หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
CS1
ดูที่มาของข้อมูลความต้องการ/ความคาดหวังของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
CS2
ช่องทางการรับฟังความต้องการฯ /การตรวจประสิทธิภาพของช่องทาง อาจดูข้อมูลสถิติการเข้าใช้เว็บไซต์ การตอบคำถามทางเว็บบอร์ด Call Center
CS3
ระบบจัดการข้อร้องเรียน ต้องแสดงระบบดังกล่าวอย่างชัดเจน
CS4
การสร้างเครือข่าย (เครือข่าย หมายถึง กลุ่มที่ช่วยกิจกรรมของส่วนราชการอย่างสม่ำเสมอ) และจัดกิจกรรมกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต้องให้ระบุกลุ่มผู้รับบริการฯ ที่เป็นเครือข่ายก่อน เช่น กลุ่มภาคประชาชน และแสดงการจัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ (จัดกิจกรรม 3 ครั้งต่อปี ประกอบด้วย การเสวนา งานวิชาการ งานสังสรรค์ มี e news letter เป็นต้น)
CS5
การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการผ่านกระบวนการหรือกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นการนำผลไปปรับปรุงการให้บริการและการดำเนินงานของส่วนราชการ
CS6
วัตถุประสงค์การสำรวจความพึงพอใจและไม่พึงพอใจ เพื่อติดตามการให้บริการในงานบริการที่ครอบคลุมทุกงานบริการ และนำการสำรวจไปปรับปรุง
CS7
คู่มือการให้บริการ หมายถึง พฤติกรรมเจ้าหน้าที่ควรปฏิบัติในการให้บริการ โดยให้พิจารณาที่งานบริการตามลักษณะสำคัญขององค์กร และในแต่ละงานบริการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ต้องกำหนดขั้นตอนการรับบริการให้ชัดเจน
หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้
IT1
- ให้แสดงฐานข้อมูลที่มีอยู่ในระบบ ขอดูข้อมูลที่เกี่ยวข้องตามยุทธศาสตร์
- เป็นความครอบคลุมขั้นต้นได้ (เช่น ยุทธศาสตร์ท่องเที่ยว ต้องรู้ว่าข้อมูลที่พึงมีได้แก่อะไรบ้าง)
IT2
ฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของกระบวนการที่สร้างคุณค่ากระบวนการละ 1 ฐานข้อมูลและครอบคลุมตามเกณฑ์การตรวจ
IT3
ฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของกระบวนการสนับสนุนกระบวนการละ 1 ฐานข้อมูลและครอบคลุมตามเกณฑ์การตรวจ
IT4
การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร พิจารณารายการข้อมูลข่าวสารทางเว็บไซต์ ให้ดูตาม พรบ. ข้อมูลข่าวสาร อาจมีการสุ่มตรวจบางตัวได้ เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง ผ่านการ Search Engine คำที่ต้องการสืบค้น
IT5
ข้อมูลเตือนภัย (ระบุข้อมูลสำคัญที่ส่งสัญญาณต่อการดำเนินการที่สำคัญของส่วนราชการ เช่น ระดับน้ำ ปริมาณเพลี้ย ต้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ของส่วนราชการ) และดูว่าเราจะส่งข้อมูลเหล่านั้นไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับผลกระทบอย่างไร
IT6
ความเสี่ยงของฐานข้อมูล (ศูนย์ IT จะมีการจัดทำแผน) การซักซ้อมแผน /ระบบ Back up ระบบต้องอยู่แยกที่จากแหล่งข้อมูล
IT7
การจัดทำแผนการจัดการความรู้และนำแผนไปปฏิบัติ ให้เน้นเรื่องการรายงานผล และการลงนามโดยผู้บริหาร
หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
HR1
กระบวนการหาปัจจัยความผาสุก เน้นตัว A ดูเครื่องมือที่ใช้ในการหาปัจจัย ยกตัวอย่างของ กรมชลประทาน เมื่อวิเคราะห์ได้แล้ว จึงนำปัจจัยมาวางแผน นำไปปฏิบัติ ประเมินผลสำรวจ ศึกษาว่าในองค์กรปัจจัยความผาสุกควรประกอบไปด้วยกี่ด้าน นำไปสู่การออกแบบ และสำรวจปัจจัยที่สำคัญ
HR2
ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของ ก.พ. โดยต้องมีแนวทางจัดสรรแรงจูงใจ ได้ทั้งเงินรางวัลหรือการเลื่อนขั้นเงินเดือน หลัก คือ ประสิทธิผล เป็นธรรมและมีการแจ้งกลับ ว่ากลุ่มใดดีเด่น หรือดีมาก โดยไม่ได้แสดงเป็น %
HR3
เชื่อมโยงกับ SP3 ตามที่ส่วนราชการได้ทำไปเมื่อปี 52 แต่นอกจากจะดำเนินการตามแผนได้ครบถ้วนแล้ว ให้สำรวจเรื่องความพึงพอใจของบุคลากรด้วย
HR4
ระบบประกันคุณภาพการฝึกอบรม จะต้องกำหนดหลักเกณฑ์ประกันคุณภาพการฝึกอบรมและนำไปปฏิบัติ
HR5
แผนสร้างความก้าวหน้าจะต้องมีส่วนของ Deployment ด้วย ซึ่งอาจเป็นในรูปแบบของการพัฒนาบุคลากร
เกี่ยวกับ
กฏหมายและระเบียบ
หนังสือเวียน
ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ
ศูนย์ความรู้
ประชาสัมพันธ์