การตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานเพื่อประเมินผล
รางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน ประจำปี พ.ศ. 2553
(โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ)
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2553 อนุกรรม
การพัฒนาระบบราชการ (อ.ก.พ.ร.)
เฉพาะกิจเกี่ยวกับการยกระดับคุณภาพมาตรฐานและลดขั้นตอนระยะเวลาการปฏิบัติ
ราชการเพื่ออำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน ซึ่งมี นายปรีชา จรุงกิจอนันต์ ประธาน อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจ เกี่ยวกับการยกระดับคุณภาพมาตรฐานและลดขั้นตอนระยะเวลาฯ และ นายชัยยุทธ กมลศิริสกุล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาระบบราชการ
สำนักบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม สำนักงาน ก.พ.ร.
และคณะเจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานฯ
ของ โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการนำเสนอผลการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนในกระบวนงาน โครงการรักษ์ตาน้องเพื่อป้องกันโรคตาขี้เกียจอย่างยั่งยืน เพื่อขอรับการประเมินเพื่อรับรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน ประจำปี พ.ศ. 2553
โรคตาขี้เกียจ เป็น
โรคที่เกิดจากระบบการมองเห็นไม่ได้รับการพัฒนาในวัยเด็ก ได้แก่
โรคสายตาผิดปกติ โรคตาเหล่ โรคหนังตาตก และโรคที่ขัดขวางทางเดินของแสง
ทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลงอย่างถาวร แต่ถ้ารับการรักษาก่อนอายุ 9 ปี
จะสามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ ดังนั้น
เพื่อเป็นการป้องกันโรคตาขี้เกียจในเด็ก กลุ่มงานตาโรงพยาบาลตำรวจ จึง
เปลี่ยนแนวทางการให้บริการจากการตั้งรับรอให้ผู้ป่วยเข้ามารับการตรวจรักษา
มาเป็นการให้บริการในเชิงรุก โดยออกไปให้ความรู้ ความเข้าใจ
จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการวิธีการตรวจความสามารถในการมองเห็น
และมอบอุปกรณ์การตรวจโรคตาขี้เกียจให้แก่ 8
โรงเรียนที่อยู่ในสังกัดของสำนักงานเขตปทุมวัน
จนคุณครูสามารถตรวจคัดกรองเด็กนักเรียนได้ด้วยตนเอง
และยังทำให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที
โรคตาขี้เกียจ เป็น
โรคที่เกิดจากการที่ระบบของการมองเห็นของเด็กไม่ได้รับการพัฒนาในวัยเด็ก
ได้แก่ โรคสายตาผิดปกติ โรคตาเหล่ โรคที่ขัดขวางทางเดินของแสง
ทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลงอย่างถาวร แต่ถ้ารับการรักษาก่อนอายุ 9 ปี
จะสามารถรักษาให้เห็นเป็นปกติได้
การดูแลผู้ป่วยก่อนเริ่มทำโครงการฯ
เป็นการตั้งรับรอผู้ป่วยมารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล
ผู้ป่วยไม่รู้ว่าตนเองเป็นโรคตาขี้เกียจ
การดูแลผู้ป่วยหลังทำโครงการฯ
เปลี่ยนแนวการให้บริการผู้ป่วยจากการตั้งรับมาเป็นเชิงรุกสู่โรงเรียน
สร้างความตระหนักให้แก่บุคลากรของชุมชน
และทำให้บุคลากรมีความรู้และความสามารถในการคัดกรองโรคตาขี้เกียจ
อบมเชิงปฏิบัติการผู้บริหารและคุณครู เพื่อให้สามารถตรวจจคัดกรองเด็กนักเรียน และบอกให้ผู้ป่วยและผู้ปกครองทราบ
ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลรักษาแต่เนิ่นๆ จะสามารถป้องกันโรคตาขี้เกียจได้
โครงการรักษ์ตาน้องจะยั่งยืนได้ จะต้องเป็นโครงการของชุมชน
เพื่อชุมชน ดำเนินการโดยชุมชน โดยมีทีมจักษุแพทย์เป็นเพียงพี่เลี้ยง
ระยะเวลาของการดำเนินโครงการฯ
ระยะที่ 1 กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน
โดยให้นักเรียนในโรงเรียนกทม.ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลตำรวจ
ปลอดโรคตาขี้เกียจ จำนวน 1,535 คน และ คุณครูในโรงเรียนทั้ง 8 แห่ง
สามารถตรวจโรคตาขี้เกียจได้ด้วยตนเอง และ
