สำนักงาน ก.พ.ร. ลงพื้นที่ศึกษา
แนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices)
: กรณีศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี
จากแนวทางส่งเสริมการดำเนินการตาม เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ที่มุ่งเน้นให้ส่วนราชการพัฒนาองค์การ และสร้างแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ให้เกิดขึ้น จังหวัดสุพรรณบุรี เป็น
อีกหนึ่งจังหวัดที่สามารถดำเนินการพัฒนาองค์การตามเกณฑ์คุณภาพการบริหาร
จัดการภาครัฐได้เป็นอย่างดี สำนักงาน ก.พ.ร.
โดยสำนักบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม
ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (IGP) ได้ลงพื้นที่
เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2553
เพื่อศึกษาข้อมูลกระบวนการที่จังหวัดคิดว่าเป็นจุดเด่นที่สุดขององค์การ
ซึ่งได้แก่ กระบวนการการถ่ายทอดและการสื่อสาร พบว่า มีแนวทางที่น่าสนใจ
และสามารถเป็นตัวอย่างการปฏิบัติสำหรับส่วนราชการอื่น ๆ
ได้นำไปปรับประยุกต์ใช้พัฒนาองค์การต่อไป
โดยสรุปผลการศึกษาตามประเด็นคำถามหลัก 7 ข้อ ดังนี้
1. หัวข้อ/เรื่องใดที่ผู้บริหารมีการถ่ายทอดสื่อสารเป็นประจำ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ
|
ภายใต้สโลแกน รักสุพรรณ สร้างสุพรรณ ผู้
บริหารในทุกระดับโดยเฉพาะผู้ว่าราชการจังหวัด
และรองผู้ว่าราชการจังหวัดได้ให้ความสำคัญต่อการถ่ายทอดสื่อสารให้บุคลากรใน
องค์การรวมทั้งประชาชนชาวจังหวัดสุพรรณบุรีตระหนักถึงความรักในจังหวัด
สุพรรณบุรี
และพยายามสร้างบทบาทให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางและพัฒนา
จังหวัดสุพรรณบุรี หัวข้อที่ผู้บริหารมีการถ่ายทอดสื่อสาร
และมีการติดตามผลการดำเนินการเป็นประจำ
เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์และค่านิยมของจังหวัด
ปัญหาสำคัญ ๆ ที่ต้องเร่งแก้ไข เช่น ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวและกีฬา
ปัญหาความยากจน ปัญหายาเสพติด การศึกษา และสวัสดิการสังคม
รวมทั้งการติดตามโครงการต่าง ๆ เป็นต้น
วิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์ ค่านิยมของจังหวัด การส่งเสริมการกีฬา สินค้าเกษตร/การช่วยเหลือเกษตรกร/ตลาดสินค้า การจัดรูปที่ดิน การส่งเสริมการท่องเที่ยว ความยากจน/การว่างงาน การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด การพัฒนาการจัดการศึกษา/ปัญหาการศึกษาต่อ โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การจัดการข้อร้องเรียนทางศูนย์ดำรงธรรม การติดตามผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศของจังหวัด โครงการเยาวชนคนดีศรีสุพรรณ การปฏิบัติตนของเยาวชน
|
2. ช่องทางการสื่อสารมีกี่ช่องทาง อะไรบ้าง
|
จังหวัดสุพรรณบุรี กำหนดช่องทางการสื่อสารทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการไว้ 6 กลุ่มช่องทางหลัก ดังนี้
การประชุม เช่น
การประชุมยามเช้าของหัวหน้าส่วนราชการ การประชุมประจำเดือน
การประชุมคณะกรรมการท่องเที่ยว การประชุมคณะกรรมการกีฬา
การประชุมของส่วนราชการต่าง ๆ เป็นต้น
ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยทุกภาคส่วน เช่น ภาคราชการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน
เว็บไซต์ของจังหวัดสุพรรณบุรี ป้าย บอร์ดประสัมพันธ์ สติ๊กเกอร์ ใน
จุดต่าง ๆ เช่น ทางเดิน จุดบริการ ลิฟท์
