวชนที่ก้าวพลาด ว่าเกิดจากปัจจัยเสี่ยงระดับใด ซึ่งผลจากแบบประเมินทางจิตวิทยานี้ แบ่งเยาวชนได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ระดับความเสี่ยงต่ำ คือ ระดับของเยาวชนที่สามารถปรับตัวและเปลี่ยนเป็นคนดีได้ 2) ระดับความเสี่ยงปานกลาง คือ เยาวชนที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ แต่ต้องได้รับการบำบัดฟื้นฟู เช่น เยาวชนที่ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง และ 3) ระดับความเสี่ยงสูง คือ เยาวชนที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ

          จาก ผลการวิเคราะห์ระดับความเสี่ยงของเยาวชนที่ก้าวพลาดนี้นำไปสู่แนวทางการ ดำเนินงานของสถานพินิจต่าง ๆ ซึ่งกรณีบ้านกาญจนาภิเษกนี้ได้มีแนวทางการดำเนินงานด้วยการปรับเปลี่ยน ทัศนคติของเจ้าหน้าที่ผู้สวมบทบาทเป็นครู และทัศนคติของเยาวชน โดยอาศัยหลักจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก รวมทั้งต้องการให้บ้านกาญจนาภิเษกเป็นสถานพินิจที่สามารถบำบัดฟื้นฟูเยาวชน ได้อย่างมีคุณภาพและคืนคนดีกลับสู่สังคม โดยแนวคิดของบ้านกาญจนาภิเษกได้เริ่มต้นจากคุณหญิงจันทนี สันตะบุตร อดีตผู้พิพากษา ได้ชักชวนบุคคลที่สนใจปัญหาเกี่ยวกับเด็ก สร้างสถานฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนในมุมมองใหม่ที่เป็นสถานที่แห่งการเรียน รู้ ไม่มีรั้ว ไม่มีกำแพง สร้างความไว้วางใจให้กับเยาวชน

          บ้านกาญจนาภิเษก ได้ดำเนินการภายใต้หลักคิดที่ว่า 
                    บ้านกาญจนาภิเษก ไม่ใช่ คุก
                    เยาวชน ไม่ใช่ นักโทษ
                    เจ้าหน้าที่ ไม่ใช่ ผู้คุม
                    แต่... บ้านกาญจนาภิเษก คือ บ้านทดแทนชั่นคราวของวัยรุ่นที่บังเอิญใช้ชีวิต 
                    ผิดจังหวะ จนเป็นเหตุให้ต้องสูญเสีย อิสรภาพชั่วคราว

          นาย ธวัชชัย ยังได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า เจ้าหน้าที่ที่ดูแลเยาวชนฯ ในบ้านกาญจนาภิเษกยังต้องมีการปรับกระบวนทัศน์ คือ ไม่มองเยาวชน หรือวัยรุ่นด้วยสายตาของผู้ใหญ่ แต่ต้องทบทวนการกระทำของวัยรุ่นด้วยสายตาของวัยรุ่นเอง โดยไม่ใช้ความเป็นผู้ใหญ่มาตัดสินใจแทนเด็ก แต่จะใช้ความเป็นผู้ใหญ่เข้าช่วยเด็กและเยาวชนให้ออกจากหลุมดำ 

          หลัง จากนั้นเป็นการพูดคุยกับตัวแทนเยาวชนฯ ที่อยู่ระหว่างการอบรม ณ บ้านกาญจนาภิเษก โดยตัวแทนเยาวชนฯ ได้กล่าวว่า บ้านกาญจนาภิเษกเป็นสถานที่ที่ไม่มีรั้ว ไม่มีกำแพงกั้น เมื่อเข้ามาอยู่ในบ้านกาญจนาภิเษกจะมีการรับน้องด้วยการผูกข้อมือเพื่อรับ ขวัญโดยป้ามล (นางทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชาย บ้านกาญจนาภิเษก) และคุณครู ทำให้เยาวชนฯ ที่เข้ามาอยู่รู้สึกอบอุ่น เป็นกันเอง มีเพื่อน หลังจากนั้นเยาวชนฯ ในบ้านกาญจนาภิเษกจะมีส่วนร่วมในการสร้างกติกาขึ้นมาและทุกคนจะต้องปฏิบัติ ตาม นอกจากนั้นยังได้เรียนรู้การฝึกทักษะอื่น ๆ เช่น การวิเคราะห์ข่าว วิเคราะห์ภาพยนตร์ การฝึกอาชีพ และได้เข้าร่วมกิจกรรมอื่น ๆ 

          ตัว แทนเยาวชนยังได้กล่าวต่อไปว่า บ้านกาญจนาภิเษกเป็นพื้นที่ที่เปิดกว้างให้เยาวชนฯ ได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่และได้สร้างให้เยาวชนฯ เป็นคนที่สมบูรณ์มากขึ้น ด้วยการสอนให้มีความคิดในทางที่ดี ที่ถูกต้อง ได้พัฒนาตนเอง ด้วยการไปศึกษาดูงาน ร่วมกิจกรรมทางสังคม ช่วยงานพัฒนาชุมชน นอกจากนี้ยังมีการฝึกอาชีพและจะได้นำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคต ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นความรู้สึกและความคิดเห็นของเยาวชนฯ ที่ได้เข้าไปฝึกและอบรมในบ้านกาญจนาภิเษก


          หลัง จากเสร็จสิ้นการศึกษาดูงานแล้ว ในช่วงบ่ายคณะศึกษาดูงานได้ไปพร้อมกันที่ห้องจูปีเตอร์ ชั้น 3 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น เพื่อสรุปประเด็นการเรียนรู้ที่ได้จากการศึกษาดูงาน และถ่ายทอดให้กับผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาครั้งนี้ในกิจกรรมเล่าสู่กันฟังจากผู้แทนกลุ่มศึกษาดูงานทั้ง 6 กลุ่ม โดยผู้แทนคณะศึกษาดูงาน การพัฒนาระบบช่วยเด็กและเยาวชนก้าวพลาดไม่หวนกระทำซ้ำ กรณีบ้านกาญจนาภิเษก ของกรม พินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ได้สรุปถึงการนำไปสู่การปรับปรุงวิธีการทำงานโดยนำหลักการและแนวคิดต่าง ๆ มาใช้ อาทิ การปรับกระบวนทัศน์หรือทัศนคติการทำงานของผู้เป็นครู การดำเนินงานโดยอาศัยหลักจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก การให้เห็นคุณค่าของตนเองและได้รับการยอมรับจากสังคม ตลอดจนการมีโอกาสในการพัฒนาตนเอง







นนทญา (สลธ.) / ข่าว & ภาพ
ผชช.ฐาปณี & อ้อย (สำนักเผยแพร่ฯ) / ข้อมูล
วสุนธรา (สลธ.) / รายงาน
กลุ่มสื่อสาร ฯ / จัดทำ

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 2 สิงหาคม 2554 16:29:31 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 2 สิงหาคม 2554 16:37:13
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th