ระยะที่ 2 เตรียมความพร้อม โดยการสร้างความพร้อมให้กับโรงเรียน
ให้เข้าใจโครงการ เพื่อให้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติอย่างเต็มใจ
เพื่อความยั่งยืน
ระยะที่ 3 หาความร่วมมือจากเครือข่ายต่างๆ เช่น สำนักงานเขตปทุมวัน โรงเรียนกทม.ในเขตรับผิดชอบ
ระยะที่ 4 ระยะนำร่อง เพื่อศึกษาปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น โดยทีมแพทย์ตรวจเด็ฏนักเรียนเอง
ระยะที่ 5 ประสานกับผู้บริหาร
เพื่อสร้างความเข้าใจกับผู้อำนวยการเขต และผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง
เพื่อทำให้เกิดความมีส่วนร่วมในความเป็นเจ้าของร่วมในโครงการอย่างเต็มใจ
เพื่อความยั่งยืน
ระยะที่ 6 จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง โรคตาขี้เกียจและการตรวจความสามารถในกรมองเห็น โดยเชิญครู - อาจารย์มาอบรวมด้วย
ระยะที่ 7 ติดตาม เพื่อความมั่นใจในความสามารถของโรงเรียนในการดำเนินการได้ด้วยตนเอง และทีมของโรงพยาบาลตำรวจเป็นพี่เลี้ยง
ระยะที่ 8 ประเมินผล
เพื่อดูความสำเร็จของโครงการในด้านการป้องกัน และ ความยั่งยืน
โดยดูจากการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการมองเห็น 6 - 12 เดือน
หลังจากการตรวจพบในครั้งแรก
ระยะที่ 9 ขยายผล เพื่อขยายโครงการสู่โรงเรียนกทม.นอกพื้นที่รับผิดชอบ โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ลักษณะงานบริการ
กลุ่มงานตาเป็นหน่วยงานหนึ่งของโรงพยาบาลตำรวจ
มีหน้าที่ให้บริการตรวจ รักษา ป้องกัน
และฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ผู้รับบริการเกี่ยวกับดวงตา
เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับความปลอดภัย
ด้วยวิทยาการทันสมัยตามมาตรฐานวิชาชีพ และมีความปลอดภัย
ก่อนที่จะมีโครงการรักษ์ตาน้องเพื่อป้องกันโรคจาขี้เกียจอย่าง
ยั่งยืนนี้
สภาพการปฏิบัติงานในการดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคตาขี้เกียจจะเป็นการตั้งรับรอ
ผู้ป่วยมารับการตรวจรักษาที่ห้องตรวจตา และปัญหาส่วนใหญ่ของโรคตาขี้เกียจ
คือ ผู้ป่วยเป็นเด็ก และไม่รู้ว่าตนเองตามัว
ซึ่งกว่าจะรู้ผู้ป่วยก็เติบโตเป็นผู้ใหญ่ แล้วมีอาการมองเห็นไม่ชัด
จึงมาพบจักษุแพทย์ แต่ก็สายเกินไป
ทำให้จักษุแพทย์ไม่สามารถช่วยผู้ป่วยให้กลับมาเห็นได้อย่างคนปกติ ทั้งๆ
ที่โรคตาขี้เกียจเป็นโรคที่รักษาได้ ดังนั้น
จึงมีความจำเป็นจะต้องพัฒนาวิธีการตรวจให้ทราบว่าเด็กเป็นโรคตาขี้เกียจก่อน
ที่เด็กจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่
การดำเนินการพัฒนาการบริการ
โรคตาขี้เกียจเป็นโรคที่เกิดจากระบบประสาทที่เกี่ยวกับการมองเห็น
ไม่ได้รับกี่พัฒนาในวัยเด็กให้สมบูรณ์
ทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลงอย่างถาวร เนื่องจากตอนแรกเกิด
ระบบของการการมองเห็นของคนยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ คือ เห็นไม่ชัด
จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้นจนอายุประมาณ 6 ปี
ระบบของการมองเห็นถึงจะสมบูรณ์สามารถมองเห็นได้อย่างคนปกติ
แต่ถ้าเกิดมีการขัดขวางขบวนการพัฒนานี้ เช่น โรคตาเหล่ โรคสายตาผิดปกติ
โรคหนังตาตก เป็นต้น แล้วไม่ได้รับการแก้ไขแต่เนิ่นๆ
จะทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลงอย่างถาวร
และระยะเวลาที่ให้การรักษาที่ดีที่สุดนั้น เด็กควรจะมีอายุไม่เกิน 7 ปี
และโรคตาขี้เกียจนี้เป็นโรคที่เป็นตั้งแต่วัยเด็ก
ซึ่งเด็กจะต้องมีชีวิตอีกยาวนานและยังเป็นเยาวชนของชาติ
ถ้าความสามารถในการมองเห็นของเด็กลดลงอย่างถาวรก็เป็นความสูญเสียต่อ
ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของประเทศอย่างน่าสเยดาย ทั้งๆ
ที่โรคตาขี้เกียจสามารถป้องกันได้ ถ้าได้รับการตรวจแต่เนิ่นๆ
เพื่อเป็นการป้องกันโรคตาขี้เกียจในเด็ก
