Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2553 / กุมภาพันธ์ / นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน จุดประกาย ความริเริ่มในการขับเคลือนประเทศด้วยดัชนีวัดความก้าวหน้าของประเทศทีแท้จริง หวังนปร.เป็นแนวร่วม

นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน จุดประกาย ความริเริ่มในการขับเคลือนประเทศด้วยดัชนีวัดความก้าวหน้าของประเทศทีแท้จริง หวังนปร.เป็นแนวร่วม

นาย

อภิรักษ์ โกษะโยธิน จุดประกาย
ความริเริ่มในการขับเคลื่อนประเทศด้วยดัชนีวัดความก้าวหน้า
ของประเทศที่แท้จริง หวังนปร.เป็นแนวร่วม


center

IMG_0119 copyเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553 ที่สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงาน ก.พ.ร. ได้เปิดการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์การปฏิบัติราชการของนักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ รุ่นที่ 1,2 และ 3 โดยมีนาย

อภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี บรรยายพิเศษ เรื่อง ความริเริ่มในการขับเคลื่อนประเทศด้วยดัชนีวัดความก้าวหน้าของประเทศที่แท้จริง (National Progress Index Initiative)    


IMG_0039        นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กล่าวว่า โครงการริเริ่มในการขับเคลื่อนประเทศด้วยดัชนีชี้วัดความก้าวหน้าของประเทศที่แท้จริง ถือเป็นการพัฒนาดัชนีชี้วัดความก้าวหน้าของประเทศรูปแบบใหม่ ที่ไม่ได้ยึดตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) มาเป็นตัววัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลักเหมือนในปัจจุบัน เพราะไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงทางสังคมไทย แม้ตัวเลขจีดีพีจะสูงขึ้น แต่ไม่ได้สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยรวยขึ้น คนไทยมีสุขภาพดีขึ้น หรือมีความสุขเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

               นายอภิรักษ์ ได้กล่าวต่อไปว่า จากผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพล เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2552 ที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนไทย 86% ต้องการเปลี่ยนแปลงแนวทางใหม่ในการพัฒนาประเทศอย่างเร่งด่วน ขณะที่โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ จัดอันดับให้ไทยเป็นประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์อยู่ในระดับปานกลาง โดยในระหว่างปี 2523 -2550 ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของไทยเพิ่มขึ้นจากระดับ 0.658 เป็น 0.783 เพิ่มขึ้น 0.64 % ทำให้ไทยมีดัชนีการพัฒนามนุษย์โดยรวมอยู่ในอันดับที่ 87 ของโลก จากทั้งหมด 182 ประเทศ แต่ถือเป็นประเทศที่มีดัชนีพัฒนามนุษย์สูงเป็นอันดับ 4 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อจากสิงคโปร์ ส่วนรายได้เฉลี่ยต่อหัวของคนไทยอยู่อันดับที่ 82 ของโลก หรืออยู่ที่ 8,135 ดอลล่าร์สหรัฐฯต่อคนต่อปี หรือราว 272,986 บาท

IMG_0040          ประเทศไทยควรจะมีดัชนีชี้วัดที่สะท้อนความเป็นจริง  ซึ่งถ้าเรามีเครื่องมือที่คอยวัดความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศ พัฒนาสังคมไทยในแต่ละเรื่อง แล้วไปเชื่อมโยงกับแนวนโยบายทิศทางของรัฐบาล ไปเชื่อมโยงกับทิศทางการทำงานขององค์กรหรือเครือข่ายต่างๆ โดยมองยาวไปกว่าการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งถ้าทำแบบนี้ประเทศไทยจะเติบโตในระยะยาว และเป็นการเติบโตแบบการพัฒนาที่ยั่งยืน ในขณะเดียวกันก็เป็นการพัฒนาแบบสมดุลที่ครอบคลุมทุกมิติ  ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการดำเนินโครงการนี้ได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันผลักดันและกำหนดเป้าหมายว่าคนไทยต้องการให้สังคมไทยพัฒนาไปในทิศทางใด ภายใต้การขับเคลื่อนการดำเนินงานของคณะทำงานที่จัดตั้งขึ้น ซึ่งประกอบด้วย ภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.ร.  ภาคประชาสังคม ได้แก่ เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ และภาควิชาการ ได้แก่ บุคลากรจากแผนงานส่งเสริมการเรียนรู้กับสถาบันอุดมศึกษาไทยเพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะที่ดี นายอภิรักษ์กล่าว

