สรุปเวทีปัญญา สัมมนาวาที
ครั้งที่ 12
การจัดทำแผนปฏิบัติ
ราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
สำนักงาน ก.พ.ร.
โดยสำนักบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม จัดการประชุมสัมมนา เวทีปัญญา สัมมนาวาที ครั้งที่ 12 เรื่อง
การจัดทำแผนปฏิบัติ
ราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด เมื่อวันที่ 31
มีนาคม 2553 ณ ห้องเมจิก 2 ชั้น 2 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น
กรุงเทพมหานคร
โดยเชิญผู้แทนจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่ประสบความสำเร็จในการจัดทำแผนงานและ
คำของบประมาณที่มีคุณภาพ จนสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง
มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดเทคนิค รูปแบบ
และวิธีการในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี
หรือคำของบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
นางสุพรรณี ไพรัชเวทย์ ที่
ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการ สำนักงาน ก.พ.ร.
ได้กล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดการประชุม โดยกล่าวถึงการจัดประชุมสัมมนา
เวทีปัญญา สัมมนาวาที ว่า ได้มีการจัดมาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้ส่วนราชการใช้เครื่องมือด้านการบริหารความรู้
เข้ากับเครื่องมือการบริหารจัดการสมัยใหม่
และเพื่อให้สอดคล้องตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร
กิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 หมวด 3
ว่าด้วยการบริหารราชการเพื่อให้เกิดสผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
ซึ่งต้องการพัฒนาความรู้ในส่วนราชการให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
อย่างสม่ำเสมอ
พร้อมทั้งมีการใช้เครื่องมือตามแนวทางที่กำหนดไว้ตามกฎหมายการบริหารกิจการ
บ้านเมืองที่ดี
นางสุพรรณีกล่าวต่อไปว่า การประชุมสัมมนาในครั้งนี้ สำนักงาน
ก.พ.ร.
ได้คัดเลือกประเด็นที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำแผนปฏิบัติ
ราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
ซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550
และในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
พ.ศ. 2551 ที่เน้นการบริหารโดยยึดพื้นที่ และการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ
เป็นหลัก
โดยได้รับเกียรติจากผู้แทนจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่ประสบความสำเร็จในการ
จัดทำแผนงานและคำของบประมาณ มานำเสนอประสบการณ์ เทคนิค
วิธีการในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี ใน 2 ประเด็นยุทธศาสตร์ คือ
ด้านการเกษตร และด้านการท่องเที่ยว
ซึ่งเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ที่จังหวัดและกลุ่มจังหวัดเลือกมาดำเนินการมากที่
สุด
สำหรับการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การจัดทำแผนปฏิบัติ
ราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัดและจังหวัดนั้น มี ดร.พรเทพ อนุสสรนิติสาร
อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย โดยแบ่งการอภิปรายออกเป็น 2
ช่วงคือ ช่วงเช้า
เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการเกษตร และ ช่วงบ่าย
เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว
ช่วงเช้า :
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการเกษตร มี
หัวข้อของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
การเกษตรเพื่อ
การแข่งขัน (ข้าวหอมมะลิเป็นเลิศ :
พัฒนาคุณภาพและเพิ่มมูลค่าสู่ความต้องการตลาด) โดย นายยรรยง วิไลพงษ์
หัวหน้ากลุ่มบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานจังหวัดอุบลราชธานี และ นายสำพรต จันทร์หอม หัว
หน้าฝ่ายยุทธศาสตร์และสารสนเทศ สำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี
นายยรรยง วิไลพงษ์ ได้นำเสนอแนวคิด
การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอน
ล่าง 2 โดยมีวิสัยทัศน์ของกลุ่มจังหวัด คือ ข้าวหอมมะลิเป็นเลิศ
ยกระดับการท่องเที่ยว และการค้าชายแดน และจากวิสัยทัศน์ดังกล่าว
ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ 3 ประเด็น ได้แก่
1. เพิ่มคุณภาพและเพิ่มมูลค่าข้าวหอมมะลิสู่ความต้องการของตลาด
2. พัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวให้ได้ระดับมาตรฐานและยั่งยืน
3. พัฒนาระบบสนับสนุนการบริหารจัดการธุรกิจการค้า
และเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดนครบวงจร
ในการจัดทำแผนปฏิบัติตามประเด็นยุทธศาสตร์ดังกล่าว
กลุ่มจังหวัดได้มีการกำหนดกระบวนการทำงานที่เห็นภาพชัดเจน เป็น Road Map
รวมทั้งนำแผนเดิมมาประกอบการพิจารณา มีการวิเคราะห์สภาพพื้นที่
และมีตัวเลขยืนยันประกอบการวิเคราะห์
โดยในประเด็นยุทธศาสตร์เรื่องของการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าข้าวหอมมะลินั้น
ได้กำหนดกลยุทธ์ ดังนี้
1.
