Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2553 / กุมภาพันธ์ / ก.พ.ร. เปิดเวทีใหญ่ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การขัเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังวัดสู่การปฏิบัติ

ก.พ.ร. เปิดเวทีใหญ่ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การขัเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังวัดสู่การปฏิบัติ

ก.พ.ร. เปิดเวทีใหญ่ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ
การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัดสู่การปฏิบัติ


 

          ก.พ.ร. วางรากฐานการบริหารงานแบบบูรณาการ เปิดเวทีใหญ่ สร้างความร่วมมือระหว่างรัฐ เอกชน และประชาชน เร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัดสู่การปฏิบัติอย่างยั่งยืน

alt


          เมื่อวันที่ 18 - 19 มกราคม 2553 ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัดสู่การปฏิบัติ

alt          โดยวันที่ 18 มกราคม 2553 เวลา 13.00 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายก รัฐมนตรี ได้เป็นประธานเปิดการประชุมและมอบนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัด แบบบูรณาการ ซึ่งมีผู้บริหารระดับปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด รองอธิบดี รองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนจากภาคเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึงหน่วยงานกลาง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ กระทรวงมหาดไทย และสำนักงาน ก.พ.ร. เข้าร่วมประมาณ 550 คน

          ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. ได้กล่าวรายงานถึงที่มาของการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 78(2) กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการสนับสนุนให้จังหวัดมีแผนและงบประมาณเพื่อพัฒนา จังหวัด เพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 มีเจตนารมณ์ที่ต้องการเน้นการบริหารงานแบบยึดพื้นที่ โดยใช้แผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด เป็นเครื่องมือในการพัฒนาให้สอดคล้องกับศักยภาพ โอกาส สภาพปัญหา ตลอดจนความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเป้าหมายและทิศทางการพัฒนาของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดนั้น จะต้องสอดคล้องเชื่อมโยงกับนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาครัฐ รวมถึงยุทธศาสตร์รายสาขา

alt

alt          ทั้งนี้ แผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดเป็นแผนที่ได้จากการประชุมปรึกษา หารือร่วมกันของทุกภาคส่วนในพื้นที่ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชน ซึ่งในการขับเคลื่อนแผนดังกล่าวไปสู่การปฏิบัตินั้น จะต้องมีการบูรณาการการดำเนินงานและสร้างบรรยากาศของความร่วมมือระหว่างภาค ส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

          ดังนั้น เพื่อบูรณาการยุทธศาสตร์และโครงการ และคำของบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด กับกระทรวง ทบวงกรม คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) ในการประชุมเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2552 จึงได้มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ก.น.จ. จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขึ้นเพื่อดำเนินการในเรื่องดังกล่าว อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างองค์ความรู้ให้แก่จังหวัด และ กลุ่มจังหวัด เกี่ยวกับประเด็นสำคัญเร่งด่วน ที่จำเป็นต่อการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการให้ทันต่อการ เปลี่ยนแปลง

alt          นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวมอบนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการว่า การแก้ไขปัญหาของประเทศที่ผ่านมา ได้อาศัยกลไกของส่วนกลางเป็นหลัก ผ่านไปยังราชการส่วนภูมิภาค ต่อมารัฐบาลในยุคต่างๆ ตระหนักถึงความสำคัญของการกระจายอำนาจมากขึ้น ตั้งแต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก คือ องค์การบริหารส่วนตำบล ไปจนถึงองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดก็มีบทบาทมากขึ้นในการจัดบริการสาธารณะและแก้ปัญหา ให้ประชาชน ในขณะที่ส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสูง แต่กลไกในการแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร

          นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า หลักคิดในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ที่นำมาใช้เดิม ขาดกฎหมายที่มีความชัดเจนรองรับ ทำให้ได้ผลเป็นบางพื้นที่ ต่อมาจึงได้มีการผลักดันพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่ม จังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ.2551 ซึ่งเป็นแนวคิดที่ให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดสามารถบริหารงบประมาณได้ แต่การดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมายังไม่สามารถดำเนินการได้เต็มรูปแบบ เนื่องจากในปี พ.ศ.2552 ได้จัดสรรงบประมาณก่อนที่จะมีพระราชกฤษฎีกาฯรองรับ สำหรับในปีงบประมาณ 2553 แม้จะมีกฎหมายแล้วก็ตาม แต่ปฏิทินงบประมาณที่ได้จัดทำไว้ก็ไม่สามารถดำเนินการตามเจตนารมณ์ของพระราช กฤษฎีกาฯได้อย่างเต็มที่