                               IMG_0064      IMG_0020

นายอภิรักษ์กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยมีกระบวนการพัฒนาชุดดัชนีการพัฒนาทางเลือกอย่างมากมายทั้งในส่วนของภาครัฐ และภาควิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์ รูปแบบ และวิธีการที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ การพัฒนาดัชนีส่วนใหญ่จะเป็นในรูปแบบเฉพาะมิติหรือเฉพาะกลุ่มพื้นที่เป้าหมาย เช่น ดัชนีสุขภาพ ดัชนีทางสังคม ดัชนีคุณภาพชีวิต ดัชนีเมืองน่าอยู่ ดัชนีชุมขนเป็นสุข ซึงจะสะท้อนภาพเป็นส่วนๆ ของความก้าวหน้า แต่ไม่สามารถสะท้อนภาพรวมของการพัฒนาประเทศไทย อย่างไรก็ตามชุดดัชนีดังกล่าวมีความสำคัญในแง่ของการกำหนดตัวชี้วัดสำคัญ (Headline Indicators) และจัดทำบัญชีประชาชาติด้านความอยู่ดีมีสุข (National Account of Well-being) ได้เป็นอย่างดี

ในช่วง 5 ปี หลังเกิดกระแสความสนใจในประเด็นเรื่องการนำเอาความสุขมาเป็นเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ จึงเกิดงานวิจัยจำนวนมากในสถาบันการศึกษาที่พยายามสร้างชุดดัชนีความสุข (Happiness index) ขึ้นมา แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการทำวิจัยในระดับพื้นที่ท้องถิ่นขนาดเล็กเท่านั้น นอกจากนั้นยังมีการทำสำรวจความเห็นประชาชนของสถาบันเอแบคโพลเพื่อจัดทำข้อมูลดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยอย่างต่อเนื่องนับจากปี 2549 แต่ดัชนีความสุขทั้งสองรูปแบบยังมีข้อจำกัดสำคัญทางวิชาการและการนำไปเชื่อมต่อกับการกำหนดนโยบาย คือการแกว่งตัวที่มีระดับสูงในระยะเวลาอันสั้น ในขณะที่ปัจจัยเงื่อนไขระดับพื้นฐานไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ไม่สามารถนำไปใช้เป็นมาตรวัดและสะท้อนระดับความอยู่ดีมีสุขของประชาชนได้อย่างครอบคลุม ถูกต้องเพียงพอ

          

สำหรับดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทป็นหนึ่งในความพยายามที่สำคัญที่จะพัฒนาดัชนีที่ใช้สะท้อนความก้าวหน้าของประเทศได้ ซึ่งผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางกับทุกภาคส่วนในสังคม โดยได้กำหนด 6 องค์ประกอบหลักสำคัญคือ 1) การมีสุขภาวะ 2) ครอบครัวอบอุ่น 3) ชุมชนเข้มแข็ง 4) เศรษฐกิจเข้มแข็งและเป็นธรรม 5) สภาพแวดล้อมและระบบนิเวศสมดุล 6)สังคมประชาธิปไตยที่มีธรรมาภิบาล มีตัวชี้วัดหลักทั้งสิ้น 51 ตัวชี้วัด โดยผลจากการคำนวณดัชนีย้อนหลังพบว่าประเทศไทยมีพัฒนาการขึ้นทุกด้าน ยกเว้นในมิติของครอบครัวอบอุ่นที่พัฒนาการแย่ลง

นายอภิรักษ์ กล่าวต่อไปว่า กระแสเรื่องความต้องการและดัชนีการพัฒนาทางเลือกได้มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องในระดับนานาชาติ นับจากการประชุมระดับโลกเรื่องสิ่งแวดล้อมในทศวรรษที่ 70  ที่แม้จะยังคงเป็นเพียงความเคลื่อนไหวกระแสรอง จวบจนถึงการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจสำคัญระดับโลกในปี พ.ศ.2540 และ พ.ศ.2551 จึงทำให้เกิดการพูดคุยถึงดัชนีการพัฒนาทางเลือกขึ้นอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง เพื่อนำมาเสริมหรือปรับเปลี่ยนดัชนีการพัฒนาเดิมเช่น GDP ควบคู่ไปกับกระแสของการพัฒนาที่ยั่งยืน แนวความคิดทางเลือกเช่น ดัชนีความสุขมวลรวมประชาชาติ หรือ Gross National Happiness IMG_0082ของภูฐาน ได้ถูกองค์กรสำคัญ เช่น องค์การสหประชาชาติ ร่วมในการเผยแพร่และส่งเสริมให้เกิดการนำไปปฏิบัติอย่างกว้างขวาง องค์กรระดับนานาชาติและองค์กรทางวิชาการต่างๆทั่วโลก เกิดขบวนการเคลื่อนไหวและดิดดัชนีสำคัญขึ้นมากมาย เช่น ดัชนีการพัฒนามนุษย์หรือ HDI ดัชนีโลกเป็นสุขหรือHPI ดัชนีสังคมยั่งยืนหรือ SSI ซึ่งล้วนแล้วแต่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ    การสร้างทางเลือกและเข็มทิศใหม่ให้กับกระแสการพัฒนาของสังคมโลก