กลุ่มงานตาโรงพยาบาลตำรวจจึงเปลี่ยนแนวทางการให้บริการผู้ป่วยจากการตั้งรับ
มาเป็นการรุกสู่ชุมชน
และให้ชุมชนเป็นจ้าของโครงการและสามารถดำเนินการด้วยตนเองได้อย่างตลอดไป
เพื่อความยั่งยืน
โดยการสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ชุมชนในความจำเป็นที่จะต้องช่วยกันป้องกัน
โรคตาขี้เกียจในเด็ก พร้อมทั้งให้องค์ความรู้ให้แก่บุคลากรในชุมชน เช่น
การให้ความรู้แก่คุณครูในโรงเรียน
โดยการอบรมเชิงปฏิบัตคิการในเรื่องของดวงตา โรคตาขี้เกียจ รวมถึง
วิธีการตรวจความสามารถในการมองเห็น พร้อมทั้ง
มอบอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจคัดกรองให้แก่โรงเรียน
จนคุณครูสามารถตรวจคัดกรองได้ด้วยตนเอง
โดยมีทีมจักษุแพทย์โรงพยาบาลตำรวจเป็นพี่เลี้ยง
ก็จะทำใก้ชุมชนเข้มแข็งและสามารถดูแลนักเรียนำด้ด้วยตนเองตลอดไป
ผลจากการพัฒนาการให้บริการจากการตั้งรับมาเป็นการรุกสู่ชุมชน พบว่า
1. คุณครูที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการทั้ง 8
โรงเรียนที่อยู่ในสังกัดของสำนักงานเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
มีความรู้ทางด้านดวงตา โรคตาขี้เกียจ
และมีความสามารถในการตรวจคัดกรองความสามารถในการมองเห็น
สามารถตรวจคัดกรองเด็กนักเรียนได้ด้วยตนเอง 100%
2. เด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมปีที่ 1
ในโณงเรียนที่อยู่ในสังกัดของกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน ทั้ง 8 โรงเรียน
จำนวน 1,556 คน ได้รับการตรวจคัดกรองความสามารถในการมองเห็น
เพื่อหานักเรียนที่มีโอกาสเป็นโรคตาขี้เกียจ
โดยผู้ปกครองไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาโรงพยาบาล
3. เด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมปีที่ 1
ในโรงเรียนที่อยู่ในสังกัดของกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน ทั้ง 8 โรงเรียน
จำนวน 65 คน พบว่า มีความสามารถในการมองเห็นผิดปกติ
และได้แจ้งให้ผู้ปกครองทราบ เพื่อรับการรักษาและติดตามผลของการมองเห็นต่อไป
4. เด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ที่เข้าใหม่ในปีต่อๆ
ไปในโรงเรียนที่อยู่ในสังกัดของกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน ทั้ง 8 โรงเรียน
จะได้รับการตรวจคัดกรองโดยคุณครูที่ผ่านการอบรมแล้ว
5. ชุมชนใรความตระหนักในรคตาขี้เกียจในทุกระดับที่เกี่ยวข้อง
6. โรงพยาบาลตำรวจมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนที่เกี่ยวข้อง
ข้อพิจารณาที่เห็นควรได้รับรางวัลดีเด่น
การให้บริการในเชิงรุก โดยการออกไปให้ความรู้ ฝึกอบรม
และมอบอุปกรณ์การตรวจโรคตาขี้เกียจให้กับ 8
โรงเรียนที่อยู่ในสังกัดของสำนักงานเขตปทุมวัน
เพื่อคัดกรองให้เด็กเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที
เป็นการเผยแพร่ความรู้โรคตาขี้เกียจให้เด็ก พ่อแม่ ครู และชุมชน ได้รับรู้เข้าใจและตระหนักถึงปัญหาในโรคตาขี้เกียจ
สร้างการมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบต่อสังคมของบุคลากรในชุมชน เพื่อพัฒนาสุขภาพของเด็ก ซึ่งเป็นอนาคตของประเทศ
สำหรับ พิธีมอบรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน และรางวัลมาตรฐานศูนย์บริการร่วม/เคาน์เตอร์บริการประชาชน ประจำปี 2553 นั้น ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2553 เวลา 12.30 - 18.30 น. ณ หอประชุมกองทัพเรือ ถนนอรุณอัมรินทร์ โดยมี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานมอบรางวัล
ลลิดา (สลธ.) / ข่าว & ภาพ
วสุนธรา (สลธ.) / รายงาน
กลุ่มสื่อสาร ฯ / จัดทำ
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 17 ธันวาคม 2553 10:35:14 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 17 ธันวาคม 2553 10:35:14