และการประชาสัมพันธ์ทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดสุพรรณบุรี
(รายการผู้ว่าพบประชาชน ทุกวันเสาร์) หนังสือราชการ เอกสารเผยแพร่ CD สมุดโน้ต การออกหน่วยเคลื่อนที่ และการพบปะประชาชนในกรณีต่าง ๆ การออกแบบสอบถาม ที่เป็นทั้งการให้รับทราบถึงกิจกรรมต่าง ๆ ของจังหวัด และเป็นการประเมินการรับรู้
|
โดยช่องทางทั้งหมด จังหวัดได้คำนึงถึง
ความครอบคลุมทุกกลุ่มผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีการจัดกิจกรรม โครงการต่าง ๆ เพื่อเป็นการติดต่อสื่อสาร
สร้างความสัมพันธ์กับภายในและภายนอกองค์การ
ยกตัวอย่างกิจกรรมที่ได้จัดไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
จังหวัดได้จัดสัมมนาเรื่อง เรียนรู้อดีต ประเมินปัจจุบัน คาดการณ์อนาคต
โดยเชิญประชาชนจากทุกภาคส่วน ส่วนราชการทั้งหมด
สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดประชุม เพื่อการบูรณาการภาคส่วนต่าง ๆ
ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ ภาคประชาชน เข้ามาแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น
เรียนรู้และเข้าใจสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ของจังหวัดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
และสามารถคาดการณ์ในอนาคตได้
สามารถกำหนดแผนและทิศทางการดำเนินงานได้สอดคล้องกับสภาพการณ์และปัญหาของ
พื้นที่ในการวางแผนงานให้เป็นแบบบูรณาการ
ให้ทันต่อสภาพการณ์ของการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด
3. มีการประเมินประสิทธิผลของช่องทางการสื่อสารหรือไม่ อย่างไร (ความถี่ในการติดตาม)
|
จังหวัดสุพรรณบุรีมีระบบการประเมินประสิทธิภาพของช่องทางการสื่อ
สาร เพื่อนำผลมาประกอบ การทบทวน ปรับปรุงช่องทาง และการบริการให้ดียิ่งขึ้น
โดยมีการติดตาม ประเมินผล ในแต่ละช่องทางอย่างสม่ำเสมอ ดังนี้
การใช้แบบสอบถาม (2 ครั้งต่อปี) ติดตามจากการประชุม (ประจำเดือน/ประจำสัปดาห์) หนังสือราชการ (ตามกรณี) ระบบรายงาน (รายไตรมาส)
|
ผลการสำรวจความเห็นของบุคลากร โดยส่วนใหญ่มีความเห็นว่า
ช่องทางที่มีประสิทธิภาพ และได้รับข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ คือ การประชุม
เพราะเป็นช่องทางที่ทุกคนมีส่วนร่วม แสดงความคิดเห็น มีการสื่อสาร 2 ทิศทาง
(Two - Way Communication) สำหรับช่องทางอื่น ๆ
จังหวัดได้ให้ความสำคัญกับความครอบคลุมของช่องทาง เพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากร
ผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประชาชน
ได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นอย่างครบถ้วน
ซึ่งสิ่งที่จังหวัดเห็นว่าสะท้อนถึงประสิทธิภาพของช่องทางฯ ได้เป็นอย่างดี
คือ บุคลากรภายในและภายนอกองค์การมีส่วนร่วมมากขึ้น
4. ผู้บริหารใช้ช่องทางใดเป็นประจำมากที่สุด
|
ผลการสัมภาษณ์และศึกษาข้อมูลจังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า ผู้บริหารใช้การสื่อสารและ การถ่ายทอดในทุก ๆ ช่องทาง เพื่อให้เข้าถึงในทุกๆ กลุ่ม ดังจะเห็นได้จากการจัดประชุม การรณรงค์ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ
การพบปะประชาชน การออกหน่วยเคลื่อนที่ ผู้บริหารจะเข้าร่วมทุกครั้ง
ซึ่งถือเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factor)
ของจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ผู้บริหารให้ความสำคัญ
เป็นแรงสนับสนุนผลักดันการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของจังหวัดได้เป็นอย่างดี
การประชุม เว็บไซต์จังหวัด เอกสารเผยแพร่ การออกหน่วยเคลื่อนที่ ประชาสัมพันธ์ทางวิทยุ
|
หนังสือเวียนราชการ ป้าย บอร์ด สติ๊กเกอร์ การออกแบบสอบถาม การพบปะประชาชน |
5. ประชาชน ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีข้อมูลป้อนกลับต่อเรื่องที่ได้รับการถ่ายทอดจากผู้บริหารอย่างไร
|
จากการกำหนดช่องทางการติดต่อสื่อสารที่เพียงพอกับความต้องการและครอบคลุมทุกกลุ่ม ทั้งบุคลากรภายในและภายนอก อีกทั้งประสิทธิภาพของช่องทางฯ ทำให้จังหวัดได้รับข้อมูลป้อนกลับ
ที่เป็นประโยชน์ นำมาใช้ประกอบการทบทวน เพื่อการปรับปรุงการบริการ
โดยจากสถิติ ช่องทางฯ ที่มีผู้ใช้มากที่สุด ได้แก่ เว็บไซต์จังหวัด
แบบสอบถาม และทางโทรศัพท์ ส่วนช่องทางอื่น ๆ เช่น
ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน/ศูนย์ดำรงธรรม
วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดสุพรรณบุรี
ตู้รับข้อคิดเห็นตามจุดต่างๆ เป็นต้น
ข้อเสนอแนะผ่านเว็บไซต์จังหวัด การตอบแบบสอบถาม/ให้ข้อเสนอแนะ โทรศัพท์ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน/ศูนย์ดำรงธรรม การประชาสัมพันธ์ทางวิทยุ ตู้รับข้อคิดเห็นของส่วนราชการอำเภอ/ตำบล
|
6. กระบวนการการถ่ายทอดและการสื่อสาร ส่งผลให้การดำเนินการ บรรลุตามวิสัยทัศน์ขององค์การในด้านใดบ้าง
|
กระบวนการการถ่ายทอดและการสื่อสารที่เป็นระบบ ของ
จังหวัดสุพรรณบุรี และการติดตามการดำเนินการของผู้บริหารอย่างสม่ำเสมอ
ทำให้จังหวัดสามารถดำเนินการบรรลุตามยุทธศาสตร์จังหวัด ครอบคลุมทั้ง 6
ประเด็นยุทธศาสตร์ ดังนี้
1) ด้านการพัฒนาคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม
จากแนวคิดที่ต้องการให้เกษตรกรในพื้นที่เกิดการเรียนรู้ และนำไปปฏิบัติ
โดยผ่านกระบวนการ การถ่ายทอดและการสื่อสาร สำนักงานเกษตรฯ จังหวัด
ได้ลงพื้นที่เพื่อให้ความรู้ และแบบอย่างแก่เกษตรกร
ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยมีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จที่ท้าทาย 2) ด้านการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว
ถือเป็นยุทธศาสตร์หลักของจังหวัดสุพรรณบุรี
และกลยุทธ์หลักที่ทำให้ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนไปได้ คือ การถ่ายทอดและสื่อสาร
ผ่านการประชาสัมพันธ์ กระตุ้นการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน
อาศัยความเป็นเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรม
โดยการนำของผู้บริหารที่เข้าใจบริบทของจังหวัดเป็นอย่างดี 3) ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูล ข่าวสารที่จำเป็น
และการให้โอกาสในการมีส่วนร่วม ผู้บริหารมีการถ่ายทอด สื่อสารวิสัยทัศน์
กลยุทธ์ต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น
ประชาชนอยู่อย่างมีความสุข ปัญหาด้านต่างๆ เช่น ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง
อัตราการว่างงาน มีอัตราที่ลดลง 4) ด้านการขยายฐานโอกาสและคุณภาพในการศึกษาทุกระดับให้ตรงกับความต้องการประชาชน ผู้บริหารมีการติดตามข้อมูล สถิติ
ที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษาของจังหวัดอย่างต่อเนื่อง เช่น
จำนวนเด็กที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการศึกษาต่อ
