Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2553 / พฤศจิกายน / ก.พ.ร. ผวาแรงต้านคุมทุจริตจัดซื้อจัดจ้างผนึก ฝ่ายเดินหน้า 10 พ.ย. ประกาศ ป้องกัน ุจริต

ก.พ.ร. ผวาแรงต้านคุมทุจริตจัดซื้อจัดจ้างผนึก ฝ่ายเดินหน้า 10 พ.ย. ประกาศ ป้องกัน ุจริต

ก.พ.ร. ผวาแรงต้านคุมทุจริตจัดซื้อจัดจ้าง
ผนึก 3 ฝ่ายเดินหน้า 10 พ.ย. ประกาศป้องกัน ทุจริต


          ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. ได้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ในคอลัมน์ Anti>Corruption Forum ฉบับวันที่ 4 พฤศจิกายน 2553 ที่ผ่านมา เกี่ยวกับ โครงการป้องกันทุจริตประพฤติมิชอบในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของทางราชการ  ซึ่งเป็นโครงการที่สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และสภาหอการค้าไทย ร่วมกันจัดทำขึ้นเพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในการจัดซื้อจัดจ้าง วันนี้ OPDC News จึงขอสรุปบทสัมภาษณ์ของเลขาธิการ ก.พ.ร. มานำเสนอ เพื่อแนะนำให้รู้จักกับโครงการดังกล่าว

          โดย ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. เปิดเผยว่า ก.พ.ร. เริ่มโครงการป้องกันทุจริตประพฤติมิชอบในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของทาง ราชการ ซึ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบแล้ว โดยวันที่ 10 พฤศจิกายนนี้ นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้นำภาครัฐ ตัวแทนภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จะร่วมลงนาม คำประกาศเจตนารมณ์ร่วม 3 ฝ่าย เพื่อป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบในการจัดซื้อจัดจ้าง ระหว่างการประชุมนานาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ครั้งที่ 15

          เลขาธิการ ก.พ.ร. กล่าวอีกว่า โครงการนี้เป็นเพียงยาตัวหนึ่งในการป้องกันการทุจริตจัดซื้อจัดจ้าง และพุ่งเป้าไปที่เอกชนเป็นหลัก ส่วนการควบคุมข้าราชการ เช่น ข้าราชการทำตามใบสั่งนักการเมือง ก็ต้องมีระบบควบคุมต่อไป ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศ แต่ยอมรับโครงการนี้มีการต่อต้านแน่นอน เพราะมีคนเสียประโยชน์ ซึ่งต้องขึ้นกับระดับนโยบายว่าเอาจริงกับโครงการนี้มากน้อยแค่ไหน 

          เราต้องกระชับโอกาสการทำทุจริตให้น้อยลง สร้างคนที่จะทำดีให้มากขึ้น แกะดำจะต้องถูกสังคมตรวจสอบมากขึ้น ซึ่งอย่างน้อย ก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ดร.ทศพรกล่าว

          โครงการดังกล่าวแบ่งเป็นสองเฟส คือ เฟสแรก เริ่มตั้งแต่วันที่ 11 พ.ย. 2553-ธ.ค. 2554 กำหนดให้เอกชนที่เสนอตัวเข้าร่วมการประมูลจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐต้องลงนาม เจตนารมณ์ว่าด้วยความซื่อสัตย์ (Integrity Pact) เพื่อ แสดงเจตนารมณ์ว่าบริษัทจะยื่นประมูลงานโดยสุจริไม่มีการให้สินบนหรือสมยอมราคา และบริษัทต้องเตรียมการภายใน เช่น วางนโยบายและมาตรการเพื่อความมั่นใจว่า คนในบริษัทจะประกอบธุรกิจด้วยความสุจริตและมีระบบควบคุมภายใน

          ในเฟสแรก จะทำแบบสมัครใจ ขณะนี้มีสมาชิกสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย 20 บริษัท พร้อมเข้าร่วมโครงการนำร่อง 