alt          ปีงบประมาณ พ.ศ.2554 ถือเป็นครั้งแรกที่จะดำเนินการจัดระบบให้เกิดความลงตัว เพื่อจัดทำคำของบประมาณในปี พ.ศ.2554 ดังนั้น ในการประชุมสองวันนี้ ต้องการสร้างความเข้าใจร่วมกันในเรื่องการบูรณาการระหว่างโครงการส่วนกลาง กับท้องถิ่น เพื่อเป็นการเติมเต็มและอุดช่องว่างทางการบริหารของโครงการที่มาจากส่วนกลาง และท้องถิ่น

          นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ เพื่อดำเนินโครงการต่างๆ รวม 4.5 พันโครงการ ภายใต้งบประมาณ 1.8 หมื่นล้านบาท โดยมีการตั้งงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามปกติ และงบประมาณไทยเข้มแข็ง ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 รัฐบาลจะพยายามจัดงบฯ ให้ได้ใกล้เคียงกับตัวเลขเดิม แต่จะพยายามผลักดันทุกอย่างให้เข้าสู่ระบบงบประมาณตามปกติ

          นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า หลักคิดในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด เพื่อเสนอคำของบประมาณฯนั้น ในส่วนของการพัฒนาทั่วไปและการพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐานที่ปรากฏตามแผนงาน ของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ซึ่งอาจได้รับอนุมัติงบประมาณปกติ หรืองบฯไทยเข้มแข็งไปแล้ว พอมาถึงการเสนอของบฯ ของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ไม่อยากให้คิดว่าถ้าเอาเงินจากส่วนแรกไม่ได้ ก็จะมาใช้งบฯ ตรงนี้ เพราะนั่นไม่ใช่วัตถุประสงค์ การเสนอของบฯ จังหวัด/กลุ่มจังหวัดต้องเป็นไปเพื่อการพัฒนาอย่างมียุทธศาสตร์ หากมีโครงการอะไรที่เสริมจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามปฏิบัติการไทยเข้ม แข็งได้ หรือเสริมบริการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)ได้ 

alt          จังหวัดต้องบังคับตัวเองให้ออกจากกระบวนการงบประมาณตามปกติ ที่เน้นฟังจากกระทรวง ซึ่งทราบดีว่ากระบวนการตรงนี้อาจจะกดดันท่านมาก แต่ท่านต้องพยายามคิดนอกกรอบ แม้แต่หัวหน้าส่วนราชการในส่วนกลางเอง ผมขอว่าอย่าเอาโครงการที่คิดในส่วนกลาง แต่ไม่มีงบประมาณไปเบียดบังงบฯ ตรงนี้ ตรงกันข้าม กระทรวงต่างๆ ต้องคิดว่าในการจัดทำงบฯ ปี 2554 ถ้าจังหวัด/กลุ่มจังหวัดไหนมีโครงการที่น่าสนใจ ก็ต้องพยายามให้เขาเข้ามาอยู่ในงบประมาณหลัก นายกรัฐมนตรีกล่าว

          นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า ในการจัดทำแผนพัฒนาอยากให้เน้น 4 เรื่องหลัก คือ
          1. ความเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาค
          2. การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์
          3. การพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 
          4. ทิศทางนโยบายเศรษฐกิจแบบพอเพียง

alt          ทั้งนี้ ความสำเร็จในการจัดงบประมาณของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด คือการได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ ดังนั้น ผู้ว่าฯ ต้องทำตัวเป็นแกนประสาน ต้องระดมสรรพกำลังจากภาคเอกชน ภาคประชาสังคม อปท. และประชาชนในพื้นที่ ซึ่งต้องขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ต่างๆ เพราะผู้ว่าฯ ถือเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการชี้ขาดเป้าหมายในการพัฒนาของแต่ละพื้นที่


