เวทีปัญญา สัมมนาวาที
ครั้งที่ 14
เรื่อง
ภาครัฐไทยเลื่องชื่อไกลสู่สากล:
รางวัล
United Nations Public Service Awards
เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2553 สำนักงาน
ก.พ.ร. โดยสำนักบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม จัดการประชุมสัมมนา เวทีปัญญา สัมมนาวาที ครั้งที่ 14 เรื่องภาครัฐไทยเลื่องชื่อไกลสู่สากล:
รางวัล United Nations Public Service Awards
โดยมี นางวรรณพร
เทพหัสดิน ณ อยุธยา สุทธปรีดา ผู้
อำนวยการสำนักบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม สำนักงาน ก.พ.ร.
ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวต้อนรับและเปิดการประชุมสัมมนา ณ โรงแรมปรินซ์
พาเลซ
การประชุมสัมมนา
เวทีปัญญา สัมมนาวาที ครั้งที่ 14 นี้ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ประสบการณ์ และถ่ายทอดเทคนิค รูปแบบ
และวิธีการเกี่ยวกับการพัฒนาการให้บริการประชาชน และเตรียมความพร้อมให้แก่
ส่วนราชการที่เป็นกลุ่มเป้าหมายทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น
และมหาวิทยาลัยที่ได้รับรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน
รางวัลมาตรฐานศูนย์บริการร่วม/เคาน์เตอร์บริการประชาชน
และรางวัลความเป็นเลิศด้านการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมในระดับดีเด่น
รวมทั้ง ส่วนราชการที่มีผลการพัฒนาการจัดการความรู้ที่โดดเด่น
ในการจัดทำข้อเสนอขอรับการประเมินเพื่อรับรางวัล United Nations Public Service
Awards ขององค์การสหประชาชาติ
ในการนี้
ทางสำนักงาน ก.พ.ร. ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.วิพุธ อ่องสกุล อาจารย์คณะบริหารธุรกิจ
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ รศ.นพ.วัฒนา นาวาเจริญ รอง
คณบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
และผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
มาเป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เกี่ยวกับการจัดทำข้อเสนอเพื่อขอรับการประเมิน
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาสามารถนำไปใช้เป็นแบบอย่างในการเสนอขอรับ
การประเมินเพื่อรับรางวัล United Nations Public Service Awards
จากองค์การสหประชาชาติ โดยมี นายชัยยุทธ กมลศิริสกุล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาระบบราชการ
สำนักบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม สำนักงาน ก.พ.ร.
ให้เกียรติดำเนินการอภิปราย
ผศ.ดร.วิพุธ อ่องสกุล อาจารย์คณะบริหารธุรกิจ
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวถึง ประเภทของรางวัล United Nations Public
Service Awards ทั้ง 4 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ 1การพัฒนาด้านความโปร่งใส ความรับผิดชอบร่วม
และความสามารถสนองตอบต่อปัญหาและความต้องการของประชาชนในงานบริการสาธารณะ
(Improving transparency, accountability and responsiveness in the
Public Service)
ประเภทที่ 2การพัฒนาการให้บริการประชาชน (Improving the delivery of services)
เป็นประเภทรางวัลที่มีความใกล้เคียงกับรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน
รางวัลมาตรฐานศูนย์บริการร่วม/เคาน์เตอร์บริการประชาชน
และรางวัลความเป็นเลิศด้านการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมของสำนักงาน ก.พ.ร.
จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเสนอขอรับการประเมินเพื่อรับรางวัลจากองค์การ
สหประชาชาติ
ประเภทที่ 3การส่งเสริม สนับสนุน
การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายผ่านกลไกด้านนวัตกรรม
(Fostering participation in policy - making decisions through
innovative mechanisms)
ประเภทที่ 4การเสริมสร้างการจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) ในภาครัฐ
(Advancing knowledge management in government)
นอกจากนี้
ทางสำนักเลขาธิการสหประชาชาติยังจัดให้มีการมอบรางวัลพิเศษ (Special
Award) อีก 1 รางวัล คือ รางวัลสมาชิก UNPAN
ยอดเยี่ยมด้านการแบ่งปันความรู้ให้แก่องค์กรที่เป็นสมาชิก UNPAN online
network เนื่องจากเผยแพร่ผลงานอันเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกผ่านเครือข่าย
ปัจจุบัน
สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ปรับปรุงเกณฑ์การพิจารณาการมอบรางวัลคุณภาพ
การให้บริการประชาชนให้มีความสอดคล้องกับเกณฑ์การพิจารณาการมอบรางวัล
United Nations Public Service Awards ในรางวัลประเภทที่ 2
การพัฒนาการให้บริการประชาชน โดยกำหนดการตอบคำถามในแต่ละข้อไม่เกิน 500 คำ
จำนวน 6 ข้อคำถาม ดังนี้
1.
