การประชุมชี้แจงตัวชี้วัด PMQA ปี 2554 ของสถาบันอุดมศึกษา
สำนักงาน ก.พ.ร. จัดการประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการดำเนินการ พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ของสถาบันอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2553 โดยมี นางสุพรรณี ไพรัชเวทย์ ที่ ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการ สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นประธานกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม ณ ห้องจรัสเมือง 1 โรงแรมเดอะ ทวิน ทาวเวอร์
นางสุพรรณีกล่าวว่า การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับสำนักงาน ก.พ.ร. เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 โดยในปี 2554 จะเข้าสู่การตรวจรับรองการผ่านเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้น ฐาน (Certify FL) หากสถาบันอุดมศึกษาใดผ่านการรับรองแล้ว จะพัฒนาองค์การตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับก้าวหน้า (Progressive Level: PL) และมุ่งสู่ความเป็นมาตรฐานเทียบเท่าสากลต่อไป
ด้าน นายนารถ จันทวงศ์ ที่ปรึกษาสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้ชี้แจงรายละเอียดการดำเนินการตามตัวชี้ วัด ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ว่า เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ เป็นแนวทางในการปรับปรุงการบริหารจัดการองค์การ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นกรอบในการประเมินองค์การด้วยตนเอง และเป็นบรรทัดฐาน การติดตามและการประเมินผลการบริหารจัดการ รวมทั้งเป็นการยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการของสถาบันอุดมศึกษาสู่มาตรฐาน สากล
สำนัก งาน ก.พ.ร. ได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐตามตัวชี้วัดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาได้ยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการตามเกณฑ์คุณภาพการ บริหารจัดการภาครัฐขั้นพื้นฐาน จำนวน 3 หมวด โดยดำเนินการบริหารในหมวด 1 (หมวดบังคับ) และหมวดสมัครใจอีก 2 หมวด และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ได้ดำเนินการอีก 3 หมวดที่เหลือจนครบทั้ง 6 หมวด
ส่วน การตรวจรับรองเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐขั้นพื้นฐาน (Certify FL) ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 สำนักงาน ก.พ.ร. จะดำเนินการตรวจรับรองเกณฑ์คุณภาพฯ เพื่อสอบทานอีกครั้งหนึ่งว่า สถาบันอุดมศึกษามีความพร้อมในการบริหารจัดการขั้นพื้นฐาน โดยมีผลคะแนนการประเมิน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ในแต่ละหมวด ก่อนที่จะพัฒนาต่อไป เพื่อยกระดับการบริหารจัดการองค์การ ตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับก้าวหน้า (Progressive Level: PL) ทั้งนี้ เพื่อให้องค์การได้ปรับปรุงระบบบริหารจัดการให้ได้มาตรฐานและมีการพัฒนา อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยสถาบันอุดมศึกษาที่จะเข้าสู่เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับก้าว หน้า จะต้องได้รับการตรวจรับรองการผ่านเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐขั้นพื้น ฐาน (Certify FL) ทั้งนี้ การดำเนินการตามตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
กรณีที่ 1 สถาบันอุดมศึกษาที่ผ่านการรับรองเกณฑ์คุณภาพ การบริหารจัดการภาครัฐขั้นพื้นฐาน (Certify FL) จะมุ่งเน้นการประเมินองค์การด้วยตนเองตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ระดับก้าวหน้า (PL)
กรณีที่ 2 สถาบันอุดมศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรองเกณฑ์ คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐขั้นพื้นฐาน (Certify FL) จะเป็นการดำเนินการเพื่อผลักดันให้ผ่านเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ขั้นพื้นฐาน (FL) ได้อย่างครบถ้วนทุกหมวด รวมทั้งให้ความสำคัญกับการ รักษา ระบบ (Systematic) ที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้คงอยู่ เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการเกิดความยั่งยืน และเป็นการเตรียมเข้าสู่เกณฑ์ระดับก้าวหน้าต่อไป
