ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของส่วนราชการเพื่อประเมิน
รางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน
และรางวัลมาตรฐานศูนย์บริการร่วมฯ ประจำปี 2553
เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2553 อนุกรรม
การพัฒนาระบบราชการ (อ.ก.พ.ร.)
เฉพาะกิจเกี่ยวกับการยกระดับคุณภาพมาตรฐานและลดขั้นตอนระยะเวลาการปฏิบัติ
ราชการเพื่ออำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน ซึ่งมี นายจาดุร อภิชาตบุตร หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย และ นางสุพรรณี ไพรัชเวทย์ ที่ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการ สำนักงาน ก.พ.ร. และเจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานฯ ของเคาน์เตอร์บริการประชาชนจังหวัดกาญจนบุรี สำนักงานขนส่งจังหวัดนครปฐม และ โรงพยาบาลนครชัยศรี ใน
การนำเสนอผลการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนในกระบวนงานต่างๆ
เพื่อขอรับการประเมินเพื่อรับรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน ประจำปี พ.ศ.
2553
เคาน์เตอร์บริการประชาชนจังหวัดกาญจนบุรี นำ
เสนอผลการดำเนินการของเคาน์เตอร์บริการฯ
ซึ่งเดิมตั้งอยู่บนที่ว่าการอำเภอท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
เพื่อเป็นขยายการให้บริการ
จึงปรับปรุงรูปแบบการทำงานให้สามารถอำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของ
ประชาชนได้มากขึ้น โดยย้ายเคาน์เตอร์บริการฯ ไปที่ห้างสรรพสินค้าเทสโก้
โลตัส สาขากาญจนบุรี เนื่องจากเป็นแหล่งชุมชน มีประชาชนสัญจรเป็นจำนวนมาก
และมีพื้นที่ให้บริการกว้างขวาง
สำหรับการดำเนินงานของเคาน์เตอร์บริการประชาชนนั้น
มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาเพิ่มศักยภาพในการให้บริการต่างๆ
แก่ประชาชน ดังนี้
จัดทำระบบฐานข้อมูลเป็นรูปแบบดิจิตอล
ปรับปรุงแบบฟอร์มเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการกรอกข้อมูล
นำระบบการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนอเนกประสงค์
โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ของกรมการปกครองมาให้บริการประชาชนใน
ด้านงานทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชน
นำระบบออนไลน์การจัดทำใบขับขี่ของกรมการขนส่งทางบก มาให้บริการประชาชน ด้านการชำระภาษีรถยนต์และรถจักรยานยนต์ประจำปี
การเสียภาษีเงินได้ทางอินเตอร์เน็ต
การให้บริการตำแหน่งงานว่างด้วยตู้คีออส
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการ ยังสามารถให้บริการและคำแนะนำกับผู้มาใช้บริการทดแทนกันได้
สำนักงานขนส่งจังหวัดนครปฐม นำเสนอผลการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนในกระบวนงาน การทดสอบขับรถตาม พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 ด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การทดสอบความสามารถในการขับขี่รถของผู้ขอรับใบอนุญาตนั้น
ที่ผ่านมามีปัญหาด้านความโปร่งใส เป็นกลาง
และความถูกต้องในการประมวลผลการทดสอบ
เนื่องจากการทดสอบขับรถต้องใช้เจ้าหน้าที่ 2 - 3 คน
ในการกำกับดูแลและประมวลผลการทดสอบประจำสถานี
และยังใช้เวลาในการทดสอบขับรถประมาณ 14 นาทีต่อคน
ทาง สำนักงานขนส่งจังหวัดนครปฐม ได้นำโครงการสนามทดสอบขับรถ IT
(E - driving) มาใช้ในการทดสอบประมวลผล โดยมีเจ้าหน้าที่เพียง 1 คน
ใช้กล้องอิเล็กทรอนิกส์ในการจับภาพความเคลื่อนไหว
การหยุดนิ่งของการขับรถของผู้ทดสอบ
และจำนวนการปรับเปลี่ยนเกียร์ตามที่ทางราชการกำหนด
ซึ่งผู้ทดสอบใช้เวลาทดสอบประมาณ 5 นาทีต่อคน
และระหว่างการทดสอบขับรถจะมีจอแสดงภาพการขับรถให้ผู้เข้ารับการทดสอบได้รับ
รู้ รวมทั้งประมวลผลการทดสอบเป็นลายลักษณ์อักษร โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์
ทำให้สามารถตรวจสอบได้ ก่อให้เกิดความโปร่งใส เป็นธรรม
และมีความเชื่อมั่นในระบบการทดสอบขับรถของทางราชการมากยิ่งขึ้น
โดยปัจจุบันมีจำนวนผู้มาเข้ารับการทดสอบเพิ่มขึ้นจากเดิม 10%
และสร้างความพึงพอใจให้ผู้ใช้บริการได้ถึง 92.61%
โรงพยาบาลนครชัยศรี นำเสนอผลการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนในกระบวนงาน การให้บริการเภสัชกรรมแบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งเป็นการพัฒนารูปแบบการให้บริการโดยใช้บุคลากรเพียงคนเดียว