จำนวนเด็กที่ย้ายไปเรียนในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง เป็นต้น
โดยข้อมูลทั้งหมด นำมาใช้ประกอบการตัดสินใจ
เพื่อมุ่งสู่การขยายฐานโอกาสและคุณภาพในการศึกษาทุกระดับ
และการเตรียมสถานศึกษาเพื่อรองรับกับความต้องการ 5) ด้านการส่งเสริมให้กีฬาอยู่ในหัวใจชาวสุพรรณบุรี และมีความสามารถด้านกีฬาสู่ความเป็นเลิศ จังหวัดมีการส่งเสริมด้านกีฬา
ควบคู่ไปกับด้านการท่องเที่ยว สนับสนุนนักกีฬาในทุกประเภท
เพื่อเป็นตัวแทนนักกีฬาระดับจังหวัด โดยมีการส่งเสริมตั้งแต่ระดับตำบล
อำเภอ ให้มีศักยภาพเทียบกับคู่แข่ง 6) การนำการเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารและการบริการเพื่อประโยชน์ของประชาชน
จังหวัดรวบรวมข้อมูลที่ได้จากช่องทางการสื่อสารต่างๆ
มาจัดทำเป็นฐานข้อมูลที่จำเป็น เพื่อให้สามารถเรียกดูข้อมูล รายงาน สถิติ
ผลการดำเนินการ ติดตามความก้าวหน้า
และนำมาประกอบการตัดสินใจสำหรับผู้บริหาร โดยระบบที่จำเป็น เช่น
ฐานข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ (GIS) ระบบเตือนภัยพิบัติ น้ำท่วม
นอกจากนี้ผู้บริหารยังใช้ข้อมูลดังกล่าว ในการถ่ายทอด
สื่อสารไปยังบุคลากรและประชาชนที่เกี่ยวข้อง ให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง
ทันสมัย
|
7. กระบวนการการถ่ายทอดและการสื่อสารเป็นไปอย่างทั่วถึงทั้งองค์การหรือไม่
|
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ คือ ต้องมีการสื่อสารอย่างเป็นระบบ และทั่วทั้งองค์การ บุคลากร
ในทุกระดับต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็น
และเรื่องที่ผู้บริหารมีการถ่ายทอดและสื่อสารไปยังบุคลากร
สำหรับจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ทำการสำรวจระดับการรับรู้ของบุคลากร
เพื่อสะท้อนความทั่วถึงทั้งองค์การ
โดยมีการสำรวจทุกครั้งที่มีการเพิ่มช่องทางการสื่อสารฯ
ข้อมูลที่ได้ยังสามารถแสดงถึงความมีประสิทธิภาพของช่องทางฯ อีกด้วย
กระบวนการการถ่ายทอดและสื่อสารเป็นไปอย่างทั่วถึงทั้งองค์การ จากผลการสำรวจ ระดับการรับรู้ ก่อน - หลัง การเพิ่มช่องทางการสื่อสาร ดังนี้
ครั้งที่ 1 = 3.88 ระดับมาก (n = 1,234 คน) ครั้งที่ 2 = 4.35 ระดับมากที่สุด (n = 1,170 คน)
|
บทสรุปกรณีศึกษา (Lessons Learned)
|
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ :
การสนับสนุนจากผู้นำ และงบประมาณ ช่วยให้การสื่อสารสามารถถ่ายทอดไปยังบุคลากรทั่วทุกระดับ
การมีส่วนร่วมของประชาชน และตัวแทนชุมชนที่มีความเข้มแข็ง
โดยเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นของการถ่ายทอดและสื่อสาร
การกำหนดกรอบ ทิศทาง และแนวทางการดำเนินการต่างๆ (ปัจจัยนำเข้า)
การมีระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่ครอบคลุม ถูกต้อง และทันสมัย มีการวิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็นมาประกอบการตัดสินใจ
Best Practices ที่โดดเด่น :
ผู้บริหารเข้าใจวัฒนธรรม และบริบทแวดล้อมของจังหวัดเป็นอย่างดี
ทำให้เข้าถึงประชาชนได้ง่าย และผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ดังจะเห็นได้จากการจัดดำเนินการด้านต่าง ๆ การจัดกิจกรรม การประชุม
ระดมความคิดเห็น ประชาชนทุกกลุ่มจะมีส่วนร่วม และให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
ผู้บริหารเป็นต้นแบบที่สำคัญ (Role Model) ทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่น