ส่วน ดร.นงลักษณ์ ปานเกิดดี ที่ปรึกษาสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการ ตรวจรับรองการผ่านเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน (Certify FL) ว่าเป็นการตรวจรับรองเพื่อให้มั่นใจว่าส่วนราชการมีแนว ทางหรือระบบต่าง ๆ ที่ตอบสนองต่อความต้องการขององค์การ โดยนำแนวทางไปปฏิบัติ และมีการปรับปรุงแนวทางหรือระบบให้มีความเหมาะสม โดยใช้แนวทางการตรวจเชิงคุณภาพที่ทีมผู้ตรวจรับรอง รวมทั้งการสัมภาษณ์ผู้บริหารและคณะทำงานทุกหมวด เป็นวิธีในการตรวจรับรองเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน
สำหรับ จุดมุ่งเน้นของประเด็นการตรวจรับรองเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการระดับพื้นฐาน (Certify FL) เริ่มจากการสัมภาษณ์ลักษณะสำคัญขององค์กรแต่ละข้อคำถามเกี่ยวกับ แนวคิดระบบบริหารจัดการ การกำกับดูแลตนเองที่ดี ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างกัน เป็นการถามถึงความต้องการขององค์กรที่จะนำไปใช้เป็นพื้นฐานสำคัญในการกำหนด ระบบการบริหารจัดการในหมวดต่าง ๆ ดังนี้
หมวด 1 การนำองค์การ: เน้นบทบาทของผู้บริหารในการผลักดันองค์การให้บรรลุวิสัยทัศน์ด้วยการสื่อสาร ที่ชัดเจน
หมวด 2 การวางแผนยุทธศาสตร์: เน้นกระบวนการวางแผนยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับความท้าทายขององค์การ มีการกำหนดตัวชี้วัด ติดตามทบทวนผลการดำเนินการ
หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: เน้นการกำหนดกลุ่มผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความต้องการของแต่ละกลุ่ม และการจัดลำดับความสำคัญที่สอดคล้องกับพันธกิจ รวมทั้งการสร้างความสัมพันธ์และความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการ
หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้: เน้นระบบฐานข้อมูลที่ครอบคลุม ถูกต้อง ทันสมัย ซึ่งต้องแสดงให้เห็นว่า ได้นำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจหรือบริหารจัดการอย่างไร
หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล: เน้นการบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อให้ส่วนราชการบรรลุเป้าประสงค์ทางยุทธศาสตร์ รวมทั้งสอดคล้องกับความท้าทายด้านบุคลากรตามลักษณะสำคัญขององค์กร
หมวด 6 การจัดการกระบวนการ: การกำหนดกระบวนการที่สร้างคุณค่าที่สนองตอบต่อความต้องการของผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การออกแบบกระบวนการเพื่อให้บรรลุต่อข้อกำหนดของกระบวนการ รวมทั้งการปรับปรุงกระบวนการเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ: เป็นการตรวจสอบผลลัพธ์ของกระบวนการของการดำเนินการตามหมวด 1 - 6 ว่ามีระดับผลการดำเนินการเป็นอย่างไร
จาก นั้น เป็นการสาธิตโปรแกรม การตรวจรับรองการผ่านเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน (Certify FL) โดย นายวรวุฒิ แจ้งศุภนิมิต ที่ปรึกษาสถาบันส่งเสริมการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ช่วง ท้ายของการประชุมฯ นางอารี ย์พันธ์ เจริญสุข ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารการเปลี่ยนแปลง 3 สำนักบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม สำนักงาน ก.พ.ร. ได้สรุปผลการดำเนินการตามตัวชี้วัด ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ของสถาบันอุดมศึกษา ว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 สถาบันอุดมศึกษาได้ก้าวสู่เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับก้าวหน้า (Progressive Level: PL) ก่อนส่วนราชการอื่น ๆ ทั้งกรมและจังหวัด ฉะนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับสถาบันอุดมศึกษาในการเข้าไป Certify และตรวจตัวชี้วัด จึงควรศึกษาคู่มือคำอธิบายตัวชี้วัด การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 รวมทั้งเตรียมความพร้อมของคณะทำงาน
นอกจากนี้ ยังอธิบายสถานะการบริหารจัดการองค์การของระดับอุดมศึกษา และข้อแนะนำการดำเนินการในหมวดต่างๆ ทั้ง 7 หมวด พร้อมยกตัวอย่าง FAQ คำถามที่พบบ่อยจากคลินิกให้คำปรึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 และตอบข้อซักถามให้กับผู้เข้าร่วมประชุมอีกด้วย
ลลิ ดา (สลธ.) / ข่าว & ภาพ
วสุนธรา (สลธ.) / รายงาน
กลุ่มสื่อสาร ฯ / จัดทำ
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2554 11:38:08 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2554 13:50:56