คลินิก PMQA สัญจร 4 ภาค :
แลกเปลี่ยนเรียนรู้มุ่งสู่คุณภาพ
สำนักงาน ก.พ.ร.
โดยสำนักบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม
ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้ดำเนินการจัดคลินิกให้คำปรึกษาแนะนำการ
ดำเนินการตามตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาค
รัฐ (PMQA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 โดยให้คำปรึกษากับส่วน
ราชการ จังหวัด และสถาบันศึกษา ใน 4 ภูมิภาค เมื่อช่วงเดือนมิถุนายน 2553
ที่ผ่านมา โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ภาคเหนือ
มีผู้แทนจังหวัดและสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 18 หน่วยงาน (17 จังหวัด และ 1
สถาบันอุดมศึกษา)
เข้าร่วมรับคำปรึกษาในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ จำนวน 2
ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 26 - 27 พฤษภาคม 2553 ณ
ห้องประชุมเชียงรุ้ง โรงแรมเซนทารา ดวงตะวัน จังหวัดเชียงใหม่ และครั้งที่ 2
ระหว่างวันที่ 7 - 8 มิถุนายน 2553 ณ ห้องเพชรบูรณ์ ชั้น 5
โรงแรมท๊อปแลนด์ จังหวัดพิษณุโลก |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีผู้แทน
จังหวัดและสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 24 หน่วยงาน (19 จังหวัด และ 5
สถาบันอุดมศึกษา)
เข้าร่วมรับคำปรึกษาในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
ระหว่างวันที่ 1 - 4 มิถุนายน 2553 ณ ห้องรับขวัญ ชั้น 2 โรงแรมขวัญมอ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น |
ภาคใต้ มีผู้แทนจังหวัดและสถาบัน
อุดมศึกษา จำนวน 15 หน่วยงาน (14 จังหวัด และ 2 สถาบันอุดมศึกษา)
เข้าร่วมรับคำปรึกษาในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ จำนวน 2
ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 3 - 4 มิถุนายน 2553 ณ ห้องไพริน ชั้น
2 โรงแรมไดมอนด์ จังหวัด สุราษฎร์ธานี และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 10 -
11 มิถุนายน 2553 ณ ห้องสุคนธา C ชั้น 6 โรงแรมโนโวเทล หาดใหญ่
จังหวัดสงขลา |
ภาคกลางและภาคตะวันออก มี
ผู้แทนจากส่วนราชการระดับกรมจังหวัด
และสถาบันอุดมศึกษาเข้าร่วมรับคำปรึกษาในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหาร
จัดการภาครัฐ ระหว่างวันที่ 15 - 25 มิถุนายน 2553 ณ ห้องประชุม BB-2-10
อาคารศูนย์ประชุม ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ถนนแจ้งวัฒนะ
กรุงเทพฯ |
การจัดคลินิกให้คำปรึกษา ทั้ง 4 ภูมิภาคนี้
มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อส่งเสริมให้ส่วนราชการระดับกรม
จังหวัดและสถาบันอุดมศึกษา มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับ
พื้นฐาน (Fundamental Level) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553
ให้สามารถดำเนินการตามแผนพัฒนาองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยรูปแบบของการจัดคลินิกให้คำปรึกษาจะเป็นการให้คำปรึกษาเพื่อ
ชี้แจงและตอบข้อซักถามเชิงลึกรายส่วนราชการ โดยจัดเป็นโต๊ะให้คำปรึกษา
เพื่อเปิดเป็นเวทีให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกแก่ส่วนราชการ
โดยมุ่งเน้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้คำแนะนำส่วนราชการระดับกรม
จังหวัด
และสถาบันอุดมศึกษาในการนำเทคนิคการบริหารจัดการไปใช้เพื่อการปรับปรุงและ
พัฒนา ทั้งในส่วนของการดำเนินการตามแผนพัฒนาองค์การ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
2553 และในส่วนของการดำเนินการซ่อมแผนพัฒนาองค์การ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
