Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2554 / พฤษภาคม / สำนักงาน ก.พ.ร. จัดประชุม เรื่อง การปรับปรุงบริการพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธรกิจของประเทศไทย

สำนักงาน ก.พ.ร. จัดประชุม เรื่อง การปรับปรุงบริการพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธรกิจของประเทศไทย

สำนักงาน ก.พ.ร. จัดประชุม เรื่อง
การปรับปรุงบริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ
ในการประกอบธุรกิจของประเทศไทย





          เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา สำนักงาน ก.พ.ร. โดยสำนักบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม ได้จัดการประชุม เรื่อง การปรับปรุงบริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจของประเทศไทย ณ ห้องจรัสเมือง 1 โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพฯ โดยมี นางสุพรรณี ไพรัชเวทย์ ที่ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการ สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นผู้กล่าวเปิดงาน

          โดยนางสุพรรณี ได้กล่าวว่า ธนาคารโลกได้มีการจัดอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจของประเทศต่าง ๆ มาตั้งแต่ปี 2547 สำหรับประเทศไทยได้มีการปรับปรุงบริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจของประเทศไทย หรือDoing Business และได้รับการจัดอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2548 ด้วยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องจึงส่งผลให้อันดับของประเทศไทยดีขึ้นเรื่อย ๆ 

          จนกระทั้งเมื่อปี พ.ศ. 2552 ได้มีการประกาศแผนปฏิบัติการให้เขตเศรษฐกิจเอเปคมีบรรยากาศการลงทุนดีขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2554 มีเป้าหมายเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจให้มีความรวดเร็วขึ้น สะดวกขึ้น และค่าใช้จ่าย ลดลง ร้อยละ 5 และในปี พ.ศ. 2558 มีเป้าหมายเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 25 ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. ได้ร่วมมือกับกระทรวงการต่างประเทศจัดประชุมเพื่อหาแนวทางการดำเนินงาน และรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากภาครัฐและภาคเอกชนเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนของประเทศไทยในแต่ละด้านให้มีความสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการไปแล้วใน 5 ด้าน ตามตัวชี้วัด เรื่อง Doing Business ของธนาคารโลก ได้แก่ ด้านการเริ่มต้นธุรกิจ ด้านการขออนุญาตก่อสร้าง ด้านการได้รับสินเชื่อ ด้านการค้าระหว่างประเทศ และด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง และในการประชุมครั้งนี้จะเป็นการหาแนวทางการดำเนินการร่วมกันในอีก 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการจดทะเบียนทรัพย์สิน ด้านการคุ้มครองผู้ลงทุน ด้านการชำระภาษี และด้านการปิดกิจการ


          หลังจากนั้นเป็นการบรรยายเกี่ยวกับความสำคัญของรายงาน โดย นายชัยยุทธ กมลศิริสกุล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาระบบราชการ สำนักงาน ก.พ.ร. และ ผศ.ดร.วิพุธ อ่องสกุล ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาระบบการให้บริการของหน่วยงานของรัฐ เพื่อยกระดับการแข่งขันของประเทศ

          โดยนายชัยยุทธ กมลศิริสกุล ได้กล่าวว่า การปฏิรูประบบราชการไทยที่เริ่มต้นตั้งแต่ในช่วงปี 2545 ที่ผ่านมา ได้มีคำถามว่าจากการปฏิรูประบบราชการไทยแล้วประชาชนจะได้รับอะไร สำนักงาน ก.พ.ร. จึงได้ดำเนินการปรับปรุงด้านการให้บริการประชาชน เพราะเป็นเรื่องที่ประชาชนจะได้รับประโยชน์มากที่สุด และดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 โดยมีสาระสำคัญว่า ให้ทุกส่วนราชการจะต้องลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัตชการ เพื่อให้สามารถอำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยดำเนินการตามมาตรการ 2 มาตรการ ได้แก่ 1) มาตรการภาคบังคับ คือ กำหนดให้ทุกส่วนราชการต้องลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการร้อยละ 30-50 และ 2) มาตรการภาคสมัครใจ คือ กำหนดให้ส่วนราชการต่าง ๆ ส่งงานบริการที่มีการพัฒนาต่อเนื่อง เพื่อขอรับการประเมินเพื่อรับรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชนจากสำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2546 มาจนถึงปัจจุบัน และได้ดำเนินการต่อยอดงานบริการนั้นเพื่อรับรางวัลขององค์การสหประชาชาติ ที่เรียกว่ารางวัล United Nations Public Service Awards โดยในปี 2554 นี้ ได้มีงานบริการของส่วนราชการไทยได้รับรางวัลชนะเลิศ ในประเภทรางวัลการเสริมสร้างการการบริหารจัดการองค์ความรู้ภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานสรรพากรภาค 7 กรมสรรพากร และรางวัลรองชนะเลิศ ในประเภทรางวัลการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจโดยการใช้กลไกใหม่ ๆ ได้แก่ กรมชลประทาน 

          นายชัยยุทธ ยังได้กล่าวต่อไปว่า การเผยแพร่ผลการวิจัยเรื่อง Doing Business ของธนาคารโลกนี้ เป็น ข้อมูลในการประกอบการพิจารณาและการตัดสินใจของนักลงทุนหรือผู้ประกอบการ และเป็นรายงานที่มีความสำคัญต่อการลงทุนและระบบเศรษฐกิจของประเทศด้วย



          ทางด้าน ผศ.ดร.วิพุธ อ่องสกุล ได้กล่าวว่า ธนาคารโลกได้สำรวจ และจัดทำรายงาน ชื่อว่า Doing Business ขึ้น ซึ่งเป็นรายงานการจัดอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจของประเทศทุกทั่วโลก และมีการจัดอันดับของประเทศไทยเพิ่มขึ้นมา โดยการจัดอันดับจะมุ่งเน้นเรื่องของความยากง่ายในการที่ภาคเอกชนจะเข้าไปประกอบธุรกิจในประเทศนั้น ๆ และเน้นเรื่องของประสิทธิภาพการให้บริการ ตั้งแต่การเริ่มต้นธุรกิจจนถึงการปิดกิจการ 


          หลังจากนั้น ผศ.ดร.วิพุธ ได้รายงานอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจของประเทศไทยในด้านต่าง ๆ 



          ในช่วงสุดท้ายเป็นการประชุมกลุ่มย่อย เพื่อระดมความคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแบ่งประเด็นออกเป็น 4 ด้าน ตามตัวชี้วัด เรื่อง Doing Business ของธนาคารโลก ได้แก่ ด้านการจดทะเบียนทรัพย์สิน ด้านการคุ้มครองผู้ลงทุน ด้านการชำระภาษี และด้านการปิดกิจการ

 

นนทญา (สลธ.) / ข่าว & ภาพ
วสุนธรา (สลธ.) / รายงาน
กลุ่มสื่อสาร ฯ / จัดทำ

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 26 พฤษภาคม 2554 09:40:00 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 26 พฤษภาคม 2554 09:40:00
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th