Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2553 / กุมภาพันธ์ / ก.พ.ร. เปิดเวทีใหญ่ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การขับคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหัดสู่การปฏิบัติ

ก.พ.ร. เปิดเวทีใหญ่ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การขับคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหัดสู่การปฏิบัติ

ก.พ.ร. เปิดเวทีใหญ่ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ
การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัดสู่การปฏิบัติ ต่อจากเมื่อวาน


alt
          เมื่อวานนี้ OPDC News ได้เสนอข่าวการประชุมเชิงปฏิบัติการ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัดสู่การปฏิบัติ ที่ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 - 19 มกราคม 2553 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น โดยได้นำเสนอสาระสำคัญของการประชุมในวันแรกกันไปแล้ว สำหรับการประชุมในวันต่อมา คือ วันที่ 19 มกราคม 2553 นั้น มีกิจกรรมสำคัญเริ่มจากในช่วงเช้า เป็นการอภิปรายเรื่อง การบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการสู่ความสำเร็จ" โดยมี นางสาวทัศนีย์ ดุสิตสุทธิรัตน์ รอง เลขาธิการ ก.พ.ร. เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย และสรุปผลการบูรณาการยุทธศาสตร์และโครงการ และคำของบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด/จังหวัดกับกระทรวง ทบวง กรม ในประเด็นหารือ 5 ข้อ ที่ได้จากการแบ่งกลุ่มย่อย 5 กลุ่ม

          นางสาวทัศนีย์ ดุสิตสุทธิรัตน์ รองเลขาธิการ ก.พ.ร. กล่าวถึงผลการประชุมหารือว่า ในประเด็นเรื่องที่หนึ่ง -เรื่องความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์กระทรวงกับยุทธศาสตร์ของกลุ่มaltจังหวัด/จังหวัดที่ประชุมเห็นว่า นโยบายของรัฐบาลควรมีความชัดเจนและมีการผลักดันอย่างจริงจัง อีกทั้งยุทธศาสตร์ของกระทรวง กลุ่มจังหวัดก็ต้องมีความสอดคล้องตรงกัน และให้ความสำคัญกับศักยภาพของกลุ่มจังหวัด/จังหวัดด้วย ในกรณีที่มีความเห็นไม่สอดคล้องกัน ต้องจัดให้มีกลไกในการหารือร่วมกัน ทั้งนี้ กระทรวงควรมีการกำหนดทิศทางในภาพรวม เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลเดียวกัน สำหรับให้จังหวัด/กลุ่มจังหวัดได้ใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำแผนฯ

         สำหรับประเด็นที่สอง เรื่องบทบาทของกระทรวง กรม กลุ่มจังหวัด และจังหวัด ที่ประชุมเห็นชอบตามเอกสารที่เสนอ กล่าวคือ กระทรวง- เป็นผู้กำหนดกรอบนโยบาย ทิศทางยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สำคัญของประเทศ และกำหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐาน การวิจัย พัฒนา รวมทั้งเป็นผู้ประสานการสนับสนุนทางวิชาการ โดยมีผู้แทนหน่วยงานกลางในระดับพื้นที่เป็นพี่เลี้ยงให้จังหวัด/กลุ่ม จังหวัด ส่วนกลุ่มจังหวัด - เน้นการพัฒนาในภาพรวมของกลุ่มจังหวัด และจังหวัด - เป็นผู้แปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ ซึ่งต้องบูรณาการ เชื่อมโยงการบริหารราชการส่วนกลาง ภูมิภาคและท้องถิ่น โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ

         ประเด็นที่สาม - กลไกของส่วนราชการในการสนับสนุนยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัดและจังหวัด ที่ ประชุมเห็นว่า ควรพัฒนากลไกของส่วนราชการ/กลุ่มจังหวัด/จังหวัดให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยกำหนดให้กระทรวงมีเจ้าภาพที่รับผิดชอบในการบูรณาการ ควบคู่ไปกับการให้ความรู้ในเรื่องการจัดทำแผนฯ และมีปฏิทินการจัดทำงบประมาณที่ชัดเจน รวมถึงการมีเว็บไซต์ของ ก.น.จ. เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับแผนฯ กลุ่มจังหวัด/จังหวัด ให้ส่วนราชการสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
alt
         ประเด็นที่สี่ - เพื่อให้ยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัด/จังหวัดประสบความสำเร็จจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ต้องเสนอคำขอรับงบประมาณไปยังส่วนราชการโดยตรง ทั้งนี้ ต้องมีการจัดลำดับความสำคัญ และมีการแจ้งมติ ก.น.จ. ที่เห็นชอบเกี่ยวกับแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติราชการประจำปีให้กระทรวง ทบวง กรมทราบ อีกทั้งควรให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ให้คำแนะนำจังหวัด/กลุ่มจังหวัดในการจัดทำแผนให้สอดคล้องกับหลัก เกณฑ์ที่กำหนด และเป็นไปในทิศทางที่เชื่อมโยงกับกระทรวง

