การประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการ
การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัดสู่การปฏิบัติ
(Pre-Workshop)
เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2553 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดการประชุมเตรียมความพร้อมก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัดสู่การปฏิบัติ (Pre-Workshop) เพื่อเป็นการชี้แจง หารือ และบูรณาการความต้องการจากพื้นที่ (Area) กับกระทรวง กรม (Function) โดยมี ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมและชี้แจงหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ ณ โรงแรมสยามซิตี้
ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์เลขาธิการ ก.พ.ร. ได้ชี้แจงถึง
หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
พ.ศ. 2551
ว่าเป็นการบริหารงานให้เป็นไปตามแผนพัฒนาจังหวัดหรือแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
โดยการสร้างโอกาสและส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาสังคมในจังหวัด
เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันและการแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อการพัฒนา
อย่างยั่งยืน รวมทั้งเป็นการกระจายอำนาจการตัดสินใจลงไปสู่ระดับผู้ปฏิบัติ
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการ
พระราชกฤษฏีกาฯ
นี้มีเจตนารมณ์ในการบริหารงานแบบยึดพื้นที่เป็นหลัก (Area-based Approach)
เพื่อให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดมีการพัฒนามากขึ้น
ซึ่งเป็นการกระจายการพัฒนาและลดความเหลื่อมล้ำของความเจริญเติบโตระหว่าง
พื้นที่ต่างๆ ในประเทศ
โดยกลุ่มจังหวัดเน้นยุทธศาสตร์เรื่องการสร้างขีดความสามารถ
ส่วนจังหวัดเน้นยุทธศาสตร์เรื่องการพัฒนาสังคม การสร้างโอกาสและอาชีพ
ทำให้ในแต่ละพื้นที่มีตำแหน่งในการพัฒนาที่ชัดเจน
และผ่านการเห็นชอบร่วมกันทุกฝ่าย
เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันในการพัฒนาที่ยั่งยืน
ส่วนการบริหารงานภาครัฐ เป็นการดึงทุกภาคส่วนเข้ามาบริหารงานร่วมกัน โดยการบริหารจัดการความสัมพันธ์แนวดิ่ง ระหว่าง
ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่นนั้น
เป็นการแบ่งหน้าที่กันทำตามแต่ละยุทธศาสตร์
เพื่อลดความซ้ำซ้อนของการใช้งบประมาณแผ่นดิน
หรือระดมทรัพยากรเข้ามาใช้ร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการขับเคลื่อน
ยุทธศาสตร์ และการจัดการความสัมพันธ์แนวนอน ระหว่าง
ภาครัฐและภาคส่วนอื่นในสังคม เช่น ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม
เป็นการประสานการลงทุนภาคเอกชน และเชื่อมโยงเข้ากับแผนชุมชน
โดยกำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นตัวเชื่อมโยงฝ่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน
ซึ่งแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดนั้น
เป็นเครื่องมือในการพัฒนาให้สอดคล้องกับศักยภาพ โอกาส สภาพปัญหา
ตลอดจนความต้องการของประชาชนในพื้นที่
โดยเป้าหมายและทิศทางของการพัฒนาของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดจะต้องสอดคล้อง
เชื่อมโยงกับนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาครัฐ และยุทธศาสตร์รายสาขา
เพื่อให้เกิดการพัฒนาในองค์รวม
ทั้งนี้
แผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดเป็นแผนที่ได้จากการประชุมปรึกษา
หารือร่วมกันของทุกภาคส่วนในพื้นที่ ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน
ภาคประชาสังคม และประชาชน
ซึ่งในการขับเคลื่อนแผนดังกล่าวไปสู่การปฏิบัตินั้น
จะต้องมีการบูรณาการการดำเนินงานและสร้างบรรยากาศของความร่วมมือระหว่างภาค
ส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ด้วยเหตุนี้ สำนักงาน ก.พ.ร.
