Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2553 / กันยายน / สำนักงาน ก.พ.ร. จัดชุมชนนักปฏิบัติของหน่วยงานระดับจัวัด เรื่อง การนำโยบายการกำกับดูแลองค์การี่ดีไปสู่การปฏิบัติ

สำนักงาน ก.พ.ร. จัดชุมชนนักปฏิบัติของหน่วยงานระดับจัวัด เรื่อง การนำโยบายการกำกับดูแลองค์การี่ดีไปสู่การปฏิบัติ

สำนักงาน ก.พ.ร. จัดชุมชนนักปฏิบัติของหน่วยงานระดับจังหวัด
เรื่อง การนำโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีไปสู่การปฏิบัติ 
 




          เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2553 สำนักงาน ก.พ.ร. โดยสำนักบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม ได้จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการแบ่งปันความรู้ระหว่างหน่วยงานระดับ จังหวัด ณ ห้องประชุมชั้น 6 อาคาร 7 ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยหัวข้อในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน (Knowledge Domain) คือ การนำนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีไป สู่การปฏิบัติ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านรัฐ สังคม และสิ่งแวดล้อม ด้านผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านผู้ปฏิบัติงาน และ ด้านองค์การ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการการพัฒนาคุณภาพการบริหาร จัดการภาครัฐ เพื่อเป็นการสร้างชุมชน นักปฏิบัติ (CoP) โดยเชิญผู้แทนจังหวัดที่ดำเนินการได้ผลเป็นอย่างดี รวม 22 รายได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี และอ่างทอง ประชุมร่วมกัน


          จากการจัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ส่วนราชการระดับจังหวัด ผู้แทนแจ้งว่าจังหวัดดำเนินการตามวิธีการจัดทำนโยบายการกำกับดูแลตนเองที่ดี ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้เผยแพร่ คือ การนำเอาวิสัยทัศน์ พันธกิจ และ ค่านิยมหลักขององค์การมาจัดทำนโยบายทั้ง 4 ด้าน



          การนำนโยบายการ กำกับดูแลองค์การที่ดีไปสู่การปฏิบัติ

          เนื่องจากโดยส่วนใหญ่แล้ว แต่ละจังหวัดมีนโยบายกำกับดูแลองค์การที่ดี ที่เหมาะสมต่อความต้องการของพื้นที่และตอบสนองความต้องการของประชาชน ดังนั้นในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ จึงเป็นกลไกที่สำคัญในการผลักดันให้วิสัยทัศน์ และพันธกิจของจังหวัดบรรลุเป้าหมายโดยผลจากการประชุมแลกเปลี่ยนสรุปได้ ดังนี้


    จังหวัดพระนครศรีอยุธยา:


          วิสัยทัศน์ เป็นนครแห่งการท่องเที่ยว มรดกโลกทางวัฒนธรรม แหล่งอาหารที่มีคุณภาพ เป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน และอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสะอาด เมืองน่าอยู่ ประชาชนอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน"

          ด้านรัฐ สังคม และสิ่งแวดล้อม: สมานฉันท์ มีการ บูรณาการทุกภาคส่วน เน้นมวลชนมี ส่วนร่วม แม้มีความหลากหลายทางศาสนาและวัฒนธรรม ได้แก่ศาสนาอิสลาม คริสต์ และพุทธ แต่ไม่มีปัญหาในการอยู่ร่วมกัน

          ด้านผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: การมุ่งเน้นปลูกจิตสำนึก และคุณภาพการให้บริการ และการสร้างเครือข่ายเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน รวมทั้งการลดขั้นตอน

          ด้านผู้ปฏิบัติงาน: โครงการให้ความรู้แก่บุคลากร (3 ระยะ) จัดทำแผนจัดการความรู้ในการทำงาน

          ด้านองค์การ: การให้ความสำคัญกับการควบคุมภายใน การพัฒนาการบริหารองค์การ




    จังหวัดอ่างทอง:


          วิสัยทัศน์ เมือง น่าอยู่ แหล่งผลิตอาหารปลอดภัย ศูนย์ขนถ่ายสินค้าทางน้ำ

          การพัฒนาบูรณาการให้สอดคล้องกันทั้ง 4 ด้าน และมีการระดมสมอง ใช้บัตรคำ จัดเวทีทบทวน วิเคราะห์การนำนโยบายไปปฏิบัติให้เกิดผลใน RM 1 มีการนำมุมมองไปขยายผลเพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วน 

