Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2553 / ตุลาคม / รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดงานและเยี่ยมชมนิทรรศการการถ่ายโอนงานของส่วนราชการ

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดงานและเยี่ยมชมนิทรรศการการถ่ายโอนงานของส่วนราชการ

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดงาน
และเยี่ยมชมนิทรรศการการถ่ายโอนงานของส่วนราชการ 
 
 
 
          นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกล่าวเปิดงานและเยี่ยมชมนิทรรศการการถ่ายโอนงานของส่วนราชการ ให้ภาคเอกชน ภาคท้องถิ่น และภาคส่วนอื่น ในการประชุมสัมมนาทางวิชาการประจำปี 2553 เรื่อง ธรรมาภิบาลกับการพัฒนาระบบราชการไทย เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2553 ณ อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี



          นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การพัฒนาระบบราชการที่ผ่านมาได้มีการผลักดันระบบราชการให้มุ่งสู่ความเป็น ราชการยุคใหม่ มีขีดสมรรถนะสูงขึ้น มีการอำนวยความสะดวกต่อประชาชนและผู้รับบริการมากขึ้น และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่างที่เป็นรูปธรรมชัดเจนมากขึ้น และอาจกล่าวได้ว่าความสำเร็จของการพัฒนาระบบราชการไทยที่ผ่านมานี้เกิดขึ้น ได้ก็ด้วยความร่วมมือร่วมแรงจากทุกฝ่ายทั้งภาคราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่ช่วยเกื้อหนุนและเสนอแนะให้การพัฒนาระบบราชการไทยก้าวไป ข้างหน้า ซึ่งแนวโน้มต่อไปในอนาคตนี้ภาคราชการจะต้องมีการปรับบทบาทในการที่จะร่วมมือ กับภาคส่วนต่าง ๆ มากขึ้น

          ใน เรื่องของการปรับบทบาทภารกิจของภาครัฐนั้น ต้องอาศัยความคิดและทิศทางที่ชัดเจน เพื่อให้ภารกิจภาครัฐมีความเหมาะสม รวมทั้งปรับเปลี่ยนบทบาทของระบบราชการให้เป็นผู้สนับสนุนและอำนวยความสะดวก ไม่เป็นผู้ดำเนินการเองหรือคงมีอำนาจมากเกินไป โดยโอนงานบริการบางอย่างของรัฐให้เอกชนหรือท้องถิ่นมาดำเนินการแทน ซึ่งการปรับบทบาทภารกิจภาครัฐในครั้งนี้ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบราชการครั้งสำคัญอีกครั้ง หลังจากที่ได้มีการปฏิรูประบบราชการไปเมื่อปี พ.ศ. 2545 และจะเป็นรากฐานต่อการปฏิรูปประเทศไทยในอนาคต แม้ว่าในระยะแรกนี้จะเป็นการเลือกเฉพาะบางงานมาดำเนินการถ่ายโอนก่อน คือ งานด้านการตรวจสอบและรับรองคุณภาพมาตรฐาน แต่ในระยะต่อไปก็คงจะมีงานด้าน ๆ ที่กระทรวง กรมพิจารณาแล้วว่าสามารถที่จะถ่ายโอนให้เอกชนหรือภาคส่วนอื่นเข้ามาร่วม ดำเนินการได้ เช่น งานด้านการฝึกอบรม งานวิจัย งานทดสอบทางห้องปฏิบัติการ และอื่น ๆ อีกมาก



          รัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวต่อว่า บทบาทภารกิจของภาครัฐจะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและ สังคม ไม่ใช่เพียงระดับชาติแต่เป็นระดับโลก ระดับสากล ในอนาคตภาคเอกชนและภาคส่วนอื่นจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการจัดทำบริการ สาธารณะต่าง ๆ และการทำงานของภาคราชการจะมีลักษณะเป็นหุ้นส่วนกับภาคเอกชนและภาคส่วนอื่น มากขึ้น ซึ่งจะต้องมีการปรับปรุงในเรื่องของกฎหมายต่อไป

          สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ภารกิจที่รัฐยังต้องเป็นผู้ดำเนินการ จะต้องเน้นให้มีระบบธรรมาภิบาล เมื่อนำระบบธรรมาภิบาลเข้ามาใช้ในระบบราชการมากขึ้นก็จะทำให้การทำงานมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว 



          นิทรรศการการถ่ายโอนงานของส่วนราชการ ให้ภาคเอกชน ภาคท้องถิ่น และภาคส่วนอื่น ในครั้งนี้ เป็นการนำรายละเอียดขั้นตอนกระบวนงานของส่วนราชการที่จะถ่ายโอนมาจัดแสดง พร้อมกันนี้ยังได้เชิญภาคเอกชน สถาบันการศึกษา สถาบันเฉพาะทาง และองค์การมหาชน มาร่วมนำเสนอผลงานและบริการที่แสดงถึงขีดความสามารถและความพร้อมที่จะรับ ถ่ายโอนงานจากภาครัฐ เพื่อให้ส่วนราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ได้พิจารณาและหารือกันในรายละเอียดของการถ่ายโอนงานต่อไป นอกจากนี้ยังมีการนำงานบริการของส่วนราชการและองค์การมหาชนมาเปิดให้บริการ กับผู้ที่สนใจ อาทิ บริการจัดทำหนังสือเดินทาง (e-Passport) ของกรมการกงสุล บริการเปลี่ยนใบอนุญาตขับรถยนต์เป็นรูปแบบใหม่ ของกรมการขนส่งทางบก บริการตรวจสุขภาพตา ของ โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) บริการตรวจสอบและรับรองคุณภาพอัญมณีและเครื่องประดับ ของสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีแเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)




