Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2553 / พฤษภาคม / 9 จังหวัด คว้ารางวัลดีเยี่ยม ความเป็นเลิศด้านการบริหารราชการ แบบมีส่วนร่วม จาก ก.พ.ร.

9 จังหวัด คว้ารางวัลดีเยี่ยม ความเป็นเลิศด้านการบริหารราชการ แบบมีส่วนร่วม จาก ก.พ.ร.

9 จังหวัด คว้ารางวัลดีเยี่ยม
ความเป็นเลิศด้านการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม จาก ก.พ.ร.



alt


          
เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2553 เวลา 9.20 น. ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ นายวีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดพร้อมมอบรางวัล ความเป็นเลิศด้านการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประจำปี 2552 โดย มี 9 จังหวัด คือ สมุทรสงคราม ลำพูน จันทบุรี ยะลา อุบลราชธานี ชุมพร นครราชสีมา น่าน และ พะเยา คว้ารางวัลดีเยี่ยม 

alt          นายวีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิด เผยว่า รางวัลความเป็นเลิศด้านการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมนี้ ถือเป็นการดำเนินงานตามโครงการขับเคลื่อนการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ริเริ่มขึ้น โดยมีเป้าหมายในการสร้างรูปแบบการทำงานในระดับจังหวัดให้มีลักษณะเชิง บูรณาการ หรือทำงานร่วมมือกับเครือข่ายและฝ่ายต่างๆ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งการดำเนินการตามโครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมในระดับจังหวัด ให้เกิดความรู้ ความตระหนัก จนกระทั่งเป็นวัฒนธรรมของการทำงานในระบบราชการ และเชิดชูเกียรติจังหวัดที่มีผลงานการดำเนินการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามี ส่วนร่วมที่เป็นต้นแบบที่ดี และนำไปสู่การขยายผล

 
alt
          
กระบวน การของโครงการฯดังกล่าว ในแต่ละจังหวัดจะร่วมกันจัดประชาเสวนาเพื่อเลือกโครงการที่จะดำเนินการและ วางแผนปฏิบัติการระหว่างภาครัฐ และภาคประชาชน โดยให้ประชาชน มีส่วนร่วมตั้งแต่ในกระบวนการริเริ่มโครงการ ซึ่งเป็นการเข้ามามีส่วนร่วม ในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมสนับสนุน ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์ และร่วมติดตามตรวจสอบ ซึ่งความสำเร็จของโครงการเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายอย่าง อาทิ ภาวะผู้นำของผู้บริหารของส่วนราชการในระดับจังหวัด ที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนและเข้าใจกระบวนการทำงานที่ไม่ ได้ใช้การสั่งการ แต่ไปร่วมรับฟังปัญหา/ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการดำเนินการของภาคประชาชน รวมทั้งท้องถิ่น

          การ ดำเนินงานโครงการนี้ ได้ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งกับในส่วนของภาคราชการ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการในจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งภาคส่วนที่สำคัญคือภาคประชาชน ได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบโครงการร่วมกับภาครัฐ เป็นการปรับกระบวนทัศน์สำหรับการทำงานร่วมกัน ซึ่งนับว่าเป็นแนวปฏิบัติที่เป็นแบบอย่างที่ดี ทำให้ภาพการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของ ภาคส่วนต่าง ๆ มีความชัดเจนยิ่งขึ้น" นาย วีระชัยกล่าว