เพิ่มผลผลิตและพัฒนาคุณภาพขบวนการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพดีตามมาตรฐาน GAP
2. พัฒนาคุณภาพกระบวนการแปรรูปตามาตรฐาน GMP
เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปข้าวหอมมะลิคุณภาพดี
3.
พัฒนาและเพิ่มช่องทางการตลาดข้าวหอมมะลิและผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปข้าวหอม
มะลิ
นอกจากนี้
นายยรรยงได้นำเสนอเทคนิคในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี
และข้อเสนอแนะในการดำเนินการ ดังนี้
1. การทำงานเชิงบูรณาการ
โดยกลุ่มจังหวัดได้ใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวจากการที่เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่
นั้น ๆ ทำให้การประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ง่ายขึ้น
เพื่อให้หน่วยงานอื่นมีส่วนร่วมในการทำงาน
2. ในการวิเคราะห์ วิจัย
ควรเป็นเชิงปริมาณหรือเป็นตัวเลขประกอบการวิเคราะห์ ไม่ควรใช้ความรู้สึก
เพราะไม่สามารถชี้วัดได้ ซึ่งองค์ความรู้นั้นมีอยู่หลายแห่ง เช่น
ผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ
ในเรื่องทีเกี่ยวข้องที่สามารถนำข้อมูลและตัวเลขมาสนับสนุนการวิจัยของ
จังหวัดได้
3. ในการมีส่วนร่วมจากหลายจังหวัด
การผลักดันให้เป็นไปตามธงที่ตั้งไว้ ควรมองทิศทางความเป็นไปได้
ซึ่งเป็นข้อมูลข้อเท็จจริงในพื้นที่ นอกจากนี้ต้องมีการประชุม
ระดมความคิดเพื่อสรุปข้อคิดเห็นที่ชัดเจน
และอาจต้องจัดทำร่างตุ๊กตาเพื่อให้ที่ประชุมเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมด้วย
4. สิ่งที่ควรให้ความสำคัญและควรศึกษา คือ
เรื่องการมอบอำนาจของกลุ่มจังหวัด
ซึ่งบางกลุ่มจังหวัดมีการคาบเกี่ยวระหว่างพื้นที่ ดังนั้น
ควรให้ผู้ว่าราชการจังหวัดที่เป็นหัวหน้ากลุ่มจังหวัดมีการมอบอำนาจไปยัง
จังหวัดที่มีความเกี่ยวข้องเป็นหลัก เพื่อความสะดวกในการดำเนินการ
อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้เป็นเรื่องที่ขัดกับคำสั่ง ก.น.จ.
