Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2554 / มีนาคม / สำนักงาน ก.พ.ร. เปิดคลินิกให้คำปรึกษาการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 กระทรวงกลาโหม

สำนักงาน ก.พ.ร. เปิดคลินิกให้คำปรึกษาการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 กระทรวงกลาโหม

สำนักงาน ก.พ.ร. เปิดคลินิกให้คำปรึกษา
การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 กระทรวงกลาโหม
 



          เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2554 สำนักงาน ก.พ.ร. โดยสำนักบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมจัดกิจกรรมให้คำปรึกษาพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ของกระทรวงกลาโหม ณ ห้องราชเสนีพิทักษ์ อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถนนแจ้งวัฒนะ

 

          การจัดกิจกรรมครั้งนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดคลินิก PMQA รายกระทรวงโดยจัดขึ้นเป็นกระทรวงแรก เพื่อให้คำแนะนำและสร้างความเข้าใจแก่ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหมเกี่ยวกับการดำเนินการตามตัวชี้วัด PMQA ซึ่งปีนี้หน่วยงานในสังกัดของกระทรวงกลาโหมมีการดำเนินการในหมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ และหมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล และเนื่องจากในปีนี้เป็นปีที่ส่วนราชการต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน (Fundamental Level: FL) ทั้ง 6 หมวด เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการตรวจรับรองการผ่านเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน (Certify FL) ก่อนที่จะก้าวสู่การดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับก้าวหน้า (Progressive Level: PL) ต่อไป จึงได้รับความสนใจจากผู้บริหารและคณะทำงานในการเข้าร่วมคลินิกเป็นจำนวนมาก

          ช่วงแรกเป็นการบรรยายภาพรวมของการพัฒนาตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน โดย นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารการเปลี่ยนแปลง 3 สำนักบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม สำนักงาน ก.พ.ร. หลังจากนั้นเป็นการแบ่งกลุ่มให้คำปรึกษารายหมวด ดังนี้


 

กลุ่มที่ 1 ชี้แจงรายละเอียดหมวด 1 และ 2 โดย นางขนิษฐา งามวงศ์สถิต



 

กลุ่มที่ 2 ชี้แจงรายละเอียดหมวด 3 และหมวด 5 โดย นางสาวอรญาณี สุนทรัช




กลุ่มที่ 3 ชี้แจงรายละเอียดหมวด 4 โดย นางสาวจีริสุดา จอมพลาพล




กลุ่มที่ 4 ชี้แจงรายละเอียดหมวด 6 และ 7 โดย นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข


          ประเด็นมุ่งเน้นในการดำเนินการรายหมวด มีดังนี้

หมวด การนำองค์การ

LD1

การสำรวจเรื่องการรับรู้และเข้าใจ ประเด็นคำถามต้องถูกต้องและสะท้อนหรือวัดเรื่องการรับรู้หรือเข้าใจได้อย่างแท้จริง

LD2

ส่วนราชการมีการดำเนินการเรื่องคำสั่งมอบอำนาจ รายงานการมอบอำนาจตามหน้าที่อยู่แล้ว แต่มักขาดเรื่องการสรุปรวมเรื่อง ปัญหาอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานตามมอบอำนาจ จึงควรกำหนดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ในการรวบรวมรายงานและสรุปผลภาพรวม

LD3

ส่วนราชการมีการดำเนินการได้เป็นอย่างดี หลักสำคัญคือ การมีส่วนร่วมของผู้บริหารและบุคลากร

LD4

ระดมความคิดเห็นก่อนว่าตัวชี้วัดใดที่ผู้บริหารจะตามคืออะไร และรอบในการติดตาม วิธีการติดตามคืออะไร รวมทั้งมีเกณฑ์การจัดลำดับความสำคัญ หมายถึง ต้องแสดงวิธีการคิดหรือที่มาของการคัดเลือกตัวชี้วัด อาจเป็นการสรุปรายงานการประชุมที่ได้มีการคัดเลือกตัวชี้วัดแล้ว ทั้งนี้ อาจใช้ตัวชี้วัดตามคำรับรองฯ ได้ส่วนหนึ่ง เนื่องจากมันยังไม่ครอบคลุมตัวชี้วัดทั้งหมดที่ผู้บริหารควรจะติดตาม

LD5

เน้นตรวจเชิงคุณภาพ โดยดูว่าโครงการกับนโยบายมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันหรือไม่

LD6

ส่วนราชการดำเนินการได้ดี เพราะเป็นระบบควบคุมภายในที่มีแบบฟอร์มและการรายงาน

LD7

ต้องเป็นมาตรการฯ ที่มีความสอดคล้องกับพันธกิจหลัก



หมวด การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์

SP1

เป็นส่วนที่ส่วนราชการดำเนินการได้ดีแล้วในเชิงระบบ เพียงแต่ต้องเพิ่มความสอดคล้องกับลักษณะสำคัญขององค์กรด้วย

SP2

วัตถุประสงค์คือ ต้องการให้ทำแผนอย่างมีคุณภาพ ตามเกณฑ์ PMQA คือต้องมีข้อมูลในการทำแผนอย่างครอบคลุม

SP3

ดูความสอดคล้องของแผนฯ ระหว่างแผนงานเรื่องนั้นๆ ว่าไปเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาบุคลากรข้อใด แผนใด เพราะจะได้มั่นใจว่าในการผลักดันยุทธศาสตร์มีบุคลากรรองรับในการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ อาจทำเป็นตาราง Matrix ได้

SP4

เน้นที่ผู้บริหารมีการถ่ายทอดสื่อสารความเข้าใจ พิจารณาจากเนื้อหาหรือแนวทางการปฏิบัติของผู้บริหาร ซึ่งอาจใช้กระบวนการถ่ายทอดของ LD4 มาแสดงได้

SP5

เกณฑ์ PMQA จะเน้นกระบวนการและที่มาของการกำหนดตัวชี้วัดรายบุคคล ต้องแสดงได้ว่าเชื่อมโยงสัมพันธ์กับยุทธศาสตร์อย่างไร พิจารณาจาก Strategy Map

SP6

ประเด็นมักไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติ เพราะมีระบบการติดตามแผนงานโครงการที่ชัดเจนอยู่แล้ว

SP7

กรณีพิจารณาโครงการแล้วว่าไม่มีความเสี่ยงเลย ตามเกณฑ์กำหนดให้ต้องมีอย่างน้อยยุทธศาสตร์ละ 1โครงการ แม้จะวิเคราะห์แล้วว่าไม่มีความเสี่ยง แต่ต้องมีเนื้อหาหรือที่มาที่แสดงว่าไม่มีความเสี่ยงเลย และนำมาวิเคราะห์ความเสี่ยงตามหลัก COSO (4 ด้าน) และให้นำกรอบความคิดเรื่องธรรมาภิบาล 10 โดยอาจแสดงเป็นตารางกรอบการวิเคราะห์ นำไปสู่การจัดทำแผน และตรวจตามแผนที่กำหนด


หน้าถัดไป
 

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 25 มีนาคม 2554 10:18:13 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 25 มีนาคม 2554 10:54:08
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th