          ในส่วนราชการ ก.พ.ร. กำหนดให้กระทรวงทั้ง 20 กระทรวง คัดเลือกกรมในสังกัด 1 กรมเข้าร่วมโครงการนี้ และให้กรมคัดเลือกโครงการที่สำคัญ เพื่อเปิดให้เอกชนร่วมประมูล เช่น โครงการที่มีมูลค่าสูง ขณะเดียวกันกรมต้องเตรียมระบบตรวจสอบและควบคุมภายใน ไม่ให้เจ้าหน้าที่รับสินบนหรือเงินใต้โต๊ะ

          จากนั้น เฟส 2 เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2555 จะมีความเข้มข้นมากขึ้น คือ บริษัทที่เข้าร่วมการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐต้องลงนามเจตนารมณ์ว่าด้วยความ ซื่อสัตย์ จึงมีสิทธิเข้าร่วมประมูลโครงการรัฐได้ อีกทั้งต้องแสดงหลักฐานว่ามีระบบควบคุมภายในที่ดี ขณะที่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างจะมีผู้ตรวจสอบบัญชีอิสระจากภายนอก (Independent Inspector) เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ร่าง TOR ตรวจสอบการประมูล และตรวจสอบภายหลังประมูล ส่วนการคัดเลือก ผู้ตรวจสอบอิสระจะเปิดรับสมัครเป็นการทั่วไปทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ ป.ป.ช. ผู้เชี่ยวชาญสาขาที่เกี่ยวข้องและภาคประชาสังคม โดยสอบคัดเลือก ฝึกอบรม และได้รับการรับรองจากสถาบันที่น่าเชื่อถือ ก่อนบรรจุไว้ในบัญชีผู้ตรวจสอบอิสระ

          สำหรับบริษัทที่ชนะการประมูลหรือบริษัทที่ร่วมประมูลต้องพร้อม เปิดเผยข้อมูลให้ผู้ตรวจสอบอิสระและสาธารณชนทราบว่าค่าใช้จ่ายในการประมูล แต่ละโครงการเท่าไร เพื่อให้สาธารณชนทราบว่าไม่ติดสินบนเจ้าหน้าที่ โดยผู้ตรวจสอบอิสระสามารถเข้าไปตรวจสอบได้

          การมาเซ็นคำรับรองว่าฉันจะเป็นคนดี ไม่พอ เราจะเปิดกระบวนการให้โปร่งใส โดยมีบุคคลภายนอกและภาคประชาสังคมเข้าร่วมการตรวจสอบด้วย เช่น การร่าง TOR มีการล็อกสเปคหรือไม่ ทำไมต้องการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษ ถ้าดูแล้วพบว่ามีกลิ่นไม่ดี ก็ส่งให้ผู้รับผิดชอบตรวจสอบได้ ดร.ทศพรกล่าว

          เลขาธิการ ก.พ.ร. กล่าวต่อไปว่า หน่วยงานรัฐและเอกชนที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับมอบประกาศนียบัตรรับรองการ ปราศจากคอร์รัปชันจากนายกรรัฐมนตรี โดยเฉพาะบริษัทเอกชนที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นบริษัทสีขาว เป็นองค์กรที่ทำธุรกรรมสุจริต ไม่มีการให้สินบน เป็นบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) จะมีแรงจูงใจพิเศษให้ เช่น การให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษี หรือมีแต้มต่อในการจัดซื้อจัดจ้างเมื่อเทียบกับบริษัทที่ไม่ได้อยู่ใน ทำเนียบรายชื่อบริษัทสีขาว แต่หากพบว่าบริษัทที่อยู่ในบัญชีมีนอกมีในการจ่ายสินบนก็จะถูกถอดออกจาก บัญชี และถูกขึ้นบัญชีดำ
 

วสุนธรา & ภัทรพร (สลธ.) / จัดทำ
ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ 4 พฤศจิกายน 2553

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2553 11:04:26 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2553 11:09:22
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th