Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2553 / ตุลาคม / แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในหน่วยงานของรัฐ :กรณีศึกษาของ BOI

แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในหน่วยงานของรัฐ :กรณีศึกษาของ BOI

แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในหน่วยงานของรัฐ :
กรณีศึกษาของ BOI


          
สำนักงาน ก.พ.ร. โดย สำนักบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม ร่วมกับ ที่ปรึกษาโครงการ(มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) จัดการประชุมสัมมนา ในหัวข้อเรื่อง แนวคิดการพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับหน่วยงานของรัฐ เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2553 เวลา 13.00 - 15.30 น. ณ ห้องประชุม 701 อาคารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยได้รับเกียรติจาก นายกุลเวช เจนวัฒนวิทย์ ที่ ปรึกษาด้าน Sustainability Solutions ของบริษัทไพร้ซ วอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอฟเอเอส จำกัด เป็นวิทยากรผู้บรรยายในหัวข้อดังกล่าว สรุปการบรรยายได้ ดังนี้


alt           แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

          การพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development คือ กระแสที่โลกในปัจจุบันให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และกลไกการตลาด ก่อให้เกิดการเติบโต การผลิต การบริโภคที่เป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม แนวทางพัฒนาแบบเก่าซึ่งไม่คำนึงถึงข้อจำกัดในการพัฒนา ซึ่งจะส่งผลกระทบในทางลบต่ออนาคต ดังนั้น แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) จึงเป็นแนวคิดในการแก้ปัญหานี้

          แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนเริ่มต้นมาจากการมุ่งหวังให้คนมีความรับ ผิดชอบต่อสังคม (Individual Social Responsibility) จนกระทั่งการเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) แต่การดำเนินการไม่ใช่เพียงแค่โครงการหรือกิจกรรมเล็ก ๆ เท่านั้น เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการดำเนินการเรื่องดังกล่าว จึงเป็นที่มาของแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน 


alt           มุมมองของการพัฒนาที่ยั่งยืน

          การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ให้ความสำคัญในการรักษาสมดุลทั้งสิ่งแวด ล้อม (Environment) สังคม (Social) และเศรษฐกิจ (Economic) ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ดังนั้น การพัฒนาที่ยั่งยืนจึงให้ความสำคัญในมุมมอง 4 มิติ ได้แก่

          1) ชุมชน หรือ Community คือ การสนับสนุน ส่งเสริม สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับภาค ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ โดยการดำเนินกิจกรรมเหล่านี้จะเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับองค์กร 

          2) สิ่งแวดล้อม หรือ Environment คือ การให้ความสำคัญต่อการใช้ทรัพยากร ไม่ให้เกิดการปล่อยของเสียที่ส่งผลกระทบต่อความกังวลของชุมชนและผู้รับ บริการ รวมถึง การสร้างมูลค่าให้เกิดขึ้นต่อความสำเร็จในอนาคต โดยมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด

          3) ตลาด หรือ Marketplace คือ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ส่งมอบบริการหรือวัตถุดิบ ซึ่งจะทำให้รับประกันได้ถึงความน่าเชื่อถือ ความมั่นคง และคุณภาพในการจัดหาวัตถุดิบหรือปัจจัยนำเข้าในการบริการ ดังนั้น การสร้างความยั่งยืนทางการตลาดของผลิตภัณฑ์และบริการขององค์กร จึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจถึงความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการทั้ง ในปัจจุบันและอนาคต

          4) สถานที่ทำงาน หรือ Workplace คือ การสร้างความสุข ความปลอดภัย และแรงจูงใจให้กับบุคลากรในองค์กร เพื่อให้สามารถสร้างประสิทธิภาพและผลิตภาพในการทำงานให้กับองค์กร ดังนั้น การพัฒนาที่ยั่งยืนในมุมมองด้าน Workplace คือ การต้องสรรหาคนเก่ง คนดีให้เข้ามาในองค์กร รวมถึง การรักษา และสร้างแรงกระตุ้นให้บุคลากรเหล่านั้นอยู่กับองค์กรตลอดไป


           ร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 

          สำนักงาน ก.พ.ร. ได้คัดเลือกสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (The Board of Investment: BOI) เป็นหน่วยงานนำร่องในการจัดทำร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งร่างยุทธศาสตร์ ฯ ที่ได้จัดทำขึ้นจะส่งผลสำคัญต่อการสร้างความยั่งยืนของการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมของประเทศ เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่จะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนที่จะเข้า มาลงทุนในประเทศไทย

alt          1. การจัดลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก เป็น เรื่องที่ต้องให้ความสำคัญในลำดับแรก เพื่อทำให้ทราบว่า กลุ่มเป้าหมายใดมีความสำคัญต่อความยั่งยืนขององค์กรมากเพียงใด ซึ่ง BOI ได้พิจารณาเรียงตามลำดับความสำคัญ ประกอบด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 5 กลุ่มหลัก ได้แก่