2552 ที่ไม่บรรลุผลสำเร็จตามที่กำหนดไว้
ทั้งนี้ เมื่อผู้แทนจากส่วนราชการระดับกรม จังหวัด
และสถาบันอุดมศึกษาได้รับคำปรึกษาแนะนำการดำเนินการตามตัวชี้วัดระดับความ
สำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐจากวิทยากรที่ปรึกษาเป็นที่
เรียบร้อยแล้ว ทำให้ผู้แทนจากส่วนราชการระดับกรม จังหวัด
และสถาบันอุดมศึกษามีความชัดเจนมากขึ้นในการดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพการ
บริหารจัดการภาครัฐทั้งในส่วนที่ยังดำเนินการไม่บรรลุผลสำเร็จ
รวมทั้งการดำเนินการตามแผนพัฒนาองค์การ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553
ตลอดจนการได้รับเทคนิคการบริหารจัดการจากวิทยากรที่ปรึกษาเพื่อนำไปใช้ในการ
ปรับปรุงและพัฒนาองค์กรอีกด้วย ซึ่งทำให้ผู้แทนจากส่วนราชการระดับกรม
จังหวัด
และสถาบันอุดมศึกษาเห็นถึงประโยชน์ที่สำคัญจากการจัดกิจกรรมคลินิกสัญจรทั้ง
4 ภาคในครั้งนี้
สัมภาษณ์พิเศษ : บางส่วนของความคิดเห็นต่อคลินิกสัญจร
วันที่ 11
มิถุนายน 2553 ณ ห้องประชุมสุคนธา C ชั้น 6 โรงแรมโนโวเทล หาดใหญ่ จ.สงขลา |
คุณสุชาติ
อนันตะ
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ จังหวัดยะลา
การดำเนินการ PMQA ทีผ่านมา จังหวัดยะลา
มีจุดแข็งที่ให้ความสำคัญ เรื่องภาวะการนำของจังหวัด
ปัจจัยของความเข็มแข็งของจังหวัดยะลา ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
คือทีมมีความต่อเนื่อง คณะทำงานยังเป็นกลุ่มเดิม
เมื่อเปลี่ยนคณะทำงานก็มีผลต่อการดำเนินงานบ้าง แต่ก็มีการคุยกัน
แต่ได้จุดแข็งจากปี 2552 อีกส่วนคือสำนักงานได้รับงบประมาณค่อนข้างมาก
ตรงข้ามกับปีนี้ ที่ถูกตัดไปทำให้มีผลต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ บ้าง
แต่ภายใต้การนำหลักคิดที่ดี มีการบูรณาการกับงานประจำ ไม่ให้เกิดภาระ
อีกส่วนคือการมีต้นทุนด้านการบริหารจัดการภาครัฐ เช่น ผู้อำนวยการเก่ง HA
ก็นำประโยชน์มาใช้ในหมวด 6
เมื่อได้รับคำปรึกษาจากการจัดคลินิกในครั้งนี้แล้วดีมาก
เพราะจังหวัดเองก็ดำเนินการบ้างอยู่แล้ว บางประเด็นที่ยังไม่ชัด
ก็ชัดเจนมากขึ้น จังหวัดมีหน้างานมาก เกี่ยวกับเรื่องทัศนคติ
จะต้องบอกให้เห็นประโยชน์ในการทำในภาพจังหวัด ความชัดเจน
ความมั่นใจก็มากขึ้น ประเด็นที่ไม่จบก็ชัดเจนมากขึ้น
แต่ควรจัดเร็วมากกว่านี้ ระยะเวลาประมาณสามชั่วโมงจะเหมาะสม
มีข้อเสนอแนะว่าเป็นห่วงจังหวัดอื่นๆ
เพราะไม่แน่ใจว่าแต่ละจังหวัดมีการนำแนวคิดไปใช้อย่างไร
คณะทำงานจะคิดอย่างไร ทัศนคติเป็นเรื่องสำคัญ
แม้ว่าจังหวัดยะลาไม่ผ่านเรื่อง KM แต่ก็พยายามที่จะดำเนินการต่อไป
วันที่ 27 พฤษภาคม
2553 ณ ห้องเชียงดาว ชั้น 3 โรงแรมเซนทารา ดวงตะวัน จ.เชียงใหม่ |
คุณนพพร แพทย์รัตน์
รองผู้อำนวยการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต ศูนย์ลำปาง
การดำเนินการภาพรวม PMQA
ภายในจังหวัดลำปางมีสำนักงานจังหวัดเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการตามตัวชี้วัด
มีการแบ่งทีมงานแต่ละหมวดเป็นคณะทำงาน
โดยแต่ละคณะทำงานก็จะมีการดำเนินงานช่วยเหลือกัน
แต่ก็จะพบปัญหาจากการดำเนินงานในเรี่องของการโยกย้าย หรือการติดภารกิจ
แต่ละหมวดก็จะมี Key Man
โดยภาพรวมจะเหนื่อยในเรื่องการผลักดันให้ดำเนินการตามเกณฑ์
เมื่อได้รับคำปรึกษาคลินิกสัญจรในครั้งนี้ทำให้ได้รับความชัดเจน
ในการดำเนินการ มีเทคนิคที่ยังไม่เคยรู้ และได้รับความรู้จากวิทยากร
ซึ่งทำให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
มีข้อเสนอแนะว่าเอกสารที่ได้รับมา บางคนก็อ่านเข้าใจ
บางคนก็อ่านไม่เข้าใจ ซึ่งก็จะมีปัญหาในเรื่องของการตีความ สำนักงาน ก.พ.ร.
