Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2553 / กรกฎาคม / PERC จัดอันดับระบบราชการไทยมีประสิทธิภาพเป็นอันดับ 3 ของเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

PERC จัดอันดับระบบราชการไทยมีประสิทธิภาพเป็นอันดับ 3 ของเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

PERC จัดอันดับระบบราชการไทยมีประสิทธิภาพเป็นอันดับ 3
ของเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


          
บริษัทที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงทางการเมืองและเศรษฐกิจ (Political and Economic Risk Consultancy: PERC) ประกาศผลการจัดอันดับความมีประสิทธิภาพของระบบราชการในประเทศ แถบเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำปี 2553 เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยประเทศ ไทยได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 3 จาก 12 ประเทศ

alt          การ จัดอันดับดังกล่าว  เป็นผลมาจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารชาวต่างชาติที่เข้าไปประกอบ ธุรกิจการค้าในประเทศแถบเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวม 12 ประเทศ  ซึ่งทำการสำรวจโดยบริษัทที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงทางการเมืองและเศรษฐกิจ (Political and Economic Risk Consultancy: PERC) ของฮ่องกง ซึ่งเป็นองค์กรระดับสากลที่ให้คำปรึกษาด้านข้อมูลทางธุรกิจ และการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์สำหรับการประกอบธุรกิจ โดยมีเกณฑ์คะแนนตั้งแต่ 1 - 10 ซึ่งคะแนนที่สูงขึ้น หมายถึง การที่ระบบราชการของประเทศนั้น ๆ สร้างปัญหา และความยุ่งเหยิงให้กับพลเมือง รวมทั้งเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนของชาวต่างชาติ โดยสรุป ผลการจัดอันดับความมีประสิทธิภาพของระบบ ราชการในประเทศแถบเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำปี 2553 ได้ ดังนี้

ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ 

คะแนน 

สิงคโปร์ 

2.53 

ฮ่องกง 

3.49 

ไทย 

5.53 

เกาหลีใต้ 

6.13 

ญี่ปุ่น 

6.57 

ไต้หวัน 

6.60 

มาเลเซีย

6.97 

จีน

7.93 

เวียดนาม

8.13 

ฟิลิปปินส์

8.37 

อินโดนีเซีย

8.59 

อินเดีย

9.41


          สำหรับการพิจารณาการจัดอันดับความเสี่ยงทางการเมืองและเศรษฐกิจ ของประเทศ โดย PERC นั้น มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้

           ความเสี่ยงจากการเมืองภายในประเทศ
             - ความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงของรัฐบาลและผู้นำคนสำคัญที่จะมาถึง
             - ความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงการเมืองที่ยุ่งเหยิง
             - คุณภาพด้านนโยบายของรัฐบาล
             - ความไม่มีประสิทธิภาพของรัฐบาลในการนำนโยบายไปปฏิบัติ
alt
           ความเสี่ยงจากความไม่มั่นคงทางสังคม
             - ลัทธินิยมด้านแรงงาน
             - ภัยคุกคามจากสถานการณ์ความไม่สงบสุข
             - ปัญหาหรือภัยคุกคามของภูมิภาค

          ความเสี่ยงจากการเมืองภายนอกประเทศ
             - ภัยคุกคามด้านทหารโดยตรง
             - ความอ่อนแอด้านความไม่เสถียรภาพด้านสังคมและการเมืองของประเทศอื่น
             - ความอ่อนแอด้านการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาลในประเทศอื่น

           ความเสี่ยงจากระบบโดยรวม
             - ปัญหาการคอร์รัปชัน
             - ชาตินิยมและความเสี่ยงด้านวัฒนธรรม
             - ความอ่อนแอของสถาบัน 

alt          บท สรุปของผลการสำรวจในครั้งนี้ พบว่า ประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีคะแนน 3 อันดับสุดท้าย โดยที่ประเทศอินเดียนั้น ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับท้ายที่สุด หมายความว่า ระบบราชการมีประสิทธิภาพน้อยที่สุด (The Regions Most Inefficient Bureaucracy) สาเหตุที่ทำให้ทั้ง 3 ประเทศดังกล่าว ได้รับการจัดอันดับว่าระบบราชการมีประสิทธิภาพน้อยที่สุด เนื่องมาจากความล่าช้า (Red Tape) และความไม่มีประสิทธิภาพ (Asias Most Inefficient Bureaucracies) ของระบบราชการ อันส่งผลกระทบต่อประชาชนและเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนของชาวต่างชาติ โดยรายงานของ PERC ยังระบุอีกว่าระบบราชการ (Government Bureaucracies) ในภูมิภาคเอเชียบางประเทศมีลักษณะเป็น ศูนย์กลางระบบอำนาจ อันเป็นอุปสรรคสกัดกั้นความพยายามในการปฏิรูปของนักการเมือง และข้าราชการ (Politicians and Appointed Officials) 

          นอกจากนี้ รายงานผลการสำรวจการจัดอันดับความมีประสิทธิภาพของระบบราชการ โดย PERC จากการรายงานของหนังสือพิมพ์ The Straits Times เมื่อปีที่ผ่านมา (Singapore Press, 2009) ระบุว่า ประเทศ ไทยแม้ว่าจะมีการประท้วงตามท้องถนนเป็นเวลาถึง 4 ปี และมีรัฐบาลที่ไม่มีเสถียรภาพ (Dysfunctional Government)  แต่เนื่องจากข้าราชการไทยมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน จึงถูกจัดให้อยู่อันดับที่ 3 ของผลการสำรวจ

 
โชติมา (สำนักนวัตกรรมฯ) / ข้อมูล
วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 8 กรกฎาคม 2553 09:48:56 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 8 กรกฎาคม 2553 10:07:36
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th