alt


alt          ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. กล่าวว่า สำหรับโครงการขับเคลื่อนการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม เป็นโครงการฯ เพื่อสนับสนุนการสร้างระบบ พัฒนารูปแบบ และขยายผลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นในระดับจังหวัดอย่างแท้ จริง โดยสำนักงาน ก.พ.ร. ได้มอบให้สถาบันพระปกเกล้าเป็นที่ปรึกษาในการดำเนินการ รวมทั้งช่วยในการแนะนำและติดตามประเมินผล เพื่อคัดเลือกจังหวัดเข้ารับรางวัลด้านความเป็นเลิศด้านการบริหารราชการแบบ มีส่วนร่วม ซึ่งได้เริ่มโครงการฯ มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2551 จนปัจจุบันการดำเนินโครงการได้แล้วเสร็จตามแผนการดำเนินงานที่กำหนด โดยได้มีการประเมินผลการดำเนินการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ บริหารราชการ รวมทั้งยืนยันผลการตรวจประเมินโดย อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการพัฒนาและส่งเสริมการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งได้ผลการตัดสินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยจังหวัดที่ได้รับรางวัลดีเยี่ยมด้านความเป็นเลิศด้านการ บริหารราชการแบบมีส่วนร่วม มีด้วยกัน 9 จังหวัด คือ สมุทรสงคราม ลำพูน จันทบุรี ยะลา อุบลราชธานี ชุมพร นครราชสีมา น่าน และ พะเยา


alt


          
นอกจากนี้ยังมีจังหวัดที่ได้รับรางวัลระดับดีอีก 7 จังหวัด ได้แก่ สุรินทร์ สระแก้ว ขอนแก่น มุกดาหาร แพร่ ลำปาง หนองคาย และรางวัลระดับชมเชย จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ สิงห์บุรี เพชรบุรี พิษณุโลก ระนอง กาฬสินธุ์ สงขลา

alt

           ดร.ทศพร กล่าวต่ออีกว่า สำนักงาน ก.พ.ร. และทีมที่ปรึกษาได้ลงไปติดตามและประเมินผล พบว่าในภาพรวมทุกจังหวัดให้ความสำคัญกับโครงการนี้เป็นอย่างดี และมีความพยายามในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังและ ต่อเนื่อง มีการจัดประชาเสวนาเพื่อเลือกโครงการที่จะดำเนินการและวางแผนปฏิบัติการมี การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยมีการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมที่เป็นระบบอย่างชัดเจน จนส่งผลให้ได้รับคะแนนในระดับสูงและได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัลดีเยี่ยม ครั้งนี้

          การ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการขับเคลื่อนการบริหารราชการแบบมี ส่วนร่วมในครั้งนี้ นับได้ว่าบรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินการเพื่อเปิดระบบราชการ ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนาระบบราชการ เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของข้าราชการและประชาชนในการทำงาน ร่วมกัน จนเป็นวัฒนธรรมการทำงานของระบบราชการและเพื่อสร้างพลังขับเคลื่อนการพัฒนา ประเทศอย่างสร้างสรรค์ สำนักงาน ก.พ.ร. จะได้เร่งขับเคลื่อนโครงการในลักษณะนี้ตามแผนยุทธศาสตร์ที่ได้กำหนดไว้ในแผน พัฒนาระบบราชการรอบใหม่ (พ.ศ.2551 - พ.ศ.2555) อย่างจริงจังและต่อเนื่องต่อไป เลขาธิการ ก.พ.ร.กล่าวในที่สุด

alt


alt


           อนึ่ง รางวัลระดับดีเยี่ยม 9 จังหวัด ได้นำเสนอผลงาน ดังต่อไปนี้

alt
           1. จังหวัดสมุทรสงคราม เสนอผลงานที่เปิด โอกาสให้ทุกภาคส่วน ประกอบด้วย ภาคเอกชนและภาคประชาชน เข้ามามีบทบาทในการดำเนินการโครงการต่าง ๆ ทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเสนอปัญหา หาแนวทางแก้ไข วางแผนและดำเนินการร่วมกัน โดยภาครัฐซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีทัศนคติที่ดีต่อการบริหารราชการแบบ มีส่วนร่วมของประชาชน ให้ความสำคัญ และเข้าร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ เป็นผู้ให้การสนับสนุน มี 3 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน (2) โครงการฟื้นฟูและพัฒนาตลาดน้ำบางน้อยบริเวณปากคลองบางน้อย และ (3) โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพตามโครงการภูมิปัญญาแผ่นดินขยายผลสู่ปวงชนชาว ไทย



