Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2554 / กรกฎาคม / สัมมนาเสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายฯ กลุ่ม่ 3 การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมแบมีส่วนร่วม

สัมมนาเสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายฯ กลุ่ม่ 3 การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมแบมีส่วนร่วม


สัมมนาเสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายฯ กลุ่มที่ 3
 การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม


alt
alt
 

          เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2554 สำนักงาน ก.พ.ร.จัดประชุมสัมมนาเสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายการพัฒนาระบบราชการ เรื่อง การยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการภาครัฐ โดย ในช่วงเช้ามีการแบ่งกลุ่มเพื่อนำผู้เข้าร่วมสัมมนาซึ่งได้แก่ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบบริหารระดับกระทรวงและกรม ไปศึกษาดูงานหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่มีการบริหารจัดการที่ดี สำหรับกลุ่มที่ 3  ได้ไปศึกษาดูงานการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ณ โรงงานอายิโนะโมะโต๊ะ

           การดูงานในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้แทนในภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมจังหวัด เทศบาล ตำบลบางกะดี บริษัทสวนอุตสาหกรรมบางกะดี จำกัด บริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด และชุมชนบางกะดี มาร่วมบอกเล่าแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการผสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในรูปแบบของ โครงการธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมสถานประกอบการอุตสาหกรรม ซึ่งเกิดขึ้นจากความร่วมมือของสามภาคส่วนที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม 

alt
 
alt
          นายประทวน สุทธิอำนวยเดช อุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมฯ ว่า โครงการนี้มีจุดเริ่มต้นจากการที่มีประชาชนร้องเรียนมายังภาครัฐ ในเรี่อง การปล่อยน้ำเสีย เขม่าควัน มลพิษต่างๆ ที่เกิดจากโรงงาน การดำเนินงานของภาครัฐก็คือสั่งให้โรงงานปรับปรุงแก้ไข แต่ระยะแรกประชาชนยังไม่ค่อยเข้าใจถึงขั้นตอนของการแก้ปัญหา ทำให้เกิดความขัดแย้ง เกิดความไม่เข้าใจกันและมีการร้องเรียนกันอยู่เรื่อยๆ แม้จะมีหนังสือแจ้งไปยังผู้ร้องว่า มีการสั่งการแก้ไขแล้วก็ตามแต่ข่าวสารที่ได้ก็ไม่ทั่วถึง จึงต้องมีการนำเอาปัญหาต่างๆ มาคุยกัน โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาภายใต้ชื่อ โครงการธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมสถานประกอบการอุตสาหกรรม โดยได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน (ชุมชนทั้ง 17 ชุมชน) เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน ศึกษามูลเหตุที่มาของปัญหา พร้อมกับหาหนทางและแนวทางการแก้ไขพัฒนา
 
          นายธวัชชัย อึ้งอัมพรวิไล นายกเทศมนตรีตำบลบางกะดี กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการนี้เริ่มขึ้นในปี 2550alt เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง เทศบาลบางกะดี อุตสาหกรรมจังหวัด โรงงานอุตสาหกรรมและคนในชุมชน มีการทำข้อตกลงในการดำเนินการด้านธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม โดยจะมีการตรวจสอบ พร้อมประเมินโรงงานทุกปี ว่าได้เข้ากับหลักธรรมา ภิบาลสิ่งแวดล้อมหรือไม่ และยังมีการมอบเกียรติบัตรให้กับสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ เป็นการสร้างจิตสำนักให้สถานประกอบการรู้จักรับผิดชอบ นอกจากนี้นายกเทศมนตรีตำบลบางกะดียังกล่าวเพิ่มเติมถึงการจัดตั้งกองทุน CSR (Corporate Social Responsibility) ว่า เทศบาลตำบลบางกะดีได้ร่วมมือกับสถานประกอบการในพื้นที่ จัดตั้งกองทุนภายใต้ชื่อ กองทุน CSR สถานประกอบการในตำบลบางกะดี โดยมีโรงงานในสวนอุตสาหกรรมบางกะดีจำนวน 44 โรงงานและโรงงานรอบนอกสวนอุตสาหกรรมบางกะดีแต่อยู่ในเขตเขตพื้นที่ตำบลบาง กะดีอีก 15 โรงงานเข้าร่วม มีการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระในการบริหารเงินกอง ทุนว่าจะนำไปใช้อย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด โดยการจัดตั้งกองทุนฯ ดังกล่าวได้มีการจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) โดยมีนายปรีชา บุตรศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี มาเป็นสักขีพยานในการลงนามด้วย 