ทำงานได้หลายบทบาทหน้าที่ ตั้งแต่การออกใบเสร็จรับเงิน จ่ายยา
และให้คำปรึกษาหรือค้นหาปัญหา
ทำให้สามารถลดระยะเวลาการรอรับยาได้เฉลี่ยไม่เกิน 20 นาที
อีกทั้ง โรงพยาบาลนครชัยศรี ได้จัดระบบให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการได้มากขึ้น ดังนี้
การให้บริการแบบ Face to face เป็นบริการแบบเบ็ดเสร็จ
ทำให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ป่วย
และเป็นการเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้รับบริการและผู้ให้บริการ
ทำให้สามารถค้นหาปัญหาจากการใช้ยาเพิ่มขึ้น
ขยายเวลาการให้บริการ โดยห้องยาเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง
ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการพิมพ์ใบสั่งยาและฉลากยา
ทำให้คิดราคายาได้รวดเร็ว และสามารถตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วยได้ทันที
ขยายช่องบริการในชั่วโมงเร่งด่วน
จัดระบบคิวอัตโนมัติ เพื่อความเสมอภาคในการเข้ารับบริการ
ลดระยะเวลารอคอย และผู้ป่วยสามารถประมาณการเวลารอรับยาได้
ซึ่งจากเดิมระยะเวลาในการรอรับยา เฉลี่ยสูงถึง 40 - 60 นาที
โดยเฉพาะกรณีผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องใช้เวลาในการบริการมากกว่าผู้ป่วยโรคทั่ว
ไปเฉลี่ยถึง 3 เท่า เนื่องจากต้องได้รับการทวนสอบและติดตามการใช้ยาทุกราย
นอกจากนี้
มีการให้บริการของเภสัชกรรมแบบเฉพาะรายด้วยระบบจัดการความสอดคล้องต่อเนื่อง
ในการใช้ยา เพื่อประสานข้อมูลการใช้ยาในสมุดบันทึกการใช้ยาประจำตัว
กรณีที่ผู้ป่วยไปรับการรักษายังสถานบริการอื่น
จะทำให้ผู้ป่วยสามารถป้องกันตนเองไม่ให้เกิดอันตรายจากการใช้ยาได้ในระดับ
หนึ่ง
โรงพยาบาลมีผู้ป่วยนอกเฉลี่ย ร้อยละ 42 มารับบริการในช่วงเวลา
10.00 - 12.00 น. ซึ่งเป็นเวลาที่มีผู้รับบริการ ร้อยละ 51
เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องใช้เวลาในการบริการมากกว่าผู้ป่วยโรคทั่วไป
เฉลี่ยถึง 3 เท่า เนื่องจากต้องได้รับการทวนสอบและติดตามการใช้ยาทุกราย
โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 200 mg.%
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้
ป่วยมากที่สุด ทำให้ระยะเวลารอรับยา เฉลี่ยสูงถึง 40 นาที และในช่วงเวลา
10.00 - 12.00 น. สูงถึง 60 นาที
ทั้งนี้ เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างถูกต้อง
ทางโรงพยาบาลจึงพัฒนารูปแบบการให้บริการเป็นแบบเบ็ดเสร็จโดยบุคลากรเพียงคน
เดียว ด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการส่งต่อข้อมูลการรักษา
จึงทำให้สามารถตรวจสอบประวัติการใช้ยา
ผลทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วยรายคนได้อย่าละเอียด
รวมทั้งสร้างระบบเตือนการแพ้ยา ยาที่มีปฏิกิริยาต่อกัน
ยาที่มีข้อจำกัดในการใช้หรือห้ามใช้กับผู้ป่วยตั้งครรภ์
ทำให้การจ่ายยาแก่ผู้ป่วยมีความปลอดภัยมากขึ้น
จัดทำสมุดบันทึกการใช้ยาประจำตัวให้ผู้ป่วยใช้ในการบันทึกและตรวจสอบการใช้
ยา
นอกจากนี้ เพื่อลดปริมาณผู้ป่วยอื่นๆ
ด้วยโรงพยาบาลได้จัดระบบบริการงานโดยการจัดช่องทางด่วนสำหรับจ่ายยาให้ผู้
ป่วยโรคทั่วไปในชั่วโมงเร่งด่วนด้วย
ทำให้ลดเวลาในการให้บริการที่เคาน์เตอร์จ่ายยา
โดยยังคงคุณภาพในการจัดการความปลอดภัยด้านยาไว้ได้
และสามารถรอรับยาได้เฉลี่ยไม่เกิน 20 นาที
การให้บริการทางเภสัชกรรมในการรักษากลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง
ทั้งโรคเบาหวาน โรคความดัน นั้น พบว่า ผู้ป่วยบางรายไม่ใช้ยาตามแพทย์สั่ง
บางรายได้รับยาซ้ำซ้อน เนื่องจากไปรับการรักษาจากหลายโรงพยาบาล
ทำให้การทวนสอบการกินยาของผู้ป่วยไม่เพียงพอที่จะช่วยให้เกิดความปลอดภัยใน
การใช้ยา ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีข้อมูลต่างๆ นอกเหนือจากใบสั่งยา
เพื่อประเมินความเหมาะสมในการสั่งยาและติดตามการใช้ยาของผู้ป่วย
ลลิดา (สลธ.) / ข่าว & ภาพ
วสุนธรา (สลธ.) / รายงาน
กลุ่มสื่อสาร ฯ / จัดทำ
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 28 ธันวาคม 2553 11:13:11 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 28 ธันวาคม 2553 11:13:11