alt           2. จังหวัดลำพูน เสนอโครงการ เสวนา ฮอมเฮง แป๋งหละปูน เมืองบุญหลวงแห่งล้านนาสู่มรดกโลก และ โครงการคนฮักหละปูน แทนคุณแผ่นดิน เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชนทุกหมู่บ้าน ทุกชุมชนมีความจงรักภักดี ปกป้องชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ ส่งเสริมให้มีความสามัคคี เอื้ออาทรและเกื้อกูลกัน รวมตัวกันเป็นองค์กรภาคประชาสังคม (Civil Society) ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็งและส่งเสริมให้รวมตัวกันเป็นองค์กรภาค ประชาสังคม (Civil Society) อันเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็งและส่งเสริมประชาธิปไตยแบบมีส่วน ร่วม (Participative Democracy) โดยที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน และให้ส่วนราชการต่าง ๆ ร่วมกับประชาชนในชุมชนดำเนินกิจกรรมที่ทำให้เกิดความรัก ความหวงแหนถิ่นฐานและชนชาติของตนเอง

alt


           3. จังหวัดจันทบุรี ดำเนินโครงการที่ทำให้ เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติจังหวัดจันทบุรี ณ สถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 (ท่าสอน จันทบุรี) ซึ่งเป็นโครงการที่ภาครัฐ นำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดสร้างความตระหนักและรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และความเป็นเจ้าของพื้นที่ที่พึงรักและแหนหวง ส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนดำเนินการพัฒนาพื้นที่บริเวณป่าชายเลน และพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์


alt

           4. จังหวัดยะลา ดำเนิน โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนระดับหมู่บ้านชายแดนภาคใต้ (พนม.) โดยผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นผู้ที่รู้รอบในทุก ๆ ด้านของสังคมในจังหวัด ที่มีความแตกต่างกันในด้านเชื้อชาติ ศาสนา สามารถส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชน ทุกคน ทุกอาชีพ ทุกเพศ ทุกวัย ร่วมกันกำหนดทิศทาง แนวทางการบริหารกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน โดยมอบหมายให้หน่วยงานพัฒนาชุมชนเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนการทำงานใน พื้นที่ร่วมกับตัวแทนทุกภาคส่วน ประชาคม กลุ่มตัวแทนองค์กรภาคเอกชน ธุรกิจ ผู้นำตามธรรมชาติ ผู้นำทางศาสนา กลุ่มสตรีและเยาวชน




alt           5. จังหวัดอุบลราชธานี นำเสนอผลงานที่ดำเนิน การโดยให้ประชาชน ชุมชน ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมกันกำหนดแนวทาง กิจกรรม และการบริหารโครงการนั้น ๆ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้บริหารของหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดที่เกี่ยว ข้องผลักดันโครงการให้มีการขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 3 โครงการ คือ (1) โครงการอุบลเมืองสะอาด ราชธานีอีสาน ซึ่งดำเนินการในเรื่องการจัดการขยะมูลฝอยครบวงจร (2) โครงการคาราวานบริการสุขภาพเคลื่อนที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อบูรณาการงานใน 3 กิจกรรม คือ หน่วยบริจาคโลหิตเคลื่อนที่ หน่วยตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ และหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ (3) โครงการท้องถิ่นประชารัฐร่วมใจแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์และอบายมุข