 
           altคุณสุจินต์ วาสสนิท ผู้จัดการอาวุโส บริษัทสวนอุตสาหกรรมบางกะดี กล่าวว่า โครงการธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมฯ ทุกๆ ฝ่ายได้ช่วยกันออกแบบจนตกผลึกเป็นกรอบ 7 หลัก คือ 1. ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร 2. ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา 3. ความโปร่งใส 4. ความรับผิดชอบต่อสังคม 5. นิติธรรม 6. ความยุติธรรม 7. ความยั่งยืน ซึ่งแต่เดิมนั้นเมื่อดำเนินโครงการฯ สวนอุตสาหกรรมบางกะดีจะได้รับคำถามจากโรงงานตลอดว่า โรงงานได้รับการรับรมาตรฐานจาก ISO ซึ่งเป็นระดับสากลแล้ว ทำไมจึงต้องทำตามเกณฑ์ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมอีก ซึ่งสิ่งที่ต้องชี้แจงทำความเข้าใจก็คือ แม้ว่าโรงงานจะได้รับมาตรฐานสากลแล้ว แต่หากประชาชนในท้องที่ที่ตั้งอยู่ยังเกิดความคลางแคลงใจในเรื่องของการควบ คุมมลภาวะ ก็คงไม่สามารถประกอบกิจการได้อย่างสบายใจ เพราะยังกังวลว่าจะเกิดการร้องเรียนหรือไม่ สิ่งที่โรงงานจะได้จากโครงการธรรมภิบาลสิ่งแวดล้อมฯ ก็คือ ประชาชนในพื้นที่เชื่อมันว่า โรงงานประกอบกิจการแล้วไม่ก่อมลพิษ ประชาชนเองก็ได้รับทราบ เพราะประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการเข้าถึงข้อมูล ในการเข้ามาดูการประกอบกิจการของโรงงาน สวนอุตสากรรมบางกะดีเองก็มีการเปิดเผยข้อมูล นอกเหนือจากการปิดประกาศด้านหน้าสวนอุตสาหกรรมฯ แล้ว ยังเผยแพร่ข้อมูลในเว็บไซต์ของทางเทศบาล เช่น ข้อมูลคุณภาพน้ำทิ้งของสวนอุตสาหกรรมฯ นอกจากนี้ยังสร้างบอร์ดไว้ ณ จุดที่ทิ้งน้ำ เพื่อให้ประชาชนได้เห็นว่ามีการควบคุมคุณภาพอย่างไร
 
          ในส่วนของผู้ประกอบการได้รับเกียรติจาก นายทองดี ปาโส ผู้จัดการโรงงานบริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) altจำกัด มาเล่าถึงการดำเนินงานในส่วนของผู้ประกอบการว่า ในระยะแรกนั้นโรงงานมีโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินซึ่งจะใช้ถ่านหินซับ บิทูมินัสแทนน้ำมันเตา ซึ่งได้มีการศึกษาผลกระทบเบื้องต้นด้วยตัวเองที่เรียกว่า Initial Environmental Examination: IEE แต่เกิดปัญหาการต่อต้านจากคนในชุมชน เพราะเมื่อพูดถึงถ่านหินในประเทศไทยคนไทยส่วนใหญ่ก็จะนึกถึงถ่านหินลิกไนต์ ดังนั้นจึงต้องมีการหันหน้าเข้าหากันและทำความเข้าใจกับมวลชน เปิดโรงงานให้ชุมชนเข้าไปชมโรงงาน ในครั้งแรกนั้นยังไม่ได้รับการยอมรับเท่าใดนัก จึงต้องให้ทีมงานเข้าไปทำความเข้าใจกับชุมชน มีการพาไปดูโรงงานที่ใช้ถ่านหินที่สามารถตั้งอยู่ภายในชุมชนได้ แล้วก็กลับมาดูโรงงานอายิโนะโมะโต๊ะอีกครั้ง รวมทั้งการจัดประชุม ซึ่งมีการประชุมกันทั้งสิ้น 46 ครั้ง ในระยะแรกๆ มักเป็นการต่อว่า จนกระทั่งในภายหลังชาวบ้านก็เริ่มเข้าใจมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีทีมงานไปลงพื้นที่อย่างน้อยอาทิตย์ละ 2 ครั้ง เพื่อรับรู้รับทราบพูดคุยปัญหากับชุมชน จะเห็นได้ว่าการมีเวทีให้ประชาชนได้พูดนั้นเป็นสิ่งที่ดี ทุกๆ ฝ่ายต้องมี ความตั้งใจที่จะหันหน้าเข้าหากัน สร้างความเข้าใจภายในชุมชนเพื่อร่วมมือกันแก้ไขปัญหา
 