          อนึ่ง ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัดสู่กาที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 - 19 มกราคม 2553 นั้น มีกิจกรรมที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ความรู้อย่างมาก โดยในวันที่ 18 เริ่มจากช่วงเช้า เป็นการอภิปรายเรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดกับความท้าทายใหม่ในเวทีโลก โดยมี ดร.ทศพร ศิรสัมพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย

alt


alt          นายสมพล เกียรติไพบูลย์ ประธาน กรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกรรมการ ก.พ.ร. ได้อภิปรายตอนหนึ่งว่า ประเทศไทยมีศักยภาพผลิตสินค้าการเกษตรเพื่อเลี้ยงประชากรไทยได้สูงถึง 250 ล้านคน หรือ 4 เท่าของประชากรในประเทศ แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังยากจน ไม่มีที่ดินทำกิน ขาดเงินทุน ความรู้ ต้นทุนการผลิตสูง และราคาสินค้าเกษตรไม่มีเสถียรภาพ ขณะที่การค้าโลกมีแนวโน้มเปลี่ยนไป ซึ่งมีการนำมาตรการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษีมาใช้ อาทิ มาตรฐานสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม มาตรฐานการนำเข้า รวมถึงการนำเรื่องแรงงานและปัญหาโลกร้อนมาเป็นประเด็นกีดกันการนำเข้าสินค้า ดังนั้น ภาคการเกษตรไทยจึงมีความจำเป็นต้องปรับตัว โดยเฉพาะการมียุทธศาสตร์ระดับชาติที่ชัดเจน

          ต้องยอมรับว่า ยุทธศาสตร์ระดับชาติของไทยมีจุดอ่อน คือ เมื่อเปลี่ยนรัฐบาล ยุทธศาสตร์ระดับชาติก็เปลี่ยนไป นายสมพลกล่าว

          นายสมพลกล่าวต่อไปว่า การจัดสรรงบฯ จังหวัดปัจจุบันมีข้อจำกัด คืองบฯ ที่ได้รับจัดสรรน้อยเกินไป และกระจัดกระจายไปดำเนินการในโครงการเล็กๆ ทำให้ไม่มีกำลังขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพียงพอ ขณะที่โครงการยังขาดความเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มจังหวัด มีความไม่ต่อเนื่องของโครงการ ไม่มีการแบ่งงานให้ชัดเจนระหว่างส่วนกลางและจังหวัด จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการแบ่งงานให้ชัดเจนและมีการประเมินผลโครงการ

alt          ด้านนายสมภพ อมาตยกุล รอง ประธานมูลนิธิเพื่อการวิจัยแห่งประเทศไทย และกรรมการ ก.พ.ร. กล่าวว่า การทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด สำคัญที่สุดคือ กระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย จังหวัดที่แข็งแรงจะต้องมีระบบเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกัน ทั้งภาคอุตสาหกรรม การค้าและการบริการ โดยเฉพาะการพัฒนาอุตสาหกรรม จังหวัดต้องเลือกว่าจะรับอุตสาหกรรมใดเข้ามา ไม่ใช่ว่ารับมาทั้งหมด แต่มีผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม ขณะที่การสร้างทุนทางสังคม ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ต้องมีความชัดเจนในบทบาทการสร้างความมีส่วนร่วมของภาคีต่างๆ ซึ่งภาคประชาชน- ถือเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนพัฒนา ส่วนภาครัฐ - มีบทบาทในการชี้นำ เพื่อเชื่อมโยงฝ่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยมีภาคเอกชน - เป็นผู้ขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม และภาคประชาสังคม - มีบทบาทในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ สร้างทางเลือกพัฒนา และส่งเสริมภาคีการพัฒนาให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ สถาบันศาสนา - เป็นผู้มีบทบาทในการปลูกฝังทัศนคติและแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องในการดำรง ชีวิต

alt          นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธาน สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ระบุว่า การท่องเที่ยวของไทยจากนี้ไป ต้องเผชิญกับการแข่งขันอันเกิดจากการเปิดเสรีภาคบริการของอาเซียน 2015 ซึ่งมองว่า จังหวัดสามารถใช้จุดแข็งที่แต่ละจังหวัดมีอยู่ในการดึงดูดรายได้จากการท่อง เที่ยว โดยมีแนวคิดว่า การท่องเที่ยวไทยต้องรักษาส่วนแบ่งตลาดเดิม และต้องสร้าง Business Life Cycle ใหม่ โดยหา Product ใหม่ ควบคู่ไปกับการมองมิติท่องเที่ยวมากกว่าการหารายได้จากนักท่องเที่ยว เช่น การลงทุนเพื่อการท่องเที่ยว การสร้างธุรกิจต่อเนื่อง อาทิ การแพทย์ การศึกษา ภาพยนตร์ ร้านอาหารไทย เป็นต้น นอกจากนี้ต้องพัฒนาจุดแข็งความเป็นไทยมาใช้ประโยชน์ (Cultural Society) และสร้าง Brand ด้านท่องเที่ยวในทุกระดับ ทั้งระดับกลุ่มพื้นที่ จังหวัด หรือของธุรกิจ


