Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2553 / มิถุนายน / สำนักงาน ก.พ.ร. จัดการเสวนาเวทีปัญญา สัมมนาวาที แบ่งปันประสการณ์: การนำนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีในสวนราชการไปสู่การปฏิบัติ

สำนักงาน ก.พ.ร. จัดการเสวนาเวทีปัญญา สัมมนาวาที แบ่งปันประสการณ์: การนำนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีในสวนราชการไปสู่การปฏิบัติ

สำนักงาน ก.พ.ร. จัดการเสวนาเวทีปัญญา สัมมนาวาที
แบ่งปันประสบการณ์: การนำนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี
ในส่วนราชการไปสู่การปฏิบัติ



alt          
เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดการเสวนาเวทีปัญญา สัมมนาวาที แบ่งปันประสบการณ์: การนำนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีในส่วนราชการไปสู่การปฏิบัติ ณ ห้องกษัตริย์ศึก 2 โรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ กรุงเทพฯ โดยมี นางสุพรรณี ไพรัชเวทย์ ที่ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการ สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นประธานเปิดงาน โดยเวทีเสวนาปัญญา สัมมนาวาทีได้รับความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานในการนำประสบการณ์ในการพัฒนาระบบราชการให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนมาแลกเปลี่ยนกันมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับการเสวนาในครั้งนี้เป็นการแบ่งปันประสบการณ์การนำนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีในส่วนราชการไปสู่การปฏิบัติอย่างมีสัมฤทธิผล ซึ่งส่วนราชการได้ให้ความสำคัญต่อการกำหนดนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีซึ่งกำหนดจากวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมหลักขององค์การ และหลักธรรมาภิบาลที่สำคัญต่อหน่วยงานแต่ละหน่วยงาน คือ หลักการมีส่วนร่วม หลักนิติธรรม ความโปร่งใส การตอบสนอง การมุ่งเน้นฉันทามติ ความเสมอภาค ประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ภาระรับผิดชอบ และวิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์ โดยมีเจตนารมณ์เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนมาเป็นตัวตั้งในการกำหนดนโยบาย และมีมาตรการหรือโครงการในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ

alt

          ส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชน ส่วนราชการต้องให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลองค์กรที่ดีเพื่อการตอบสนองต่อสังคม ตั้งแต่ปี 2551 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้มีการเผยแพร่วิธีการจัดทำนโยบายกำกับองค์กรที่ดี หรือ Corporate Governance ภาคเอกชน CG ถือว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องประกาศเจตนารมณ์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้ทราบว่าองค์กรมีการบริหารจัดการที่ดี ที่ได้สอดแทรกหลักธรรมาภิบาล Governance ไว้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดการเชื่อถือศรัทธาและมีผู้เข้ามาลงทุนในองค์กร รวมทั้งผู้รับบริการจะได้ทราบว่าจะได้รับการบริการที่ดีอย่างไร โดยหลังจากที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ศึกษาแล้วเห็นว่าภาคราชการแต่ละส่วนราชการ ควรได้มีการจัดทำนโยบายการกำกับดูแลตนเองที่ดี และมีการประกาศเจตนารมณ์ให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ ทั้งนี้ส่วนราชการต่างๆ ได้มีการดำเนินการที่กำหนดไว้แต่ละด้าน และนำไปใช้จริง คือ ด้านรัฐและสังคม ด้านบุคลากร ด้านองค์การ และด้านผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งส่วนราชการได้ดำเนินการและได้นำไปสู่การปฏิบัติแล้วตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้กำหนดไว้ในตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ หมวดการนำองค์กร และสำนักงาน ก.พ.ร. ได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามีหลายส่วนราชการที่ได้ดำเนินการกำหนดนโยบายกำกับดูแลตนเองที่ดีในแต่ละด้าน รวมทั้งนำไปสู่การปฏิบัติได้เป็นอย่างดี ซึ่งมีส่วนราชการที่ได้รับเชิญมาเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ และวิธีการที่แต่ละองค์กรได้ดำเนินการมาแล้ว เพื่อการนำไปสู่ความเข้าใจได้อย่างรวดเร็วและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน โดยมีท่านผู้แทนส่วนราชการได้ให้เกียรตินำการเสวนาจากส่วนราชการ 3 หน่วยงานเข้าร่วมนำการเสวนา คือ

alt


          นายมนัส กำเนิดมณี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กรมชลประทาน โดยกรมฯ ได้ดำเนินการด้านนโยบายภาครัฐ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างจริงจังและต่อเนื่องส่งเสริมเพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้ามาส่วนร่วมในการดำเนินงาน และได้รับความสำเร็จอย่างที่ได้ทราบกันเป็นอย่างดี