         และในประเด็นสุดท้าย - กรณีโครงการที่กลุ่มจังหวัด/จังหวัด จัดทำเป็นคำของบประมาณ หาก ก.น.จ. พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นโครงการที่ควรขอรับการสนับสนุนจากกระทรวง กรม กรณีนี้ กระทรวง กรม จะสามารถจัดสรรงบประมาณให้กลุ่มจังหวัด/จังหวัดได้หรือไม่นั้น ที่ประชุมมีผลสรุปว่า ระบบงบประมาณของส่วนราชการในปัจจุบันที่กำหนดตามผลผลิต อาจไม่เอื้อต่อการของบประมาณของกลุ่มจังหวัดที่ขอเป็นรายโครงการ จึงควรมีการสร้างช่องทางให้กระทรวง กรม สามารถจัดสรรงบประมาณจำนวนหนึ่ง เช่น 10% สำหรับสนับสนุนการดำเนินโครงการของกลุ่มจังหวัดได้ และการจัดทำแผนควรต้องมีการกำหนดรายละเอียดและผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน เพื่อมิให้คำของบประมาณซ้ำซ้อนกัน ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 กระทรวงพาณิชย์ได้สำรองงบประมาณให้สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่โดยตั้ง ไว้เผื่อจังหวัด/กลุ่มจังหวัด 10 - 20%

alt
        นางนิตยา กมลวัทนนิศาที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า การพิจารณาแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัด และโครงการของบประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 เห็นว่าแผนมีความสอดคล้องกับนโยบายระดับชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 - 2554) และกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค แต่หากพิจารณาคุณภาพของแผนพบว่ายังไม่ได้ตามเกณฑ์ ตั้งแต่การวิเคราะห์ปัญหา การวิเคราะห์วิสัยทัศน์ โดยแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดขาดการบูรณาการในการวางแผนร่วมกัน ทำให้ไม่มีจุดเน้นในการพัฒนาที่นำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งไม่สะท้อนผลการวิเคราะห์ศักยภาพและโอกาสการพัฒนาในเชิงกลุ่มพื้นที่ สำหรับแผนพัฒนาจังหวัดยังขาดการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของปัญหา ศักยภาพ และโอกาส ที่นำไปสู่การจัดทำแผนงานโครงการต่างๆ 

       โครงการที่จัดทำขึ้นยังไม่บูรณาการ เป็นโครงการย่อยๆ ทำให้รายละเอียดการนำโครงการไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพจึงไม่เกิด ความชัดเจน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 มีความคาดหวังว่าจังหวัด/กลุ่มจังหวัดจะจัดทำแผนที่มีคุณภาพมากขึ้น มีความครบถ้วนสมบูรณ์ สิ่งที่อยากเห็นคือการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สะท้อนปัญหาที่แท้จริง นางนิตยากล่าว

          นางนิตยากล่าวต่อไปว่า เนื่องจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ใกล้สิ้นสุดลง ดังนั้น การวางแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัดจากนี้ไป ต้องมีการทบทวนอีกครั้งในช่วงที่ประเทศต้องปรับตัว โดยเรื่องที่สำคัญ เช่น เรื่องสังคมผู้สูงอายุ ภาวะการเมืองโลก การสมานฉันท์เชิงสังคม ภาวะโลกร้อน ที่จังหวัด/กลุ่มจังหวัดต้องรู้ทิศทางในการพัฒนาประเทศต่อไปว่าจะเน้นเรื่อง อะไรบ้าง เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัดต่อไป
alt
          นางอมรรัตน์ ลิ่มไทย ผู้ เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์การงบประมาณเพื่อ การบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ กล่าวว่า พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า เมื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์จังหวัด/กลุ่มจังหวัดแล้ว ต้องได้รับการจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอต่อการดำเนินงาน แม้ว่างบประมาณของกลุ่มจังหวัดและจังหวัดจะได้รับการจัดสรรเพียง 1,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นส่วนน้อย แต่ยังมีงบประมาณของส่วนราชการและท้องถิ่น โดยปกติส่วนราชการส่วนใหญ่ได้สนับสนุนงบประมาณให้จังหวัดประมาณ 10 - 20 % อยู่แล้ว แต่ปัญหาคือไม่ตรงกับโครงการของจังหวัด ดังนั้น จะทำอย่างไรจึงจะสามารถทำโครงการของส่วนราชการให้สอดคล้องกับความต้องการของ พื้นที่

