Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2553 / กรกฎาคม / เวที ปัญญา สัมมนาวาที ครั้งที่ 13 เรื่อง การริหารราชการแบบมีส่วนร่วมสู่ควมเป็นเลิศ

เวที ปัญญา สัมมนาวาที ครั้งที่ 13 เรื่อง การริหารราชการแบบมีส่วนร่วมสู่ควมเป็นเลิศ

เวทีปัญญา สัมมนาวาที ครั้งที่ 13
เรื่อง การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมสู่ความเป็นเลิศ


 
          เมื่อ วันที่ 9 มิถุนายน 2553 สำนักงาน ก.พ.ร. โดยสำนักบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม ได้จัดการประชุมสัมมนา เวทีปัญญา สัมมนาวาที ครั้งที่ 13 เรื่อง การบริหารราชการ แบบมีส่วนร่วมสู่ความเป็นเลิศ โดยมี นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา สุทธปรีดา ผู้อำนวยการสำนักบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม สำนักงาน ก.พ.ร. ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวต้อนรับและเปิดการประชุมสัมมนา ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ 

          การจัดประชุมสัมมนาในครั้ง นี้ ได้รับเกียรติจากส่วนราชการและจังหวัดที่มีความโดดเด่น และเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และจังหวัดน่าน มาถ่ายทอดประสบการณ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางและวิธีการในการ บริหารราชการแบบมีส่วนร่วม โดยมี นายอนุชิต ฮุนสวัสดิกุล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการ พัฒนาระบบราชการ กลุ่มพัฒนาระบบสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบราชการ สำนักงาน ก.พ.ร. ให้เกียรติเป็นผู้ดำเนินการอภิปรายใน 2 หัวข้อ ดังนี้

          หัวข้อแรก เรื่อง การมี ส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม: สวนอุตสาหกรรมบางกระดี จังหวัดปทุมธานี โดย นายประทวน สุทธิอำนวยเดช อุตสาหกรรมจังหวัด ปทุมธานี  นางกนิษฐ เมืองกระจ่าง กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท สวนอุตสาหกรรมบางกะดี จำกัด และ นายธวัชชัย อึ้งอัมพรวิไล นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบล บางกระดี

          หัวข้อที่สอง เรื่อง การ ฟื้นฟูระบบนิเวศลุ่มน้ำน่านอย่างยั่งยืน โดยอาศัยกระบวนการการบูรณาการและการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน  โดย พันตรีหญิงระวิวรรณ บุณยเวทย์ นาย ทหารฝ่ายกิจการพลเรือน และ นางสุภาพ ศิริบรรณสพ ผู้แทนศูนย์ประชาคมน่าน
 

          นายประทวน สุทธิอำนวยเดช อุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ในหัวข้อ การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการบริหาร จัดการมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม: สวนอุตสาหกรรมบางกระดี จังหวัดปทุมธานี โดย กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของแนวคิดการสร้างความมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการ จัดการมลพิษสิ่งแวดล้อมจังหวัดปทุมธานีนั้น มาจากการร้องเรียนโรงงานในพื้นที่ตำบลบางกะดี ทั้งเรื่องการปล่อยน้ำเสีย เขม่าควัน และเสียงดัง ซึ่งที่ผ่านมาทางภาครัฐจะเข้าไปตรวจสอบโรงงาน และดำเนินการตามกฏหมาย ส่วนภาคเอกชนจะปฏิบัติตามที่ภาครัฐเสนอแนะ แต่ปัญหาก็ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

          ดังนั้นจึงได้มีการนำแนวคิด หลักการมีส่วนร่วม ของสำนักงาน ก.พ.ร. มาปรับใช้ภายใต้โครงการธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก 3 ภาคส่วน ประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคท้องถิ่นและชุมชน และทางสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบหมายให้สถาบันรับรองมาตรฐาน ISO ไปทบทวนและเพิ่มเติมเกณฑ์การประเมินการมีธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี ให้มีความชัดเจนและมีระบบมากยิ่งขึ้น ดังนี้

          1. ความชัดเจนของนโยบายธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม
          2. การรวบรวมกฏหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง โดยโรงงานต้องทราบกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ
          3. การจัดทำข้อมูลด้านมลภาวะของโรงงาน
          4. การเปิดเผยข้อมูลโรงงานให้ประชาชนรับทราบ
          5. การยอมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยจัดทำแบบสอบถาม การพูดคุยระหว่างกัน
          6. การแก้ไขและรับผิดตามกฏหมาย
          7. การอนุรักษ์พลังงาน
          8. การคืนประโยชน์ให้กับสังคม
          9. ความยั่งยืน

          ส่วนโรงงานในจังหวัดปทุมธานีที่อยู่นอกโครงการธรรมาภิบาลสิ่งแวด ล้อมนั้น กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดทำโครงการอื่นเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในเบื้อง ต้น 3 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการป้องกันมลพิษจากสถานประกอบการ  2) โครงการ Pathum Thani Agenda 2010 และ  3) โครงการเทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology: CT) และในอนาคตสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานีมีแนวคิดที่จะส่งเสริมการมี ส่วนร่วมของภาคประชาชน โดยให้สถานประกอบการดำเนินโครงการธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะส่งผลให้ข้อร้องเรียนจากชุมชนลดน้อยลง โรงงานและชุมชนมีความเข้าใจกันมากขึ้น สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืนต่อไป

          ด้าน นางกนิษฐ เมืองกระจ่าง กรรมการ ผู้จัดการบริษัทสวนอุตสาหกรรมบางกะดี จำกัด กล่าวถึง ปรัชญาในการดำเนินงานของบริษัทว่า ต้องสามารถทำงานร่วมกันกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน มั่นคง และเป็นมิตรกับชุมชน ทั้งนี้เพราะพนักงานส่วนใหญ่เป็นคนในชุมชน ดังนั้น เมื่อมีข้อร้องเรียนต่างๆ ทุกฝ่ายจึงร่วมมือกันแก้ปัญหา โดยการจัดประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกันกับทางเทศบาลตำบลบางกะดี ซึ่งสิ่งแรกที่จะทำให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันได้นั้น คือ การเปิดใจพูดคุยกัน และทางสวนอุตสาหกรรมบางกะดีเองมี ความ ตั้งใจ จริงใจ เปิดใจ ทำให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันดำเนินโครงการธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้ที่ดี เพื่อการอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างมีความสุข

          ด้าน นายธวัชชัย อึ้งอัมพรวิไล นายก เทศมนตรีเทศบาลตำบลบางกะดี กล่าวถึงโครงการธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ได้รับความร่วมมือจากทั้ง 3 ภาคส่วนในการหาแนวทางแก้ไขปัญหา ข้อร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ อุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี สวนอุตสาหกรรมบางกะดี และเทศบาลตำบลบางกะดี โดยทางสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดได้เชิญโรงงานทั้งหมดในตำบลบางกะดี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และบริษัทอุตสาหกรรมบางกะดี จำกัด มาประชุมหารือเพื่อกำหนดเกณฑ์ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมร่วมกัน ซึ่งจากการติดตามประเมินผล พบว่า เรื่องร้องเรียนลดลงถึง 60%
 
          แนวทางในการแก้ปัญหาข้อร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อม 9 ประการ ดังนี้

          1. สถานประกอบการต้องเปิดใจ ตั้งใจ และจริงใจในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง

          2. สถานประกอบการต้องทำให้ประชาชนเกิดความไว้วางใจ โดยใช้หลักการมีส่วนร่วม กับหลักนิติธรรมเป็นหลัก

          3. ทุกภาคส่วนต้องมีการสื่อสารและสร้างความเข้าใจร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ

          4. ทุกภาคส่วนมีการทำงานร่วมกันเป็นทีม 

          5. ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน โดยจัดการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและกำหนดกรอบการจัดทำธรรมาภิบาลสิ่ง แวดล้อมร่วมกัน ซึ่งประกอบไปด้วย ตัวแทนจากภาคประชาชน สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด บริษัทสวนอุตสาหกรรมบางกะดี และเทศบาลตำบลบางกะดี 

          6. มีการตรวจสอบการทำงานซึ่งกันและกัน โดยการตั้งคณะกรรมการไตรภาคี ระหว่างภาคราชการ ตัวแทนภาคประชาชน และ ตัวแทนโรงงาน รวมทั้งมีการจัดประชุมเป็นประจำทุกเดือน