          นายนิเวศ เผือกผ่อง ประธานคณะกรรมการชุมชนศาลาแดง กล่าวว่า ชุมชนศาลาแดงนั้นอยู่ใกล้กับโรงงานaltอา ยิโนะโมะโต๊ะ แต่เดิมผลกระทบมีค่อนข้างมาก มีการร้องเรียนอยู่ตลอด ภายหลังจึงมีการพูดคุยว่าได้รับความเดือดร้อนอะไรบ้าง ทั้งกลิ่น เสียง จนสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ โดยปัญหาที่เกิดขึ้นจะแบ่งออกเป็นยอมรับได้หรือยอมรับไม่ได้ ก็ต้องมีการคุยกันกับผู้ประกอบการ ต้องใช้เวลาพอสมควรที่จะทำให้ทุกภาคส่วนหันมาร่วมมือกัน อย่างเช่นโรงงานอายิโนะโมะโต๊ะในช่วงที่จะสร้างโรงไฟฟ้า แค่ได้ยินชื่อคนในชุมชนก็รับไม่ได้แล้ว ในฐานะผู้นำชุมชนก็ต้องเข้ามาศึกษาพูดคุยกับทางโรงงาน และไปทำความเข้าใจกับชุมชนอีกครั้งหนึ่ง 
 
          จาก การพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของตัวแทนในแต่ละภาคส่วนดังกล่าว ทำให้เห็นว่านอกเหนือไปจากความร่วมมือของทุกฝ่ายในการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม แล้ว ปัจจัยที่ทำให้โครงการประสบความสำเร็จคือ การใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมที่หลากหลายทั้งในแบบทางการ (คณะกรรมการร่วม การประชุม การเยี่ยมโรงงาน) และไม่เป็นทางการ (การลงพื้นที่เข้าหาชาวบ้าน ร่วมพูดคุยในบรรยากาศที่เป็นกันเอง) ทำให้การดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว นอกจากจะส่งผลสำเร็จเป็นรูปธรรมคือ ปัญหามลพิษได้รับการแก้ไขให้บรรเทาเบาบางลง ชุมชนท้องถิ่นก็ได้รับการพัฒนามากขึ้นจากเงินภาษีหรือเงินกองทุนที่ได้จาก สถานประกอบการแล้ว ยังทำให้เกิดเครือข่ายภาคประชาชนที่มีความเข้มแข็ง กล้าเรียกร้องและออกความเห็นบนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ทำให้ประชาชนและผู้ประกอบการเกิดความเข้าใจและไว้ใจซึ่งกันและกัน และด้วยความสำเร็จนี้เองที่ทำให้โครงการธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมฯ ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงอุตสาหกรรมให้เป็นโครงการนำร่องและขยายผลการ ดำเนินงานไปทั่วประเทศ เพื่อให้สถานประกอบการอุตสาหกรรมดำเนินกิจการได้อย่างเข้มแข็งยั่งยืน สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างเป็นสุข

       alt  alt

alt

alt    alt


กลุ่มสื่อสารฯ สลธ. / ข่าว & ภาพ
ผชช.กลิ่นจันทน์ (สำนักนวัตกรรมฯ) & ดารณี (สำนักเผยแพร่ฯ) / ข้อมูล
วสุนธรา & ภัทรพร (สลธ.) / รายงาน
กลุ่มสื่อสาร ฯ / จัดทำ

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 19 กรกฎาคม 2554 14:06:56 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 19 กรกฎาคม 2554 14:11:42
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th