          สำนักงาน ก.พ.ร. ได้กำหนดให้ส่วนราชการส่งแผนภายในวันที่ 15 มกราคม 2553 และได้สำเนาแจ้งส่วนราชการต่างๆ ทราบด้วยแล้ว และสำนักงบประมาณ ให้จัดส่งคำของบประมาณภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 ดังนั้น ส่วนราชการควรมีงบประมาณของจังหวัดบรรจุในคำของบประมาณด้วย โดยให้จัดลำดับความสำคัญของโครงการ และให้ทำเครื่องหมายดาวแดงในโครงการที่สนับสนุนจังหวัดที่มีความสำคัญใน ลำดับต้นๆ เพื่อสำนักงบประมาณจะได้จัดสรรงบให้ นางอมรรัตน์กล่าว
alt
         ด้าน นายสมพร ใช้บางยาง รอง ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัดเป็นสิ่งสำคัญต่อการนำไปสู่ความ สำเร็จ กระบวนการจัดทำแผนต้องมีการบูรณาการทุกขั้นตอนตั้งแต่ระดับพื้นล่างถึง จังหวัด และควรเป็นการระดมความคิดเห็นอย่างจริงจัง ซึ่งในปัจจุบันพบว่า โครงการกว่า 20 % ไม่ตรงกับความต้องการของพื้นที่ 

         นายสมพรกล่าวว่า ประสิทธิภาพของแผนเป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งของการจัดสรรงบประมาณ ดังนั้น ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ควรใช้กลไกของคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการให้เป็นประโยชน์ที่สุด ควรบูรณาการตั้งแต่แผนชุมชน หมู่บ้าน ท้องถิ่น ให้เป็นเรื่องเดียวกันแล้วออกมาเป็นแผนพัฒนาจังหวัด ซึ่งนับว่าเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ


alt

 
         การ ประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ยังเป็นการเสริมสร้างองค์ความรู้ที่จำเป็น ต่อการบริหารงานของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ โดยได้รับเกียรติจากรัฐมนตรีและที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี มาบรรยายพิเศษให้ความรู้เกี่ยวกับประเด็นสำคัญเร่งด่วน (Emerging Issues) ต่างๆ ที่เกในระดับภูมิภาค และระดับโลก เริ่มจากการบรรยายพิเศษ เรื่อง โอกาส และความท้าทายของประเทศไทยในอนาคต โดย นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี 

          นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ได้เปิดประเด็นอย่างน่าสนใจว่า การนำเสนอในวันนี้เป็นการมองภาพของประเทศไทยในกรอบระยะเวลา 10 altปีข้างหน้า เพื่อประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต ซึ่งควรมองภาพในเชิงเศรษฐกิจมหภาค

          จากวิกฤต Hamberger Crisis ที่ผ่านมา เนื่องจากประเทศไทยต้องพึ่งพาการส่งออกถึง 75% เมื่อประเทศผู้ซื้อสินค้าของเราได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ รายได้ของประเทศจึงสูญเสียไปประมาณ 30% ทำให้เห็นว่า การพึ่งพาระบบเศรษฐกิจโลกมากเกินไปยังมีความเสี่ยง ดังนั้น ทิศทางในระยะยาวควรพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศให้มากขึ้น