               1) นักลงทุน ที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย และรวมถึงนักลงทุนไทยที่ต้องการได้รับการส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ 
               2) บุคลากรภายในองค์กร 
               3) ส่วนราชการหรือหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ที่ BOI ทำงานเกี่ยวข้องด้วย เพื่อผลักดันการส่งเสริมการลงทุน 
               4) ภาคเอกชน สมาคม และองค์กรไม่แสวงหากำไรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรม เป็นต้น 
               5) ประชาชนและชุมชนต่าง ๆ 

          2. ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาที่ยั่งยืน (Key BOI sustainability drivers) เป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้องค์กรกำหนดกลยุทธ์ไปสู่ความยั่งยืน ซึ่งปัจจัยความสำเร็จของ BOI ประกอบด้วย

               1) การลงทุนที่ยั่งยืน (Sustainable Investment) โดยมีความหมาย 2 นัย คือ การลงทุนที่หยั่งรากลึกของนักลงทุน และการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่น ๆ นอกเหนือจากนักลงทุน
               2) การปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงของตลาด (Marketplace Agility) คือ การทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของตลาด และสามารถปรับตัวได้
               3) การบริการที่เป็นเลิศ (Service Excellence Mindset) คือ การปรับเปลี่ยนทัศนคติบุคลากรให้เปลี่ยนจากผู้กำกับดูแลกฎระเบียบ เป็นที่ปรึกษาที่ให้คำแนะนำที่ทำงานอย่างมีคุณภาพ รวดเร็ว และทันเวลา
               4) การสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนในการส่งเสริมการลงทุน (Community Engagement) 

           3. ร่างกลยุทธ์การพัฒนาที่ยั่งยืนเบื้องต้นของ BOI ประกอบด้วย

               1) การลงทุนอย่างยั่งยืน 
                    1.1) การดึงดูดกลุ่มนักลงทุน เพื่อให้สอดคล้องหรือตอบสนองต่อประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับประเทศ โดยต้องพิจารณาว่านักลงทุนกลุ่มใดที่มีความสำคัญในการตอบสนองต่อประเด็น เหล่านั้นได้เป็นผลสำเร็จ 
                    1.2) การทำความเข้าใจระบบนิเวศของการลงทุน ความต้องการของนักลงทุน เพื่อไม่ให้นักลงทุนย้ายฐานการลงทุนจากประเทศ
                    1.3) การสนับสนุนทำความเข้าใจกับนักลงทุน เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีในการลงทุนเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
 
alt
 
 
               2) การตอบสนองความต้องการของตลาดอย่างรวดเร็ว 
                    2.1) การออกนโยบายส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของตลาดได้เป็นอย่างดี 
                    2.2) การปรับตัวขององค์กรเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของผู้รับบริการ และตลาดได้เป็นอย่างดี
                    2.3) การพัฒนานวัตกรรมบริการ เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของนักลงทุน 
                    2.4) การสื่อสารและประสานงานภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึง การแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลสารสนเทศภายในองค์กรและหน่วยงานสาขาในภูมิภาค และต่างประเทศ เพื่อให้นำไปใช้ตัดสินใจในการทำงานได้อย่างทันท่วงที
                    2.5) การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อให้เกิดการสื่อสารโต้ตอบกันได้มาก เช่น การสร้างเครือข่ายทางสังคม (social network) โดยผ่านทาง Facebook หรือ Twitter เป็นต้น

               3) การมีทัศนคติพร้อมให้บริการที่เป็นเลิศ
                    3.1) การทำความเข้าใจถึงคำว่า การบริการที่เป็นเลิศ และนำมาพัฒนาบุคลากรเพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการบริการที่เป็นเลิศ รวมถึง การพัฒนาบุคลากรเพื่อให้มีทักษะและขีดความสามารถในเรื่องเหล่านั้น โดยผ่านการอบรม การประเมินผล การยกย่องชมเชย หรือการพัฒนาจากข้อมูลป้อนกลับของผู้รับบริการ เป็นต้น

               4) การสร้างความผูกพันกับชุมชนในการส่งเสริมการลงทุน
                    4.1) การสร้างความผูกพันกับชุมชนที่เกี่ยวข้องกับเขตส่งเสริมการลงทุน โดยการทำความเข้าใจกับชุมชนเพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการลงทุน เห็นถึงผลประโยชน์ในอนาคต 


          การพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืนของ BOI ในครั้งนี้ เป็นเพียงการดำเนินการเบื้องต้นเท่านั้น สิ่งที่ BOI ควรดำเนินการต่อไป คือ การทบทวนของฝ่ายบริหาร เพื่อให้มีความชัดเจนเกี่ยวกับปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาที่ยั่งยืน (key sustainability driver) และเพื่อยืนยันความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ต้องการมุ่งเน้น รวมทั้งการลำดับความสำคัญผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแต่ละกลุ่มอีกครั้ง เพื่อพิจารณาว่านักลงทุนกลุ่มใดที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดการลงทุน ที่ยั่งยืน ตลอดจนการพัฒนากลยุทธ์ของ BOI โดยพิจารณาถึงบทบาทของ BOI ในอนาคต และจัดทำแผนดำเนินการในระยะยาว (roadmap)
  

อภิจิตตรา (สำนักนวัตกรรมฯ) / เรื่อง
วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 11 ตุลาคม 2553 13:30:10 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 12 ตุลาคม 2553 15:27:52
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th