          จากนั้นเป็นการบรรยายเรื่อง โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน โดย นายมีชัย วีระไวทยะประธานคณะกรรมการบริหารโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน กล่าวว่า การดำเนินการโครงการฯ ที่ผ่านมา ยังมีการประชาสัมพันธ์น้อย ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดการมีส่วนร่วม ขณะที่โครงการไม่มีความต่อเนื่อง และมีผู้เข้ามาแสวงหาประโยชน์จากโครงการเพื่อสร้างความร่ำรวย

alt          แนวทางการดำเนินโครงการใหม่นั้น จะให้ประชาชนตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไปมีสิทธิชี้แนะว่าจะทำโครงการอะไร และเป็นครั้งแรกที่เยาวชนจะมีส่วนร่วมในการเสนอแนะโครงการและมีส่วนร่วมใน การกำหนดการใช้งบประมาณแผ่นดิน ซึ่งในวันที่ 31 มกราคม จะมีการทำประชาคมพร้อมกันทั่วประเทศ รวมทั้งมีหน้าที่ชี้หรือแจ้งเบาะแสการทุจริตผ่านช่องทางที่เตรียมไว้ โดยมั่นใจว่ามีระบบที่สามารถตรวจสอบการทุจริตเพียงพอ แต่หากมีการทำทุจริต จะต้องมีการดำเนินคดีทางอาญา นายมีชัยกล่าว

          นายมีชัยกล่าวต่อไปว่า ส่วนการดำเนินโครงการชุมชนพอเพียงในระยะยาว นอกจากรัฐบาลจะสนับสนุนงบประมาณในโครงการชุมชนพอเพียงแล้ว จะมีการเปิดโอกาสให้รัฐวิสาหกิจและเอกชนเข้ามาสมทบเงินในโครงการชุมชนพอ เพียงด้วย โดยจะได้รับสิทธิในการลดหย่อนภาษี ซึ่งจะได้หารือกับกระทรวงการคลังในเร็วๆ นี้

          ส่วนการทำประชาคมพร้อมกันทั่วประเทศนั้น ต้องการให้ผู้ว่าฯ นายอำเภอ และทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ โดยเฉพาะการทำประชาคมหมู่บ้าน ซึ่งตามหลักเกณฑ์กำหนดว่าการทำประชาคมโครงการต้องมีครัวเรือนร่วมทำประชาคม ไม่ต่ำกว่า 50% ทั้งนี้ โครงการฯ พร้อมที่จะผ่อนผันหลักเกณฑ์ให้ได้ คือจะต้องมีครัวเรือนมาร่วมทำประชาคมตั้งแต่ 40% ของครัวเรือนในหมู่บ้านขึ้นไป


          ในช่วงบ่าย ภายหลังจากการมอบนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการโดยนายกรัฐมนตรีแล้ว เป็นการ ประชุมเชิงปฏิบัติการ บูรณาการยุทธศาสตร์และโครงการและคำของบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัดกับกระทรวง ทบวง กรม โดยแบ่งกลุ่มย่อย 5 กลุ่ม ดังนี้

          กลุ่มที่ 1: ด้านการเกษตร โดย รองนายกรัฐมนตรี (นายสุเทพ เทือกสุบรรณ) เป็นประธาน

alt


          กลุ่มที่ 2 : ด้านการท่องเที่ยว โดย รองนายกรัฐมนตรี (พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์) เป็นประธาน

alt


          กลุ่มที่ 3 : ด้านอุตสาหกรรม โดย เลขาธิการนายกรัฐมนตรี (นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ) เป็นประธาน 

alt


          กลุ่มที่ 4 :ด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม โดย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย) เป็นประธาน

alt
 

          กลุ่มที่ 5 : ด้านการค้า และการจัดการระบบโลจิสติกส์ โดย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายวีระชัย วีระเมธีกุล) เป็นประธาน

alt


          ทั้งนี้ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดและผลสรุปการประชุม พร้อมดาวน์โหลดเอกสารการบรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่องต่างๆ ได้ทางเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.พ.ร. ที่  www.opdc.go.th


กลุ่มสื่อสารฯ สลธ. / ข่าว & ภาพ
วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2553 10:21:28 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2553 10:25:50
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th