          นายวชิระ เพ็งจันทร์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ซึ่งในปีงบประมาณ 2552 นี้ กรมฯได้รับรางวัลจากสำนักงาน ก.พ. ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล

          นายเจษฎา อริยฉัตรกุล ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร กรมศุลกากร ซึ่งกรมศุลกากรได้รับรางวัลนวัตกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลง จากกระทรวงการคลัง รางวัลชนะเลิศประเภทการให้บริการประชาชน E-Custom ระบบการนำเข้าและส่งออกแบบไร้เอกสาร จากสำนักงาน ก.พ.ร. 

alt

alt
          นายอนุชิต ฮุนสวัสดิกุล ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มพัฒนาระบบการสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบราชการ ให้เกียรติทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการเสวนาในครั้งนี้

          โดยนายอนุชิตได้กล่าวเริ่มการเสวนาว่า สิ่งสำคัญของการมีนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี นั่นคือ การแปลงนโยบายมาสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม โดยการเสวนานี้จะเป็นเวทีที่ทำให้หน่วยงานราชการที่รับฟังการเสวนาได้นำตัวอย่างของการนำนโยบายฯไปสู่การปฏิบัติผ่านโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ โดยหน่วยงานราชการทั้ง 3 หน่วยงานที่ได้รับเชิญมาเป็นต้นแบบในการนำนโยบายฯไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

alt          การเสวนาเริ่มจาก นายมนัส กำเนิดมณี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กรมชลประทาน ได้กล่าวว่า จากหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีนั้น ทางกรมชลประทานได้มีนโยบายหลักในการปฏิบัติงานคือ การมุ่งเน้นการดำเนินงานด้านการชลประทานภายใต้กรอบกฎหมาย โดยคำนึงถึงสังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน นอกจากนี้กรมชลประทานมีแนวทางการนำนโยบายมาสู่การปฏิบัติ โดยแบ่งนโยบายเป็น 3 ด้านได้แก่ นโยบายด้านรัฐ คือการดำเนินการตามพ.ร.บ.ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นโยบายด้านสังคม ได้แก่ การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในงานชลประทาน การพัฒนาเครือข่ายเยาวชน และมีช่องทางการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่การพัฒนาแหล่งน้ำ โดยดำเนินงานด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน และการบริหารจัดการน้ำ โดยการควบคุมคุณภาพน้ำชลประทานให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

alt

          ความท้าทายของกรมชลประทาน คือ ความต้องการการใช้น้ำ ปัญหาโลกร้อน เกี่ยวข้องกับการกำหนดมาตรการ ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม คือ น้ำ อาหาร และพลังงาน ซึ่งคาดว่าในปี 2050 จะเกิดวิกฤตการใช้น้ำ ซึ่งต้องมีการวางยุทธศาสตร์ กำหนดเป้าหมายยุทธศาสตร์ และหลักธรรมาภิบาลเนื่องจากไม่มีสิ่งใดในโลกที่ใช้ทดแทนน้ำได้ ดังนั้นการบริหารจัดการต้อง Manage ยุทธศาสตร์ กับจริยธรรมเข้าในเนื้องานปกติ และดึงออกมาเป็นแนวทางการปฏิบัติด้านรัฐ สนองรัฐโดยความเป็นกลางทางการเมือง ความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ ส่วนด้านสังคมคืองานที่ดูแลประชาชน และเกษตรกร เครือข่ายการมีส่วนร่วม ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชน การปรับเปลี่ยนกฎระเบียบให้เหมาะสม สิ่งที่เป็นความท้าทายของกรมฯ คือการปรับเปลี่ยนทัศนคติของคนในองค์กร ได้เชิญวิศวกรของกรมฯให้เป็นผู้เข้าไปรับฟังความต้องการของประชาชน ต้องพูดน้อย จับประเด็นคำถาม และรับฟังอย่างตั้งใจ มีการวางระบบ รับฟังความคิดเห็นทุกขั้นตอนการทำงาน ดังนั้นงานที่ทำปัจจุบันนี้ 80% มาจากความต้องการของประชาชน อีก 10% มาจากยุทธศาสตร์พัฒนาความมั่นคงของประเทศ และปัญหาคุณภาพน้ำ กรมฯมุ่งเน้นหลักธรรมาภิบาลนำไปใช้ในระบบโดยบางครั้งมีการปรับโครงสร้างองค์กร นำ Organizational Governance ยกระดับส่วนราชการให้ประเทศมีการปรับเปลี่ยนองค์กรในทางที่ดีขึ้น