         นายอภิรักษ์กล่าวว่า หากเปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศที่มีขนาดใกล้เคียงกันทั้งทางด้านประชากร และขนาดพื้นที่ นั่นคือประเทศฝรั่งเศสและอิตาลี พบว่าประเทศเหล่านี้มีขนาดของระบบเศรษฐกิจใหญ่กว่าประเทศไทยถึง 10 เท่า โดยสิ่งที่ประเทศเหล่านั้นพัฒนาได้มากกว่า คือ การพัฒนาเศรษฐกิจ การเมือง การลงทุนด้านเทคโนโลยี การใช้ต้นทุนทางสังคมมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการ สำหรับประเทศเกาหลีเมื่อย้อนไป 10 ปีที่ผ่านมา ระดับการพัฒนายังนับว่าใกล้เคียงกับประเทศไทยมาก แต่ในปัจจุบันหลังจากมีการปฏิรูปประเทศและนำต้นทุนทางวัฒนธรรมมาใช้ จะเห็นว่ามีการพัฒนาที่ก้าวหน้าไปกว่าประเทศไทยมาก

         ดังนั้น เราควรมองว่าทำอย่างไรที่จะทำให้อุตสาหกรรมทางบริการเติบโตและสร้างมูลค่า เพิ่มได้ เช่น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ไทยมีจุดแข็งที่วัฒนธรรม และการให้บริการที่มีไมตรีจิต ควรใช้ประโยชน์จากสิ่งนั้นในการนำไปต่อยอดเพื่อขับเคลื่อนประเทศให้มากขึ้น

          นายอภิรักษ์กล่าวว่า สำหรับแนวโน้มสำคัญของโลกที่จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต มีประเด็นสำคัญ 5 เรื่อง คือ

alt
 
          หนึ่ง - Aging Society ซึ่ง ในอนาคตแนวโน้มผู้สูงอายุจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้ภาครัฐควรมีนโยบายในการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ เพราะหากดูแลไม่ดีก็อาจทำให้ผู้สูงอายุกลายเป็นภาระของสังคม เช่น การส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุให้แข็งแรง จัดระบบสวัสดิการและเงินออม มีหลักประกันให้ผู้สูงอายุ เป็นต้น 

         สอง - Urbanization แนวโน้มทิศทางสังคมใน อนาคตจะมีความเป็นเมืองมากขึ้น ประชาชนต้องปรับตัวในวิถีชีวิตของความเป็นเมือง ดังนั้น จังหวัด/กลุ่มจังหวัดจะต้องหาวิธีการบริหารจัดการพื้นที่ในเมือง เช่น จังหวัดที่มีประชากรตั้งแต่ 1 ล้านคนขึ้นไป จะต้องประสานกับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีการบริหารจัดการ พื้นที่ให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้ำท่วม ภัยพิบัติ สร้างพื้นที่สีเขียว เส้นทางรถจักรยาน การแก้ปัญหาน้ำเน่าเสีย เป็นต้น

         สาม - Health & Safety Concerns การ ดูแลสุขภาพและความปลอดภัย ในอดีต (ปี พ.ศ. 2547) กรุงเทพฯ มีกล้อง CCTV กว่า 70 ตัวที่ใช้ในเรื่องของการจราจร แต่เมื่อประมาณ 4 - 5 ปี ที่ผ่านมาพบว่า ทุกพื้นที่มีความต้องการกล้อง CCTV มากขึ้น เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาจราจร ป้องกันอาชญากรรมและเป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมต่างๆ

          สี่ - International Mobility การที่โลก เป็นระบบเปิดและผู้คนเดินทางไปต่างสถานที่ได้ง่าย สร้างโอกาสในเรื่องของการท่องเที่ยวมากขึ้น นอกจากนี้ การรวมตัวกันของอาเซียนซึ่งมีประชากร 500 กว่าล้านคนนั้น เป็นโอกาสในการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น

          ห้า - Connectivity ผู้คนในยุคสมัยใหม่ติดต่อ เชื่อมโยงกันโดยผ่านระบบ Network และมี Social Network เป็นของตนเอง เช่น Facebook Myspace หรือ Twitter ซึ่งในต่างประเทศมีการนำมาใช้เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ ดังนั้น ควรคิดพัฒนาระบบเพื่อให้บริการกับประชาชนโดยใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว โดยนำเรื่องที่น่าสนใจของจังหวัด เช่น สถานที่ท่องเที่ยว อาหาร มาเปิดเป็น Facebook หรือ Website ของจังหวัด เพื่อนักท่องเที่ยวทั่วโลกสามารถเข้ามาดูข้อมูลของจังหวัดได้ หากเรื่องนี้สามารถทำได้ทันทีหรือมีหน่วยงานกลางช่วยสนับสนุน จะสามารถสร้างแผนที่การท่องเที่ยวของจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศได้
alt
         ในช่วงบ่าย เริ่มด้วยการบรรยายพิเศษ เรื่อง ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน และสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง โดย นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กล่าวว่า ในปัจจุบันสภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาสำคัญของโลก เนื่องจากส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชากรโลก และหากไม่สามารถหยุดยั้งได้ ปัญหานี้จะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น 