จึงเป็นปัญหาในการดำเนินการของกลุ่มจังหวัด
นายสำพรต จันทร์หอม กล่าว
เสริมว่า วิสัยทัศน์ของกลุ่มจังหวัดที่กำหนดขึ้น เป็นเรื่องท้าทาย
เพราะการทำให้ข้าวหอมมะลิเป็นเลิศนั้น
ต้องพิจารณาว่าองค์ประกอบในความเป็นเลิศนั้นมีอะไรบ้าง
ซึ่งจังหวัดได้มีการศึกษาลงลึกเพื่อให้ได้ข้อมูลดังกล่าว
รวมทั้งยังได้กำหนดเป้าหมายหรือธงไว้ด้วย
ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์และจัดทำแผนนั้น
เป็นข้อมูลที่ได้มีการเก็บมาเป็นระยะตั้งแต่ 5 ปี 10 ปี จนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้ยังมีการใช้เครื่องมือในเรื่องของแผนการมีส่วนร่วมของชุมชน
โดยเชื่อมโยงกับท้องถิ่น มีการร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมรับผลประโยชน์
พร้อมกันนี้ นายสำพรตได้ยกตัวอย่างของการจัดทำ Value Chain
หรือห่วงโช่ข้าวหอมมะลิ ซึ่งมีการกำหนดกิจกรรมหลักที่ทำ ตั้งแต่ต้นน้ำ
กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ
อนุรักษ์และ
ฟื้นฟูทรัพยากรเพื่อการเกษตร (รักษ์เจ้าพระยา/ป่าสัก : พัฒนาเกษตรปลอดภัย)
โดย นาย
ณรงค์ รักร้อย นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ
สำนักบริหารยุทธศาสตร์ กลุ่มงหวัดภาคกลางตอนบน 1
(จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) และ นายธีระศักดิ์ ขุมเงิน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร
ชำนาญการพิเศษ สำนักงานเกษตรจังหวัดสระบุรี
นายณรงค์ รักร้อย ได้นำเสนอแนวคิด
ในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1
ซึ่งได้กำหนดวิสัยทัศน์ของกลุ่มจังหวัดคือ
เป็นผู้นำในภูมิภาคด้านอุตสาหกรรมอาหาร การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ธรรมชาติ
และเกษตรปลอดภัย โดยมีบ้านเมืองที่น่าอยู่ มีสภาพแวดล้อมที่ปลอดมลภาวะ
มีการพัฒนาการศึกษา และนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย 7
ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่
1. การปรับโครงสร้างการผลิตและยกระดับเทคโนโลยี
เพื่อเพิ่มผลิตภาพภาคอุตสาหกรรม
2. การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.
การปรับโครงสร้างการท่องเที่ยวให้สมดุลและสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
4. การพัฒนาคนและสังคมให้มีคุณภาพ และยกระดับคุณภาพชีวิต
5. การพัฒนาระบบการเกษตรให้มีผลผลิตที่ปลอดภัย
6. การบริหารจัดการ การเชื่อมโยงคมนาคมและบริการระหว่างภาค
(Logistics)
โดยประเด็นยุทธศาสตร์ที่ได้รับงบประมาณมากที่สุด คือ
ประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการเกษตร
ซึ่งในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 นั้น
ได้มีการกำหนดโครงการที่ครอบคลุมทุกประเด็นยุทธศาสตร์ รวม 8 โครงการ
และได้มีการประชุมหารือเป็นระยะ เพื่อปรับปรุงทบทวนแผนให้มีความเหมาะสม
รวมทั้งปรับกลยุทธ์ในการทำงาน
และมีการมอบภารกิจให้แต่ละจังหวัดรับผิดชอบดำเนินการ
ซึ่งในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ก็ใช้แนวทางนี้
โดยตั้งคณะทำงานของแต่ละจังหวัดที่รับผิดชอบในแต่ละเรื่องขึ้นมา
จังหวัดที่รับผิดชอบในเรื่องใดก็พิจารณาในเรื่องนั้น ๆ
นอกจากนี้ยังได้เน้นการพัฒนาในเชิงกลยุทธ
โดยให้ความสำคัญกับประเด็นการพัฒนาที่เป็นปัจจัยหลักร่วมกัน
ในการกำหนดความเป็นอยู่ คุณภาพชีวิต การประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม
อุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว โดยกิจกรรมที่เสนอ
เน้นไปที่การฟื้นฟูแม่น้ำสายหลักคือแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสัก
