Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2553 / ตุลาคม / ก.พ.ร. จับมือบัวแก้ว ดัน 34 หน่วยงานรัฐ-เอกชน เพิ่มประสิทธิภาพ ดึงนักลงทุนจากต่างประเทศ

ก.พ.ร. จับมือบัวแก้ว ดัน 34 หน่วยงานรัฐ-เอกชน เพิ่มประสิทธิภาพ ดึงนักลงทุนจากต่างประเทศ

ก.พ.ร. จับมือบัวแก้ว ดัน 34 หน่วยงานรัฐ-เอกชน
เพิ่มประสิทธิภาพ ดึงนักลงทุนจากต่างประเทศ 
 

 
          วันที่ 13 ตุลาคม 2553 เวลา 13.00 - 16.30 น. สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ จัดการประชุมเรื่อง การปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนของประเทศไทยเพื่อบรรลุเป้าหมายกรอบเอเปค ณ ห้องประชุมนราธิป กระทรวงการต่างประเทศ โดยมี นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานและกล่าวเปิดการประชุม ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้บริหารและผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวม 34 หน่วยงาน 

          ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. กล่าวว่า การจัดประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบ เจตนารมณ์และเป้าหมายของเอเปคที่ต้องการให้ประเทศในเขตเศรษฐกิจเอเปคมี บรรยากาศการลงทุนที่ดีขึ้น และร่วมกันให้ข้อเสนอแนะ และข้อคิดเห็นในการปรับปรุงบริการของหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งแนวทางในการพัฒนาและสนับสนุนภาคธุรกิจเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขันของประเทศที่จะดำเนินการต่อไป โดยมีเป้าหมายเพื่อให้การประกอบธุรกิจในประเทศมีความสะดวก รวดเร็ว การลงทุนขยายตัว เศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโต ที่สำคัญจะมีผลทำให้อันดับของประเทศไทยดีขึ้น และบรรลุเป้าหมายของกรอบเอเปค ดร.ทศพร กล่าว

          ทางด้าน นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า การประชุมเรื่องการปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนของประเทศไทยเพื่อบรรลุเป้าหมายของกรอบเอเปคที่ จัดขึ้นในครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากรายงานผลการวิจัยเรื่อง Doing Business ของธนาคารโลก ซึ่งเป็นรายงานผลการศึกษาเพื่อจัดอันดับความยาก-ง่ายในการเข้าไปประกอบ ธุรกิจในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ที่อยู่ในอันดับ 20 จาก 145 ประเทศ และล่าสุดในปี พ.ศ. 2553 อยู่ในอันดับที่ 12 จาก 183 ประเทศ อันแสดงให้เห็นว่าหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทยได้มีการพัฒนาโดยการปรับปรุง คุณภาพการให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องหลายปี จนมีผลให้ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่น่าเข้ามาลงทุนอันดับ ต้น ๆ ของโลก 

          นอกจากนี้ กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) ยังให้ความสำคัญกับรายงานดังกล่าว โดยนำไปใช้เป็นเป้าหมายที่ต้องการให้ประเทศในเขตเศรษฐกิจเอเปคมีบรรยากาศการ ลงทุนดีขึ้น ซึ่งในการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค เมื่อปี พ.ศ. 2552 ได้ประกาศแผนปฏิติการให้เขตเศรษฐกิจเอเปคมีบรรยากาศการลงทุนดีขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2554 มีเป้าหมายเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจให้มีความรวดเร็วขึ้น สะดวกขึ้น และค่าใช้จ่ายลดลง อย่างละร้อยละ 5 และในปี พ.ศ. 2558 มีเป้าหมายเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 25 ใน 5 ด้าน ตามตัวชี้วัด เรื่อง Doing Business ของธนาคารโลก ได้แก่ ด้านการเริ่มต้นธุรกิจ ด้านการขออนุญาตก่อสร้าง ด้านการได้รับสินเชื่อ ด้านการค้าระหว่างประเทศ และด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง และในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศได้รับเป้าหมายดังกล่าวมาดำเนินการ และได้รายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาให้กระทรวงการต่างประเทศประชุมร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนของประเทศให้บรรลุผล ตามกรอบเป้าหมายของเอเปค


          การที่สำนักงาน ก.พ.ร. และกระทรวงการต่างประเทศ ได้ร่วมกันจัดการประชุมในวันนี้ ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากหากหน่วยงานภาครัฐสามารถปรับปรุงและพัฒนาระบบการให้บริการ เพื่อให้สามารถอำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้ประกอบ การได้อย่าง
แท้จริงแล้ว บรรยากาศการลงทุนของประเทศก็จะดีขึ้น ซึ่งจะมีผลดึงดูดผู้ประกอบการและนักลงทุนให้เข้ามาลงทุน และประกอบการธุรกิจในประเทศไทยเพิ่มขึ้น รวมทั้งส่งผลให้การลงทุนขยายตัว ตลอดจนเศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโตขึ้น ในท้ายที่สุดศักยภาพในการแข่งขันของประเทศก็จะสูงขึ้นด้วย 

          ในช่วงท้ายของการเปิดงาน นายกษิต ภิรมย์ ได้กล่าวย้ำในเรื่องของ ธรรมาภิบาล หรือ Good Governance โดย เฉพาะในเรื่องของความซื่อสัตย์สุจริต ว่าการที่หน่วยงานภาครัฐสามารถปรับปรุงและพัฒนาระบบการให้บริการได้เป็น อย่างดีแล้วยังต้องคำนึงถึงการให้บริการที่ซื่อสัตย์สุจริตและเป็นธรรมด้วย

          หลังจากนั้นเป็นการประชุมกลุ่มย่อย เพื่อระดมความคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแบ่งประเด็นออกเป็น 5 ด้าน ตามตัวชี้วัด เรื่อง Doing Business ของธนาคารโลก ได้แก่ ด้านการเริ่มต้นธุรกิจ ด้านการขออนุญาตก่อสร้าง ด้านการได้รับสินเชื่อ ด้านการค้าระหว่างประเทศ และด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง

          โดยการประชุมกลุ่มย่อยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากภาครัฐและภาคเอกชน เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนของประเทศไทยในแต่ละ ด้านให้มีความสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

นนทญา (สลธ.) / ข่าว & ภาพ
วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 20 ตุลาคม 2553 11:29:44 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 20 ตุลาคม 2553 11:29:44
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th