ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของส่วนราชการที่อยู่ในเกณฑ์
ได้รับรางวัลดีเด่นเพื่อรับรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน
ประจำปี พ.ศ. 2553
เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2553 อนุกรรม
การพัฒนาระบบราชการ (อ.ก.พ.ร.)
เฉพาะกิจเกี่ยวกับการยกระดับคุณภาพมาตรฐานและลดขั้นตอนระยะเวลาการปฏิบัติ
ราชการเพื่ออำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน ซึ่งมี นางวิยะดา สิมะเสถียร รองเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน และ นางสุพรรณี ไพรัชเวทย์ ที่ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการ สำนักงาน ก.พ.ร. และคณะเจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานฯ ของ กรมทางหลวงชนบท และ โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใน
การนำเสนอผลการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนในกระบวนงานต่างๆ
เพื่อขอรับการประเมินเพื่อรับรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน ประจำปี พ.ศ.
2553
กรมทางหลวงชนบท นำเสนอผลการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนในกระบวนงาน การให้ประชาชนร่วมสังเกตขั้นตอนการก่อสร้างทางโครงการถนนไร้ฝุ่น
ซึ่งโครงการถนนไร้ฝุ่นเป็นนโยบายของรัฐในการยกระดับมาตรฐานทางหลวงชนบทที่
เป็นถนนลูกรัง ให้เป็นถนนลาดยางหรือถนนคอนกรีต
เพื่อให้การสัญจรในชนบทเป็นไปอย่างสะดวก ปลอดภัย
และทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น
จากการดำเนินการก่อสร้างถนนในอดีต
ภาครัฐเป็นผู้ดำเนินโครงการโดยไม่คำนึงถึงความต้องการของประชาชนในพื้นที่
และไม่ค่อยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา
เช่น ปัญหาความโปร่งใส การทำงานล่าช้าของภาครัฐ
และปัญหาข้อร้องเรียนจากการได้รับข้อมูลข่าวสารผิดพลาด ปัจจุบัน กรมทางหลวงชนบท จึง
ปรับปรุงการทำงานเป็นรูปแบบภาคีเครือข่ายร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่กรมทาง
หลวง ผู้รับจ้างก่อสร้างทาง ประชาชนในพื้นที่
และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมกันแก้ไข
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมและสร้างความ
รู้สึกเป็นเจ้าของสาธารณสมบัติ ส่งผลให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว
และสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้างได้ทันท่วงที
จากนั้น เป็นการนำเสนอกระบวนงาน การจ่ายเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน เพื่อให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับค่าทดแทนที่รวดเร็วและเป็นธรรม
สามารถลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติงาน ทำให้ประชาชนได้รับการบริการที่ดี
สะดวก และรวดเร็ว ซึ่งหลังจากการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการแล้ว
ได้รับประโยชน์ ดังนี้
1. ทำให้ขั้นตอนการจ่ายเงินค่าทดแทนเร็วขึ้น
2. ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
โดยกรมทางหลวงชนบทได้จัดหน่วยเคลื่อนที่รับทำสัญญา
โดยมีเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินมารับคำขอรังวัด ณ วันทำสัญญา
พร้อมทั้งมีบริการสอบถามและตอดตามข้อมูลการเวนคืน
3. ผู้รับบริการมีความพึงพอใจมากขึ้น
4. เป็นการสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
ทั้งในด้านของการลดปริมาณงาน การทำงานด้วยความสะดวกและรวดเร็ว
รวมทั้งสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรและวัสดุสิ้นเปลือง
โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำเสนอผลการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนในกระบวนงาน การสร้างสรรค์งานบริการรักษาสัตว์ที่ตอบสนองความต้องการของสังคม และสร้างความเข้มแข็งของหน่วยงานให้ได้มาตรฐานระดับชาติและนานาชาติ ซึ่งทางโรงพยาบาลสัตว์ให้บริการทั้งในขั้นพื้นฐาน การตรวจรักษาเฉพาะทาง การบริการด้านฟื้นฟูสัตว์ และการรักษาสุขภาพของสัตว์
ปัจจุบัน
ความต้องการของผู้ใช้บริการมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะการตรวจรักษาสัตว์ที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
โรงพยาบาลสัตว์จึงจัดตั้ง ธนาคารเลือดสำหรับสัตว์เลี้ยง
ขึ้นเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในเอเชีย
ซึ่งเป็นการยกระดับมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
และมีการให้บริการรักษาสัตว์ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้
ยังมีโครงการเพิ่มพูนทักษะทางสัตวแพทย์ด้านคลินิกสัตว์เล็ก
และนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการให้บริการ โดยเปิดศูนย์โรคระบบประสาท
ออธ์โธปิดิกส์และเวชศาสตร์ฟื้นฟูเพื่อสัตว์เลี้ยง รวมทั้ง
การบำบัดด้วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู โดยการทำธาราบำบัด และ
การบำบัดด้วยการกระตุ้นด้วยไฟฟ้า
และการพัฒนาระบบคุณภาพการบริการถ่ายภาพรังสีด้วยระบบดิจิตอลที่ทันสมัยและ
สมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทย การพัฒนาคลินิกเฉพาะทาง ได้แก่ คลินิกตา
คลินิกโรคผิวหนัง คลินิกโรคหัวใจ คลินิกโรคระบบประสาท เป็นต้น
ลลิดา (สลธ.) / ข่าว & ภาพ
วสุนธรา (สลธ.) / รายงาน
กลุ่มสื่อสาร ฯ / จัดทำ
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 5 มกราคม 2554 11:36:11 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 5 มกราคม 2554 11:39:55