          ด้านรัฐ สังคม และสิ่งแวดล้อม: รักษาผลประโยชน์ของรัฐ รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และชีวิต ประกาศนโยบายการประหยัดพลังงาน งบประมาณ แก้ปัญหาโลกร้อน กำหนด ให้มีการจัดทำมาตรฐานผลผลิตทางการเกษตร 

          ด้านผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: ค่านิยมหลักข้าราชการยุคใหม่ใฝ่ใจ ประชาชน ให้ปฏิบัติตนตามแนวพระราชดำริ คือ ข้าราชการคือคนที่ทำให้ประชาชนชื่นใจ

          ด้านผู้ปฏิบัติงาน: พัฒนาให้เป็นผู้รอบรู้ Knowledge Workers ทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีคุณธรรม จริยธรรม การเผยความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยง มุ่งส่งเสริมคุณภาพชีวิตของบุคลากร

          ด้านองค์การ: การพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดี ความปลอดภัยในที่ทำงาน


    จังหวัดลพบุรี:


          วิสัยทัศน์ พัฒนา แหล่งขุมทรัพย์สมเด็จพระนารายณ์ ผลิตอาหารปลอดภัยจากสารพิษ ศูนย์การศึกษา ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ประวัติศาสตร์และเมืองน่าอยู่

          ด้านรัฐ สังคมและสิ่งแวดล้อม: โครงการคลองสวย น้ำใส กำจัดวัชพืช ใช้นโยบายการมีส่วนร่วม สร้างความยั่งยืน ประสานความร่วมมือชุมชน กำหนดแนวทาง ข้อบังคับ ตัวชี้วัดโดยกระตุ้นให้แต่ละท้องถิ่น โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัด และตำบลมีภาระรับผิดชอบ มีการควบคุมคุณภาพน้ำก่อนและหลังการบริหารจัดการน้ำอย่าง สม่ำเสมอ 

          ด้านผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: โครงการรักษาคุณภาพและมาตรฐานการให้บริการประชาชน 

          ด้านผู้ปฏิบัติงาน: โครงการพัฒนาสมรรถนะหลักของข้าราชการ 

          ด้านองค์การ: โครงการพัฒนาศักยภาพการบริหารราชการจังหวัด การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ




    จังหวัดสระบุรี:


          วิสัยทัศน์ เป็น ฐานการผลิตอาหาร วัสดุก่อสร้าง และการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพชั้นนำของประเทศตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อสังคมอยู่ดีมีสุข

          ด้านรัฐ สังคมและสิ่งแวดล้อม: มีการจัดทำโครงการ Recycle ขยะ เพื่อให้โรงเรียนเห็นคุณค่าของการนำขยะมาใช้ใหม่ แผนการกำจัดฝุ่นละออง 

          ด้านผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: ใช้พลังชุมชนขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

          ด้านผู้ปฏิบัติงาน: กำหนดแผนกลยุทธ์ด้านการพัฒนาบุคลากร (พัฒนาขีดสมรรถนะบุคลากร)

          ด้านองค์การ: แผนการปราบปรามการทุจริต การบังคับใช้กฎหมาย มุ่งผลสัมฤทธิ์ เน้นระบบคุณธรรม


    จังหวัดสิงห์บุรี:


          วิสัยทัศน์  เมือง ร่มเย็น แหล่งผลิตสินค้าเกษตรคุณภาพ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์

          ด้านรัฐ สังคมและสิ่งแวดล้อม: กำกับควบคุมแหล่งน้ำสาธารณะ การเพาะและปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ 15 ล้านตัวในปี 2553 (ปลาและกุ้งก้ามกราม) ลงในแหล่งน้ำต่าง ๆ โครงการปลูกต้นไม้ 250,000 ต้น รอบแหล่งน้ำ 

          ด้านผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: โครงการพัฒนาพื้นที่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภูมิปัญญาขยายผล กำหนดให้ทุกส่วนราชการของจังหวัดเป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชน ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสาร 

     &sp;    ด้านผู้ปฏิบัติงาน: มุ่งเน้นการปฏิบัติงานซื่อสัตย์ โปร่งใส ป้องกันการทุจริต อบรมให้ความรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม จัดระบบการจัดซื้อจัดจ้างโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ 

          ด้านองค์การ: ดำเนินการตามตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการ ทั้ง 4 มิติ 


    จังหวัดชัยนาท:


          วิสัยทัศน์ เมือง เกษตรมาตรฐาน สืบสานคุณภาพชีวิต

          ด้านรัฐ สังคมและสิ่งแวดล้อม: ให้การดูแลรักษาแหล่งน้ำให้มีคุณภาพ 

          ด้านผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: การสร้างจิตสำนึก สนับสนุนในการใช้เทคโนโลยี การจัดระบบการให้บริการเชิงรุกโดยผู้นำลง พื้นที่ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง (ส่งเสริมคลีนิกจังหวัดเคลื่อนที่)

          ด้านผู้ปฏิบัติงาน: มุ่งเน้นส่งเสริม สนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โครงการพัฒนาศักยภาพ สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน มีสภากาแฟ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้นำกับผู้ร่วมงาน 

          ด้านองค์การ: นโยบายการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ปลูกฝังความเสมอภาค มีระบบควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยง มีระบบควบคุมภายใน การจัดกีฬาภายในทุกปี




          ข้อเสนอแนะจากผู้ เข้าประชุม

           การกำหนดนโยบายการกำกับดูแลตน เองที่ดีควรกำหนดไว้ไม่เป็นกรอบมาก นัก ความเป็นจริงคือจังหวัดจะมีภารกิจเร่งด่วน หรือภาะฉุกเฉิน ดังนั้นควรให้มีการปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ ที่เป็นจริง เช่น กรณีภัยพิบัติต่าง ๆ 

           สำนักงาน ก.พ.ร.ควรให้มีการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสำนักงานจังหวัด โดยทำ CoP ให้ภายในจังหวัด และประเมินผลการ ปฏิบัติงานเพื่อเป็นมุมมองในการดำเนินงานในปีต่อไป

           กำหนดให้เป็นแผนสื่อสารนโยบายลงไปไว้ในแผน ยุทธศาสตร์ กำหนดกิจกรรมอบรมผู้ปฏิบัติงาน อยู่กับยุทธศาสตร์เพื่อการมีงบประมาณในการดำเนินงานตามนโยบายการกำกับดูแล องค์การที่ดี

           การทำ CoP ระหว่างจังหวัดหากสามารถเลือกทำในเรื่องเดียวกันได้ เช่น การบริหารจัดการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อนำมา Benchmark ได้ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนา

           การกำหนดนโยบายถ้าไม่นำไปปฏิบัติก็ไม่เกิดผล

           การเมืองมีอำนาจแฝง การที่โรงงานอุตสาหกรรมมีการสร้างมลพิษต่างๆ แม้มีเขตประกาศการควบคุมมลพิษ แต่ไม่สามารถใช้บังคับได้

           การกำหนดนโยบายกำกับดูแล องค์การที่ดีนั้นนอกจากองค์การภาครัฐแล้ว ภาคเอกชนเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันให้เกิดธรรมมาภิบาลใน จังหวัดอย่างแท้จริง




          ประโยชน์ของการจัด ทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการแบ่งปันความรู้

          ระยะสั้น 
             ได้รับข้อมูล มุมมอง แนวคิดที่หลากหลายจากกลุ่ม มากขึ้นในการตัดสินใจ
             หาทางออก/คำตอบที่รวดเร็ว ประหยัดเวลา
             เกิดความร่วมมือ และการประสานงานระหว่างหน่วยงาน 
             เพิ่มความมั่นใจในการเข้าถึงการแก้ปัญหา และการได้รับข้อเสนอแนะจากผู้เชียวชาญ 
             สร้างความผูกพันในการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเครือข่ายของกลุ่มวิชาชีพ 
             อาจมีปัญหาที่คล้ายคลึงกัน เมื่อได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์จะทำให้ค้นพบวิธีแก้ปัญหา ระดมสมอง 

          ระยะยาว 
             เพิ่มโอกาสในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เสริมสร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขององค์การ
             วิเคราะห์ความแตกต่างและตั้งเป้าหมายการปรับปรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
             เกิดโอกาสพัฒนาองค์การอย่างก้าวกระโดด เป็นแหล่งรวบรวมและเผยแพร่วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ 
             รักษาคนเก่งให้อยู่กับองค์การได้ สร้างชื่อเสียงในวิชาชีพเพิ่มขึ้น


สำนักบริหารการเปลี่ยนแปลง และนวัตกรรม / ข้อมูล
วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 8 กันยายน 2553 11:03:41 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 8 กันยายน 2553 11:32:15
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th