alt          ทางด้านนายเจษฎา อริยฉัตรกุล ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมศุลกากร เจ้าของรางวัลเพ็ชรวายุภักษ์ กระทรวงการคลัง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 รางวัลนวัตกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลง รางวัลชนะเลิศประเภทการให้บริการประชาชนและหน่วยงานภายนอก ระบบ e-customs สำหรับการนำเข้าและส่งออกแบบไร้เอกสาร และรางวัลการให้บริการประชาชน สำนักงาน ก.พ.ร. กล่าวว่า กรมศุลกากรมีแนวทางการดำเนินงานที่มุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการคำนึงถึงความต้องการของผู้รับบริการอย่างแท้จริง และได้มีการปรับปรุง พัฒนากระบวนการการให้บริการประชาชนเพื่อรองรับปริมาณงานที่เพิ่มมากขึ้น โดยอาศัยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพัฒนาเป็นระบบ One-Stop Service Center ซึ่งทางกรมฯได้มีการเปลี่ยนระบบการปฏิบัติงานเพื่อให้ครอบคลุมระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาพัฒนาได้แก่การคำนึงถึง พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ เน้นด้านความปลอดภัยในระดับมาตรฐาน และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น 

alt

          ในส่วนของการพัฒนาระบบปฏิบัติงานของกรมศุลกากรนั้น ได้เชิญกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มผู้ประกอบการและกลุ่มอื่นๆ เพื่อมารับฟังคำชี้แจงและข้อตกลงในการปฏิบัติงานร่วมกัน รวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการทราบเกี่ยวกับระเบียบต่างๆ ในการปฏิบัติงานเพื่อความโปร่งใสในการติดต่อประสานงานเพื่อขอรับบริการ อย่างไรก็ตาม กรมฯ ได้ใช้นโยบายทั้งการป้องกันและควบคุม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 กรมฯ มี EDI (Electronic Data Interchange) ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด สนับสนุนให้ผู้ประกอบการป็นผู้บันทึกข้อมูลได้รับประโยชน์ เนื่องจากต้องใช้ระบบสากลตาม World Custom Organization มีระบบ UNFAX ควบคุมเอกสาร มีระบบ Electronic Fund Transfer (EFT) ในปี 2551 กรมฯ ได้จัดทำด้านนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี คือนำ E-Custom ประสานงานกับภาคเอกชน ซึ่งได้ปรับปรุงมาตลอดอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นหลัก สร้างการมีส่วนร่วมโดยเชิญผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาทำความเข้าใจร่วมกัน การปรับปรุงบริการจะคำนึงถึงความต้องการของผู้รับบริการว่าต้องการความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องการได้รับผลลัพธ์ที่ส่งผลในทางบวก และสร้างความสมดุลโดยการปรับเปลี่ยนวิธีการให้บริการโดยใช้ระบบสารสนเทศเป็นหลัก พยายามพัฒนาสู่ระดับมาตรฐานสากล โดยประเทศไทยได้มีการลงนามในข้อตกลง ASEAN Single Window ซึ่งกรมศุลกากรต้องจัดทำระบบ National Single Window โดยมีการดำเนินการร่วมกับ 3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า-ส่งออก มุ่งเน้นให้เกิดการบูรณาการ กำหนดระเบียบให้สามามารถใช้ Electronics ได้โดยไม่มีปัญหา บางหน่วยงานให้บริการทาง Internet แต่ไม่สามารถแลกเปลี่ยนได้ ดังนั้น National Single Window สามารถนำไปปรับใช้ได้ในหน่วบงานต่างๆ ไม่เพียงแต่ที่กรมศุลกากรเท่านั้น การเตรียมข้อมูลอย่างเดียวอาจนำมาใช้งานไม่ได้ ต้องทำให้แลกเปลี่ยนได้และนำมาจัดทำครั้งเดียวสามารถใช้ได้ทุกที่ รวมทั้งนำมา Share ได้ 