          7. มีการทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เช่น งานออกร้าน การจัดแสดงนิทรรศการ การเชิญประธานชุมชนเข้าเยี่ยมชมโรงงาน 

          8. ประชาชนมีความเชื่อมั่นและยอมรับการทำงานของผู้บริหารท้องถิ่น โดยต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต ยึดถือความถูกต้อง มุ่งมั่นทำงานเพื่อประชาชน เพื่อสังคม รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม

          9. การที่ข้าราชการมีความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อประชาชน จะทำให้ได้รับความร่วมมือจากประชาชนได้ง่ายขึ้น
 

          พันตรีหญิงระวิ วรรณ บุณยเวทย์ นายทหารฝ่ายกิจการพลเรือน และ นางสุภาพ ศิริบรรณสพ ผู้แทนศูนย์ประชาคมน่าน ร่วมกันถ่ายทอดประสบการณ์ในหัวข้อ การฟื้นฟูระบบนิเวศลุ่มน้ำน่านอย่าง ยั่งยืน โดยอาศัยกระบวนการการบูรณาการและการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ซึ่งการดำเนินโครงการฟื้นฟูระบบนิเวศลุ่มน้ำน่านนั้น ได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วนมาร่วมกันจัดทำ เช่น จังหวัดน่าน จังหวัดทหารบกน่าน สำนักกิจการพิเศษ โรงพยาบาลน่าน สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดน่าน มูลนิธิฮักเมืองน่าน พระครูพิทักษ์นันทคุณ เครือข่ายป่าชุมชน ผู้นำชุมชน และ ชุมชน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย และกฏเกณฑ์ในการดูแลและฟื้นฟูระบบนิเวศ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมทั้งสรุปผลการดำเนินงานร่วมกัน
 

          สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้โครงการฯ ประสบความสำเร็จจนได้รับรางวัลการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ บริหารราชการในระดับจังหวัด ประจำปี พ.ศ. 2552 คือ

          1. โครงการฯ มีการบูรณาการโดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ซึ่งเน้นที่การมีส่วนร่วมของประชาชนในการฟื้นฟูระบบนิเวศลุ่มน้ำน่านอย่าง ยั่งยืน

          2. คนในจังหวัดน่านมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน และต้องการทำประโยชน์ร่วมกันเพื่อส่วนรวม ทำให้ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการฟื้นฟูและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

          3. การบริหารโครงการฯ ให้มีประสิทธิภาพ โดยภาครัฐจัดทำแบบฟอร์มการเขียนโครงการ และ แบบฟอร์มรายงานผลการดำเนินงาน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่ประสงค์จะเสนอโครงการและติดตามประเมิน ผล นอกจากนี้ยังมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้เกิดการพัฒนาการอนุรักษ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งมีการจัดทำรายงานข้อมูล เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงาน ทำให้เกิดความโปร่งใสในการทำงาน

          4. ผู้นำมีวิสัยทัศน์และให้ความสำคัญกับโครงการฯ ทำให้โครงการเกิดความยั่งยืน

          5. การนำพิธีกรรมทางศาสนามาประยุกต์กับการอนุรักษ์น้ำ เช่น พิธีสืบชะตาแม่น้ำน่าน 

          6. การให้ข้อมูลแก่ชุมชน เพื่อรับทราบปัญหาอย่างแท้จริง

          ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินโครงการฯ คือ การบุกรุกพื้นที่ป่า ทำลายแหล่งน้ำในบางชุมชน เพราะขาดความเข้าใจ และไม่ให้ความร่วมมือกับโครงการฯ 
 

          ในตอนท้าย นายอนุชิต ฮุนสวัสดิกุล ในฐานะผู้ดำเนินการอภิปราย กล่าวโดยสรุปว่า ปัจจุบันการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมนั้น ภาครัฐจะต้องเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาชน โดยการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิด การบริหารราชการ และในอนาคตภาครัฐจะเป็นเพียงผู้สนับสนุนด้านงบประมาณและวิชาการเท่านั้น
 



ลลิดา (สลธ.) / ข่าว & ภาพ
วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 21 กรกฎาคม 2553 12:13:28 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 21 กรกฎาคม 2553 12:13:28
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th