          นอกจากนิทรรศการดังกล่าวแล้ว การประชุมสัมมนาทางวิชาการประจำปี 2553 ในครั้งนี้ยังมีการเสวนา เรื่อง มาตรการ ทบทวนบทบาทภารกิจของส่วนราชการ ตามมาตรา 33 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าในการดำเนินการถ่ายโอนภากริจ รวมทั้งแลกเปลี่ยนแนวคิดและมุมมองของภาครัฐและภาคเอกชน ต่อการถ่ายโอนภารกิจของส่วนราชการ ให้ภาคเอกชนและภาคส่วนอื่นรับไปดำเนินการ โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ นายสมพล เกียรติไพบูลย์ กรรมการ ก.พ.ร. และประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองเลขาธิการหอการค้าไทย และ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร.





          นอกจากนี้ยังมี การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การวิเคราะห์ภารกิจการถ่ายโอนของกลุ่มกระทรวงด้านเศรษฐกิจ กลุ่มกระทรวงด้านบริหารและความมั่นคง และกลุ่มกระทรวงด้านสังคม โดย นางปาริชาต ศิวะรักษ์ ที่ปรึกษาอิสระ และ นายสุพจน์ ลาภปรารถนา ที่ ปรึกษาอิสระ ซึ่งเป็นการนำเสนอแนวคิดและตัวอย่างวิธีการวิเคราะห์บทบาทภารกิจของหน่วยงาน ภาครัฐ เพื่อการถ่ายโอนภารกิจไปให้ภาคส่วนอื่นดำเนินการ





          อนึ่ง คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2553 ได้มีมติเห็นชอบให้ถ่ายโอนภารกิจด้านการตรวจสอบและรับรองคุณภาพมาตรฐาน ในระยะแรก (จำนวน 37 งาน ใน 18 ส่วนราชการ) ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอและนายกรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นชอบแล้ว ยกเว้นในส่วนของการถ่ายโอนภารกิจของกระทรวงพลังงาน (กรมธุรกิจพลังงาน) จำนวน 2 งาน ได้แก่ งานตรวจวิเคราะห์น้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่น และงานตรวจสอบคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้ค้าน้ำมัน โดยให้สำนักงาน ก.พ.ร. รับไปพิจารณาทบทวนร่วมกับกระทรวงพลังงาน แล้วนำเสนอ ก.พ.ร. ต่อไป ซึ่งต่อมาสำนักงาน ก.พ.ร. ได้หารือกับกระทรวงพลังงาน และนำเรื่องเสนอ ก.พ.ร. แล้ว โดยมีข้อเสนอให้เลื่อนการถ่ายโอนงานทั้ง 2 งานจากเดิมที่กำหนดให้ถ่ายโอนในระยะแรก ภายในเดือนกันยายน 2554 ไปเป็นการถ่ายโอนในระยะที่ 2 ซึ่งกำหนดให้ถ่ายโอนภายเดือนกันยายน 2555 โดยให้กรมธุรกิจพลังงานเตรียมความพร้อม เพื่อให้การถ่ายโอนงานดำเนินการได้โดยราบรื่นและเกิดประสิทธิภาพในการลดภาระ งานของภาครัฐ ทั้งนี้ จะได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง


          ทั้งนี้ มาตรา 33 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ได้กำหนดไว้ว่า 

          ให้ส่วนราชการจัดให้มีการทบทวนภารกิจของตนว่าภารกิจใดมีความจำ เป็น หรือสมควรที่จะได้ดำเนินการต่อไปหรือไม่ โดยคำนึงถึงแผนการบริหารราชการแผ่นดิน นโยบายของคณะรัฐมนตรี กำลังเงินงบประมาณของประเทศ ความคุ้มค่าของภารกิจ และสถานการณ์อื่นประกอบกัน

          กำหนดเวลาในการจัดให้มีการทบทวนตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่ ก.พ.ร. กำหนด

          ในกรณีที่ส่วนราชการเห็นควรยกเลิก ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงภารกิจ ให้ส่วนราชการดำเนินการปรับปรุงอำนาจหน้าที่ โครงสร้าง และอัตรากำลังของส่วนราชการให้สอดคล้องกัน และเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อดำเนินการต่อไป

          ในกรณีที่ ก.พ.ร. พิจารณาแล้วเห็นว่าภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการใดรับผิดชอบดำเนินการอยู่สมควร เปลี่ยนแปลง ยกเลิก หรือเพิ่มเติม ให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว ให้ส่วนราชการนั้นดำเนินการปรับปรุงภารกิจ อำนาจหน้าที่ โครงสร้างและอัตรากำลังของส่วนราชการนั้นให้สอดคล้องกัน


 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 20 ตุลาคม 2553 11:26:34 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 20 ตุลาคม 2553 11:46:29
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th