โดยดำเนินการอย่างเป็นระบบ
ดำเนินการระยะยาวต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ยังกำหนดให้กลุ่มจังหวัดมีการติดตามประเมินผลด้วย
นายธีระศักดิ์ ขุมเงิน ได้เสนอแนว
คิดเพิ่มเติมในเรื่องของการเกษตรว่า
ควรนำปัญหาที่จังหวัดเดียวไม่สามารถแก้ไขได้มาเป็นแผนการเกษตรของกลุ่ม
จังหวัด เช่น เรื่องแม่น้ำ ซึ่งจังหวัดเดียวไม่สามารถทำให้แม่น้ำทั้ง 2
สายยั่งยืนอยู่ได้ ต้องมีการวางแผนตั้งแต่ระดับชุมชน
หน่วยงานในระดับจังหวัดด้านการเกษตร
เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรในระดับหมู่บ้านให้สอดคล้องกับ
สภาพปัญหาและความต้องการ ทั้งในเรื่องการถ่ายโอนภารกิจและงบประมาณ
โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุน
หากเกินความสามารถก็ให้อนุกรรมการระดับอำเภอทำเรื่องเสนอของบประมาณในระดับ
อำเภอ จัดทำแผนอำเภอ
และหากเกินความสามารถของอำเภอก็จะส่งไปถึงคณะกรรมการระดับจังหวัด
แล้วนำแผนนั้นมาขอเป็นแผนพัฒนาของกลุ่มจังหวัดต่อไป
ช่วงบ่าย :
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว
มีหัวข้อของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
การท่องเที่ยว
ทางทะเลระดับโลก :
พัฒนาการท่องเที่ยวเป็นองค์รวมเพื่อก้าวสู่ระดับโลกอย่างยั่งยืน โดย นายพิชิต บุญรอด นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ สำนักบริหารยุทธศาสตร์
กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน
นายพิชิต บุญรอด ได้นำเสนอในเรื่อง
Purposive ของกลุ่มอันดามัน โดยเสนอภาพรวมการดำเนินการในปีที่ผ่านมา
และการดำเนินการต่อไป มีการใช้ SWOT และ Value Chain
เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์จังหวัด โดยกำหนด Position ของแต่ละจังหวัดให้ชัดเจน
กล่าวคือ จังหวัดระนองเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
เพราะมีน้ำแร่ร้อนหรือกิจกรรมสปา
จังหวัดพังงาเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวทางน้ำ กิจกรรมดำน้ำ
เพราะมีทะเลที่สวยงาม มีธรรมชาติใต้น้ำที่ติดอันดับหนึ่งในสิบของโลก
จังหวัดกระบี่เป็นศูนย์กลางกิจกรรม Adventure
จังหวัดตรังเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ การแต่งงานใต้น้ำ และ
จังหวัดภูเก็ตเป็นศูนย์กลางการประชุมระดับโลก
ศูนย์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก อย่างกินเจ
นอกจากนี้ยังมีการนำประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการเกษตรมาเชื่อมโยงกับการท่อง
เที่ยวด้วย เช่น ครัวอาหาร การท่องเที่ยวเชิงเกษตร
ซึ่งสามารถไปด้วยกันได้โดยไม่ขัดแย้งกัน
สำหรับปัญหาในการจัดทำแผนนั้น นายพิชัยกล่าวว่า มี 3 ระดับ คือ
ระดับนโยบาย ระดับบริหาร และระดับปฏิบัติการ
โดยในระดับนโยบายไม่มีความชัดเจน
มุ่งแต่มูลค่าทางเศรษฐกิจของจังหวัดโดยไม่คำนึงถึงโครงสร้างของจังหวัด
อีกทั้งนโยบายไม่มีความต่อเนื่องอีกด้วย ปัญหาระดับบริหารคือ
ไม่มีความสอดคล้องกับกฎหมาย และระดับปฏิบัติการ
เป็นปัญหาในส่วนของบุคลากรที่ไม่เพียงพอ
เพราะเดิมไม่มีโครงสร้างอัตรากำลังในส่วนนี้
เมื่อมีสำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด หรือ OSM
จึงเป็นเสมือนองค์กรพิการแต่ทำงานเชิงรุก
จึงได้มีการทำงานแบบเชื่อมโยงกันจากสำนักงานจังหวัดทุกจังหวัด
การท่องเที่ยว
อารยธรรมอีสานใต้พัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวสู่สากล : เส้นทางอารยธรรมขอม
(นครชัยบุรินทร์) โดย นายนิวัต รองสวัสดิ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