อะไรคือสถานการณ์ของปัญหาก่อนเริ่มทำกิจกรรม/โครงการ
2.
อะไรคือแนวทางการแก้ไขปัญหา ผลกระทบต่อหน่วยงานภาครัฐ และภาคประชาชน
โดยเสนอเป็นรายงานในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ
3.
ระบุผู้เสนอแนวทางการแก้ปัญหา ผู้นำไปปฏิบัติจนเกิดผลสำเร็จ
และผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย โดยเน้นในเรื่องการมีส่วนร่วม
ความร่วมมือระหว่างภาคประชาชน เอกชน หรือ NGO
ที่ทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการพัฒนาภาครัฐ
และสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.
อธิบายถึงการริเริ่มนำกิจกรรมดังกล่าวมาปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จ
และนำมาใช้เมื่อใด โดยแบ่งเป็นข้อย่อยดังต่อไปนี้
4.1 ยุทธศาสตร์ที่ไปสู่การปฏิบัติให้สัมฤทธิ์ผล คืออะไร
4.2 กุญแจสำคัญในการพัฒนา ลำดับขั้นตอน และลำดับเหตุการณ์ในการปฏิบัติ
คืออะไร
4.3 อุปสรรคสำคัญคืออะไร
และหน่วยงานมีวิธีการจัดการกับอุปสรรคดังกล่าวอย่างไร
4.4 ทรัพยากรที่ใช้ในกิจกรรมดังกล่าวมีอะไรบ้าง เช่น ด้านการเงิน
ด้านเทคนิค ด้านทรัพยากรบุคคล
พร้อมทั้งอธิบายถึงการนำทรัพยากรดังกล่าวมาใช้ในการขับเคลื่อนอย่างไร
5.
กิจกรรม/โครงการมีความยั่งยืน และสามารถขยายผลไปยังหน่วยงานอื่นได้หรือไม่
อย่างไร
6.
ผลกระทบและบทเรียนสำคัญในการทำกิจกรรมดังกล่าว คืออะไร
รศ.นพ.วัฒนา นาวาเจริญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
และรองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึง ขั้นตอนการสมัครเข้ารับการประเมินเพื่อรับรางวัล
United Nations Public Service Awards โดย
สมัครผ่านทางเว็บไซต์ และเมื่อผ่านรอบแรกแล้วจะมี e-mail แจ้งให้ทราบ
พร้อมทั้งขอรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้ 1) หนังสือรับรองจากหน่วยงานภาครัฐ
และภาคเอกชน จำนวน 2 ฉบับ และ 2) เอกสารสนับสนุน ประกอบด้วย
ผลการพัฒนาในรูปแบบเอกสาร DVD หรือ
หนังสือพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับทางหน่วยงานที่ส่งเข้าประกวด
เพื่อสื่อให้คณะกรรมการรับทราบและเข้าใจผลงานมากที่สุด
สำหรับการเตรียมตัวของหน่วยงานภาครัฐนั้น
ควรศึกษาผลงานที่เคยได้รับรางวัลในปีที่ผ่านมา
และหาหน่วยงานที่มีลักษณะงานใกล้เคียงกัน
โดยดูว่าเรามีผลงานด้านใดที่ดีกว่า แล้วนำมาพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
จากนั้นนำมาปรับให้เข้ากับแบบฟอร์มของประเทศที่เคยได้รับรางวัล
พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการในการจัดทำข้อเสนอขอรับการ
ประเมินเพื่อให้สามารถชนะใจกรรมการด้วยการเสนอผลงานที่มีนวัตกรรมในเชิงรุก
มีผลต่อสังคม ผู้ด้อยโอกาส ทำให้เกิดความเสมอภาคในสังคม
ผลงานมีความยั่งยืน และสามารถนำมาปรับใช้ได้ในทุกมุมโลก
ซึ่งทางโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่มีเทคนิคการจัดทำข้อเสนอขอรับการประเมินเพื่อรับรางวัลฯดังนี้
-
ตั้งชื่อเรื่องให้กระชับ น่าสนใจ และสามารถสื่อถึงงานที่ทำได้
-
ตอบให้ตรงคำถาม กระชับ มีเหตุผล แสดงผลของการพัฒนาชัดเจน มีเนื้อหาครบทุก
