ไทย ติด Top Ten
Doing Business 2011 เป็นจริงได้ หรือแค่ความฝัน
ก.พ.ร. จับมือ พาณิชย์ คลัง สภาพัฒน์
และธนาคารโลก เร่งยกเครื่องส่วนราชการปรับปรุงบริการ ตั้งเป้าติด 1 ใน 10
ประเทศที่เอื้อทำธุรกิจ
ใกล้
เข้ามาทุกขณะ สำหรับการรายงานผล
การศึกษาเพื่อจัดอันดับความยากง่ายในการเข้าไปประกอบธุรกิจของประเทศต่างๆ
ทั่วโลก (Doing Business) ประจำปี 2011 ของธนาคารโลก
(World Bank) ที่จะมีขึ้นในปลายปีนี้ ซึ่งประเทศไทยจะยังคงรักษามาตรฐาน
และไต่อันดับได้สูงมากขึ้น หรือจะลดน้อยถอยลงอย่างไร
เป็นเรื่องที่น่าติดตามอย่างยิ่ง ทั้งนี้ การจัดอันดับดังกล่าว
จะมีผลดึงดูดให้ผู้ประกอบการและนักลงทุนเข้ามาลงทุน
และประกอบธุรกิจในประเทศไทยเพิ่มขึ้น
ส่งผลให้การลงทุนขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโต
โดย
การศึกษาวิจัยนั้น จะเป็นการศึกษา
เกี่ยวกับขั้นตอนระยะเวลาการให้บริการ การอำนวยความสะดวก ต้นทุนค่าใช้จ่าย
และกฏหมาย กฏ ระเบียบต่างๆ ของรัฐ ว่ามีส่วนสนับสนุน
หรือเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจอย่างไร โดยมีตัวชี้วัดในการศึกษา
10 ด้าน ได้แก่ การเริ่มต้นธุรกิจ (Starting a Business)
การขออนุญาตก่อสร้าง (Dealing with Construction Permits) การจ้างงาน
(เดิมด้านการจ้างงานและการเลิกจ้าง) (Employing Workers)
การจดทะเบียนทรัพย์สิน (Registering Property) การได้รับสินเชื่อ (Getting
Credit) การคุ้มครองผู้ลงทุน (Protecting Investors) การชำระภาษี (Paying
Taxes) การค้าระหว่างประเทศ (Trading Across Boarders)
การบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง (Enforcing Contracts) และการปิดกิจการ
(Closing a Business)
ดัง
นั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม
และสนับสนุนให้มีการปรับปรุงงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักงาน ก.พ.ร.
กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ธนาคารโลก
และภาคเอกชน ได้ร่วมจัดการ
ประชุมเรื่อง การปรับปรุงบริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจ ขึ้น อันมีเป้าหมายสำคัญเพื่อประเมินผลการดำเนินการของส่วนราชการ
และหน่วยงานภาครัฐที่ผ่านมา
และร่วมกันกำหนดแนวทางในการดำเนินการปรับปรุงบริการ
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป
หวังขยับไทยขึ้นแท่นติดอันดับ 1 ใน 10
ประเทศที่น่าประกอบธุรกิจที่สุดของโลก ซึ่งจัดขึ้นที่ห้องประชุมป๋วย
อึ๊งภากรณ์ ชั้น 7 อาคารสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ไปเมื่อวันที่ 2 เมษายน
2553 ที่ผ่านมา โดยมี นาย
ไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี
เป็นประธานเปิดการประชุมพร้อมมอบนโยบาย
นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รอง
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นับเป็นเรื่องน่ายินดีที่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
รวมทั้งสมาคมต่างๆ ได้ร่วมมือ
ร่วมใจกันปรับปรุงคุณภาพการให้บริการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้นักลงทุน
ต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย
จนมีผลทำให้การบริการในภาพรวมดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ดังรายงานผลการวิจัยของธนาคารโลก (World Bank)
เรื่อง Doing Business ในปีล่าสุดคือ 2010 ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความสะดวกในการเข้าไป
ประกอบธุรกิจ อันดับที่ 12 จาก 183 ประเทศทั่วโลก ขยับสูงขึ้นจากปี
2009 ที่อยู่ในอันดับ 13 จาก 181 ประเทศ
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทยได้มีการพัฒนา
โดยการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ
เพื่ออำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้ประกอบการธุรกิจ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาหลายปี
จนมีผลให้ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก
นาย
ไตรรงค์ยังได้ให้ทัศนะ
เพื่อเป็นการตอบโจทย์ในเรื่องการปรับปรุงบริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถใน
การประกอบธุรกิจว่า จะต้องเรียนรู้ปัญหาพื้นฐานของระบบให้ได้เสียก่อน
พร้อมได้หยิบยกทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ใน 3 ทฤษฎีมาเป็นตัวอย่าง กล่าวคือ
เศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิค (Classical Economics) เศรษฐศาสตร์แบบเคนส์
(Keynesian Economics) และเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิคใหม่ (Neo-Classical
Economics) ซึ่งทั้ง 3 ทฤษฎีนี้ เป็นทฤษฎีพื้นฐานที่ประเทศต่างๆ
ทั่วโลกได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือประกอบในการตัดสินใจ
โดยทฤษฎีดังกล่าวนี้มีความเห็นว่า
รัฐบาลควรจะทำเฉพาะในส่วนที่เอกชนทำไม่ได้ และในการดำเนินธุรกิจ
ต้องปล่อยให้ภาคเอกชนเป็นผู้จัดการ ตัดสินใจ และดำเนินการลื่นไหล
โดยระบุว่าภาคเอกชนจะดำเนินการได้ดีกว่าหากภาครัฐไม่เข้ามาแทรกแซง
นาย
ไตรรงค์กล่าวต่อไปอีกว่า อย่างไรก็ตาม แม้จะให้อิสระกับภาคเอกชน
แต่รัฐจะไม่เข้าไปยุ่งเลยคงเป็นไปไม่ได้ เพราะบ้านเมืองยังต้องมีขื่อมีแป
คนที่เป็นรัฐย่อมต้องรู้ว่า
การจะได้อำนาจรัฐต้องมาด้วยความพึงพอใจของประชาชนซึ่งเรียกว่ารัฐบาล
และเครื่องมือของรัฐบาลก็คือระบบราชการ
ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่จะผลักดันนโยบายของรัฐไปสู่ความสำเร็จและสร้างความ
พร้อมให้กับประเทศได้ และรัฐบาลบวกกับข้าราชการรวมกันแล้วเรียกว่าอำนาจรัฐ
ฉะนั้น ประชาชนก็ยินดีจะมอบอิสระโดยส่วนตัวส่วนหนึ่งให้กับรัฐไปใช้
เพื่อรัฐจะได้ใช้อำนาจส่วนนั้นไปออกกฎเกณฑ์ต่างๆ
เพื่อจะทำให้บ้านเมืองมีระเบียบ กฎเกณฑ์
และอยู่ร่วมกันอย่างสงบร่มเย็นเกิดสนติสุข
และมีความเจริญก้าวหน้าอย่างมีเป้าหมายในสังคมที่กำหนดไว้
แม้
เอกชนจะมีสิทธิเสรีภาพ แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของรัฐ
โดยกฎเกณฑ์เหล่านี้ก็เริ่มตั้งแต่
การจะเริ่มต้นทำธุรกิจก็ต้องไปจดทะเบียนกับรัฐ
เพื่อให้รัฐรู้ว่าเอกชนทำอะไร
และเมื่อทำธุรกิจแล้วก็ต้องมีการขออนุญาตก่อสร้าง
การก่อสร้างนั้นก็ต้องมีหลักการทางวิศวกรรม เพื่อไม่ให้ทำแล้วผิดแบบ
แล้วมาล้มทีหลัง หรือการจะสร้างโรงงานในพื้นที่นั้นๆ จะเกิดผลกระทบหรือไม่
และเมื่อทำธุรกิจก็ต้องมีการจ้างแรงงาน
รัฐก็ต้องมีกฎเกณฑ์เพื่อช่วยคุ้มครองแรงงาน มีการทำสินเชื่อ
การไปขอสินเชื่อ รัฐก็ต้องดูระเบียบแบบแผนต่างๆ เพื่อการควบคุม
รวมไปจนถึงเรื่องการชำระภาษี การบังคับตามสัญญา
กระทั่งแม้จะเลิกธุรกิจก็ต้องแจ้งให้รัฐทราบเมื่อจะปิดกิจการ
ซึ่งเรื่องเหล่านี้ ธนาคารโลกได้นำมาเป็นตัวชี้วัด 10 ข้อ
เพื่อใช้ในการศึกษาวิจัย แล้วมีการเปรียบเทียบในแต่ละปี โดยใน 10
ข้อนี้ใครทำได้ดี ก็ได้รับการจัดอันดับที่ดีขึ้น นายไตรงรงค์กล่าว
นอก
จากนี้
นายไตรรงค์ได้เน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันประชุมปรึกษาหารือใน
ประเด็น 10 ข้อนี้ ว่าที่ผ่านมามีข้อใดบ้างที่ทำได้ดี
และมีข้อใดที่ทำแล้วด้อยลง
โดยให้ช่วยกันวิเคราะห์และหาวิธีการในการปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
โดยนายไตรรงค์ระบุว่า การประชุมครั้งนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง
เนื่องจากหากส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐสามารถปรับปรุงและพัฒนาระบบการให้
บริการให้สามารถอำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้ประกอบ
การได้อย่างแท้จริง แน่นอนอันดับของประเทศไทยก็จะดีขึ้น และท้ายที่สุด
ผู้ที่ได้รับประโยชน์นั้นโดยตรงก็คือประชาชนที่มารับบริการจากภาคราชการ
ใน
การประชุมครั้งนี้ นอกจากจะมีผู้บริหารของส่วนราชการ และหน่วยงานภาครัฐแล้ว
ยังมีหน่วยงานภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมด้วยในฐานะที่เป็นผู้รับ
บริการ ผมจึงเห็นว่า ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ
ผู้ให้บริการ และหน่วยงานภาคเอกชนผู้รับบริการ
จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่สำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
จะรับไปดำเนินการต่อให้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ต่อไป
นายไตรรงค์กล่าว
นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัด
กระทรวงการคลัง กล่าวว่า
กระทรวงการคลังในฐานะเป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องการได้รับสินเชื่อ
การชำระภาษี และพิธีการศุลกากรในการค้าระหว่างประเทศ
รู้สึกยินดีที่ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพร่วมกับ สำนักงาน ก.พ.ร.
กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และธนาคารโลก ในการจัดประชุมครั้งนี้ที่กระทรวงการคลัง
โดยรายงานการประกอบธุรกิจ (Doing Business) ซึ่งธนาคารโลกได้จัดทำทุกปี
เพื่อจัดอันดับความยากง่ายในการเข้าไปประกอบธุรกิจในประเทศสมาชิกต่างๆ
ทั่วโลก ถือเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
ซึ่งช่วยทำให้เราเข้าใจมุมมองของนักลงทุน และปรับปรุงแก้ไขอุปสรรคต่างๆ
ตลอดจนสร้างบรรยากาศการลงทุนที่ดี
เพื่อสนับสนุนให้มีการลงทุนจากประเทศต่างๆ เพิ่มมากขึ้น นายสถิตย์กล่าว
น.ส.ทัศนีย์ ดุสิตสุทธิรัตน์ รองเลขาธิการ ก.พ.ร. กล่าวว่า
การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบ
นโยบายจากรองนายกรัฐมนตรีในการดำเนินการเพื่อพัฒนาระบบการให้บริการของรัฐ
และแนวทางในการพัฒนาและสนับสนุนภาคธุรกิจเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่ง
ขันของประเทศ รวมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์ รับทราบผลการดำเนินการ
และแนวทางในการปรับปรุงบริการของหน่วยงานต่างๆ
ที่ได้ร่วมกันพัฒนาคุณภาพการให้บริการและที่จะร่วมกันดำเนินการต่อไป
โดยมีเป้าหมายเพื่อให้การประกอบธุรกิจในประเทศ มีความสะดวก รวดเร็ว
การลงทุนขยายตัว เศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโต
ที่สำคัญจะมีผลทำให้อันดับของประเทศไทยดีขึ้น
ซึ่งจะส่งผลให้นักลงทุนเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศเพิ่มขึ้น
อนึ่ง ในการประชุมครั้งนี้ ยังได้มีการบรรยายเรื่องความสำคัญของรายงานผลการวิจัยเรื่อง Doing
Business โดย Ms. Annette Dixon ผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำประเทศ
ไทย และการรายงานการดำเนินการปรับปรุงบริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ
ในการประกอบธุรกิจ จากหน่วยงานเจ้าภาพหลัก โดยมี นางสุพรรณี ไพรัชเวทย์
ที่ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการทรงคุณวุฒิ และ ผศ.ดร.วิพุธ อ่องสกุล
ที่ปรึกษาในโครงการพัฒนาและยกระดับระบบการให้บริการประชาชนของหน่วยงานภาค
รัฐ ร่วมรับฟังการรายงานและตอบข้อซักถาม
โดย
ผลจากการจัดประชุมครั้งนี้จะช่วยสนับสนุนให้หน่วยงานรัฐเกิดความรู้ความเข้า
ใจ และสามารถจัดทำรายงาน Doing Business 2011 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ ทุกหน่วยงานที่เกียวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
ล้วนเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการปรับปรุง
และพัฒนาระบบการทำงานของหน่วยงาน
ซึ่งหากสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลแล้ว
ไม่เพียงแต่การให้บริการของภาครัฐจะมีคุณภาพเท่านั้น
แต่ยังมีผลทำให้ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับในเวทีต่างๆ
ของโลกดีขึ้นอีกด้วย ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. เชื่อมั่นว่า
ประเทศไทยจะสามารถรักษาระดับในการเป็นประเทศที่มีความสะดวกในการเข้าไป
ประกอบธุรกิจและอยู่ในความสนใจของนักลงทุนต่างประเทศในระดับต้นๆ
ของโลกต่อไป
กลุ่มสื่อสารฯ สลธ. / ข่าว & ภาพ
วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 3 พฤษภาคม 2553 11:15:34 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 3 พฤษภาคม 2553 11:20:14