ชำนาญการพิเศษ สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 และ นายธิติพงษ์ พิรุณ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด
บุรีรัมย์
นายนิวัต รองสวัสดิ์ ได้เสนอแนวคิด
ในการิดตามผลการดำเนินงานว่า ขึ้นอยู่กับกิจกรรมโครงการนั้น ๆ
ว่าวางแผนกันอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น
กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 เมื่อโครงการทำแผนเข้าระบบ
แผนงานก็เป็นกลุ่มก้อน จากจำนวนโครงการที่มีเป็นหลักร้อยก็ค่อย ๆ
ลดลงเป็นหลักสิบ จากเม็ดเงินเพียง 1 - 2 แสนบาท ก็เป็น 5 - 10 ล้านบาท
ซึ่งการมีพัฒนาการนี้สามารถช่วยจังหวัดได้ กล่าวคือ ทำให้มีโครงการไม่มาก
มีงบประมาณสูงขึ้นสามารถทำกิจกรรมได้มาก การรวมกลุ่มเป็นก้อนทำให้ Cluster
ชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ ในแต่ละโครงการได้มีการจัดทำแผนแม่บท มีการ Outsource
โดยจ้างที่ปรึกษาจากสถาบันการศึกษาหลายแห่งมาดูแลแต่ละโครงการ ทั้งการ
Implement การติดตามประเมินผล
แนวโน้มปีต่อไปก็มีการติดต่อให้สถาบันภายนอกมาช่วยประเมินให้
โครงการพัฒนาก็เช่นกัน แต่ละโครงการมีเป้ามาย
และมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนอยู่แล้ว
นายธิติพงษ์ พิรุณ กล่าวเสริมว่า
จังหวัดในกลุ่มนครชัยบุรินทร์มีความใกล้ชิดกันมาก
โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว
มีการบูรณาการและเจ้าภาพหลักที่จะดูแลในแต่ละเรื่อง ทั้งนี้
ตัวชี้วัดที่สร้างความยุ่งยากให้กับจังหวัดคือตัวชี้วัดเรื่องรายได้
ซึ่งหลายจังหวัดต่อรองที่จะไม่เอาตัวชี้วัดนี้ อย่างไรก็ตาม
เมื่อมีการท่องเที่ยวก็ต้องมีรายได้ตามมา ซึ่งรายได้จากการท่องเที่ยวนั้น
เป็นเรื่องใหญ่มากสำหรับกลุ่มจังหวัดภาคอีสาน
ถามว่ารัฐบาลมีการส่งเสริมผลักดันเรื่องนี้หรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น
ขณะนี้จะเชิญชวนเที่ยวงานมหกรรมปราสาทพนมรุ้ง
จะมีการงานเป็นไฮไลท์เส้นทางขอม
ซึ่งปราสาทพนมรุ้งนั้นเป็นที่เดียวที่ตั้งอยู่โดดเด่น
สามารถมองพระอาทิตย์ขึ้นและตก ผ่านช่องประตูทั้ง 15 ช่องของปราสาทได้
นับว่าเป็นมหัศจรรย์ของสถาปัตยกรรม
นอกจากนี้ ภาครัฐควรมีการจัดระบบการจัดการด้านการท่องเที่ยว
โดยเฉพาะในภาคธุรกิจการท่องเที่ยว บริษัททัวร์ต่าง ๆ
การผลักดันให้เห็นความแตกต่างของแหล่งท่องเที่ยวในภาคอีสานกับภูมิภาคอื่น
การดูแลระบบการบริการแหล่งท่องเที่ยวในแต่ละจังหวัด การส่งเสริมการตลาด
เพื่อให้แหล่งท่องเที่ยวในภาคอีสานเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวเช่นเดียวกับ
ในภูมิภาคอื่น เพราะภาคอีสานยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่เป็น unseen อีกมากมาย
เช่น แม่โขง ทุ่งดอกกระเจียว รวมทั้งโบสถานต่าง ๆ
ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอารยธรรม
สำหรับผู้ที่สนใจเนื้อหาของการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการ
ประชุมสัมมนา เวทีปัญญา สัมมนาวาที
ครั้งที่ 12 เรื่อง
การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด สามารถ
คลิกที่นี่ เพื่ออ่านสรุปรายงานการประชุมสัมมนาฯ
ได้และรับชมวิดีทัศน์กาประชุมได้ที่ http://www.opdc.go.th/content.php?menu_id=4&content_id=1635
วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ
ลลิดา (สลธ.) / ภาพ
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 1 มิถุนายน 2553 12:19:22 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 1 มิถุนายน 2553 13:53:02