alt

alt          นายวชิระ เพ็งจันทร์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กรมสุขภาพจิตมีการกำกับดูแลองค์การที่ดี นำให้ทีมงานทำตามด้วยความเต็มใจ โดยให้บูรณาการให้อยู่ในเนื้องาน มีการจัดตั้งสำนักบริหารการเปลี่ยนแปลง มีการเชิญบุคลากร (Middle man) ระดับกรมคือผู้อำนวยการ ระดับหน่วย คือผู้อำนวยการคุณภาพ จากกลุ่มงานในส่วนกลาง สาธารณสุข ต้องการให้ประชาชนศรัทธา ไว้วางใจ สร้างการยอมรับ มั่นใจในนโยบายที่ให้ เนื่องจากมีต้นทุนเดิม ค่านิยมในการทำงาน สั่งไม่ได้แต่สั่งสมได้ นโยบายต้องชัดเจนทุกคนในองค์กรต้องทำการประเมิน Performance Management System มีการประเมินทุกระดับรวมทั้งระดับรองอธิบดี ได้รับการประเมินผลจากอธิบดี ต้องดูจากการประเมินหน่วยงานที่รองอธิบดีรับผิดชอบ ต้องรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงาน อย่างโปร่งใส และตรวจสอบได้ 


alt

          นอกจากนี้ ยังมีวัฒนธรรมในการทำงานเป็นทีม ทุก 6 เดือนมีการประเมิน กระบวนการเรียนรู้ในการทำงานไดย Learning Team Accessibility Equality Quality (Zero Defect) ให้ลูกค้าพอใจ หากต้องการดำเนินการด้านนโยบายการกำกับดูแลตนเองที่ดีต้องดูทั้ง 4 ด้านพร้อมกัน ประเด็นหลักที่สำคัญคือ การมุ่งเน้นการให้บริการลูกค้า networking และ Partnership สิ่งที่ดำเนินการด้านองค์กรคือการบริหารความเสี่ยง กำหนดเป้าหมายสำคัญ การบริหารผลการปฏิบัติงานให้จรรยาบรรณ กำกับ ใช้ระบบคุณภาพ altเช่น HA และ ISO 9001. โดยให้หน่วยงานย่อยๆ พัฒนาคุณภาพตามระบบ ให้สอดคล้องกับธรรมาภิบาล 9 ข้อ การใช้ Internal และ External Administration และองค์การมีความต้องการมุ่งสู่ Zero Defect นำไปสู่การกำกับดูแลองค์การที่ดี จัดทำระบบฐานข้อมูลเพื่อให้บุคลากรรับผิดชอบต่องานของตนเอง ต่อลูกค้า องค์การ ผู้บริหารสูงสุดมีการวางวิธีการการดำเนินงานขององค์การ การถ่ายทอดทำได้ง่าย มีการพัฒนาคุณภาพ ไม่เลือกปฏิบัติ มีระบบการประเมินเป็นขั้นๆ โปร่งใสตรวจสอบได้ มีการส่งเสริมความก้าวหน้าในอาชีพตามหลักความเป็นธรรมและความเสมอภาค มีการส่งเสริมคนเก่ง เช่น HIP และ Talent มีการวางแผนเตรียมผู้บริหารภายในระยะเวลา 10 ปี ใช้ระบบคุณภาพให้เกิดความสมดุล การจัดทำ Organizational Governance สามารถทำได้ถ้าอยากทำต้องพิจารณาว่าทำแล้วประชาชนได้อะไร ระบบราชการได้อะไร ธรรมาภิบาลและนโยบายกำกับดูแลองค์การที่ดีมีผลที่ดีอย่างไร

          สามารถติดตามบรรยากาศของการเสวนา ได้ที่
          http://www.opdc.go.th/content.php?menu_id=4&content_id=1639


alt

alt

alt

alt

 
กลุ่มบริหารการเปลี่ยนแปลง 2 สำนักนวัตกรรมฯ / ข้อมูล
นนทญา (สลธ.) / ข่าว & ภาพ
วสุนธรา (สลธ.) / รายงาน
   

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 11 มิถุนายน 2553 09:36:54 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 11 มิถุนายน 2553 09:43:06
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th