มีกรอบใหญ่ให้รับทราบ แต่ยังไม่มีรายละเอียดในตอนนั้น
เมื่อมาไม่พร้อมกับกรอบใหญ่ที่ให้มา ก็จะทำให้ปรับตัวไม่ทันช่วงเวลา
ในช่วงของการทำ FL ในปีแรก
ที่ดูตามโปรแกรมที่จะต้องดำเนินการจะยากที่การตีความ
ซึ่งเรื่องของการตีความเป็นปัญหาพอสมควร
วันที่ 7 มิถุนายน
2553 ณ ห้องเพชรบูรณ์ ชั้น 5 โรงแรมท๊อปแลนด์ จ.พิษณุโลก |
ผศ.ประทีป แก้วเหล็ก
รองอธิการบดีฝ่ายแผน มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
การดำเนินงาน PMQA
ของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ที่ผ่านมาตอนนี้เข้ารูปเข้าร่างมากขึ้น
ผู้บริหาร ท่านอธิการบดีให้ความสำคัญมาก ส่วนคณบดีก็เห็นความสำคัญ
โดยได้ดำเนินการลงไปถึงระดับคณะแล้ว มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการตามเกณฑ์
และได้ปรับใช้ในหน่วยงานของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
และมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เป็นระบบที่ดี
ซึ่งถ้าหน่วยงานไหนไม่มีระบบทีชัดเจน ควรจะนำเครื่องมือนี้ไปใช้
โดยไม่ต้องบังคับ แต่ถ้ามีระบบบริหารจัดการก็ได้ ในระบบมหาวิทยาลัยมาใช้
ในทุกหมวด มีเป้าหมาย ครอบคลุม มีวิธีการ มีแผน ไปสู่เป้าหมาย
ได้มีการศึกษาตั้งแต่แรก มาใช้ในมหาวิทยาลัย
เมื่อได้รับคำปรึกษา
ทำให้หลายประเด็นที่สงสัยได้รับความชัดเจนมากขึ้น
ควรเพิ่มจำนวนครั้งในการให้คำปรึกษามากขึ้น
ต้องการให้เผยแพร่ไปทุกสถาบันอุดมศึกษา เพราะเป็นเรื่องที่ดีมาก
สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฎอื่นที่ไม่เลือกทำ PMQA
อาจจะเป็นเพราะการประเมินที่อาจจะยังไม่พร้อม
แต่ก็สามารถนำเครื่องมือมาใช้เพื่อนำไปสู่เป้าหมายได้
ไม่ควรเน้นที่ค่าน้ำหนัก คะแนน บางมหาวิทยาลัย ผู้บริหารอาจมาจากการสรรหา
เครืองมือนี้ก็จะช่วยในการบริหารจัดการได้ดี
ทำให้เป็นภาพรวมที่ดีมากขึ้นต่อไป
สำนักบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม /
ข้อมูล
วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 12 กรกฎาคม 2553 10:27:34 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 12 กรกฎาคม 2553 10:27:34