alt           6. จังหวัดชุมพร เสนอผลงานที่ภาคประชาสังคม ทุกภาคส่วนร่วมกันดำเนินการ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้กระตุ้น ชี้แนะ และร่วมกับหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานเปิดโอกาสและผลักดันให้ประชาชน ชุมชน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ศึกษาเปรียบเทียบ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของประชาชนและชุมชนเองเพื่ออนุรักษ์ไว้ซึ่ง สภาพแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ มี 3 โครงการ คือ (1) โครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ตามพระราชดำริ   (2) โครงการโรงเรียนนักจัดการความรู้ จังหวัดชุมพร ปี 2552 และ (3) โครงการศูนย์เรียนรู้และพัฒนาอ่างทุ่งคา-สวี ตามแนวพระราชดำริ โดยประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่การกำหนดรูปแบบ การวางแผน การปฏิบัติงาน การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล โดยได้มีการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ ของประชาชนก่อนการดำเนินการประเมินผล และร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมในทุกขั้นตอน


alt           7. จังหวัดนครราชสีมา เสนอ โครงการ รักษ์ลำตะคอง ซึ่งเป็นโครงการฟื้นฟูและพัฒนาลำตะคอง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักที่หล่อเลี้ยงชุมชนต่าง ๆ ของจังหวัดนครราชสีมา จากการที่ลำตะคองถูกปล่อยทิ้งให้เน่าเสีย ตื้นเขิน ถูกบุกรุก ชุมชนที่อยู่สองฟากฝั่งของลำตะคองจึงร่วมกันฟื้นฟูและพัฒนาลำตะคองตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และท้ายน้ำ ซึ่งมีความยาวทั้งสิ้น 175 กิโลเมตร มีชุมชนที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 26 ชุมชนใน 6 อำเภอ คือ อำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน อำเภอขามทะเลสอ อำเภอเมืองนครราชสีมา และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีแนวคิดในการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ บริหารราชการจังหวัด ได้ให้การสนับสนุน โดยจัดตั้งคณะกรรมการและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับประชาชน ชุมชน ผลักดันโครงการให้ประสบผลสำเร็จ


alt           8. จังหวัดน่าน เสนอโครงการ ฟื้นฟูระบบนิเวศลุ่มน้ำน่านเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม (ต่อเนื่อง) ปี 2552 ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจริญพระชนมายุ 80 พรรษา และเพื่อฟื้นฟูความสมบูรณ์ของระบบนิเวศลุ่มน้ำน่าน ลุ่มน้ำที่เกี่ยวข้อง และผืนป่าในพื้นที่จังหวัดน่าน และมีวัตถุประสงค์ย่อยเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ในจังหวัดน่าน โดยเฉพาะป่าต้นน้ำ ซึ่งในการดำเนินการนั้น จังหวัดได้เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมและมีจิตสำนึกในการดูแลรักษา ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม โดยผู้ว่าราชการจังหวัดกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชน รวมทั้งองค์กรชุมชนต่าง ๆ ร่วมกันกำหนดโครงการ ทิศทาง และแนวทางในการดำเนินการ ก่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานราชการ ท้องถิ่น ชุมชน และภาคประชาชน โดยทำงานแบบพหุภาคี นอกจากนี้ยังส่งเสริมสนับสนุนให้เยาวชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงออกถึง การรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน

alt

          
9. จังหวัดพะเยา เสนอโครงการ พัฒนาระบบการจัดสวัสดิการชุมชน ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชน โดยจังหวัดซึ่งมีพัฒนาสังคมจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบ ดำเนินการส่งเสริมและผลักดัน ให้เกิดความร่วมมือในการช่วยเหลือเกื้อกูลของทุก ๆ ภาคส่วนในชุมชน เพื่อให้มีระบบและรูปแบบการจัดการสวัสดิการชุมชนภาคประชาชนในระดับชุมชนได้ อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม และพัฒนารูปแบบและระบบการจัดสวัสดิการสังคมให้เหมาะกับสภาพพื้นที่และชุมชน ซึ่งผลที่ปรากฏ ประชาชนในชุมชนมีความเข้มแข็ง และดำเนินการกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ



กลุ่มสื่อสารฯ สลธ. / ข่าว & ภาพ
วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ 
 

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 12 พฤษภาคม 2553 09:35:14 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 12 พฤษภาคม 2553 10:09:39
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th