Criteria ครบทุก key word ใน Description โดยคณะกรรมการอ่านแล้วสามารถ
check list keyword ได้ครบ
-
มีจิตมุ่งมั่นไม่ท้อถอย และมีการทำงานร่วมกันเป็นทีม
เพื่อความสำเร็จของงาน รวมทั้งภาษาที่ใช้ต้องมีความสละสลวย
และสามารถสื่อความคิดออกมาเป็นตัวอักษรได้อย่างดี
-
ใช้ตัวอักษร Times New Roman ขนาด 12 Points โดยย่อหน้าใหม่ทุก 5 - 6
บรรทัด แล้วจึงกั้นหน้ากั้นหลัง และแปลงเป็น PDF File จัดทำเป็นรูปเล่ม
จำนวน 1 ชุด และในรูปแบบ CD ส่งให้คณะกรรมการ สำหรับ Documents นั้นมี 5
ส่วน ได้แก่ 1) การพัฒนาคุณภาพภายในองค์กร 2) การพัฒนาเชิงรุก 3)
รางวัลต่างๆ ที่ได้รับ รายละเอียดของรางวัล จัดเรียงลำดับเป็นปีๆ 4)
Movies งานของเรา 5) Movies การให้สัมภาษณ์ comment เกี่ยวกับหน่วยงาน
โดยมีได้ไม่เกิน 5 Documents ส่วน References จากหน่วยงานระดับประเทศ
และหน่วยงานในระดับ International มีได้ไม่เกิน 2 references
-
แสดงถึงตัวชี้วัด CQI โดยเก็บข้อมูลย้อนหลัง 3 - 5 ปี
เพื่อนำมาเปรียบเทียบและแสดงถึงการพัฒนาที่ดีขึ้น
ซึ่งทางโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ใช้ข้อมูลย้อนหลังถึง 5 ปี
-
แสดงรางวัลต่างๆ ของหน่วยงาน ประกอบด้วย
ประวัติการรับรางวัลระดับประเทศหรือต่างประเทศ
เพื่อให้กรรมการเกิดความเชื่อมั่นในการให้บริการที่ดี
-
จัดทำวิดีทัศน์แสดงถึงการดำเนินงานทั้งหมดของหน่วยงาน
มีการเดินเรื่องที่กระชับ ความยาวไม่เกิน 12 นาที
และควรถ่ายทำล่วงหน้า
สุดท้ายได้ฝากถึงข้อคิด
เรื่องการทำงานเป็นทีมจะประสบความสำเร็จมากกว่าการทำงานคนเดียว (One Man
Show) และไม่ควรทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่
และควรมองหาจุดดีของงานประจำจะช่วยให้ปรับปรุงการบริการได้ดียิ่งขึ้น
ช่วงท้ายของการประชุมสัมมนาฯผชช.ชัยยุทธ กมลศิริกุล ได้
เปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับรางวัล United
Nations Public Service Awards พร้อมทั้งแนะนำว่า
หน่วยงานไม่สามารถเสนอชื่อตนเองเข้ารับรางวัลได้ ทางสำนักงาน ก.พ.ร.
ยินดีเป็นผู้เสนอชื่อหน่วยงานเข้ารับการประเมินเพื่อรับรางวัลฯ ให้
ซึ่งรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับรางวัลฯ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ทาง www.unpan.org
สำหรับในปี 2011
มีกำหนดเปิดรับสมัครตั้งแต่เดือนกันยายนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2553
และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีหน่วยงานภาครัฐไทยสร้างประวัติศาสตร์
โดยเดินทางไปรับรางวัลในวันที่ 23 มิถุนายน 2554
และได้รับเกียรติให้นำเสนอผลงานบนเวที ณ สำนักงานใหญ่ องค์การสหประชาชาติ
นครนิวยอร์ก ต่อไป
ลลิดา (สลธ.)
/ ข่าว & ภาพ
จิราภรณ์ (สำนักนวัตกรรม) /
ข้อมูล
วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ
เนื้อหาใกล้เคียง
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 7 กันยายน 2553 09:35:38 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 7 กันยายน 2553 11:31:12