จึงได้จัดประชุมเตรียมความพร้อมก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ
เพื่อให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัด ตลอดจนกระทรวง กรมที่เกี่ยวข้อง
ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้จากโครงการและคำของบ
ประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ที่ขอรับการสนับสนุนจากกระทรวง กรม
ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัดและของจังหวัด
สำหรับจัดทำเป็นข้อสรุปเพื่อรายงานนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลเพื่อทราบ
รวมทั้งเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ในวันที่ 18 - 19
มกราคม 2553 ต่อไป
จากนั้นเป็นการแบ่งกลุ่มย่อยจำนวน 5 กลุ่มเพื่อบูรณาการ
ยุทธศาสตร์และโครงการและคำของบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัดและจังหวัดกับกระทรวง ทบวง กรม ดังนี้
กลุ่มที่ 1: ด้านการเกษตร โดย นางสาวนลินี จันสว่าง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาโครงสร้างระบบราชการ
สำนักงาน ก.พ.ร.
สำหรับกลุ่มที่ 1 นั้น มีผู้เข้าร่วมการประชุมในกลุ่มย่อย ได้แก่
จังหวัด กลุ่มจังหวัด และ หน่วยงานราชการ ประกอบด้วย
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมการข้าว กรมชลประทาน กรมประมง
กรมปศุศัตว์ กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
กรมหม่อนไหม สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม และ สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
กลุ่มที่ 2: ด้านการท่องเที่ยว โดย นางสาวดารัตน์ บริพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักติดตามและประเมินผลการพัฒนาระบบราชการ สำนักงาน ก.พ.ร.
สำหรับกลุ่มที่ 2 นั้น มีผู้เข้าร่วมการประชุมในกลุ่มย่อย ได้แก่
จังหวัด กลุ่มจังหวัด และ หน่วยงานราชการ ประกอบด้วย
สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กรมการศาสนา กรมศิลปากร กรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่าและพันธุ์พืช สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(ททท.) และ สำนักพัฒนาการท่องเที่ยว
กลุ่มที่ 3: ด้านอุตสาหกรรม โดย นางสาวเยาวพร ปิยมาพรชัย รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระเบียบราชการส่วนภูมิภาคและความสัมพันธ์กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงาน ก.พ.ร.
สำหรับกลุ่มที่ 3 นั้น มีผู้เข้าร่วมการประชุมในกลุ่มย่อย ได้แก่
จังหวัด กลุ่มจังหวัด และ หน่วยงานราชการ ประกอบด้วย
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ
กระทรวงพลังงาน
กลุ่มที่ 4: ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม โดย นางจันทร์เพ็ญ ไขว้พันธุ์ ที่ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการ สำนักงาน ก.พ.ร.
สำหรับกลุ่มที่ 4 นั้น มีผู้เข้าร่วมการประชุมในกลุ่มย่อย ได้แก่
จังหวัด กลุ่มจังหวัด และ หน่วยงานราชการ ประกอบด้วย กรมการพัฒนาชุมชน
สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ
กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่าและพันธุ์พืช สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ สำนักกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
สำนักงานส่งเสริมและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ
กระทรวงยุติธรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ และ กระทรวงสาธารณสุข
กลุ่มที่ 5: ด้านการค้าและการจัดการระบบโลจิสติกส์ โดย นางสาวขนิษฐา สุดกังวาล ผู้อำนวยการสำนักเผยแพร่และสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบราชการ สำนักงาน ก.พ.ร.
สำหรับกลุ่มที่ 5 นั้น มีผู้เข้าร่วมการประชุมในกลุ่มย่อย ได้แก่
จังหวัด กลุ่มจังหวัด และ หน่วยงานราชการ ประกอบด้วย
สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรมการค้าต่างประเทศ กรมการค้าภายใน
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมส่งเสริมการส่งออก
กรมโยธาธิการและผังเมือง สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม กรมทางหลวง
กรมทางหลวงชนบท สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กรมศุลกากร
สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการต่างประเทศ และ
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ลลิดา (สลธ.) / ข่าว & ภาพ
วสุนธรา & ภัทรพร ข. (สลธ.) / จัดทำ
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2553 11:16:19 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2553 11:19:12