คณะเจ้าหน้าที่จากประเทศอินโดนีเซีย
ศึกษาดูงานการพัฒนาระบบราชการไทย
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2553 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้รับเกียรติจาก คณะนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรอินโดนีเซีย (National Resilience Institute-Lemhannas) ที่มาศึกษาดูงานสำนักงาน ก.พ.ร. และรับฟังการบรรยายในหัวข้อ OPDCs Experience on Public Sector Reform and Good Governance ณ ห้องประชุม 501 - 502 ชั้น 5 สำนักงาน ก.พ.ร. โดยมี นายอาวุธ วรรณวงศ์ รองเลขาธิการ ก.พ.ร. และ นางสุพรรณี ไพรัชเวทย์ ที่ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการ พร้อมด้วยข้าราชการสำนักงาน ก.พ.ร. ให้การต้อนรับ
คณะศึกษาดูงานการพัฒนาระบบราชการในครั้งนี้ เป็นนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรอินโดนีเซีย (National Resilience Institute-Lemhannas) รุ่นที่ 45 ซึ่ง
มาเยือนประเทศไทยระหว่างวันที่ 25 - 29 ตุลาคม 2553
เพื่อศึกษาดูงานเกี่ยวกับยุทธศาสตร์และระบบการพัฒนาประเทศของไทย
ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และธรรมาภิบาล
ซึ่งกิจกรรมหนึ่งในการเยือนประเทศไทยของคณะนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราช
อาณาจักรอินโดนีเซียในครั้งนี้ คือ
การศึกษาดูงานและรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ
ไทย ณ สำนักงาน ก.พ.ร. โดยมี นายอาวุธ วรรณวงศ์ รองเลขาธิการ ก.พ.ร. กล่าวต้อนรับ พร้อมทั้งพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการปฏิรูประบบราชการ
จากนั้นเป็นการบรรยายให้คณะศึกษาดูงานได้ทราบถึงการพัฒนาระบบราชการของไทยในหัวข้อ OPDCs Experience on Public Sector Reform and Good Governance โดยมี นางสุพรรณี ไพรัชเวทย์ ที่
ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการ เป็นวิทยากร
โดยได้บรรยายถึงสาเหตุที่ทำให้ต้องมีการปฏิรูประบบราชการ
การดำเนินการพัฒนาระบบราชการไทยนับตั้งแต่การประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบ
บริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545
ซึ่งกำหนดกรอบแนวทางการบริหารราชการแผ่นดินที่เน้นหลักการบริหารกิจการบ้าน
เมืองที่ดี
เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
รวมทั้งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
พ.ศ. 2546 ที่ได้นำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance)
มากำหนดไว้ ทำให้เกิดการบริหารราชการแนวใหม่ที่เป็นการบริหารเชิงยุทธศาสตร์
มีการกำหนดยุทธศาสตร์ที่จะไปสู่เป้าหมาย การนำแผนยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติ
รวมทั้งมีการติดตามประเมินผล ส่งผลให้เกิดการพัฒนาระบบราชการในเรื่องต่าง ๆ
อาทิ การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ
การลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการ ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม
และค่านิยมในการปฏิบัติราชการ การจัดทำนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี
การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) เป็นต้น
พร้อมกันนี้ ที่ปรึกษาฯ
สุพรรณียังได้กล่าวถึงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2551 -
พ.ศ. 2555)
และความสำเร็จของการผลักดันให้การพัฒนาระบบราชการไทยเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
จนเป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมทั้งปัจจัยสู่ความสำเร็จที่สำนักงาน ก.พ.ร.
ใช้ดำเนินการผลักดันการพัฒนาระบบราชการไทย
วสุนธรา ภัทรพร (สลธ.)&/&รายงาน
ชนกสุดา&ธนาพร (สลธ.)&/&ข้อมูล
กลุ่มสื่อสารฯ&/&จัดทำ
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2553 14:37:01 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2553 10:38:27