การวิเคราะห์จุดแข็งของจังหวัด
เพื่อนำมาปรับกลยุทธ์ให้เชื่อมโยงสอดคล้องกัน โดยจังหวัดสุพรรณบุรี
มีเอกลักษณ์ในเรื่องวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว จึงมี การประชาสัมพันธ์
และดำเนินการเน้นไปที่เรื่องของการท่องเที่ยว และเพิ่มการกีฬา
เพื่อให้แตกต่าง ดังจะเห็นได้จาก กิจกรรมที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวและกีฬา
ในแต่ละปี มีการจัดมากกว่า 10 กิจกรรม เช่น งานแห่เทียนพรรษา
(มีนักท่องเที่ยวให้ ความสนใจจำนวนมาก) งานตรุษจีน งานเปิดโลกเมืองสุพรรณฯ
งานท่องเที่ยว 5 ภาค งานตลาดสามชุก
โดยดัชนีความสำเร็จของการจัดกิจกรรมในแต่ละครั้ง คือ
ร้อยละของรายได้เฉลี่ยรวมทั้งจังหวัดที่เพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งนี้กลยุทธ์หลัก
ของจังหวัด คือ การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ
แผ่นป้ายโฆษณา ผู้บริหารร่วมแสดงละครในงานต่าง ๆ
และความร่วมมือจากประชาชนในจังหวัด
เรียนรู้ เข้าใจ จุดแข็งของจังหวัด
เพื่อสร้างให้เกิดจุดเด่นที่แตกต่าง เพื่อเป็น Only One
มากกว่าการเป็นผู้นำในทุก ๆ ด้าน และคำนึงถึงความสุขโดยรวมของประชาชน
การสื่อสารที่ได้ผล คือ การเน้น (Focus) เฉพาะเรื่อง
ในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ และกำหนดตัวชี้วัด
เพื่อให้มีการติดตามประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ
รูปแบบการสื่อสารแบบ 2 ทิศทาง (Two - Way Communication)
ทำให้ได้รับข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) โดยจังหวัดเรียนรู้ความต้องการ
ความคาดหวัง จากช่องทางต่างๆ มาประกอบการตัดสินใจ
การถ่ายทอดและสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ
สร้างให้เกิดกระบวนการรับรู้ เข้าใจ เกิดการเรียนรู้
ทำให้ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
จัดกิจกรรมเพื่อสร้างการเรียนรู้ เช่น
กิจกรรมวันแห่งการเรียนรู้ (Learning Day) มีการประกวด Best Practices
ในด้านต่าง ๆ งานกีฬา งานเลี้ยงสังสรรค์ เป็นต้น
ระบบการให้รางวัล เพื่อสร้างแรงจูงใจ และกำลังใจ กับบุคลากรและประชาชน ที่เกี่ยวข้อง
จากแนวทางปฏิบัติของจังหวัดสุพรรณบุรี จะ
เห็นได้ว่า กระบวนการการถ่ายทอดและ การสื่อสาร
ถือเป็นเครื่องมือการบริหารที่มีความสำคัญต่อการบรรลุตามยุทธศาสตร์ของ
องค์การ สามารถนำไปใช้ได้ในทุกส่วนราชการ ซึ่งรูปแบบ
และแนวทางอาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริบทแวดล้อม
ทั้งนี้กรณีของจังหวัดสุพรรณบุรี
มีการออกแบบระบบการถ่ายทอดและการสื่อสารที่ชัดเจน ครอบคลุม มีประสิทธิภาพ
และประสิทธิผล โดยสามารถสรุปประเด็นตาม ADLI ได้ดังภาพประกอบ
กรณีศึกษาของจังหวัดสุพรรณบุรี ทำให้เราได้รับข้อคิด
และแนวปฏิบัติที่ดีหลายประการ ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร.
จะทำการศึกษาองค์การที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices)
ในหมวดอื่น ๆ เพื่อให้ส่วนราชการใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาองค์การ
และนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมต่อไป
อรญาณี & จีริสุดา (สำนักนวัตกรรมฯ) / เรื่อง
วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 6 ตุลาคม 2553 10:58:45 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 12 ตุลาคม 2553 15:28:19