นายอภิรักษ์กล่าวว่า  จากบทเรียนสำคัญที่ได้ พบว่าดัชนีต้องเป็นแค่กลไกในการทำงานหรือเป็นเครื่องมือ เพื่อช่วยการขับเคลื่อนความก้าวหน้าของประเทศให้อยู่บนฐานข้อมูลและการรับรู้ร่วมกัน ทั้งนี้ ดัชนีไม่ใช่เป็นเป้าหมายของการขับเคลื่อน แต่โจทย์สำคัญอยู่ที่การนำดัชนีที่มีอยู่ไปสู่การปฏิบัติอย่างมียุทธศาสตร์และต่อเนื่องเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริงนายอภิรักษ์กล่าว

นายอภิรักษ์กล่าวว่า ในการดำเนินงานดังกล่าว จะต้องมองในเชิงยุทธศาสตร์ในการออกแบบว่าจะขับเคลื่อนในทิศทางที่จะดึงทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างไร เพราะประเทศไทยยังขาดกลไกและปัจจัยสำคัญจำนวนมากที่ไม่สามารถทำให้กระบวนการเกิดได้ภายใต้บริบทปัจจุบัน แม้ว่าจะมีดัชนีที่ดีและเหมาะสมอยู่แล้วก็ตาม ทั้งนี้ กระบวนการในการพัฒนาดัชนีจะต้องสร้างความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของกลุ่มคนทุกภาคส่วนในสังคม และดัชนีชี้วัดความก้าวหน้าของประเทศ จะต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาดัชนีในระดับพื้นที่ เช่น ระดับชุมชนหรือเมือง เพื่อให้สามารถเกิดการขับเคลื่อนและสร้างการเปลี่ยนแปลงได้จริง

อย่างไรก็ตาม อุปสรรคสำคัญที่ทำให้การขับเคลื่อนความก้าวหน้าด้วยดัชนีไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ นายอภิรักษ์ระบุว่า มีปัจจัยสำคัญ 4 เรื่องด้วยกัน คือ
1) การขาดข้อมูลที่น่าเชื่อถือถูกต้อง 2) ขาดการนำไปปฏิบัติและขาดกลไกขับเคลื่อนที่ต่อเนื่องยั่งยืน 3) ขาดการสื่อสารและสร้างความเข้าใจร่วมกับสาธารณะ และ 4) ขาดการเชื่อมต่อกับการกำหนดนโยบายและการตัดสินใจของภาครัฐ

IMG_0130ซึ่งจากเหตุผลดังกล่าว จึงควรกำหนดแนวทางหลักเพื่อสร้างการขับเคลื่อนสังคมด้วยดัชนีการพัฒนาทางเลือกใน 3 ลักษณะ คือ 1) การเชื่อมประสานทางแนวราบจากสิ่งที่มีอยู่เดิมเพื่อสร้างพลังร่วมจากการดำเนินการเดิม 2) การเติมเต็มเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ในระบบเท่านั้น ไม่เน้นการสร้างองค์ประกอบซ้ำซ้อน และหลีกเลี่ยงการดำเนินการในสิ่งที่มีผู้ดำเนินการอยู่แล้ว เพื่อให้การดำเนินการในอนาคตเกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง ไม่ใช่เกิดผลเฉพาะในช่วงระยะเวลาโครงการเท่านั้น และ 3) การดำเนินการแทรกแซงในเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic interventions) เพื่อเร่งปฏิกิริยาและสร้างผลกระทบในวงกว้าง โดยมีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่ผลของการขับเคลื่อนของดัชนีการพัฒนาทางเลือกในสังคมไทยให้เป็นดัชนีที่สามารถสะท้อนถึงความก้าวหน้าหรือการพัฒนาที่แท้จริงของสังคมและประเทศ

นายอภิรักษ์กล่าวว่า โครงการความริเริ่มในการขับเคลื่อนประเทศด้วยดัชนีชี้วัดความก้าวหน้าของประเทศที่แท้จริง นี้ มุ่งหวังจุดประกายการพัฒนาแนวคิดการทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดของประเทศ ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. นับว่ามีบุคลากรที่มีคุณภาพหลายสาขา โดยเฉพาะนักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ (นปร.) ที่ถือเป็นนักบริหารรุ่นใหม่ที่เป็นนักคิด นักพัฒนา และนักปฏิบัติ ซึ่งมีความรู้ความสามารถในการร่วมพัฒนาระบบราชการให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยหวังว่านักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ จะได้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นกำลังสำคัญ เพื่อร่วมกันเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นสังคมที่น่าอยู่และมีความสุขอย่างยั่งยืน

อนึ่ง การจัดประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์การปฏิบัติราชการของนักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ รุ่นที่ 1,2 และ 3 ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5- 7 กุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งภายหลังจากการบรรยายพิเศษของนาย

อภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
ที่สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีแล้ว คณะนักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ทั้ง 3 รุ่น ได้เดินทางไปยังโรงแรมมันตรา ปุระ รีสอร์ท แอนด์สปา พัทยาเหนือ จังหวัดชลบุรี


กลุ่มสื่อสารสร้างความเข้าใจฯ / ข้อมูล & บันทึกภาพ & จัดทำ

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2553 09:29:06 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2553 09:35:40
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th