        ปัญหาภาวะโลกร้อนและสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นปัญหาสำคัญของ โลก จะเห็นได้จากการประชุมที่โคเปนเฮเก้นซึ่งเป็นการรวมตัวของผู้นำกว่า 100 ประเทศ เพื่อประชุมหารือร่วมกันเกี่ยวกับการกำหนดเงื่อนไข กติกา และกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนอกเหนือจากอนุสัญญาเดิม ที่มีอยู่ อย่างไรก็ตาม การประชุมยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากยังมีหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของแต่ละประเทศ

         นายสุวิทย์กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดจากการสะสมของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ทำให้คลื่นความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่ตกกระทบมายังผิวโลกไม่สามารถสะท้อนกลับ ออกไปนอกโลกได้ เนื่องจากถูกชั้นเรือนกระจกสกัดกั้นไว้ โดยแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบ่งตามแหล่งกำเนิดได้ 6 สาขา ได้แก่ 1) พลังงาน 2)กระบวนการอุตสาหกรรม 3) สารทำละลาย 4) เกษตรกรรม 5) ป่าไม้และการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และ 6) ของเสีย โดยกิจกรรมสำคัญที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมากที่สุดคือ 3 ลำดับแรก

         นายสุวิทย์กล่าวว่า สำหรับนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาสภาวะโลกร้อน ได้มอบนโยบายให้ส่วนราชการตั้ง CCO (Climate Change Officer) เพื่อเป็นผู้นำของส่วนราชการในการแก้ไขภาวะโลกร้อน ในการให้จังหวัดช่วยกันรักษาและฟื้นฟูป่าไม้ การระมัดระวังและป้องกันไฟป่า การบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ การรณรงค์นำขยะกลับมาใช้ใหม่ การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เป็นต้น โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะเป็นผู้ให้การสนับสนุน

        หน้าที่ของจังหวัดในเรื่องการเตรียมการรับมือกับผลกระทบจากสภาวะ โลกร้อนและภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง คือ การกำหนดมาตรการรองรับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น นายสุวิทย์กล่าว

          altนายกรณ์ จาติกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้กล่าวชี้แจงนโยบาย เรื่อง หนี้นอกระบบเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดในการดำเนินการว่า ขณะนี้ประชาชนได้มาขึ้นทะเบียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบกับธนาคารเพื่อการ เกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน เป็นจำนวนกว่าล้านคน ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาจนถึงสิ้นเดือนมกราคม และในขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการประมวลผลข้อมูลจำแนกเป็นรายจังหวัด โดยธนาคารจะส่งข้อมูลดังกล่าวนี้ให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดภายใน 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการโอนหนี้นอกระบบเข้าสู่หนี้ในระบบต่อไป ซึ่งการดำเนินการจะเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 นี้ โดยคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินระดับจังหวัด ซึ่งประกอปด้วย ผู้แทนกระทรวงการคลัง กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และผู้แทนจากธนาคารทั้งสองแห่งเข้ามาร่วมกับผู้บริหารของจังหวัด

         ในการประเมินการทำงานของจังหวัดนั้น ได้มีการกำหนดกรอบระยะเวลาการทำงานไว้ไม่เกิน 4 เดือน เมื่อเทียบสัดส่วนกับประชาชน 1 ล้านคนแล้ว พบว่า เราต้องดูแลการบริหารจัดการให้ได้ 150 รายต่อวันต่อจังหวัด ดังนั้น ในแต่ละจังหวัดจำเป็นต้องตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยกันทำงาน โดยกระจายการทำงานลงไปสู่อำเภอ หมู่บ้าน ซึ่งถ้าทำได้จะแก้ไขปัญหากับประชาชนที่มาขึ้นทะเบียนได้ทั้งหมด

         อย่างไรก็ดี คงเป็นไปได้ยากที่รัฐบาลจะสามารถแก้ไขปัญหาของประชาชนที่มาขึ้นทะเบียนได้ ทั้งหมด 1 ล้านคน จึงได้มีการกำหนดเป้าหมายไว้ว่า สัดส่วนความช่วยเหลือของรัฐบาลที่จะสามารถโอนหนี้นอกระบบเข้าสู่ในระบบได้ อยู่ที่ร้อยละ 70 หรือประมาณ 700,000 คน สำหรับอีก 300,000 คนนั้น จะเข้าสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาขั้นที่สอง โดยการดำเนินงานโอนหนี้เข้าสู่ระบบจะเริ่มต้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและ จังหวัดศรีสะเกษ โดยเริ่มจากประชาชนที่มีหนี้ไม่เกิน 50,000 บาทก่อนเป็นลำดับแรก นายกรณ์กล่าว

        นายกรณ์กล่าวว่า ในช่วงของการดำเนินงาน หากผู้ว่าราชการจังหวัดไม่ได้รับความร่วมมือจากเจ้าหนี้ ให้รายงานมาที่กระทรวงมหาดไทย นอกจากนี้ ประสบการณ์การดำเนินงานในเรื่องนี้ของแต่ละจังหวัด จะเป็นประโยชน์สำหรับจังหวัดอื่นๆ และกระทรวงการคลังด้วย 
alt
           จากนั้น เป็นการกล่าวมอบนโยบาย การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัดสู่การปฏิบัติ โดย นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัดสู่การปฏิบัติซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. ได้รั้งนี้ นับเป็นเวทีที่เป็นประโยชน์สำหรับทุกท่าน ซึ่งถือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญยิ่ง ในการบูรณาการยุทธศาสตร์การพัฒนาของกระทรวงและของจังหวัดเข้าด้วยกัน เพื่อให้การเสนอของบประมาณสอดคล้องกับศักยภาพ และความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในพื้นที่ 

         ในเรื่องการบูรณาการ และการขับเคลื่อนให้ยุทธศาสตร์ต่างๆ ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดต้องแสดงบทบาทในหลายๆ ด้านพร้อมกัน กล่าวคือ นอกจากการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงแล้ว ท่านต้องเป็น Facilitator หรือ ผู้ประสานความร่วมมือกับภาคีการพัฒนาต่างๆ ในจังหวัด ทั้งภาคราชการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน โดยเน้นการทำงานแบบ Strategic Partner แสวงหาพันธมิตรร่วมในการทำงาน และต้องเป็น Strategic Thinker หรือ นักคิดเชิงยุทธศาสตร์ที่เข้าถึงข้อมูลสภาพปัญหา และความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม รวมทั้ง ต้องเป็น Coach กำกับดูแลการแปลงยุทธศาสตร์ลงสู่การปฏิบัติ ร่วมแก้ไขปัญหา อุปสรรค ให้คำปรึกษาแนะนำในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างมี ประสิทธิภาพ นายชวรัตน์กล่าวalt

         นายชวรัตน์กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของภาคราชการ คาดหวังให้การบริหารงานแบบ กรมจังหวัด เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ทุกส่วนราชการในจังหวัดถือเป็นภารกิจร่วมกันอย่างจริงจัง ในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่ทุกภาคส่วนในพื้นที่ได้ร่วมกัน กำหนดขึ้น และขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัด กำกับดูแลการแปลงยุทธศาสตร์ลงสู่การปฏิบัติอย่างใกล้ชิด เพื่อให้งบประมาณแผ่นดินทั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี และงบประมาณโครงการไทยเข้มแข็งที่จัดสรรลงไป สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น

      หวังว่าความคิดเห็นและความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จะนำมาซึ่งการบูรณาการและเอกภาพในการขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดและกลุ่ม จังหวัด สามารถสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน จังหวัดและประเทศได้อย่างยั่งยืน นายชวรัตน์กล่าว

                 alt                  alt

         การประชุมเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัดสู่การปฏิบัติในครั้งนี้ นับเป็นอีกก้าวสำคัญของการพัฒนาระบบราชการไทย ในการร่วมผลักดันให้การบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ ได้นำไปสู่การพัฒนาการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่าง ยั่งยืน ต่อไป


กลุ่มสื่อสารฯ สลธ. / ข่าว & ภาพ
วสุนธรา & ภัทรพร ข. / จัดทำ

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2553 09:58:49 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2553 10:13:32
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th